กรุงเทพ--25 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
การเยือนอินเดียครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1). ย้ำความสัมพันธ์กับอินเดียในลักษณะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ซึ่งสะท้อนในนโยบาย Look West Policy ของไทยที่มีอินเดียเป็นแกนหลัก
2) สานต่อความสัมพันธ์ระดับผู้นำสูงสุดอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันและเร่งรัดประเด็นความร่วมมือที่มีผลประโยชน์ต่อไทย คือ การเปิดน่านฟ้าเสรี ซึ่งไทยต้องการเพิ่มเที่ยวบิน ในเส้นทางไทย- อินเดีย รวมทั้ง การเจรจาความตกลง FTA
3) ส่งเสริมภาพลักษณ์ของไทย และผู้นำไทยในสายตาประชาคมโลก เนื่องจากอินเดียได้รับการยอมรับว่า เป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีคุณภาพและใหญ่ที่สุดในโลก และใช้โอกาสนี้ แจ้งพัฒนาการของสถานการณ์การเมืองไทย
4). การเยือนครั้งนี้ ประจวบเหมาะกับโอกาสครบรอบ 60 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-อินเดีย (1 สิงหาคม 2550) นายกรัฐมนตรีจะกล่าวเปิดโครงการ Road Show ซึ่งเป็นโครงการขยายผลกรอบความตกลงว่าด้วยการจัดตั้ง FTA ไทย-อินเดีย ซึ่งจะมีการจัดสัมมนาระหว่างภาคเอกชนของสองฝ่าย และการจัด Thai Night ตามเมืองใหญ่ของอินเดีย คือ นิวเดลี มุมไบ เจนไน และกัลกัตตา (ระหว่างวันที่ 27 มิถุนายน —3 กรกฎาคม 2550)
5) อินเดียเป็นประเทศเสาหลักประเทศหนึ่งของเอเชีย เป็นมหาอำนาจในเอเชียใต้ และเป็นประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Economy) กำลังเติบโตขึ้นเป็นมหาอำนาจในเอเชีย เคียงคู่ จีนและญี่ปุ่น มีประชากรอันดับสองของโลก (1.1 พันล้านคน) จึงมีกำลังซื้อมหาศาล (ประมาณ 300 ล้านคนที่อยู่ในระดับร่ำรวย) เมื่อปี 2549 มีอัตราการเจริญเติบทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 9.2 มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศระดับโลก เป็นที่รู้จักในนาม Silicon valley of Asia มีระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง และมีบทบาทแข็งขันมากในเวทีระหว่างประเทศ และระดับภูมิภาค
การเยือนครั้งนี้ จะมีการลงนามความตกลงสองฉบับ โดยมีนายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายเป็นสักขีพยาน 1). บันทึกความเข้าใจเรื่องความร่วมมือด้านพลังงานหมุนเวียนระหว่างกระทรวงพลังงานไทยและอินเดีย (MoU on Enhanced Cooperation in the Field of Renewable Energy) สาระสำคัญ คือ ความร่วมมือด้านวิจัยและการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน ในสาขาเซลส์แสงอาทิตย์ พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ ก๊าซชีวภาพ พลังน้ำขนาดเล็ก พลังงานลม การสาธิตและส่งเสริมโดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ การจัดสัมมนา เป็นต้น 2). แผนปฏิบัติการว่าด้วยโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม (Cultural Exchange Programme ระหว่างปี คศ 2007-2009) โดยแผนปฏิบัติการนี้อยู่ภายใต้ความตกลงทางวัฒนธรรมที่ได้ลงนามไปเมื่อปี 2520 เป็นแผนปฏิบัติการที่ระบุกิจกรรมความร่วมมือสองฝ่ายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางวัฒนธรรม เช่น การแสดงนิทรรศการ การแลกเปลี่ยนนาฏศิลป์ การร่วมกันพิทักษ์โบราณสถาน เป็นต้น
ผลการเยือนครั้งนี้ นอกเหนือจากการผลักดันให้อินเดียเร่งรัดการขยายผลความร่วมมือเรื่องการบิน และการจัดตั้ง FTA ที่จะให้ผลประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่ายแล้ว จะเป็นการส่งสัญญาณแสดงว่า ในแง่สัญลักษณ์ทางการเมืองแล้ว (political message) สะท้อนว่า ไทยมีนโยบายต่างประเทศที่สร้างความสัมพันธ์ที่สมดุลกับทั้งจีนและอินเดีย เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติสูงสุด และตอกย้ำถึงความหนักแน่นของการเป็นพันธมิตรและการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนกับอินเดีย ซึ่งไทยให้ความสำคัญยิ่ง และการเยือนครั้งนี้ จะเป็นโอกาสหนึ่งที่จะยืนยันให้ผู้นำอินเดียได้เข้าใจถึงเจตนารมณ์ทางการเมืองของไทยในการดำเนินการตามกระบวนการประชาธิปไตยที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง และนำไปสู่การจัดการเลือกตั้งตามกำหนดเวลาที่วางไว้
ความสัมพันธ์ไทย-อินเดีย เป็นลักษณะฉันมิตร โดยเฉพาะด้านวัฒนธรรม ศาสนา และภาษาตั้งแต่โบราณกาล เป็นหุ้นส่วน (partner) ที่สำคัญยิ่งของไทย ความร่วมมือสองฝ่ายครอบคลุมในทุกมิติ มีพัฒนาการและการขยายความร่วมมืออย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ อันสอดคล้องระหว่างนโยบาย Look East ของอินเดีย กับนโยบาย Look West ของไทย มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดในทุกระดับ โดยเฉพาะระดับพระบรมวงศานุวงศ์ไทย ซึ่งมีการเสด็จเยือนอินเดียในช่วงปีที่ผ่านมาหลายครั้ง ทั้งนี้ ไทยกับอินเดีย จะมีความสัมพันธ์ทางการทูตครบรอบ 60 ปี ในวันที่ 1 สิงหาคม 2550 กระทรวงการต่างประเทศ สถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลใหญ่ไทยประจำอินเดียจะจัดโครงการเฉลิมฉลองหลายโครงการ อาทิ การจัดงานเลี้ยงรับรองในวันที่ 3 สิงหาคม 2550 ณ กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งในงานฯ จะมีการเผยแพร่อาหารอินเดียและนาฏศิลป์อินเดีย รวมทั้งจะมีการจัดนิทรรศการภาพถ่ายความสัมพันธ์ตลอดช่วงความสัมพันธ์ 60 ปี ส่วนที่อินเดีย นั้น นอกจากโครงการ Road Show ที่กล่าวถึงในตอนต้นแล้ว โครงการ ที่สำคัญ คือ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี จะจัดการแสดงโขนสู่แดนรามายณะ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะทรงระนาดเอกในงานเปิดแสดงโขนฯ รอบปฐมฤกษ์ และได้พระราชทานภาพถ่ายฝีพระหัตถ์จากการเสด็จฯ เยือนอินเดีย เพื่อจัดแสดงนิทรรศการที่กรุงนิวเดลี มุมไบ เจนไน และกัลกัตตา ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
การเยือนอินเดียครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1). ย้ำความสัมพันธ์กับอินเดียในลักษณะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ซึ่งสะท้อนในนโยบาย Look West Policy ของไทยที่มีอินเดียเป็นแกนหลัก
2) สานต่อความสัมพันธ์ระดับผู้นำสูงสุดอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันและเร่งรัดประเด็นความร่วมมือที่มีผลประโยชน์ต่อไทย คือ การเปิดน่านฟ้าเสรี ซึ่งไทยต้องการเพิ่มเที่ยวบิน ในเส้นทางไทย- อินเดีย รวมทั้ง การเจรจาความตกลง FTA
3) ส่งเสริมภาพลักษณ์ของไทย และผู้นำไทยในสายตาประชาคมโลก เนื่องจากอินเดียได้รับการยอมรับว่า เป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีคุณภาพและใหญ่ที่สุดในโลก และใช้โอกาสนี้ แจ้งพัฒนาการของสถานการณ์การเมืองไทย
4). การเยือนครั้งนี้ ประจวบเหมาะกับโอกาสครบรอบ 60 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-อินเดีย (1 สิงหาคม 2550) นายกรัฐมนตรีจะกล่าวเปิดโครงการ Road Show ซึ่งเป็นโครงการขยายผลกรอบความตกลงว่าด้วยการจัดตั้ง FTA ไทย-อินเดีย ซึ่งจะมีการจัดสัมมนาระหว่างภาคเอกชนของสองฝ่าย และการจัด Thai Night ตามเมืองใหญ่ของอินเดีย คือ นิวเดลี มุมไบ เจนไน และกัลกัตตา (ระหว่างวันที่ 27 มิถุนายน —3 กรกฎาคม 2550)
5) อินเดียเป็นประเทศเสาหลักประเทศหนึ่งของเอเชีย เป็นมหาอำนาจในเอเชียใต้ และเป็นประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Economy) กำลังเติบโตขึ้นเป็นมหาอำนาจในเอเชีย เคียงคู่ จีนและญี่ปุ่น มีประชากรอันดับสองของโลก (1.1 พันล้านคน) จึงมีกำลังซื้อมหาศาล (ประมาณ 300 ล้านคนที่อยู่ในระดับร่ำรวย) เมื่อปี 2549 มีอัตราการเจริญเติบทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 9.2 มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศระดับโลก เป็นที่รู้จักในนาม Silicon valley of Asia มีระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง และมีบทบาทแข็งขันมากในเวทีระหว่างประเทศ และระดับภูมิภาค
การเยือนครั้งนี้ จะมีการลงนามความตกลงสองฉบับ โดยมีนายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายเป็นสักขีพยาน 1). บันทึกความเข้าใจเรื่องความร่วมมือด้านพลังงานหมุนเวียนระหว่างกระทรวงพลังงานไทยและอินเดีย (MoU on Enhanced Cooperation in the Field of Renewable Energy) สาระสำคัญ คือ ความร่วมมือด้านวิจัยและการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน ในสาขาเซลส์แสงอาทิตย์ พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ ก๊าซชีวภาพ พลังน้ำขนาดเล็ก พลังงานลม การสาธิตและส่งเสริมโดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ การจัดสัมมนา เป็นต้น 2). แผนปฏิบัติการว่าด้วยโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม (Cultural Exchange Programme ระหว่างปี คศ 2007-2009) โดยแผนปฏิบัติการนี้อยู่ภายใต้ความตกลงทางวัฒนธรรมที่ได้ลงนามไปเมื่อปี 2520 เป็นแผนปฏิบัติการที่ระบุกิจกรรมความร่วมมือสองฝ่ายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางวัฒนธรรม เช่น การแสดงนิทรรศการ การแลกเปลี่ยนนาฏศิลป์ การร่วมกันพิทักษ์โบราณสถาน เป็นต้น
ผลการเยือนครั้งนี้ นอกเหนือจากการผลักดันให้อินเดียเร่งรัดการขยายผลความร่วมมือเรื่องการบิน และการจัดตั้ง FTA ที่จะให้ผลประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่ายแล้ว จะเป็นการส่งสัญญาณแสดงว่า ในแง่สัญลักษณ์ทางการเมืองแล้ว (political message) สะท้อนว่า ไทยมีนโยบายต่างประเทศที่สร้างความสัมพันธ์ที่สมดุลกับทั้งจีนและอินเดีย เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติสูงสุด และตอกย้ำถึงความหนักแน่นของการเป็นพันธมิตรและการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนกับอินเดีย ซึ่งไทยให้ความสำคัญยิ่ง และการเยือนครั้งนี้ จะเป็นโอกาสหนึ่งที่จะยืนยันให้ผู้นำอินเดียได้เข้าใจถึงเจตนารมณ์ทางการเมืองของไทยในการดำเนินการตามกระบวนการประชาธิปไตยที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง และนำไปสู่การจัดการเลือกตั้งตามกำหนดเวลาที่วางไว้
ความสัมพันธ์ไทย-อินเดีย เป็นลักษณะฉันมิตร โดยเฉพาะด้านวัฒนธรรม ศาสนา และภาษาตั้งแต่โบราณกาล เป็นหุ้นส่วน (partner) ที่สำคัญยิ่งของไทย ความร่วมมือสองฝ่ายครอบคลุมในทุกมิติ มีพัฒนาการและการขยายความร่วมมืออย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ อันสอดคล้องระหว่างนโยบาย Look East ของอินเดีย กับนโยบาย Look West ของไทย มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดในทุกระดับ โดยเฉพาะระดับพระบรมวงศานุวงศ์ไทย ซึ่งมีการเสด็จเยือนอินเดียในช่วงปีที่ผ่านมาหลายครั้ง ทั้งนี้ ไทยกับอินเดีย จะมีความสัมพันธ์ทางการทูตครบรอบ 60 ปี ในวันที่ 1 สิงหาคม 2550 กระทรวงการต่างประเทศ สถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลใหญ่ไทยประจำอินเดียจะจัดโครงการเฉลิมฉลองหลายโครงการ อาทิ การจัดงานเลี้ยงรับรองในวันที่ 3 สิงหาคม 2550 ณ กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งในงานฯ จะมีการเผยแพร่อาหารอินเดียและนาฏศิลป์อินเดีย รวมทั้งจะมีการจัดนิทรรศการภาพถ่ายความสัมพันธ์ตลอดช่วงความสัมพันธ์ 60 ปี ส่วนที่อินเดีย นั้น นอกจากโครงการ Road Show ที่กล่าวถึงในตอนต้นแล้ว โครงการ ที่สำคัญ คือ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี จะจัดการแสดงโขนสู่แดนรามายณะ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะทรงระนาดเอกในงานเปิดแสดงโขนฯ รอบปฐมฤกษ์ และได้พระราชทานภาพถ่ายฝีพระหัตถ์จากการเสด็จฯ เยือนอินเดีย เพื่อจัดแสดงนิทรรศการที่กรุงนิวเดลี มุมไบ เจนไน และกัลกัตตา ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-