ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. จีนขยายช่วงการเคลื่อนไหวของค่าเงินหยวนส่งผลดีต่อค่าเงินบาทและการส่งออกของไทย ดร.ธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท.
กล่าวถึงกรณีที่จีนปรับช่วงการเคลื่อนไหวของค่าเงินหยวนจากร้อยละ 0.3 เป็นร้อยละ 0.5 ว่า จะช่วยลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาทเนื่องจาก
จะทำให้ค่าเงินหยวนของจีนมีโอกาสแข็งค่าขึ้นไปในทิศทางเดียวกับประเทศอื่นในภูมิภาคมากขึ้นกว่าที่ผ่านมาที่มีช่วงการเคลื่อนไหวของค่าเงินหยวน
แคบกว่าประเทศอื่น ส่วนกรณีที่หลายฝ่ายกังวลว่าการแข็งค่าขึ้นของหยวนจะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นตามไปด้วยนั้น หากจะตีความตามหลักจิตวิทยา
แล้วก็อาจจะเป็นเช่นนั้น แต่โดยหลักแล้วเงินทุนที่ไหลเข้ามาเพื่อหาผลประโยชน์จากค่าเงินที่แข็งค่าขึ้นน่าจะไหลเข้าไปหาผลประโยชน์จากจีนได้
มากขึ้นกว่าในช่วงที่จีนยังมีช่วงการเคลื่อนไหวของค่าเงินเพียงร้อยละ 0.3 ซึ่งอาจจะทำให้มีเงินทุนที่ไหลออกจากประเทศอื่นในภูมิภาคไปจีนได้บ้าง
จึงน่าจะช่วยลดแรงกดดันค่าเงินได้ ส่วนผลต่อการส่งออกนั้นไทยได้ประโยชน์แน่นอน เนื่องจากการที่เงินหยวนแข็งค่าขึ้นจะช่วยลดความได้เปรียบ
ระหว่างจีนกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค (กรุงเทพธุรกิจ)
2. คาดว่า ธปท. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.5 น.ส.ถนอมศรี ฟองอรุณรุ่ง ผอ.บริหาร ฝ่ายวิจัย บล.ภัทร
คาดว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 23 พ.ค.นี้ กนง. จะตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกร้อยละ 0.5
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากคาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะเติบโตได้เพียงร้อยละ 3.7 ลดลงจากร้อยละ 5 ในปี 49 ส่วนอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะ
อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5 จากปัญหาราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ขณะที่ในช่วง 3 เดือนแรกปีนี้ตัวเลขเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมีสูงถึง
5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ด้านฝ่ายวิจัย ธ.ทหารไทย ประเมินว่ามีโอกาสสูงที่ กนง. จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกร้อยละ 0.5 เพราะ
ขณะนี้ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนหดตัวถึงร้อยละ 2.9 การนำเข้าสินค้าทุนหดตัว ชี้ให้เห็นว่าภาคเอกชนยังไม่กล้าตัดสินใจลงทุนจากสถานการณ์
ความขัดแย้งทางการเมืองและมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐยังไม่ชัดเจน ด้าน นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผอ.ศูนย์ศึกษาธุรกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อม ม.หอการค้าไทย คาดว่า กนง. จะมีการพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.5 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ
ซึ่งมองว่าการปรับอัตราดอกเบี้ยใน 2 ครั้งที่ผ่านมายังน้อยเกินไป กนง. ควรปรับอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ลงร้อยละ 0.75 — 1.00 เพื่อ
กระตุ้นการบริโภค (โพสต์ทูเดย์)
3. ครม. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวน งปม.ปี 51 จากการที่เศรษฐกิจปีนี้ชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้
นายณัฐฐวัฒน์ สุทธิโยธิน ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนัก นรม. แถลงผลการประชุม ครม. เมื่อวันที่ 22 พ.ค.50 ว่า ที่ประชุมเห็นชอบการจัดทำ งปม.
รายจ่ายปี 51 วงเงิน 1,635,000 ล้านบาท โดยเป็น งปม.แบบขาดดุล 1.2 แสนล้านบาท แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 1,188,908.6 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 72 รายจ่ายลงทุน 400,315.5 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.5 และชำระคืนต้นเงินกู้ 45,775.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.5
ด้าน นายสมหมาย ภาษี รมช.คลัง กล่าวว่า ที่ประชุม ครม. ได้มอบหมายให้ ก.คลัง นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รอง นรม. และ
รมว.อุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ สศช. และ ธปท. ไปทบทวนการจัดทำ งปม.ปี 51 ด้วย เนื่องจากเห็นว่าปีนี้เศรษฐกิจชะลอตัว
มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้น การตั้งเป้าหมายการขาดดุล งปม. ปี 51 ไว้ที่ 1.2 แสนล้านบาท อาจจะต้องปรับเพิ่มเพื่อให้สอดคล้องกับ
ความเป็นจริง (มติชน, โพสต์ทูเดย์)
4. ยอดหนี้สาธารณะ ณ 31 มี.ค.50 เพิ่มขึ้นเป็น 3.21 ล้านล้านบาท นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผอ.สนง.บริหารหนี้สาธารณะ
เปิดเผยว่า ยอดหนี้สาธารณะคงค้างล่าสุด ณ 31 มี.ค.50 มีจำนวน 3.21 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 38.10 ของจีดีพี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
43,124 ล้านบาท เนื่องจากรัฐบาลได้กู้หนี้โดยตรงเพิ่มขึ้น 64,122 ล้านบาท ขณะที่หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินลดลง
14,158 ล้านบาท หนี้สินของกองทุนพื้นฟูฯ ลดลง 3,341ล้านบาท และหนี้องค์กรของรัฐอื่นลดลง 3,500 ล้านบาท ส่วนการบริหารจัดการหนี้
ของภาครัฐในช่วง 7 เดือน (ต.ค.49 — เม.ย.50) ก.คลังได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศ โดยชำระคืนก่อนกำหนด 18,707 ล้านบาท
รีไฟแนนซ์เงินกู้ต่างประเทศด้วยเงินบาท 17,200 ล้านบาท และได้บริหารความเสี่ยงหนี้เงินกู้โดยการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า
วงเงิน 300 ล้านดอลลาร์ สรอ. และหนี้เงินกู้ซามูไร บอนด์ วงเงิน 48,000 ล้านเยน ทำให้ลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 18,707 ล้านบาท
และลดภาระดอกเบี้ยได้รวม 897 ล้านบาท รวมทั้ง ก.คลังได้ปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศโดยแปลงตั๋วเงินคลังที่ออกเพื่อชดเชยการขาดดุล
งปม. 44,000 ล้านบาท เป็นพันธบัตร และปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรและตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ก้อนแรก
วงเงิน 45,000 ล้านบาท ขณะที่รัฐวิสาหกิจสามารถต่ออายุหนี้เดิมได้ 15,701 ล้านบาท (เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่ายอดขายบ้านใหม่ของ สรอ. ในเดือน เม.ย. จะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ
วันที่ 22 พ.ค. 50 ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 67 คนโดยรอยเตอร์คาดว่า ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ. ในเดือน เม.ย. จะ
ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน มี.ค. เนื่องจากมีการปรับลดราคาลง และสภาพอากาศดี สามารถชดเชยกับมาตรฐานการอนุมัติสินเชื่อที่อยู่อาศัย
ที่เข้มงวดขึ้น ทั้งนี้คาดว่ายอดขายบ้านใหม่ในเดือน เม.ย. เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้วจะอยู่ที่เฉลี่ย 860,000 หลังเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
จาก 858,000 หลังในเดือน มี.ค. โดยคาดการณ์อยู่ระหว่าง 800,000 — 940,000 หลัง ทั้งนี้ ก.พาณิชย์ สรอ. มีกำหนดที่จะประกาศ
ตัวเลขยอดขายบ้านใหม่อย่างเป็นทางการในวันพฤหัสบดีนี้ เวลา 10 นาฬิกา ซึ่งที่ผ่านมามีความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่องว่ายอดขายบ้านใหม่
จะได้รับผลกระทบเนื่องจาก ทั้งธนาคารพาณิชย์ และบริษัทสินเชื่อจำนองจะอนุมัติสินเชื่อน้อยลงสาเหตุจากหนี้สูญที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ปัจจุบันการ
ชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นที่วิตกของ ธ.กลาง สรอ. ว่าจะส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศหรือไม่ (รอยเตอร์)
2. คาดว่าคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ.ในเดือน เม.ย.50 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 22 พ.ค.50
ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์ คาดการณ์ว่า คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ.ในเดือน เม.ย.50 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 หลังจากที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 3.7 ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากคำสั่งซื้อเครื่องบินใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยนักวิเคราะห์ 72 คนคาดการณ์คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ
สรอ.ว่า จะอยู่ระหว่างลดลงร้อยละ 2.0 ถึงเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ทั้งนี้ คำสั่งซื้อสินค้าทุนที่ไม่ใช่ยุทโธปกรณ์ยกเว้นเครื่องบินจะเป็นหมวดสินค้า
ที่นักวิเคราะห์และตลาดเงินให้ความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นเครื่องชี้วัดการลงทุนของภาคธุรกิจ โดยนักวิเคราะห์คาดว่าหมวดคำสั่ง
ซื้อสินค้าดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นได้อย่างมาก อนึ่ง ตัวเลขคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ.จะประกาศอย่างเป็นทางการในวันพฤหัสบดีที่ 24 พ.ค.50
เวลา 8.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
3. ในเดือน มี.ค.50 Euro zone มียอดเกินดุลการค้า 7.4 พันล้านยูโรแม้ว่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นก็ตาม รายงานจากบรัสเซลส์
เมื่อ 22 พ.ค.50 สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานยอดเกินดุลการค้าในเดือน มี.ค.50 ของ 13 ประเทศที่ใช้เงินยูโรเป็นเงินสกุลหลัก
หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วมีจำนวน 7.4 พันล้านยูโรหรือประมาณ 10 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับ 0.6 พันล้านยูโรในเดือน มี.ค.49
หลังจากในเดือน ก.พ.50 มียอดขาดดุลการค้ารวม 1.3 พันล้านยูโรซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการขาดดุลการค้าด้านพลังงานซึ่งมีจำนวนเกือบ
42 พันล้านยูโรในช่วงเดือน ม.ค.- ก.พ.50 ในขณะที่ยอดเกินดุลการค้าจากการจำหน่ายสินค้าโรงงานคงที่อยู่ที่ 30 พันล้านยูโร สะท้อนให้
เห็นว่าการแข็งค่าขึ้นของเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.และเงินเยนของญี่ปุ่นเมื่อเร็ว ๆ นี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกแต่อย่างไร
โดยยอดส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ในขณะที่ยอดนำเข้าลดลงร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับเดือน ก.พ.50 ยอดส่งออกที่เพิ่มขึ้นสะท้อนให้เห็นว่า
เศรษฐกิจ Euro zone ยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่งซึ่งอาจทำให้ ธ.กลางยุโรปหรือ ECB พิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งใน
เดือน มิ.ย.50 ที่จะถึงนี้ (รอยเตอร์)
4. การจ้างงานของเยอรมนีในช่วงไตรมาสแรกปี 50 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 7 ปี รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 22 พ.ค.50
The Federal Statistics Office เปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานของเยอรมนีในช่วงไตรมาสแรกปี 50 (ม.ค.-มี.ค.) เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.5 สูงกว่า 2 ไตรมาสก่อนหน้า (ไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปี 49) ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 และเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 7 ปี
คิดเป็นจำนวนแรงงาน 39 ล้านคน โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจและความเหมาะสมของภูมิอากาศ แต่เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน ตัวเลขการจ้างงานลดลงจำนวน 662,000 คน ซึ่งถือว่าเป็นภาวะปกติของการจ้างงานในช่วงไตรมาสแรกของทุกปี
และยังคงต่ำกว่าระดับเฉลี่ยในรอบ 3 ปีก่อนหน้านี้ที่การจ้างงานในช่วงไตรมาสแรกอยู่ที่ลดลง 790,000 คน นอกจากนี้ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ZEW เปิดเผยว่า การที่ตัวเลขการจ้างงานเพิ่มขึ้นแสดงถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีที่กำลังดำเนินอยู่อย่างมีเสถียรภาพ นอกจากนั้น
ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในเดือน พ.ค.50 ก็ปรับตัวดีขึ้น เช่นเดียวกับตัวเลขการว่างงานในเดือน เม.ย.50 ซึ่งมีการ
เผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 และลดลงต่ำสุดในรอบ 6 ปี สอดคล้องกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ขยายตัว
ร้อยละ 0.5 สาเหตุหลักจากการลงทุนเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 23 พ.ค. 50 22 พ.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.616 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3997/34.7330 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.99063 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 732.77/19.49 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,800/10,900 10,850/10,950 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 65.87 66.75 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 30.39*/25.34** 30.39*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มเมื่อ 19 พ.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. จีนขยายช่วงการเคลื่อนไหวของค่าเงินหยวนส่งผลดีต่อค่าเงินบาทและการส่งออกของไทย ดร.ธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท.
กล่าวถึงกรณีที่จีนปรับช่วงการเคลื่อนไหวของค่าเงินหยวนจากร้อยละ 0.3 เป็นร้อยละ 0.5 ว่า จะช่วยลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาทเนื่องจาก
จะทำให้ค่าเงินหยวนของจีนมีโอกาสแข็งค่าขึ้นไปในทิศทางเดียวกับประเทศอื่นในภูมิภาคมากขึ้นกว่าที่ผ่านมาที่มีช่วงการเคลื่อนไหวของค่าเงินหยวน
แคบกว่าประเทศอื่น ส่วนกรณีที่หลายฝ่ายกังวลว่าการแข็งค่าขึ้นของหยวนจะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นตามไปด้วยนั้น หากจะตีความตามหลักจิตวิทยา
แล้วก็อาจจะเป็นเช่นนั้น แต่โดยหลักแล้วเงินทุนที่ไหลเข้ามาเพื่อหาผลประโยชน์จากค่าเงินที่แข็งค่าขึ้นน่าจะไหลเข้าไปหาผลประโยชน์จากจีนได้
มากขึ้นกว่าในช่วงที่จีนยังมีช่วงการเคลื่อนไหวของค่าเงินเพียงร้อยละ 0.3 ซึ่งอาจจะทำให้มีเงินทุนที่ไหลออกจากประเทศอื่นในภูมิภาคไปจีนได้บ้าง
จึงน่าจะช่วยลดแรงกดดันค่าเงินได้ ส่วนผลต่อการส่งออกนั้นไทยได้ประโยชน์แน่นอน เนื่องจากการที่เงินหยวนแข็งค่าขึ้นจะช่วยลดความได้เปรียบ
ระหว่างจีนกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค (กรุงเทพธุรกิจ)
2. คาดว่า ธปท. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.5 น.ส.ถนอมศรี ฟองอรุณรุ่ง ผอ.บริหาร ฝ่ายวิจัย บล.ภัทร
คาดว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 23 พ.ค.นี้ กนง. จะตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกร้อยละ 0.5
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากคาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะเติบโตได้เพียงร้อยละ 3.7 ลดลงจากร้อยละ 5 ในปี 49 ส่วนอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะ
อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5 จากปัญหาราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ขณะที่ในช่วง 3 เดือนแรกปีนี้ตัวเลขเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมีสูงถึง
5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ด้านฝ่ายวิจัย ธ.ทหารไทย ประเมินว่ามีโอกาสสูงที่ กนง. จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกร้อยละ 0.5 เพราะ
ขณะนี้ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนหดตัวถึงร้อยละ 2.9 การนำเข้าสินค้าทุนหดตัว ชี้ให้เห็นว่าภาคเอกชนยังไม่กล้าตัดสินใจลงทุนจากสถานการณ์
ความขัดแย้งทางการเมืองและมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐยังไม่ชัดเจน ด้าน นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผอ.ศูนย์ศึกษาธุรกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อม ม.หอการค้าไทย คาดว่า กนง. จะมีการพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.5 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ
ซึ่งมองว่าการปรับอัตราดอกเบี้ยใน 2 ครั้งที่ผ่านมายังน้อยเกินไป กนง. ควรปรับอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ลงร้อยละ 0.75 — 1.00 เพื่อ
กระตุ้นการบริโภค (โพสต์ทูเดย์)
3. ครม. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวน งปม.ปี 51 จากการที่เศรษฐกิจปีนี้ชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้
นายณัฐฐวัฒน์ สุทธิโยธิน ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนัก นรม. แถลงผลการประชุม ครม. เมื่อวันที่ 22 พ.ค.50 ว่า ที่ประชุมเห็นชอบการจัดทำ งปม.
รายจ่ายปี 51 วงเงิน 1,635,000 ล้านบาท โดยเป็น งปม.แบบขาดดุล 1.2 แสนล้านบาท แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 1,188,908.6 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 72 รายจ่ายลงทุน 400,315.5 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.5 และชำระคืนต้นเงินกู้ 45,775.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.5
ด้าน นายสมหมาย ภาษี รมช.คลัง กล่าวว่า ที่ประชุม ครม. ได้มอบหมายให้ ก.คลัง นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รอง นรม. และ
รมว.อุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ สศช. และ ธปท. ไปทบทวนการจัดทำ งปม.ปี 51 ด้วย เนื่องจากเห็นว่าปีนี้เศรษฐกิจชะลอตัว
มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้น การตั้งเป้าหมายการขาดดุล งปม. ปี 51 ไว้ที่ 1.2 แสนล้านบาท อาจจะต้องปรับเพิ่มเพื่อให้สอดคล้องกับ
ความเป็นจริง (มติชน, โพสต์ทูเดย์)
4. ยอดหนี้สาธารณะ ณ 31 มี.ค.50 เพิ่มขึ้นเป็น 3.21 ล้านล้านบาท นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผอ.สนง.บริหารหนี้สาธารณะ
เปิดเผยว่า ยอดหนี้สาธารณะคงค้างล่าสุด ณ 31 มี.ค.50 มีจำนวน 3.21 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 38.10 ของจีดีพี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
43,124 ล้านบาท เนื่องจากรัฐบาลได้กู้หนี้โดยตรงเพิ่มขึ้น 64,122 ล้านบาท ขณะที่หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินลดลง
14,158 ล้านบาท หนี้สินของกองทุนพื้นฟูฯ ลดลง 3,341ล้านบาท และหนี้องค์กรของรัฐอื่นลดลง 3,500 ล้านบาท ส่วนการบริหารจัดการหนี้
ของภาครัฐในช่วง 7 เดือน (ต.ค.49 — เม.ย.50) ก.คลังได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศ โดยชำระคืนก่อนกำหนด 18,707 ล้านบาท
รีไฟแนนซ์เงินกู้ต่างประเทศด้วยเงินบาท 17,200 ล้านบาท และได้บริหารความเสี่ยงหนี้เงินกู้โดยการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า
วงเงิน 300 ล้านดอลลาร์ สรอ. และหนี้เงินกู้ซามูไร บอนด์ วงเงิน 48,000 ล้านเยน ทำให้ลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 18,707 ล้านบาท
และลดภาระดอกเบี้ยได้รวม 897 ล้านบาท รวมทั้ง ก.คลังได้ปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศโดยแปลงตั๋วเงินคลังที่ออกเพื่อชดเชยการขาดดุล
งปม. 44,000 ล้านบาท เป็นพันธบัตร และปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรและตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ก้อนแรก
วงเงิน 45,000 ล้านบาท ขณะที่รัฐวิสาหกิจสามารถต่ออายุหนี้เดิมได้ 15,701 ล้านบาท (เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่ายอดขายบ้านใหม่ของ สรอ. ในเดือน เม.ย. จะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ
วันที่ 22 พ.ค. 50 ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 67 คนโดยรอยเตอร์คาดว่า ยอดขายบ้านใหม่ของ สรอ. ในเดือน เม.ย. จะ
ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน มี.ค. เนื่องจากมีการปรับลดราคาลง และสภาพอากาศดี สามารถชดเชยกับมาตรฐานการอนุมัติสินเชื่อที่อยู่อาศัย
ที่เข้มงวดขึ้น ทั้งนี้คาดว่ายอดขายบ้านใหม่ในเดือน เม.ย. เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้วจะอยู่ที่เฉลี่ย 860,000 หลังเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
จาก 858,000 หลังในเดือน มี.ค. โดยคาดการณ์อยู่ระหว่าง 800,000 — 940,000 หลัง ทั้งนี้ ก.พาณิชย์ สรอ. มีกำหนดที่จะประกาศ
ตัวเลขยอดขายบ้านใหม่อย่างเป็นทางการในวันพฤหัสบดีนี้ เวลา 10 นาฬิกา ซึ่งที่ผ่านมามีความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่องว่ายอดขายบ้านใหม่
จะได้รับผลกระทบเนื่องจาก ทั้งธนาคารพาณิชย์ และบริษัทสินเชื่อจำนองจะอนุมัติสินเชื่อน้อยลงสาเหตุจากหนี้สูญที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ปัจจุบันการ
ชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นที่วิตกของ ธ.กลาง สรอ. ว่าจะส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศหรือไม่ (รอยเตอร์)
2. คาดว่าคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ.ในเดือน เม.ย.50 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 22 พ.ค.50
ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์ คาดการณ์ว่า คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ.ในเดือน เม.ย.50 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 หลังจากที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 3.7 ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากคำสั่งซื้อเครื่องบินใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยนักวิเคราะห์ 72 คนคาดการณ์คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ
สรอ.ว่า จะอยู่ระหว่างลดลงร้อยละ 2.0 ถึงเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ทั้งนี้ คำสั่งซื้อสินค้าทุนที่ไม่ใช่ยุทโธปกรณ์ยกเว้นเครื่องบินจะเป็นหมวดสินค้า
ที่นักวิเคราะห์และตลาดเงินให้ความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นเครื่องชี้วัดการลงทุนของภาคธุรกิจ โดยนักวิเคราะห์คาดว่าหมวดคำสั่ง
ซื้อสินค้าดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นได้อย่างมาก อนึ่ง ตัวเลขคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ.จะประกาศอย่างเป็นทางการในวันพฤหัสบดีที่ 24 พ.ค.50
เวลา 8.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
3. ในเดือน มี.ค.50 Euro zone มียอดเกินดุลการค้า 7.4 พันล้านยูโรแม้ว่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นก็ตาม รายงานจากบรัสเซลส์
เมื่อ 22 พ.ค.50 สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานยอดเกินดุลการค้าในเดือน มี.ค.50 ของ 13 ประเทศที่ใช้เงินยูโรเป็นเงินสกุลหลัก
หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วมีจำนวน 7.4 พันล้านยูโรหรือประมาณ 10 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับ 0.6 พันล้านยูโรในเดือน มี.ค.49
หลังจากในเดือน ก.พ.50 มียอดขาดดุลการค้ารวม 1.3 พันล้านยูโรซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการขาดดุลการค้าด้านพลังงานซึ่งมีจำนวนเกือบ
42 พันล้านยูโรในช่วงเดือน ม.ค.- ก.พ.50 ในขณะที่ยอดเกินดุลการค้าจากการจำหน่ายสินค้าโรงงานคงที่อยู่ที่ 30 พันล้านยูโร สะท้อนให้
เห็นว่าการแข็งค่าขึ้นของเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.และเงินเยนของญี่ปุ่นเมื่อเร็ว ๆ นี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกแต่อย่างไร
โดยยอดส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ในขณะที่ยอดนำเข้าลดลงร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับเดือน ก.พ.50 ยอดส่งออกที่เพิ่มขึ้นสะท้อนให้เห็นว่า
เศรษฐกิจ Euro zone ยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่งซึ่งอาจทำให้ ธ.กลางยุโรปหรือ ECB พิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งใน
เดือน มิ.ย.50 ที่จะถึงนี้ (รอยเตอร์)
4. การจ้างงานของเยอรมนีในช่วงไตรมาสแรกปี 50 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 7 ปี รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 22 พ.ค.50
The Federal Statistics Office เปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานของเยอรมนีในช่วงไตรมาสแรกปี 50 (ม.ค.-มี.ค.) เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.5 สูงกว่า 2 ไตรมาสก่อนหน้า (ไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปี 49) ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 และเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 7 ปี
คิดเป็นจำนวนแรงงาน 39 ล้านคน โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจและความเหมาะสมของภูมิอากาศ แต่เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน ตัวเลขการจ้างงานลดลงจำนวน 662,000 คน ซึ่งถือว่าเป็นภาวะปกติของการจ้างงานในช่วงไตรมาสแรกของทุกปี
และยังคงต่ำกว่าระดับเฉลี่ยในรอบ 3 ปีก่อนหน้านี้ที่การจ้างงานในช่วงไตรมาสแรกอยู่ที่ลดลง 790,000 คน นอกจากนี้ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ
ZEW เปิดเผยว่า การที่ตัวเลขการจ้างงานเพิ่มขึ้นแสดงถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีที่กำลังดำเนินอยู่อย่างมีเสถียรภาพ นอกจากนั้น
ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในเดือน พ.ค.50 ก็ปรับตัวดีขึ้น เช่นเดียวกับตัวเลขการว่างงานในเดือน เม.ย.50 ซึ่งมีการ
เผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 และลดลงต่ำสุดในรอบ 6 ปี สอดคล้องกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ขยายตัว
ร้อยละ 0.5 สาเหตุหลักจากการลงทุนเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 23 พ.ค. 50 22 พ.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.616 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3997/34.7330 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.99063 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 732.77/19.49 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,800/10,900 10,850/10,950 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 65.87 66.75 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 30.39*/25.34** 30.39*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มเมื่อ 19 พ.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--