แท็ก
คณะกรรมการนโยบายการเงิน
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
อัตราดอกเบี้ย
ภาวะเศรษฐกิจ
โรงแรมคอนราด
ลดดอกเบี้ย
ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. คาดว่า ธปท. จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 - 0.50 นายสุธี โล้โสภณกุล ผู้ช่วย กก.ผจก.ใหญ่ ธ.ไทยธนาคาร
กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธปท. ในวันที่ 28 ก.พ.นี้ มีความเป็นไปได้ที่ กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบาย (อาร์พี 1 วัน) ลงอีกร้อยละ 0.25 โดยมีปัจจัยจากภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวลดลง ขณะที่ยอดการค้าปลีกยังอยู่ในทิศทางที่ซบเซา ซึ่งเชื่อ
ว่าเป็นปัจจัยหลักที่ กนง. จะให้น้ำหนักในการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้มากกว่าการให้น้ำหนักเรื่องราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้
หาก กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงต่อเนื่องเชื่อว่า ธ.พาณิชย์หลายแห่งน่าจะเริ่มทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงตาม หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้
ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไปแล้ว อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างต่อเนื่อง โดยในครึ่งปีแรกอาจจะเห็นอัตราดอกเบี้ย
นโยบายลดลงถึงร้อยละ 1 และจะเริ่มทรงตัวในช่วงครึ่งหลังของปี ด้าน นายเชาว์ เก่งชน รอง ผอ. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า มีความเป็นไป
ได้ที่ กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.50 จากแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงและภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างเห็นได้
ชัดจากการที่หลายสถาบันได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจลง ซึ่งการปรับลดดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.50 น่าจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังได้
ส่วนการประชุมที่เหลืออีก 2 ครั้ง ในครึ่งปีแรกก็น่าจะมีปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งละร้อยละ 0.25 ทำให้ในช่วงครึ่งปีแรกน่าจะมีการปรับลด
อัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 1 - 1.25 ขึ้นอยู่กับข้อมูลทางเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้น ขณะที่ นางรัตนา เล็งศิริวัฒน์ ผอ.ฝ่ายวิจัย ธ.ทหารไทย
กล่าวว่า เชื่อว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.25 โดยมองว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับลดลงมาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4 - 4.25
จากปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 4.75 เนื่องจากแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อและราคาน้ำมันที่ชะลอตัวลง ประกอบกับ ธปท. ต้องการกระตุ้นดีมานด์ของเศรษฐกิจ
ให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากในระบบ ธ.พาณิชย์จะทำการปรับตามหรือไม่คงขึ้นอยู่กับสภาพคล่องของ
แต่ละธนาคาร เนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากมีการปรับลดลงอยู่แล้ว ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้จะปรับลดลงเมื่อไรขึ้นอยู่กับแนวโน้มของ
ภาวะเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง (ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. จะให้บริการรับแลกเปลี่ยนธนบัตรที่สำนักงาน ธปท. ทุกแห่ง ในวันที่ 2 มี.ค.50 เป็นวันสุดท้าย รายงานข่าวจาก ธปท.
เปิดเผยว่า ในวันที่ 2 มี.ค.นี้ ธปท. จะเปิดให้บริการรับแลกธนบัตรที่สำนักงาน ธปท. ทุกแห่งทั้งใน กทม. และต่างจังหวัด เป็นวันสุดท้าย
เนื่องจากฝ่ายจัดการธนบัตรจะต้องย้ายสถานที่ทำการไปยัง อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม จึงจำเป็นต้องปรับกระบวนการทำงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
ที่กำหนดไว้ในระบบบริหารจัดการธนบัตรสู่ความเป็นสากล โดย ธปท. จะมอบหมายให้ ธ.พาณิชย์เป็นผู้ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปแทน จากเดิมที่
กำหนดให้ฝ่ายจัดการธนบัตรทำหน้าที่รับแลกธนบัตร นอกเหนือเฉพาะงานหลักของธนาคารกลางคือ การออกใช้ธนบัตรใหม่ การนำธนบัตรเก่าออก
จากระบบ และการควบคุมดูแลจัดการธนบัตรของธนาคารต่าง ๆ ซึ่งได้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานของฝ่ายจัดการธนบัตรมาตั้งแต่ปี 47
ทั้งนี้ ธปท. จะขอความร่วมมือจากสาขา ธ.พาณิชย์ให้เพิ่มการให้บริการรับแลกธนบัตรแก่ประชาชนเป็นพิเศษ (ข่าวสด)
3. การขยายสินเชื่อของ ธ.พาณิชย์ในเดือน ม.ค.50 ชะลอตัวลง นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กก.ผจก. ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า
ภาวะเศรษฐกิจขณะนี้ทำให้ต้องระมัดระวังการขยายสินเชื่อมากกว่าปีที่ผ่านมา ขณะที่ลูกค้าเองก็เริ่มชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ โดยปีนี้
ธนาคารตั้งเป้าการเติบโตของสินเชื่อไว้ที่ร้อยละ 6 แต่ในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมายังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ด้าน นายชาติศิริ โสภณพนิช กก.ผจก.
ใหญ่ ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า การขยายสินเชื่อของธนาคารในเดือน ม.ค. ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ อย่างไรก็ตาม จากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
ธนาคารจะยังไม่ปรับเปลี่ยนนโยบายหรือมาตรฐานการอนุมัติสินเชื่อ ขณะที่ นายเลอศักดิ์ จุลเทศ รอง กก.ผจก.ใหญ่ ธ.นครหลวงไทย กล่าวว่า
การชะลอตัวของสินเชื่อเป็นผลจากความเชื่อมั่นลดลงและยังมีปัจจัยปัญหาทางการเมือง อัตราดอกเบี้ย รวมทั้งอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งธนาคารยัง
ต้องการขยายสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง แต่ขึ้นอยู่กับความต้องการที่ขอเข้ามาและความเป็นไปได้ของโครงการ (คมชัดลึก, กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เศรษฐกิจอังกฤษในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 49 ขยายตัวร้อยละ 0.8 เทียบต่อไตรมาส รายงานจากลอนดอนเมื่อ 23 ก.พ.50
The Office for National Statistics เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของอังกฤษในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 49 ขยายตัวร้อยละ 0.8 เทียบต่อไตรมาส
สูงสุดในรอบกว่า 2 ปีนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 47 ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีขยายตัวร้อยละ 3.0 ทั้งนี้ การที่เศรษฐกิจอังกฤษขยายตัวดังกล่าว มี
สาเหตุจากการฟื้นตัวอย่างมากของการใช้จ่ายครัวเรือน โดยข้อมูลซึ่งเปิดเผยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาพบว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ
1.0 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.4 ในช่วงไตรมาสก่อนหน้า สำหรับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งปี 49 ขยายตัวร้อยละ 2.7 อย่างไรก็ตาม
ขณะที่เศรษฐกิจอังกฤษได้ฟื้นตัวขึ้นจากการชะลอตัวในปี 48 แล้วก็ตาม แต่อัตราการเติบโตยังคงไม่สมดุลเนื่องจากภาคการผลิตชะลอตัวร้อยละ
0.2 แม้ว่าภาคบริการจะขยายตัวร้อยละ 1.0 เทียบต่อไตรมาส และขยายตัวร้อยละ 3.6 เทียบต่อปีก็ตาม อนึ่ง บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่าง
เห็นตรงกันว่าจะไม่มีการปรับตัวเลขจีดีพีอีก และมีความเห็นว่าการขยายตัวของจีดีพีอาจส่งผลให้มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงระยะ
เวลาอันใกล้นี้ ขณะที่เจ้าหน้าที่จาก ธ.กลางอังกฤษเปิดเผยว่า ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของความต้องการภายในประเทศที่อาจส่งผล
ให้เกิดภาวะเงินเฟ้อได้ (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในเยอรมนีลดลงในเดือน ก.พ.50 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 23 ก.พ.50 ดัชนีชี้วัดบรรยากาศทาง
ธุรกิจจากผลสำรวจความเห็นของธุรกิจ 7,000 แห่งในเยอรมนีโดย Ifo ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 107.0 ในเดือน ก.พ.50 จากระดับ 107.9
เช่นเดียวกับดัชนีในส่วนที่ชี้วัดความคาดหวังของธุรกิจและดัชนีในส่วนที่ชี้วัดภาวะธุรกิจในปัจจุบันที่ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 102.6 และ 111.6 ตามลำดับ
ในเดือน ก.พ.50 จากระดับ 103.2 และ 112.8 ตามลำดับในเดือน ม.ค.50 ทั้งนี้จากการขึ้นอัตราภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคอีกร้อยละ
3.0 เป็นร้อยละ 19.0 ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปี 50 ที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อยอดขายและความเชื่อมั่นของร้านค้าปลีก เช่นเดียวกับความ
เชื่อมั่นของภาคธุรกิจก่อสร้างที่ลดลง โดยดัชนีในส่วนที่ชี้วัดความเชื่อมั่นของธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจก่อสร้างลดลงมาอยู่ที่ระดับ - 7.2 และ — 12.3
ตามลำดับในเดือน ก.พ.50 จากระดับ -2.9 และ -7.6 ตามลำดับในเดือน ม.ค.50 แต่อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เชื่อว่าสถานการณ์
ทางธุรกิจจะดีขึ้นในเร็ว ๆ นี้ เช่นเดียวกับ ธ.กลางเยอรมนีและ ธ.กลางยุโรปหรือ ECB ที่เชื่อว่าเศรษฐกิจเยอรมนีและ Euro zone ยังขยายตัว
อยู่ในเกณฑ์ดี จึงเป็นที่คาดกันว่า ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 3.75 ต่อปีในเดือน มี.ค.50 ที่จะถึงนี้ หลังจาก
คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปีเมื่อต้นเดือน ก.พ.50 ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
3. ผลการสำรวจคาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค.จะลดลงร้อยละ 1.9 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่
26 ก.พ. 50 ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 29 คนคาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค. จะลดลงอยู่ที่ร้อยละ 1.9 จากที่
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือน ธ.ค. (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) โดยมีการคาดการณ์อยู่ระหว่างลดลงร้อยละ 3.0 — 0.1 ในช่วงที่ผ่านมาผลผลิต
อุตสาหกรรมของญี่ปุ่นขยายตัวอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งซึ่งทางการญี่ปุ่นได้ยืนยันว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นมี
แนวโน้มเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 48 อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์บางคนวิตกว่าการขยายตัวของผลผลิตอุตสาหกรรมดังกล่าวอาจจะชะลอลง
ในไตรมาสแรกปีนี้ เนื่องจากได้ขยายตัวอย่างมากเมื่อไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ในรายงานรายเดือนของทางการญี่ปุ่นได้ปรับประมาณการการขยาย
ตัวของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสแรกปีนี้ คาดว่าจะลดลงร้อยละ 1.8 จากไตรมาสที่ 4/49 (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือน ม.ค.50 ลดลงร้อยละ 0.7 เทียบต่อเดือน มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากสิงคโปร์
เมื่อ 23 ก.พ.50 สำนักงานสถิติสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือน ม.ค.50 ลดลงถึงร้อยละ 0.7 เทียบต่อเดือน
(ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ซึ่งเป็นการลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะลดลงเพียงร้อยละ 0.2 หลังจากที่เดือน
ธ.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ทั้งนี้ สาเหตุที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ในเบื้องต้นว่าจะลดลงร้อยละ 0.2 เนื่องจากราคาน้ำมันลดลงอยู่ในระดับต่ำที่
สุดในรอบ 20 เดือน และหากเทียบต่อปีแล้ว ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 อนึ่ง
ดัชนีองค์ประกอบย่อยของดัชนีราคาผู้บริโภค คือ ต้นทุนราคาที่อยู่อาศัยลดลงร้อยละ 0.7 เทียบต่อปี ขณะที่ราคาอาหาร ซึ่งนับเป็นดัชนีที่มีน้ำหนักมาก
ที่สุดเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 26 ก.พ. 50 23 ก.พ. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.732 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.5313/35.8529 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.85563 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 690.76/10.08 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,400/11,500 11,250/11,350 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 57.95 57.25 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.99*/22.94** 25.59*/22.94** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 24ก.พ. 50
** ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 21 ก.พ. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. คาดว่า ธปท. จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 - 0.50 นายสุธี โล้โสภณกุล ผู้ช่วย กก.ผจก.ใหญ่ ธ.ไทยธนาคาร
กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธปท. ในวันที่ 28 ก.พ.นี้ มีความเป็นไปได้ที่ กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบาย (อาร์พี 1 วัน) ลงอีกร้อยละ 0.25 โดยมีปัจจัยจากภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวลดลง ขณะที่ยอดการค้าปลีกยังอยู่ในทิศทางที่ซบเซา ซึ่งเชื่อ
ว่าเป็นปัจจัยหลักที่ กนง. จะให้น้ำหนักในการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้มากกว่าการให้น้ำหนักเรื่องราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้
หาก กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงต่อเนื่องเชื่อว่า ธ.พาณิชย์หลายแห่งน่าจะเริ่มทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงตาม หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้
ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไปแล้ว อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างต่อเนื่อง โดยในครึ่งปีแรกอาจจะเห็นอัตราดอกเบี้ย
นโยบายลดลงถึงร้อยละ 1 และจะเริ่มทรงตัวในช่วงครึ่งหลังของปี ด้าน นายเชาว์ เก่งชน รอง ผอ. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า มีความเป็นไป
ได้ที่ กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.50 จากแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงและภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างเห็นได้
ชัดจากการที่หลายสถาบันได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจลง ซึ่งการปรับลดดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.50 น่าจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังได้
ส่วนการประชุมที่เหลืออีก 2 ครั้ง ในครึ่งปีแรกก็น่าจะมีปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งละร้อยละ 0.25 ทำให้ในช่วงครึ่งปีแรกน่าจะมีการปรับลด
อัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 1 - 1.25 ขึ้นอยู่กับข้อมูลทางเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้น ขณะที่ นางรัตนา เล็งศิริวัฒน์ ผอ.ฝ่ายวิจัย ธ.ทหารไทย
กล่าวว่า เชื่อว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.25 โดยมองว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับลดลงมาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4 - 4.25
จากปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 4.75 เนื่องจากแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อและราคาน้ำมันที่ชะลอตัวลง ประกอบกับ ธปท. ต้องการกระตุ้นดีมานด์ของเศรษฐกิจ
ให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากในระบบ ธ.พาณิชย์จะทำการปรับตามหรือไม่คงขึ้นอยู่กับสภาพคล่องของ
แต่ละธนาคาร เนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากมีการปรับลดลงอยู่แล้ว ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้จะปรับลดลงเมื่อไรขึ้นอยู่กับแนวโน้มของ
ภาวะเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง (ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. จะให้บริการรับแลกเปลี่ยนธนบัตรที่สำนักงาน ธปท. ทุกแห่ง ในวันที่ 2 มี.ค.50 เป็นวันสุดท้าย รายงานข่าวจาก ธปท.
เปิดเผยว่า ในวันที่ 2 มี.ค.นี้ ธปท. จะเปิดให้บริการรับแลกธนบัตรที่สำนักงาน ธปท. ทุกแห่งทั้งใน กทม. และต่างจังหวัด เป็นวันสุดท้าย
เนื่องจากฝ่ายจัดการธนบัตรจะต้องย้ายสถานที่ทำการไปยัง อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม จึงจำเป็นต้องปรับกระบวนการทำงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
ที่กำหนดไว้ในระบบบริหารจัดการธนบัตรสู่ความเป็นสากล โดย ธปท. จะมอบหมายให้ ธ.พาณิชย์เป็นผู้ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปแทน จากเดิมที่
กำหนดให้ฝ่ายจัดการธนบัตรทำหน้าที่รับแลกธนบัตร นอกเหนือเฉพาะงานหลักของธนาคารกลางคือ การออกใช้ธนบัตรใหม่ การนำธนบัตรเก่าออก
จากระบบ และการควบคุมดูแลจัดการธนบัตรของธนาคารต่าง ๆ ซึ่งได้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานของฝ่ายจัดการธนบัตรมาตั้งแต่ปี 47
ทั้งนี้ ธปท. จะขอความร่วมมือจากสาขา ธ.พาณิชย์ให้เพิ่มการให้บริการรับแลกธนบัตรแก่ประชาชนเป็นพิเศษ (ข่าวสด)
3. การขยายสินเชื่อของ ธ.พาณิชย์ในเดือน ม.ค.50 ชะลอตัวลง นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กก.ผจก. ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า
ภาวะเศรษฐกิจขณะนี้ทำให้ต้องระมัดระวังการขยายสินเชื่อมากกว่าปีที่ผ่านมา ขณะที่ลูกค้าเองก็เริ่มชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ โดยปีนี้
ธนาคารตั้งเป้าการเติบโตของสินเชื่อไว้ที่ร้อยละ 6 แต่ในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมายังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ด้าน นายชาติศิริ โสภณพนิช กก.ผจก.
ใหญ่ ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า การขยายสินเชื่อของธนาคารในเดือน ม.ค. ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ อย่างไรก็ตาม จากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
ธนาคารจะยังไม่ปรับเปลี่ยนนโยบายหรือมาตรฐานการอนุมัติสินเชื่อ ขณะที่ นายเลอศักดิ์ จุลเทศ รอง กก.ผจก.ใหญ่ ธ.นครหลวงไทย กล่าวว่า
การชะลอตัวของสินเชื่อเป็นผลจากความเชื่อมั่นลดลงและยังมีปัจจัยปัญหาทางการเมือง อัตราดอกเบี้ย รวมทั้งอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งธนาคารยัง
ต้องการขยายสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง แต่ขึ้นอยู่กับความต้องการที่ขอเข้ามาและความเป็นไปได้ของโครงการ (คมชัดลึก, กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เศรษฐกิจอังกฤษในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 49 ขยายตัวร้อยละ 0.8 เทียบต่อไตรมาส รายงานจากลอนดอนเมื่อ 23 ก.พ.50
The Office for National Statistics เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของอังกฤษในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 49 ขยายตัวร้อยละ 0.8 เทียบต่อไตรมาส
สูงสุดในรอบกว่า 2 ปีนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 47 ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีขยายตัวร้อยละ 3.0 ทั้งนี้ การที่เศรษฐกิจอังกฤษขยายตัวดังกล่าว มี
สาเหตุจากการฟื้นตัวอย่างมากของการใช้จ่ายครัวเรือน โดยข้อมูลซึ่งเปิดเผยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาพบว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ
1.0 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.4 ในช่วงไตรมาสก่อนหน้า สำหรับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งปี 49 ขยายตัวร้อยละ 2.7 อย่างไรก็ตาม
ขณะที่เศรษฐกิจอังกฤษได้ฟื้นตัวขึ้นจากการชะลอตัวในปี 48 แล้วก็ตาม แต่อัตราการเติบโตยังคงไม่สมดุลเนื่องจากภาคการผลิตชะลอตัวร้อยละ
0.2 แม้ว่าภาคบริการจะขยายตัวร้อยละ 1.0 เทียบต่อไตรมาส และขยายตัวร้อยละ 3.6 เทียบต่อปีก็ตาม อนึ่ง บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่าง
เห็นตรงกันว่าจะไม่มีการปรับตัวเลขจีดีพีอีก และมีความเห็นว่าการขยายตัวของจีดีพีอาจส่งผลให้มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงระยะ
เวลาอันใกล้นี้ ขณะที่เจ้าหน้าที่จาก ธ.กลางอังกฤษเปิดเผยว่า ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของความต้องการภายในประเทศที่อาจส่งผล
ให้เกิดภาวะเงินเฟ้อได้ (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในเยอรมนีลดลงในเดือน ก.พ.50 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 23 ก.พ.50 ดัชนีชี้วัดบรรยากาศทาง
ธุรกิจจากผลสำรวจความเห็นของธุรกิจ 7,000 แห่งในเยอรมนีโดย Ifo ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 107.0 ในเดือน ก.พ.50 จากระดับ 107.9
เช่นเดียวกับดัชนีในส่วนที่ชี้วัดความคาดหวังของธุรกิจและดัชนีในส่วนที่ชี้วัดภาวะธุรกิจในปัจจุบันที่ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 102.6 และ 111.6 ตามลำดับ
ในเดือน ก.พ.50 จากระดับ 103.2 และ 112.8 ตามลำดับในเดือน ม.ค.50 ทั้งนี้จากการขึ้นอัตราภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคอีกร้อยละ
3.0 เป็นร้อยละ 19.0 ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปี 50 ที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อยอดขายและความเชื่อมั่นของร้านค้าปลีก เช่นเดียวกับความ
เชื่อมั่นของภาคธุรกิจก่อสร้างที่ลดลง โดยดัชนีในส่วนที่ชี้วัดความเชื่อมั่นของธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจก่อสร้างลดลงมาอยู่ที่ระดับ - 7.2 และ — 12.3
ตามลำดับในเดือน ก.พ.50 จากระดับ -2.9 และ -7.6 ตามลำดับในเดือน ม.ค.50 แต่อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เชื่อว่าสถานการณ์
ทางธุรกิจจะดีขึ้นในเร็ว ๆ นี้ เช่นเดียวกับ ธ.กลางเยอรมนีและ ธ.กลางยุโรปหรือ ECB ที่เชื่อว่าเศรษฐกิจเยอรมนีและ Euro zone ยังขยายตัว
อยู่ในเกณฑ์ดี จึงเป็นที่คาดกันว่า ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 3.75 ต่อปีในเดือน มี.ค.50 ที่จะถึงนี้ หลังจาก
คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปีเมื่อต้นเดือน ก.พ.50 ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
3. ผลการสำรวจคาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค.จะลดลงร้อยละ 1.9 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่
26 ก.พ. 50 ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 29 คนคาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค. จะลดลงอยู่ที่ร้อยละ 1.9 จากที่
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือน ธ.ค. (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) โดยมีการคาดการณ์อยู่ระหว่างลดลงร้อยละ 3.0 — 0.1 ในช่วงที่ผ่านมาผลผลิต
อุตสาหกรรมของญี่ปุ่นขยายตัวอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งซึ่งทางการญี่ปุ่นได้ยืนยันว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นมี
แนวโน้มเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 48 อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์บางคนวิตกว่าการขยายตัวของผลผลิตอุตสาหกรรมดังกล่าวอาจจะชะลอลง
ในไตรมาสแรกปีนี้ เนื่องจากได้ขยายตัวอย่างมากเมื่อไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ในรายงานรายเดือนของทางการญี่ปุ่นได้ปรับประมาณการการขยาย
ตัวของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสแรกปีนี้ คาดว่าจะลดลงร้อยละ 1.8 จากไตรมาสที่ 4/49 (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือน ม.ค.50 ลดลงร้อยละ 0.7 เทียบต่อเดือน มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากสิงคโปร์
เมื่อ 23 ก.พ.50 สำนักงานสถิติสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือน ม.ค.50 ลดลงถึงร้อยละ 0.7 เทียบต่อเดือน
(ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ซึ่งเป็นการลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะลดลงเพียงร้อยละ 0.2 หลังจากที่เดือน
ธ.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ทั้งนี้ สาเหตุที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ในเบื้องต้นว่าจะลดลงร้อยละ 0.2 เนื่องจากราคาน้ำมันลดลงอยู่ในระดับต่ำที่
สุดในรอบ 20 เดือน และหากเทียบต่อปีแล้ว ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 อนึ่ง
ดัชนีองค์ประกอบย่อยของดัชนีราคาผู้บริโภค คือ ต้นทุนราคาที่อยู่อาศัยลดลงร้อยละ 0.7 เทียบต่อปี ขณะที่ราคาอาหาร ซึ่งนับเป็นดัชนีที่มีน้ำหนักมาก
ที่สุดเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 26 ก.พ. 50 23 ก.พ. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.732 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.5313/35.8529 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.85563 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 690.76/10.08 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,400/11,500 11,250/11,350 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 57.95 57.25 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.99*/22.94** 25.59*/22.94** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 24ก.พ. 50
** ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 21 ก.พ. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--