ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนพฤศจิกายน 2549 ทรงตัวจากเดือนก่อน โดยอุปสงค์ในประเทศและการนำเข้ายังคงชะลอตัวต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกเร่งตัวขึ้น ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนนี้เกินดุลสูงขึ้น สำหรับดุลบริการเกินดุลต่อเนื่องจากเดือนก่อนเช่นกัน
ด้านอุปทาน ผลผลิตภาคเกษตรในเดือนนี้แม้ยังคงหดตัว แต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน กอปรกับราคาพืชผลยังขยายตัวสูงส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวสูงขึ้น ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนเช่นกันโดยเฉพาะการผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก สำหรับภาคบริการ การท่องเที่ยวในเดือนนี้ยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน
เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี โดยดุลบัญชีเดินสะพัดยังเกินดุลต่อเนื่องและฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในเกณฑ์สูง ส่วนอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก่อน เพราะผลบางส่วนจากปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนพฤศจิกายน 2549 มีดังนี้
1. ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 7.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 5.7 ตามการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตในหมวดเครื่องดื่มเพื่อสะสมสต็อกไว้รองรับความต้องการในช่วงเทศกาลปลายปี ขณะที่หมวดวัสดุก่อสร้าง หมวดผลิตภัณฑ์เหล็ก และหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น เนื่องจากการผลิต ในเดือนเดียวกันปีก่อนอยู่ในระดับต่ำ
สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 73.0 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน
2. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 1.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 1.3 ตามปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ที่ลดลง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ ขณะที่มูลค่านำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ ลดลงจากฐานที่สูงในปีก่อนเช่นกัน สำหรับเครื่องชี้ที่ยังคงขยายตัวดี ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย และปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ซึ่งขยายตัวจากราคาขายปลีกน้ำมันที่ปรับลดลงต่อเนื่อง สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ชะลอลง
3. ภาคการคลัง รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 121.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.0 ชะลอตัวลง เมื่อเทียบกับเดือนก่อนจากรายได้ภาษีที่เก็บจากฐานรายได้ทั้งในส่วนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ชะลอตัวเนื่องจากฐานที่สูงผิดปกติในปีก่อนจากการจัดสรรหุ้นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตให้พนักงานตามแผนการแปรรูปฯ ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนที่ต้องเสียภาษี และภาษีเงินได้นิติบุคคลที่หดตัวจากฐานสูงในปีก่อน สำหรับภาษีจากฐานการบริโภคขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีสรรพสามิตยังขยายตัวดีต่อเนื่อง ส่วนภาษีจากฐานการค้าระหว่างประเทศลดลงตามนโยบายการปรับลดอัตราภาษีศุลกากรเป็นสำคัญ ขณะที่รายได้ที่มิใช่ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.3 จากการนำส่งรายได้ระหว่างกาลของรัฐวิสาหกิจที่มีรอบบัญชีปีปฏิทิน ดุลเงินสด รัฐบาลขาดดุลเงินสด 20.0 พันล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนลดลงมาอยู่ที่ระดับ 85.7 พันล้านบาท
4. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้า เกินดุล 1.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่เกินดุล 0.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกขยายตัวร้อยละ 21.7 มีมูลค่า 11.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี ในการผลิตสูง ขณะที่การนำเข้าชะลอลงจากเดือนก่อน โดยขยายตัวร้อยละ 6.3 มีมูลค่า 10.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นผลจากปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบซึ่งลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนเป็นสำคัญ รวมถึงการนำเข้าในหมวดอื่น ๆ ที่ชะลอลงเช่นกัน โดยในเดือนนี้มีการนำเข้าเครื่องบินของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 3 ลำ มูลค่า 0.43 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ในเดือนนี้เกินดุล 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่เกินดุล 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากรายรับการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ขณะที่รายจ่ายผลประโยชน์จากการลงทุนมีมูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ทำให้ดุลบัญชี เดินสะพัดในเดือนนี้ เกินดุล 1.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงิน เกินดุล 1.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2549 อยู่ที่ระดับ 64.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ จำนวน 8.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
5. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งขึ้นจากร้อยละ 2.8 ในเดือนตุลาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ในเดือนนี้ โดยเป็นผลจากราคาในหมวดพลังงานที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลที่อยู่ในระดับสูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนราคาในหมวดอาหารสดเพิ่มขึ้น จากราคาผักและผลไม้จากปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานชะลอลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ตาม การชะลอลงของราคาในหลายหมวดสินค้า
ดัชนีราคาผู้ผลิตเร่งตัวจากร้อยละ 3.4 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.0 โดยเป็นผลจากราคาในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
6. ภาวะการเงิน เงินฝากธนาคารพาณิชย์ในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 8.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ไม่ได้มีการแข่งขันกันปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อรักษาฐานลูกค้าเงินฝากดังเช่นในช่วงก่อนหน้า ทั้งนี้ เมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์รายใหม่ เงินฝากขยายตัวร้อยละ 7.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับสิทธิเรียกร้องจากภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ 1/ ขยายตัวร้อยละ 3.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนตุลาคมและช่วงก่อนหน้า โดยส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานเนื่องจากธนาคารพาณิชย์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่เข้ามาในระบบธนาคารพาณิชย์ครบ 1 ปี รวมทั้งการลดลง ของสินเชื่อที่ให้แก่สถาบันการเงินอื่นและการชะลอลงของสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจ ทั้งนี้ เมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ รวมทั้งการตัดสินเชื่อออกจากบัญชีและการโอนสินเชื่อไปยัง AMC สิทธิเรียกร้องฯ ขยายตัวร้อยละ 5.1 จากระยะเดียวกัน ปีก่อน
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2549 อยู่ที่ระดับ 812.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนปริมาณเงิน M2 M2a M3 และปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (Broad Money) 2/ ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตรา ร้อยละ 8.1 7.4 7.7 และ 8.0 ตามลำดับ
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ในเดือนพฤศจิกายน 2549 ต่อเนื่องมาถึงช่วงวันที่ 1 - 22 ธันวาคม 2549 อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วัน โดยเฉลี่ยทรงตัว ขณะที่อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน เคลื่อนไหวใกล้เคียงกับเดือนก่อน สำหรับอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วันไม่มีการเปลี่ยนแปลง
7. ค่าเงินบาทในเดือนพฤศจิกายน 2549 ในเดือนพฤศจิกายน 2549 เฉลี่ยอยู่ที่ 36.54 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในเดือนตุลาคมที่ 37.34 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. จากเงินทุนไหลเข้าที่มาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และพันธบัตรรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีแรงเทขายดอลลาร์ สรอ. จำนวนมาก ทำให้ค่าเงินบาทโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. และทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 8 ปีที่ระดับ 35.96 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในช่วงปลายเดือน
ระหว่างวันที่ 1-22 ธันวาคม 2549 ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 35.67 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ดี ภายหลังการประกาศมาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2549 ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ด้านอุปทาน ผลผลิตภาคเกษตรในเดือนนี้แม้ยังคงหดตัว แต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน กอปรกับราคาพืชผลยังขยายตัวสูงส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวสูงขึ้น ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนเช่นกันโดยเฉพาะการผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก สำหรับภาคบริการ การท่องเที่ยวในเดือนนี้ยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน
เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี โดยดุลบัญชีเดินสะพัดยังเกินดุลต่อเนื่องและฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในเกณฑ์สูง ส่วนอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก่อน เพราะผลบางส่วนจากปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนพฤศจิกายน 2549 มีดังนี้
1. ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 7.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 5.7 ตามการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตในหมวดเครื่องดื่มเพื่อสะสมสต็อกไว้รองรับความต้องการในช่วงเทศกาลปลายปี ขณะที่หมวดวัสดุก่อสร้าง หมวดผลิตภัณฑ์เหล็ก และหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น เนื่องจากการผลิต ในเดือนเดียวกันปีก่อนอยู่ในระดับต่ำ
สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 73.0 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน
2. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 1.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 1.3 ตามปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ที่ลดลง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ ขณะที่มูลค่านำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ ลดลงจากฐานที่สูงในปีก่อนเช่นกัน สำหรับเครื่องชี้ที่ยังคงขยายตัวดี ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย และปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ซึ่งขยายตัวจากราคาขายปลีกน้ำมันที่ปรับลดลงต่อเนื่อง สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ และปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ชะลอลง
3. ภาคการคลัง รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 121.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.0 ชะลอตัวลง เมื่อเทียบกับเดือนก่อนจากรายได้ภาษีที่เก็บจากฐานรายได้ทั้งในส่วนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ชะลอตัวเนื่องจากฐานที่สูงผิดปกติในปีก่อนจากการจัดสรรหุ้นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตให้พนักงานตามแผนการแปรรูปฯ ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนที่ต้องเสียภาษี และภาษีเงินได้นิติบุคคลที่หดตัวจากฐานสูงในปีก่อน สำหรับภาษีจากฐานการบริโภคขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีสรรพสามิตยังขยายตัวดีต่อเนื่อง ส่วนภาษีจากฐานการค้าระหว่างประเทศลดลงตามนโยบายการปรับลดอัตราภาษีศุลกากรเป็นสำคัญ ขณะที่รายได้ที่มิใช่ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.3 จากการนำส่งรายได้ระหว่างกาลของรัฐวิสาหกิจที่มีรอบบัญชีปีปฏิทิน ดุลเงินสด รัฐบาลขาดดุลเงินสด 20.0 พันล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนลดลงมาอยู่ที่ระดับ 85.7 พันล้านบาท
4. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้า เกินดุล 1.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่เกินดุล 0.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกขยายตัวร้อยละ 21.7 มีมูลค่า 11.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี ในการผลิตสูง ขณะที่การนำเข้าชะลอลงจากเดือนก่อน โดยขยายตัวร้อยละ 6.3 มีมูลค่า 10.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นผลจากปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบซึ่งลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนเป็นสำคัญ รวมถึงการนำเข้าในหมวดอื่น ๆ ที่ชะลอลงเช่นกัน โดยในเดือนนี้มีการนำเข้าเครื่องบินของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 3 ลำ มูลค่า 0.43 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ในเดือนนี้เกินดุล 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่เกินดุล 0.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากรายรับการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ขณะที่รายจ่ายผลประโยชน์จากการลงทุนมีมูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ทำให้ดุลบัญชี เดินสะพัดในเดือนนี้ เกินดุล 1.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงิน เกินดุล 1.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2549 อยู่ที่ระดับ 64.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ จำนวน 8.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
5. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งขึ้นจากร้อยละ 2.8 ในเดือนตุลาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ในเดือนนี้ โดยเป็นผลจากราคาในหมวดพลังงานที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลที่อยู่ในระดับสูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนราคาในหมวดอาหารสดเพิ่มขึ้น จากราคาผักและผลไม้จากปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานชะลอลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ตาม การชะลอลงของราคาในหลายหมวดสินค้า
ดัชนีราคาผู้ผลิตเร่งตัวจากร้อยละ 3.4 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.0 โดยเป็นผลจากราคาในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
6. ภาวะการเงิน เงินฝากธนาคารพาณิชย์ในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 8.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ไม่ได้มีการแข่งขันกันปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อรักษาฐานลูกค้าเงินฝากดังเช่นในช่วงก่อนหน้า ทั้งนี้ เมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์รายใหม่ เงินฝากขยายตัวร้อยละ 7.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับสิทธิเรียกร้องจากภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ 1/ ขยายตัวร้อยละ 3.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนตุลาคมและช่วงก่อนหน้า โดยส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานเนื่องจากธนาคารพาณิชย์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่เข้ามาในระบบธนาคารพาณิชย์ครบ 1 ปี รวมทั้งการลดลง ของสินเชื่อที่ให้แก่สถาบันการเงินอื่นและการชะลอลงของสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจ ทั้งนี้ เมื่อหักผลของการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ รวมทั้งการตัดสินเชื่อออกจากบัญชีและการโอนสินเชื่อไปยัง AMC สิทธิเรียกร้องฯ ขยายตัวร้อยละ 5.1 จากระยะเดียวกัน ปีก่อน
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2549 อยู่ที่ระดับ 812.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนปริมาณเงิน M2 M2a M3 และปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (Broad Money) 2/ ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตรา ร้อยละ 8.1 7.4 7.7 และ 8.0 ตามลำดับ
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ในเดือนพฤศจิกายน 2549 ต่อเนื่องมาถึงช่วงวันที่ 1 - 22 ธันวาคม 2549 อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วัน โดยเฉลี่ยทรงตัว ขณะที่อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน เคลื่อนไหวใกล้เคียงกับเดือนก่อน สำหรับอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วันไม่มีการเปลี่ยนแปลง
7. ค่าเงินบาทในเดือนพฤศจิกายน 2549 ในเดือนพฤศจิกายน 2549 เฉลี่ยอยู่ที่ 36.54 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในเดือนตุลาคมที่ 37.34 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. จากเงินทุนไหลเข้าที่มาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และพันธบัตรรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีแรงเทขายดอลลาร์ สรอ. จำนวนมาก ทำให้ค่าเงินบาทโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. และทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 8 ปีที่ระดับ 35.96 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในช่วงปลายเดือน
ระหว่างวันที่ 1-22 ธันวาคม 2549 ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 35.67 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ดี ภายหลังการประกาศมาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2549 ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--