แท็ก
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โรงแรมคอนราด
ชายแดนภาคใต้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รุก มอบหมายสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 9 จับมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพได้เป็นปกติและเจ้าหน้าที่ปลอดภัยมีขวัญกำลังใจมากขึ้น มั่นใจเห็นผลในทางปฏิบัติแน่นอน
นางยินดี แก้วประกอบ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 9 (สศข.9) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธาน คณะกรรมการบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 9 และสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา นาราธิวาส สตูล และสงขลา ร่วมกันปรึกษาหารือในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (พ.ศ. 2551 — 2554) ณ ห้องประชุม สศข.9 เมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
สำหรับผลการประชุมเห็นว่า ยุทธศาสตร์ดังกล่าวควรมุ่งเน้นไปที่โครงสร้างทางเศรษฐกิจภาคเกษตรที่อยู่ในช่วงภาวะถดถอย โดยมีเกษตรกรเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ รวมทั้งความปลอดภัยและขวัญกำลังใจของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ ซึ่งถือว่าเป็นตัวจักรสำคัญที่คอยสนับสนุนให้เกษตรกรดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรไปได้ด้วยดี ภายใต้วิสัยทัศน์ “เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพและเป็นปกติสุขอย่างพอเพียง เจ้าหน้าที่ปลอดภัยมีขวัญกำลังใจ”
ทั้งนี้ มีเป้าประสงค์เพื่อให้เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพมีรายได้เพื่อการยังชีพในครัวเรือน สามารถดำรงชีวิตตามแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งเจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรและชุมชนได้ ตลอดจนมีขวัญกำลังใจ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยมียุทธศาสตร์ต่างๆ ที่สำคัญ 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์แรกคือ การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร และสถาบันเกษตรกร ยุทธศาสตร์ ที่สองคือ การพัฒนาและฟื้นฟูภาคเกษตรให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและพื้นที่ ยุทธศาสตร์ต่อมาคือ การบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน และยุทธศาสตร์สุดท้ายคือ การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้เข้มแข็ง
นางยินดี กล่าวเพิ่มเติมว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และยุทธศาสตร์การพัฒนา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งจะส่งผลให้การนำนโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางยินดี แก้วประกอบ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 9 (สศข.9) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธาน คณะกรรมการบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 9 และสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา นาราธิวาส สตูล และสงขลา ร่วมกันปรึกษาหารือในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (พ.ศ. 2551 — 2554) ณ ห้องประชุม สศข.9 เมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
สำหรับผลการประชุมเห็นว่า ยุทธศาสตร์ดังกล่าวควรมุ่งเน้นไปที่โครงสร้างทางเศรษฐกิจภาคเกษตรที่อยู่ในช่วงภาวะถดถอย โดยมีเกษตรกรเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ รวมทั้งความปลอดภัยและขวัญกำลังใจของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ ซึ่งถือว่าเป็นตัวจักรสำคัญที่คอยสนับสนุนให้เกษตรกรดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรไปได้ด้วยดี ภายใต้วิสัยทัศน์ “เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพและเป็นปกติสุขอย่างพอเพียง เจ้าหน้าที่ปลอดภัยมีขวัญกำลังใจ”
ทั้งนี้ มีเป้าประสงค์เพื่อให้เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพมีรายได้เพื่อการยังชีพในครัวเรือน สามารถดำรงชีวิตตามแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งเจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรและชุมชนได้ ตลอดจนมีขวัญกำลังใจ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยมียุทธศาสตร์ต่างๆ ที่สำคัญ 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์แรกคือ การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร และสถาบันเกษตรกร ยุทธศาสตร์ ที่สองคือ การพัฒนาและฟื้นฟูภาคเกษตรให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและพื้นที่ ยุทธศาสตร์ต่อมาคือ การบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน และยุทธศาสตร์สุดท้ายคือ การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้เข้มแข็ง
นางยินดี กล่าวเพิ่มเติมว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และยุทธศาสตร์การพัฒนา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งจะส่งผลให้การนำนโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-