ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เผยกรณี ธ.โนวาสโกเทียซื้อหุ้น ธ.ธนชาต ได้ถึงร้อยละ 49 หรือไม่ ต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กฎมายกำหนดไว้
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่ ธ.โนวาสโกเทีย ได้ทำข้อตกลงกับ ธ.ธนชาต
โดยจะขอถือหุ้นใน ธ.ธนชาตเป็นสัดส่วนร้อยละ 49 ว่า โดยหลักกฎหมายระบุไว้ให้ รมว.คลังเป็นผู้อนุญาต ในกรณีที่ ธพ.จะมีนักลงทุนต่างชาติ
ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละ 25 โดยการพิจารณาของ ธปท.ก่อนที่จะยื่นเรื่องให้กับ ก.คลังพิจารณาจากกฎหมาย 2 มาตราที่เกี่ยวข้อง
คือ มาตราแรก รมว.คลังมีอำนาจที่จะอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นเกินร้อยละ 25 แต่ไม่เกินร้อยละ 49 ได้ ในกรณีที่ธนาคารต้องการแก้ไข
ฐานะทางการเงิน ส่วนมาตราที่ 2 จะอนุญาตได้ในกรณีที่ธนาคารหนึ่งเข้าถือหุ้นอีกธนาคารหนึ่งจากการรับโอนหุ้นมาจากการชำระหนี้ ซึ่งใน
กรณีนี้กฎหมายกำหนดไว้ให้ถือได้ไม่เกิน 6 เดือน ยกเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก รมว.คลัง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ธปท.ยังไม่ได้รับหนังสือ
ที่การขอเข้าถือหุ้นใน ธ.ธนชาตเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.99 (กรุงเทพธุรกิจ, แนวหน้า, ข่าวสด)
2. สมาคมธนาคารต่างประเทศเสนอแนะให้ ธปท.เรียกสมาคมธนาคารต่างประเทศเข้าหารือพร้อมกับสมาคมธนาคารไทยเพื่อ
ความเข้าใจที่ตรงกัน นายมาร์คัส เฮอร์รี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธ.เอชเอสบีซีประเทศไทย ในฐานะประธานสมาคมธนาคารต่างประเทศ
เปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา สมาคมธนาคารต่างประเทศได้เข้าหารือกับรองผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพรวมภาวะเศรษฐกิจโลกและของไทย ซึ่งมีความเห็นสอดคล้องกันว่า เศรษฐกิจยังทรงตัวเกิดจาก
ความไม่แน่นอนทางด้านการเมืองและความผันผวนอัตราแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ ยังได้หารือเรื่องกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของธนาคารกลาง เพื่อให้
เกิดประโยชน์และมีความคล่องตัวในการบริหารธุรกิจของธนาคารต่างประเทศ ทั้งนี้ สมาคมธนาคารต่างประเทศได้เสนอแนะให้ ธปท.พิจารณา
กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในการกำกับดูแลหรือเงื่อนไขการดำเนินธุรกิจนั้น ขอให้มีความยืดหยุ่นเพียงพอ รวมทั้งอธิบายกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่าง ๆ ขอให้
ธปท.ได้เรียกสมาคมธนาคารต่างประเทศเข้าพบหารือพร้อม ๆ กับสมาคมธนาคารไทย เพื่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจที่เท่าเทียมกัน ระหว่าง
ธพ.ไทย และ ธพ.ต่างประเทศ และสร้างความเข้าใจที่ตรงกันทั้งหมด (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, บ้านเมือง, แนวหน้า)
3. รมว.คลังเร่งให้ สศค.พิจารณาวงเงินออกพันธบัตรที่ ธปท.เสนอมาวงเงิน 4 แสนล้านบาท รายงานข่าวจาก ก.คลัง
เปิดเผยว่า รมว.คลังได้เร่งรัดให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เร่งพิจารณาวงเงินออกพันธบัตรที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เสนอมาล่าสุด โดยขณะนี้ ผอ. สศค.อยู่ระหว่างการเตรียมเรื่องดังกล่าวส่งไปให้ รมว.คลังพิจารณาอนุมัติ ซึ่งเบื้องต้น สศค.เห็นชอบกับ
วงเงินออกพันธบัตรที่ ธปท.ขอมา 4 แสนล้านบาท เนื่องจากเห็นว่าแนวโน้มที่ ธปท.จะต้องเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง
หากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่ได้ผลเพียงพอในการสกัดเก็งกำไรค่าเงินบาท รวมทั้งพบว่านโยบายในการบริหารจัดการนโยบาย
ทางการเงินโดยเฉพาะการดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาทของ ธปท.มักจะไม่ได้ผล ดังนั้น สศค.จึงเห็นว่าประเทศไทยควรนำนโยบาย
ด้านการเงิน การคลังที่ประเทศอังกฤษใช้อยู่ในปัจจุบันมาปรับใช้ (แนวหน้า)
4. ก.คลังเผยมาตรการตั้งสำรองตามเกณฑ์ IAS39 ของ ธปท.จะส่งผลให้การนำส่งรายได้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจปี 50
ลดลง 2 พันล้านบาท รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ผลจากมาตรการตั้งสำรองหนี้เสียตามเกณฑ์มาตรฐานบัญชีใหม่ (IAS39) ของ
ธปท.ที่เริ่มนำมาใช้ปี 50 นี้ จะส่งผลกระทบต่อการนำส่งรายได้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในปีนี้ด้วยทันที ซึ่งประเมินเบื้องต้นว่า ธ.รัฐทั้ง
3 แห่ง ได้แก่ ธ.ออมสิน ธ.อาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และ ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) จะต้องมีภาระใน
การตั้งสำรองหนี้เสียเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเบื้องต้นประเมินว่า จะกระทบต่อรายได้นำส่งรัฐหายไปประมาณ 2 พันล้านบาท นอกจากนี้ ยังคาดว่า
ผลจากมาตรการ IAS39 จะกระทบต่ออัตราการทำให้รายได้และกำไรสุทธิของธนาคารแต่ละแห่งที่ปรับตัวลดลง (โพสต์ทูเดย์)
5. ก.ล.ต.ขอให้ ก.คลังแก้ไขร่างแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ใหม่ รายงานข่าวจาก ก.คลัง
เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้เข้าหารือสำนักงาน
เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เพื่อขอให้ ก.คลังแก้ไขร่างแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แม้ร่างแก้ไขเพิ่มเติม
กฎหมายฉบับดังกล่าวเพิ่งจะผ่านการอนุมัติจาก ครม.ได้ไม่นานก็ตาม โดยผู้บริหารจาก ก.ล.ต.ให้เหตุผลในการขอแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวว่า
บจ.ในตลาดหลักทรัพย์ได้มาร้องเรียนว่า ข้อกำหนดในร่างแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ค่อนข้างจะเข้มงวดในเรื่องธรรมาภิบาลมากเกินไป ทำให้
อาจลดแรงจูงใจในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ขณะที่ ที่ปรึกษา รมว.คลัง (ดร.สมชัย จิตสุชน) เปิดเผยว่า ตนได้รับมอบหมาย
จาก รมว.คลังให้นำร่างกฎหมายการเงินหลายฉบับ โดยเฉพาะกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาของ ครม.ในชุดนี้มาพิจารณาในรายละเอียดอีกครั้ง
เช่น ร่างแก้ไขกฎหมายธุรกิจสถาบันการเงิน ร่างแก้ไขกฎหมายธปท. และร่างแก้ไขกฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น (กรุงเทพธุรกิจ)
6. ผลการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมภาษีต่ำกว่าประมาณการที่กำหนดไว้ 4-5 พันล้านบาท รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผย
ผลการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมภาษี ได้แก่ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร ในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมาว่า การจัดเก็บรายได้
รวมของ 3 กรมภาษีต่ำกว่าประมาณการที่กำหนดไว้ 4-5 พันล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้ผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในช่วง 6 เดือนแรกของปี
งปม.50 (ต.ค.49-มี.ค.50) ต่ำกว่าประมาณการที่กำหนดไว้ 620,857 ล้านบาทเล็กน้อย ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่ผลการจัดเก็บ
รายได้รวมของรัฐบาลต่ำกว่าประมาณการที่กำหนดไว้ (กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของ สรอ.ในเดือน มี.ค.50 จะลดลงที่ระดับ 51.1 เทียบต่อเดือน รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ
30 มี.ค.50 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า ดัชนีชี้วัดภาคการผลิต (Manufacturing index)
ของ สรอ. ซึ่งจัดทำโดย The Institute for Supply Management (ISM) จะลดลงที่ระดับ 51.1 ในเดือน มี.ค.50 จากระดับ 52.3
ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งเป็นระดับที่สะท้อนการขยายตัวของภาคการผลิต สรอ. ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลดัชนีชี้วัดการ
ดำเนินธุรกิจในภาคตะวันตกตอนกลางของ สรอ.เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ที่จัดทำโดย The National Association of Purchasing
Management-Chicago ซึ่งดัชนีปรับเพิ่มขึ้นที่ระดับ 61.7 จากระดับ 47.9 ส่งผลให้นักเศรษฐศาสตร์ส่วนหนึ่งคาดการณ์ Manufacturing
index ของ ISM ใหม่ โดยนักเศรษฐศาสตร์จาก RBS Greenwich Capital ได้ปรับเพิ่มการคาดการณ์เป็นระดับ 52.0 จากระดับ 51.0
ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์จาก Deutsche Bank ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงการคาดการณ์ดัชนีฯ ดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าดัชนีฯ ไม่ได้ปรับตัวดีขึ้นใน
ระดับที่มากนักเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ ซึ่งรายงานจาก FRB of New York, Richmond และ Philadelphia (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของผู้ผลิตรายใหญ่ในญี่ปุ่นในเดือน มี.ค.50 ลดลงเมื่อเทียบกับผลสำรวจครั้งก่อนในเดือน ธ.ค.49 รายงานจาก
โตเกียว เมื่อ 2 เม.ย.50 ผลสำรวจความเห็นภาคธุรกิจโดย ธ.กลางญี่ปุ่นหรือที่เรียกว่า tankan ในระหว่างวันที่ 23 ก.พ.ถึง 30 มี.ค.50
ปรากฎว่าดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้ผลิตรายใหญ่ลดลงมาอยู่ที่ระดับ +23 ซึ่งสะท้อนว่าจำนวนผู้ผลิตที่มองว่าสถานภาพทางธุรกิจของตนดีขึ้นมีมากกว่า
ผู้ผลิตที่มองว่าเลวลงร้อยละ 23 (ลดลงจากระดับ +25 ในเดือน ธ.ค.49) และต่ำกว่าระดับ +24 จากผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์
เล็กน้อย ทั้งนี้เป็นผลจากความกังวลว่าเศรษฐกิจของ สรอ.และเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลง ในขณะที่เงินเยนมีค่าสูงขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์
สรอ. แต่อย่างไรก็ดี ตัวเลขดัชนีที่อยู่ในระดับไม่ต่ำกว่า +20 สะท้อนว่าภาคธุรกิจของญี่ปุ่นยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี สอดคล้องกับรายงานที่ชี้ว่า
การใช้จ่ายภาคครัวเรือนยังขยายตัวและผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงน้อยกว่าที่คาดไว้ โดยผลสำรวจครั้งนี้ชี้ว่าผู้ผลิตรายใหญ่มีแผนที่จะลงทุนในปี
การเงินใหม่ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.50 นี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เทียบกับที่ตลาดคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9
ในปีการเงินก่อนซึ่งสิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค.50 แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าผลสำรวจในครั้งนี้จะออกมาในรูปใด ตลาดได้คาดการณ์ไว้แล้วว่า ธ.กลางญี่ปุ่น
จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมในวันที่ 9 - 10 เม.ย.50 ที่จะถึงนี้ (รอยเตอร์)
3. ยอดการส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อ
วันที่ 2 เม.ย.50 ก.พาณิชย์ของเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ยอดการส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 จากปีก่อน
สูงขึ้นจากร้อยละ 10.5 ในเดือน ก.พ.50 รวมทั้งสูงกว่าที่รอยเตอร์คาดการณ์กันไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 ทำให้ความกังวลเกี่ยวกับ
เศรษฐกิจของ สรอ. ที่ชะลอตัวที่จะส่งผลถึงความต้องการสินค้าจากเกาหลีใต้นั้นลดลง ขณะที่การนำเข้าในเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1
จากปีก่อน เทียบกับร้อยละ 7.3 ในเดือน ก.พ.50 และสูงกว่าที่มีการคาดการณ์กันไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 เช่นกัน โดยยอดรวมเบื้องต้น
ของการส่งออกในเดือน มี.ค.50 มีมูลค่า 30.61 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนการนำเข้ามีมูลค่ารวม 29.09 พันล้านดอลาร์ สรอ. ทำให้
ยอดเกินดุลการค้ามีมูลค่า 1.52 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ เกาหลีใต้เป็นประเทศเศรษฐกิจหลักในภูมิภาคประเทศแรกที่รายงานตัวเลข
การค้าในแต่ละเดือน โดยมียอดการสั่งซื้อสินค้าจากจีนและ สรอ. รวมกันคิดเป็นสัดส่วน 2 ใน 5 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของเกาหลีใต้
และเป็นการส่งออกสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ประมาณร้อยละ 45 อย่างไรก็ตาม ก.พาณิชย์ของเกาหลีใต้คาดการณ์ว่าการขยายตัว
ของการส่งออกในปีนี้จะชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 10.4 จากร้อยละ 14.4 ในปี 49 โดยมีปัจจัยลบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. (รอยเตอร์)
4. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค. จะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 50
ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 10 คนโดยรอยเตอร์คาดว่าในเดือน มี.ค. อัตราเงินเฟ้อจะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน ก.พ. เนื่องจาก
การบริโภคชะงักงัน ทั้งนี้ผลการสำรวจคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งแสดงภาวะเงินเฟ้อในเดือนมี.ค. จะอยู่ที่ร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันปีที่แล้วไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน ก.พ. ที่อัตราเงินเฟ้อเริ่มฟื้นตัวภายหลังจากอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 7 ปีที่ร้อยละ 1.7
เมื่อเดือน ม.ค. อย่างไรก็ตามนาย Lim Roh — Joong นักเศรษฐศาสตร์จาก Kyobo Investment Trust Management กล่าวว่า
การสูงขึ้นของค่าธรรมเนียมการขนส่งสาธารณะ และราคาอาหารมีส่วนกดดันอัตราเงินเฟ้อบ้างแต่ยังไม่มากพอที่จะผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อ
เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนการบริโภคในประเทศไม่ได้ขยายตัวมากนักดังนั้นแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์จึงมีเพียงเล็กน้อย
ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์เห็นว่าแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อค่อนข้างจะมีเสถียรภาพ ทั้งนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติเกาหลีใต้ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อใน
เดือน มี.ค. ว่าจะสูงขึ้นจากเดือน ก.พ. ร้อยละ 0.6 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ส่วน ธ.กลางเกาหลีใต้คาดว่าในปีนี้อัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น
เล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 2.6 จากร้อยละ 2.4 เมื่อปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 2 เม.ย. 50 30 มี.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.021 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.7983/35.1354 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.64266 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 673.71/8.23 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,950/11,050 10,950/11,050 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 63.77 64.39 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.99*/24.14* 27.99*/24.14* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 29 มี.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เผยกรณี ธ.โนวาสโกเทียซื้อหุ้น ธ.ธนชาต ได้ถึงร้อยละ 49 หรือไม่ ต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กฎมายกำหนดไว้
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่ ธ.โนวาสโกเทีย ได้ทำข้อตกลงกับ ธ.ธนชาต
โดยจะขอถือหุ้นใน ธ.ธนชาตเป็นสัดส่วนร้อยละ 49 ว่า โดยหลักกฎหมายระบุไว้ให้ รมว.คลังเป็นผู้อนุญาต ในกรณีที่ ธพ.จะมีนักลงทุนต่างชาติ
ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละ 25 โดยการพิจารณาของ ธปท.ก่อนที่จะยื่นเรื่องให้กับ ก.คลังพิจารณาจากกฎหมาย 2 มาตราที่เกี่ยวข้อง
คือ มาตราแรก รมว.คลังมีอำนาจที่จะอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นเกินร้อยละ 25 แต่ไม่เกินร้อยละ 49 ได้ ในกรณีที่ธนาคารต้องการแก้ไข
ฐานะทางการเงิน ส่วนมาตราที่ 2 จะอนุญาตได้ในกรณีที่ธนาคารหนึ่งเข้าถือหุ้นอีกธนาคารหนึ่งจากการรับโอนหุ้นมาจากการชำระหนี้ ซึ่งใน
กรณีนี้กฎหมายกำหนดไว้ให้ถือได้ไม่เกิน 6 เดือน ยกเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก รมว.คลัง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ธปท.ยังไม่ได้รับหนังสือ
ที่การขอเข้าถือหุ้นใน ธ.ธนชาตเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.99 (กรุงเทพธุรกิจ, แนวหน้า, ข่าวสด)
2. สมาคมธนาคารต่างประเทศเสนอแนะให้ ธปท.เรียกสมาคมธนาคารต่างประเทศเข้าหารือพร้อมกับสมาคมธนาคารไทยเพื่อ
ความเข้าใจที่ตรงกัน นายมาร์คัส เฮอร์รี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธ.เอชเอสบีซีประเทศไทย ในฐานะประธานสมาคมธนาคารต่างประเทศ
เปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา สมาคมธนาคารต่างประเทศได้เข้าหารือกับรองผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพรวมภาวะเศรษฐกิจโลกและของไทย ซึ่งมีความเห็นสอดคล้องกันว่า เศรษฐกิจยังทรงตัวเกิดจาก
ความไม่แน่นอนทางด้านการเมืองและความผันผวนอัตราแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ ยังได้หารือเรื่องกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของธนาคารกลาง เพื่อให้
เกิดประโยชน์และมีความคล่องตัวในการบริหารธุรกิจของธนาคารต่างประเทศ ทั้งนี้ สมาคมธนาคารต่างประเทศได้เสนอแนะให้ ธปท.พิจารณา
กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในการกำกับดูแลหรือเงื่อนไขการดำเนินธุรกิจนั้น ขอให้มีความยืดหยุ่นเพียงพอ รวมทั้งอธิบายกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่าง ๆ ขอให้
ธปท.ได้เรียกสมาคมธนาคารต่างประเทศเข้าพบหารือพร้อม ๆ กับสมาคมธนาคารไทย เพื่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจที่เท่าเทียมกัน ระหว่าง
ธพ.ไทย และ ธพ.ต่างประเทศ และสร้างความเข้าใจที่ตรงกันทั้งหมด (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, บ้านเมือง, แนวหน้า)
3. รมว.คลังเร่งให้ สศค.พิจารณาวงเงินออกพันธบัตรที่ ธปท.เสนอมาวงเงิน 4 แสนล้านบาท รายงานข่าวจาก ก.คลัง
เปิดเผยว่า รมว.คลังได้เร่งรัดให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เร่งพิจารณาวงเงินออกพันธบัตรที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เสนอมาล่าสุด โดยขณะนี้ ผอ. สศค.อยู่ระหว่างการเตรียมเรื่องดังกล่าวส่งไปให้ รมว.คลังพิจารณาอนุมัติ ซึ่งเบื้องต้น สศค.เห็นชอบกับ
วงเงินออกพันธบัตรที่ ธปท.ขอมา 4 แสนล้านบาท เนื่องจากเห็นว่าแนวโน้มที่ ธปท.จะต้องเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง
หากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่ได้ผลเพียงพอในการสกัดเก็งกำไรค่าเงินบาท รวมทั้งพบว่านโยบายในการบริหารจัดการนโยบาย
ทางการเงินโดยเฉพาะการดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาทของ ธปท.มักจะไม่ได้ผล ดังนั้น สศค.จึงเห็นว่าประเทศไทยควรนำนโยบาย
ด้านการเงิน การคลังที่ประเทศอังกฤษใช้อยู่ในปัจจุบันมาปรับใช้ (แนวหน้า)
4. ก.คลังเผยมาตรการตั้งสำรองตามเกณฑ์ IAS39 ของ ธปท.จะส่งผลให้การนำส่งรายได้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจปี 50
ลดลง 2 พันล้านบาท รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ผลจากมาตรการตั้งสำรองหนี้เสียตามเกณฑ์มาตรฐานบัญชีใหม่ (IAS39) ของ
ธปท.ที่เริ่มนำมาใช้ปี 50 นี้ จะส่งผลกระทบต่อการนำส่งรายได้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในปีนี้ด้วยทันที ซึ่งประเมินเบื้องต้นว่า ธ.รัฐทั้ง
3 แห่ง ได้แก่ ธ.ออมสิน ธ.อาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และ ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) จะต้องมีภาระใน
การตั้งสำรองหนี้เสียเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเบื้องต้นประเมินว่า จะกระทบต่อรายได้นำส่งรัฐหายไปประมาณ 2 พันล้านบาท นอกจากนี้ ยังคาดว่า
ผลจากมาตรการ IAS39 จะกระทบต่ออัตราการทำให้รายได้และกำไรสุทธิของธนาคารแต่ละแห่งที่ปรับตัวลดลง (โพสต์ทูเดย์)
5. ก.ล.ต.ขอให้ ก.คลังแก้ไขร่างแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ใหม่ รายงานข่าวจาก ก.คลัง
เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้เข้าหารือสำนักงาน
เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เพื่อขอให้ ก.คลังแก้ไขร่างแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แม้ร่างแก้ไขเพิ่มเติม
กฎหมายฉบับดังกล่าวเพิ่งจะผ่านการอนุมัติจาก ครม.ได้ไม่นานก็ตาม โดยผู้บริหารจาก ก.ล.ต.ให้เหตุผลในการขอแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวว่า
บจ.ในตลาดหลักทรัพย์ได้มาร้องเรียนว่า ข้อกำหนดในร่างแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ค่อนข้างจะเข้มงวดในเรื่องธรรมาภิบาลมากเกินไป ทำให้
อาจลดแรงจูงใจในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ขณะที่ ที่ปรึกษา รมว.คลัง (ดร.สมชัย จิตสุชน) เปิดเผยว่า ตนได้รับมอบหมาย
จาก รมว.คลังให้นำร่างกฎหมายการเงินหลายฉบับ โดยเฉพาะกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาของ ครม.ในชุดนี้มาพิจารณาในรายละเอียดอีกครั้ง
เช่น ร่างแก้ไขกฎหมายธุรกิจสถาบันการเงิน ร่างแก้ไขกฎหมายธปท. และร่างแก้ไขกฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น (กรุงเทพธุรกิจ)
6. ผลการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมภาษีต่ำกว่าประมาณการที่กำหนดไว้ 4-5 พันล้านบาท รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผย
ผลการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมภาษี ได้แก่ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร ในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมาว่า การจัดเก็บรายได้
รวมของ 3 กรมภาษีต่ำกว่าประมาณการที่กำหนดไว้ 4-5 พันล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้ผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในช่วง 6 เดือนแรกของปี
งปม.50 (ต.ค.49-มี.ค.50) ต่ำกว่าประมาณการที่กำหนดไว้ 620,857 ล้านบาทเล็กน้อย ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่ผลการจัดเก็บ
รายได้รวมของรัฐบาลต่ำกว่าประมาณการที่กำหนดไว้ (กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของ สรอ.ในเดือน มี.ค.50 จะลดลงที่ระดับ 51.1 เทียบต่อเดือน รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ
30 มี.ค.50 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า ดัชนีชี้วัดภาคการผลิต (Manufacturing index)
ของ สรอ. ซึ่งจัดทำโดย The Institute for Supply Management (ISM) จะลดลงที่ระดับ 51.1 ในเดือน มี.ค.50 จากระดับ 52.3
ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งเป็นระดับที่สะท้อนการขยายตัวของภาคการผลิต สรอ. ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลดัชนีชี้วัดการ
ดำเนินธุรกิจในภาคตะวันตกตอนกลางของ สรอ.เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ที่จัดทำโดย The National Association of Purchasing
Management-Chicago ซึ่งดัชนีปรับเพิ่มขึ้นที่ระดับ 61.7 จากระดับ 47.9 ส่งผลให้นักเศรษฐศาสตร์ส่วนหนึ่งคาดการณ์ Manufacturing
index ของ ISM ใหม่ โดยนักเศรษฐศาสตร์จาก RBS Greenwich Capital ได้ปรับเพิ่มการคาดการณ์เป็นระดับ 52.0 จากระดับ 51.0
ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์จาก Deutsche Bank ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงการคาดการณ์ดัชนีฯ ดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าดัชนีฯ ไม่ได้ปรับตัวดีขึ้นใน
ระดับที่มากนักเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ ซึ่งรายงานจาก FRB of New York, Richmond และ Philadelphia (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของผู้ผลิตรายใหญ่ในญี่ปุ่นในเดือน มี.ค.50 ลดลงเมื่อเทียบกับผลสำรวจครั้งก่อนในเดือน ธ.ค.49 รายงานจาก
โตเกียว เมื่อ 2 เม.ย.50 ผลสำรวจความเห็นภาคธุรกิจโดย ธ.กลางญี่ปุ่นหรือที่เรียกว่า tankan ในระหว่างวันที่ 23 ก.พ.ถึง 30 มี.ค.50
ปรากฎว่าดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้ผลิตรายใหญ่ลดลงมาอยู่ที่ระดับ +23 ซึ่งสะท้อนว่าจำนวนผู้ผลิตที่มองว่าสถานภาพทางธุรกิจของตนดีขึ้นมีมากกว่า
ผู้ผลิตที่มองว่าเลวลงร้อยละ 23 (ลดลงจากระดับ +25 ในเดือน ธ.ค.49) และต่ำกว่าระดับ +24 จากผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์
เล็กน้อย ทั้งนี้เป็นผลจากความกังวลว่าเศรษฐกิจของ สรอ.และเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลง ในขณะที่เงินเยนมีค่าสูงขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์
สรอ. แต่อย่างไรก็ดี ตัวเลขดัชนีที่อยู่ในระดับไม่ต่ำกว่า +20 สะท้อนว่าภาคธุรกิจของญี่ปุ่นยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี สอดคล้องกับรายงานที่ชี้ว่า
การใช้จ่ายภาคครัวเรือนยังขยายตัวและผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงน้อยกว่าที่คาดไว้ โดยผลสำรวจครั้งนี้ชี้ว่าผู้ผลิตรายใหญ่มีแผนที่จะลงทุนในปี
การเงินใหม่ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.50 นี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เทียบกับที่ตลาดคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9
ในปีการเงินก่อนซึ่งสิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค.50 แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าผลสำรวจในครั้งนี้จะออกมาในรูปใด ตลาดได้คาดการณ์ไว้แล้วว่า ธ.กลางญี่ปุ่น
จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมในวันที่ 9 - 10 เม.ย.50 ที่จะถึงนี้ (รอยเตอร์)
3. ยอดการส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อ
วันที่ 2 เม.ย.50 ก.พาณิชย์ของเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ยอดการส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 จากปีก่อน
สูงขึ้นจากร้อยละ 10.5 ในเดือน ก.พ.50 รวมทั้งสูงกว่าที่รอยเตอร์คาดการณ์กันไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 ทำให้ความกังวลเกี่ยวกับ
เศรษฐกิจของ สรอ. ที่ชะลอตัวที่จะส่งผลถึงความต้องการสินค้าจากเกาหลีใต้นั้นลดลง ขณะที่การนำเข้าในเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1
จากปีก่อน เทียบกับร้อยละ 7.3 ในเดือน ก.พ.50 และสูงกว่าที่มีการคาดการณ์กันไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 เช่นกัน โดยยอดรวมเบื้องต้น
ของการส่งออกในเดือน มี.ค.50 มีมูลค่า 30.61 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนการนำเข้ามีมูลค่ารวม 29.09 พันล้านดอลาร์ สรอ. ทำให้
ยอดเกินดุลการค้ามีมูลค่า 1.52 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ เกาหลีใต้เป็นประเทศเศรษฐกิจหลักในภูมิภาคประเทศแรกที่รายงานตัวเลข
การค้าในแต่ละเดือน โดยมียอดการสั่งซื้อสินค้าจากจีนและ สรอ. รวมกันคิดเป็นสัดส่วน 2 ใน 5 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของเกาหลีใต้
และเป็นการส่งออกสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ประมาณร้อยละ 45 อย่างไรก็ตาม ก.พาณิชย์ของเกาหลีใต้คาดการณ์ว่าการขยายตัว
ของการส่งออกในปีนี้จะชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 10.4 จากร้อยละ 14.4 ในปี 49 โดยมีปัจจัยลบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. (รอยเตอร์)
4. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค. จะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 50
ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 10 คนโดยรอยเตอร์คาดว่าในเดือน มี.ค. อัตราเงินเฟ้อจะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน ก.พ. เนื่องจาก
การบริโภคชะงักงัน ทั้งนี้ผลการสำรวจคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งแสดงภาวะเงินเฟ้อในเดือนมี.ค. จะอยู่ที่ร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันปีที่แล้วไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน ก.พ. ที่อัตราเงินเฟ้อเริ่มฟื้นตัวภายหลังจากอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 7 ปีที่ร้อยละ 1.7
เมื่อเดือน ม.ค. อย่างไรก็ตามนาย Lim Roh — Joong นักเศรษฐศาสตร์จาก Kyobo Investment Trust Management กล่าวว่า
การสูงขึ้นของค่าธรรมเนียมการขนส่งสาธารณะ และราคาอาหารมีส่วนกดดันอัตราเงินเฟ้อบ้างแต่ยังไม่มากพอที่จะผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อ
เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนการบริโภคในประเทศไม่ได้ขยายตัวมากนักดังนั้นแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์จึงมีเพียงเล็กน้อย
ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์เห็นว่าแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อค่อนข้างจะมีเสถียรภาพ ทั้งนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติเกาหลีใต้ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อใน
เดือน มี.ค. ว่าจะสูงขึ้นจากเดือน ก.พ. ร้อยละ 0.6 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ส่วน ธ.กลางเกาหลีใต้คาดว่าในปีนี้อัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น
เล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 2.6 จากร้อยละ 2.4 เมื่อปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 2 เม.ย. 50 30 มี.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.021 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.7983/35.1354 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.64266 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 673.71/8.23 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,950/11,050 10,950/11,050 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 63.77 64.39 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.99*/24.14* 27.99*/24.14* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 29 มี.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--