แท็ก
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร
นายสมัคร สุนทรเวช
พรรคประชาธิปัตย์
วันที่ 17 เม.ย. 50 ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รองโฆษกพรรค กล่าวว่าในสมัยนายสมัคร สุนทรเวช เป็นผู้ว่าราชการ กทม. ได้ทำเรื่องขออนุมัติจัดซื้อรถดับเพลิงและสร้างโรงเรียนดับเพลิง ด้วยงบประมาณ 8,000 ล้านบาท ต่อมามีมติครม.เมื่อวันที่ 22 มิย. 2547 ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ไปดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนดับเพลิงดังกล่าว
นายยุทธพงศ์ได้ลำดับเหตุการณ์โครงการโรงเรียนดับเพลิงดังต่อไปนี้
2 พค. 2548 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จ้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อศึกษาโครงการและเขียนโครงการด้วยจำนวนเงิน 9 ล้านบาท
31 พ.ค. 2548 นายสุนทร ริ้วเหลือง อธิบดีกรม ปภ. ในขณะนั้น ได้มีหนังสือไปที่ ม.ธรรมศาสตร์ เพื่อให้ประสานงานขอความช่วยเหลือจากประเทศออสเตรีย โดยอ้าง AOU ลงวันที่ 30 ก.ค. 2547 ทั้งๆที่ AOU ไม่เคยกล่าวถึงเรื่องโรงเรียนดับเพลิงเลย อ้างมั่วๆ
3 ส.ค. 2548 มท.2 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช มีหนังสือ เร่งรัด ไปที่ อธิบดีกรม ปภ. ให้เร่งรัดเรื่องโรงเรียนดับเพลิงจาก ม.ธรรมศาสตร์
4 ส.ค. 2548 อธิบดีกรม ปภ. นายสุนทร ริ้วเหลือง มีหนังสือเร่งรัดไปยัง ม.ธรรมศาสตร์
5 ก.ย. 2548 มีบันทึกการตรวจรับเอกสารการศึกษา ระหว่าง กรม ปภ. และ ม.ธรรมศาสตร์
20 ก.ย.2548 มท.1 พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา ส่งเรื่อง ไปที่เลขา ครม.
11 ต.ค. 2548 เลขาฯ ครม. ส่งเรื่อง ไปที่ รองนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.ชิดชัยฯ ประธานคณะกรรมการกลั่นกรอง ชุดที่ 3
17 ต.ค. 2548 รองนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.ชิดชัยฯ อนุมัติ ตาม ข้อ 7
22 พ.ย. 2548 ประชุมกลั่นกรองคณะที่ 3 เรื่อง โรงเรียนดับเพลิง
23 พ.ย. 2548 หนังสือ แจ้งมติ คณะกรรมการกรั่นกรองชุดที่ 3 ถึงทูตออสเตรีย เรื่อง BARTER TRADE
29 พ.ย. 2548 ทูตออสเตรีย (Mr. อาร์โน รีเดล) ตอบหนังสือถึงท่านอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายอนุชา โมกขเวท
8 ธ.ค. 2548 มท.2 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช นั่งประชุมที่ กรม ปภ.ทบทวนเรื่อง โรงเรียนดับเพลิง
ปรากฎว่า โครงการนี้ยังไม่ทันได้ผ่าน ครม. เพราะรัฐบาลทักษิณ ได้ยุบสภาฯ เมื่อ ก.พ. 2549
นายยุทธพงศ์ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ว่าโครงการโรงเรียนดับเพลิง เป็นโครงการที่ทำกับบริษัท สไตเออร์ฯ (Styer Daimler Puch Spezialfahrzeug GMBH) เจ้าเดิมกับที่ขายรถดับเพลิงให้กับ กทม. ซึ่งอ้างว่าเป็นโครงการความช่วยเหลือ แบบรัฐ ต่อ รัฐ (G to G) ระหว่างรัฐบาลไทย กับรัฐบาล ออสเตรีย ทั้งๆที่บริษัท สไตเออร์ฯ เป็นบริษัทที่เป็นเจ้าของ 100% โดย General Dynamics แห่งสหรัฐอเมริกา มีหนังสือของเอกอัครราชทูตออสเตรียประจำประเทศไทย คนปัจจุบัน (นายอาร์โน รีเดล) เป็นคนออกหนังสือรับรองให้
โครงการโรงเรียนดับเพลิงมีงบประมาณที่อนุมัติ ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2547 เพียง 1,300 ล้านบาท ให้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยไปจัดตั้งโรงเรียนดับเพลิง แต่นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช สมัยดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) รัฐบาลทักษิณ กลับมีการเพิ่มงบประมาณเป็น 3,670 ล้านบาท เพื่อซื้อรถดับเพลิงชนิดต่างๆ และรถหรูหรามาใช้ อาทิ รถบันไดหอน้ำคันละ 115 ล้านบาท, รถบรรทุกน้ำ 10,000 ลิตรคันละ 22 ล้านบาท (กทม.คันละ 20 ล้านบาท) , รถบัส 40 ที่นั่งคันละ 12 ล้านบาท (ราคารวมภาษีเพียงคันละ 6 ล้านบาท), รถตู้ 8 ที่นั่งคันละ 5.2 ล้านบาท(รถตู้ Benz หรือ Volk ราคารวมภาษีแล้วเพียงคันละ 3.2 ล้านบาท) โดยราคารถชนิดต่างๆที่นำเข้าจากต่างประเทศเป็นราคาที่ยังไม่ได้รวมภาษีต่างๆ เพราะ กระทรวงมหาดไทยได้ขอ ครม.ยกว้นภาษีต่างๆให้ด้วย
โครงการโรงเรียนดับเพลิง งบประมาณจำนวน 3,735 ล้านบาท หรือ (74.7 ล้านยูโร) ประกอบด้วย
1. ค่าก่อสร้างอาคารจำนวน 1,190 ล้านบาท
2. ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ยานพาหนะ จำนวน 1,908 ล้านบาท
3. งบฝึกอบรมในต่างประเทศ จำนวน 636 ล้านบาท
นายยุทธพงศ์กล่าวว่าโครงการโรงเรียนดับเพลิง เหมือนกับโครงการจัดซื้อรถดับเพลิง ของ กทม. ทุกประการ แต่ โครงการโรงเรียนดับเพลิงได้เอาข้อด้อยของรถดับเพลิง มาปรับปรุง เช่นการขอยกเว้นภาษีศุลกากรและภาษีอื่นๆ ตั้งแต่ตอนที่ขออนุมัติ ครม. เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนกรณีรถดับเพลิงของ กทม. ที่ไม่มีเงินจ่ายภาษีเพราะไม่ได้ขอยกเว้นไว้แต่แรก นอกจากนี้หลังจากมีการเซ็นสัญญาแล้ว ให้มีการจ่ายเงินมัดจำจำนวน 500 ล้านบาททันที เพื่อจะได้เอาเงินมาจ่ายให้นักการเมืองและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ต้องเอา L/C ไปจำนำเหมือนกรณีรถดับเพลิง เพื่อเอาเงินมาจ่ายให้ผู้เกี่ยวข้อง
“โครงการโรงเรียนดับเพลิง เป็นโครงการที่ส่อไปในทางทุจริต เพราะซื้อของในราคาที่แพงเกินจริง แพงกว่ารถดับเพลิงของกทม. อีก แล้วมันจะไม่ผิดได้อย่างไร? เป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองใหญ่ๆ ในสมัยรัฐบาลทักษิณ และเป็นเหตุผลสำคัญในการปฎิวัติ ยึดอำนาจของ คมช. เพื่อจัดการกับปัญหาการคอร์รัปชั่น รัฐบาลของพล.อ.สุรยุทธ์ฯ เข้ามาบริหารประเทศต่อ เพื่อ แก้ปัญหาการคอร์รัปชั่น ในเมื่อโครงการโรงเรียนดับเพลิง ยังไม่ทันที่ ครม.ทักษิณ จะได้อนุมัติ เพราะโดนปฎิวัติเสียก่อน นายอารีย์ วงศ์อารียะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เข้ามาแทนที่จะเข้ามาปัดกวาด จัดการกับปัญหาการทุจริตโครงการโรงเรียนดับเพลิง ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แต่ท่าน รมต.อารีย์ฯ กลับสั่งเดินหน้าโครงการดังกล่าวต่อ” นายยุทธพงศ์กล่าวในที่สุด
สำหรับในเรื่องนี้นายยุทธพงศ์จะเดินทางไปยื่นเรื่องดังกล่าวพร้อมหลักฐานต่างให้ท่านอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เพื่อสอบสวนเอาผิดกับนักการเมืองและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง ในวันพฤหัสที่ 19 เม.ย. 2550 เวลา 10.00 น.
ตารางเปรียบเทียบโครงการรถดับเพลิงและโรงเรียนดับเพลิง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 เม.ย. 2550--จบ--
นายยุทธพงศ์ได้ลำดับเหตุการณ์โครงการโรงเรียนดับเพลิงดังต่อไปนี้
2 พค. 2548 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จ้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อศึกษาโครงการและเขียนโครงการด้วยจำนวนเงิน 9 ล้านบาท
31 พ.ค. 2548 นายสุนทร ริ้วเหลือง อธิบดีกรม ปภ. ในขณะนั้น ได้มีหนังสือไปที่ ม.ธรรมศาสตร์ เพื่อให้ประสานงานขอความช่วยเหลือจากประเทศออสเตรีย โดยอ้าง AOU ลงวันที่ 30 ก.ค. 2547 ทั้งๆที่ AOU ไม่เคยกล่าวถึงเรื่องโรงเรียนดับเพลิงเลย อ้างมั่วๆ
3 ส.ค. 2548 มท.2 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช มีหนังสือ เร่งรัด ไปที่ อธิบดีกรม ปภ. ให้เร่งรัดเรื่องโรงเรียนดับเพลิงจาก ม.ธรรมศาสตร์
4 ส.ค. 2548 อธิบดีกรม ปภ. นายสุนทร ริ้วเหลือง มีหนังสือเร่งรัดไปยัง ม.ธรรมศาสตร์
5 ก.ย. 2548 มีบันทึกการตรวจรับเอกสารการศึกษา ระหว่าง กรม ปภ. และ ม.ธรรมศาสตร์
20 ก.ย.2548 มท.1 พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา ส่งเรื่อง ไปที่เลขา ครม.
11 ต.ค. 2548 เลขาฯ ครม. ส่งเรื่อง ไปที่ รองนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.ชิดชัยฯ ประธานคณะกรรมการกลั่นกรอง ชุดที่ 3
17 ต.ค. 2548 รองนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.ชิดชัยฯ อนุมัติ ตาม ข้อ 7
22 พ.ย. 2548 ประชุมกลั่นกรองคณะที่ 3 เรื่อง โรงเรียนดับเพลิง
23 พ.ย. 2548 หนังสือ แจ้งมติ คณะกรรมการกรั่นกรองชุดที่ 3 ถึงทูตออสเตรีย เรื่อง BARTER TRADE
29 พ.ย. 2548 ทูตออสเตรีย (Mr. อาร์โน รีเดล) ตอบหนังสือถึงท่านอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายอนุชา โมกขเวท
8 ธ.ค. 2548 มท.2 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช นั่งประชุมที่ กรม ปภ.ทบทวนเรื่อง โรงเรียนดับเพลิง
ปรากฎว่า โครงการนี้ยังไม่ทันได้ผ่าน ครม. เพราะรัฐบาลทักษิณ ได้ยุบสภาฯ เมื่อ ก.พ. 2549
นายยุทธพงศ์ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ว่าโครงการโรงเรียนดับเพลิง เป็นโครงการที่ทำกับบริษัท สไตเออร์ฯ (Styer Daimler Puch Spezialfahrzeug GMBH) เจ้าเดิมกับที่ขายรถดับเพลิงให้กับ กทม. ซึ่งอ้างว่าเป็นโครงการความช่วยเหลือ แบบรัฐ ต่อ รัฐ (G to G) ระหว่างรัฐบาลไทย กับรัฐบาล ออสเตรีย ทั้งๆที่บริษัท สไตเออร์ฯ เป็นบริษัทที่เป็นเจ้าของ 100% โดย General Dynamics แห่งสหรัฐอเมริกา มีหนังสือของเอกอัครราชทูตออสเตรียประจำประเทศไทย คนปัจจุบัน (นายอาร์โน รีเดล) เป็นคนออกหนังสือรับรองให้
โครงการโรงเรียนดับเพลิงมีงบประมาณที่อนุมัติ ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2547 เพียง 1,300 ล้านบาท ให้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยไปจัดตั้งโรงเรียนดับเพลิง แต่นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช สมัยดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) รัฐบาลทักษิณ กลับมีการเพิ่มงบประมาณเป็น 3,670 ล้านบาท เพื่อซื้อรถดับเพลิงชนิดต่างๆ และรถหรูหรามาใช้ อาทิ รถบันไดหอน้ำคันละ 115 ล้านบาท, รถบรรทุกน้ำ 10,000 ลิตรคันละ 22 ล้านบาท (กทม.คันละ 20 ล้านบาท) , รถบัส 40 ที่นั่งคันละ 12 ล้านบาท (ราคารวมภาษีเพียงคันละ 6 ล้านบาท), รถตู้ 8 ที่นั่งคันละ 5.2 ล้านบาท(รถตู้ Benz หรือ Volk ราคารวมภาษีแล้วเพียงคันละ 3.2 ล้านบาท) โดยราคารถชนิดต่างๆที่นำเข้าจากต่างประเทศเป็นราคาที่ยังไม่ได้รวมภาษีต่างๆ เพราะ กระทรวงมหาดไทยได้ขอ ครม.ยกว้นภาษีต่างๆให้ด้วย
โครงการโรงเรียนดับเพลิง งบประมาณจำนวน 3,735 ล้านบาท หรือ (74.7 ล้านยูโร) ประกอบด้วย
1. ค่าก่อสร้างอาคารจำนวน 1,190 ล้านบาท
2. ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ยานพาหนะ จำนวน 1,908 ล้านบาท
3. งบฝึกอบรมในต่างประเทศ จำนวน 636 ล้านบาท
นายยุทธพงศ์กล่าวว่าโครงการโรงเรียนดับเพลิง เหมือนกับโครงการจัดซื้อรถดับเพลิง ของ กทม. ทุกประการ แต่ โครงการโรงเรียนดับเพลิงได้เอาข้อด้อยของรถดับเพลิง มาปรับปรุง เช่นการขอยกเว้นภาษีศุลกากรและภาษีอื่นๆ ตั้งแต่ตอนที่ขออนุมัติ ครม. เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนกรณีรถดับเพลิงของ กทม. ที่ไม่มีเงินจ่ายภาษีเพราะไม่ได้ขอยกเว้นไว้แต่แรก นอกจากนี้หลังจากมีการเซ็นสัญญาแล้ว ให้มีการจ่ายเงินมัดจำจำนวน 500 ล้านบาททันที เพื่อจะได้เอาเงินมาจ่ายให้นักการเมืองและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ต้องเอา L/C ไปจำนำเหมือนกรณีรถดับเพลิง เพื่อเอาเงินมาจ่ายให้ผู้เกี่ยวข้อง
“โครงการโรงเรียนดับเพลิง เป็นโครงการที่ส่อไปในทางทุจริต เพราะซื้อของในราคาที่แพงเกินจริง แพงกว่ารถดับเพลิงของกทม. อีก แล้วมันจะไม่ผิดได้อย่างไร? เป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองใหญ่ๆ ในสมัยรัฐบาลทักษิณ และเป็นเหตุผลสำคัญในการปฎิวัติ ยึดอำนาจของ คมช. เพื่อจัดการกับปัญหาการคอร์รัปชั่น รัฐบาลของพล.อ.สุรยุทธ์ฯ เข้ามาบริหารประเทศต่อ เพื่อ แก้ปัญหาการคอร์รัปชั่น ในเมื่อโครงการโรงเรียนดับเพลิง ยังไม่ทันที่ ครม.ทักษิณ จะได้อนุมัติ เพราะโดนปฎิวัติเสียก่อน นายอารีย์ วงศ์อารียะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เข้ามาแทนที่จะเข้ามาปัดกวาด จัดการกับปัญหาการทุจริตโครงการโรงเรียนดับเพลิง ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แต่ท่าน รมต.อารีย์ฯ กลับสั่งเดินหน้าโครงการดังกล่าวต่อ” นายยุทธพงศ์กล่าวในที่สุด
สำหรับในเรื่องนี้นายยุทธพงศ์จะเดินทางไปยื่นเรื่องดังกล่าวพร้อมหลักฐานต่างให้ท่านอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เพื่อสอบสวนเอาผิดกับนักการเมืองและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง ในวันพฤหัสที่ 19 เม.ย. 2550 เวลา 10.00 น.
ตารางเปรียบเทียบโครงการรถดับเพลิงและโรงเรียนดับเพลิง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 เม.ย. 2550--จบ--