1. สถานการณ์ปัจจุบัน
การผลิต
ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 มีประมาณ 1,986,742 เมตริกตัน (ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) ชะลอตัวลง ร้อยละ 3.53 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวจึงทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนเนื่องจากขาดความเชื่อมั่นในสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมือง ขณะเดียวกันผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายเนื่องจากยังคงมีความกังวลต่อสถานการณ์ต่างๆ ทั้งความไม่ชัดเจนทางการเมือง ความไม่สงบในภาคใต้ ภัยแล้ง รวมถึงราคาน้ำมันในประเทศที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น เมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ชะลอตัวลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 13.65 รองลงมาคือ เหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 13.39 เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่ซบเซา โครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐและโครงการใหม่ๆ ของภาคเอกชนยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งที่มีการดำเนินการอยู่เป็นโครงการหมู่บ้านจัดสรรขนาดเล็กและโครงการต่อเนื่องที่สร้างยังไม่แล้วเสร็จจากปีที่แล้ว ประกอบกับราคาเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับโรงงานเหล็กเส้นประเภทที่ไม่มีเตาหลอมในช่วงนี้ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ความต้องการใช้ในประเทศซบเซา จึงทำให้ผู้ผลิตชะลอการผลิตลงเนื่องจากเกรงผลกระทบจากต้นทุนวัตถุดิบมีราคาสูง สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป และเหล็กแผ่นไม่ได้เคลือบดีบุก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 27.64 สำหรับเหล็กแผ่นรีดร้อน ขยายตัว ขึ้นร้อยละ 8.36 โดยการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการส่งออก เนื่องจากตลาดในประเทศซบเซา ผู้ผลิตจึงมุ่งเน้นตลาดส่งออกซึ่งยังมีความต้องการใช้เหล็กอยู่ เช่น ประเทศเวียดนาม ตะวันออกกลาง ยุโรปและออสเตรเลีย รายละเอียดตามตารางที่ 1
ตารางที่ 1 : ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญไตรมาสที่ 1 ปี 2550 เทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2549
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 อัตราการ
ปี 2550 ปี 2549 เปลี่ยนแปลง
(ร้อยละ)
ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป 1,427,000 1,118,000 27.64
(Semi-Finished Products)
เหล็กทรงยาว(Long Products) 975,000 1,125,730 -13.39
เหล็กทรงแบน(Flat Products) 1,694,604 1,671,241 1.4
เหล็กแผ่นรีดร้อน(Hot-rolled Flat) 1,011,742 933,712 8.36
เหล็กแผ่นรีดเย็น(Cold-rolled Flat ) 417,427 483,402 -13.65
เหล็กแผ่นเคลือบ (Coated Steel) 265,435 254,127 4.45
- เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี 81,898 84,593 -3.19
(Galvanized Sheet)
- เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก (Tin plate) 69,504 65,285 6.46
- เหล็กแผ่นไม่ได้เคลือบดีบุก (Tin free) 45,872 37,456 22.47
- อื่นๆ (other coated steel) 68,161 66,793 2.05
ท่อเหล็ก (Pipes & Tubes) N/A N/A N/A
รวม (1) 1,986,742 2,059,442 -3.53
ที่มา : สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ (1) : ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบ และท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ
2. การนำเข้า-การส่งออก
เนื่องจากกรมศุลกากรได้นำพิกัดฮาร์โมไนซ์ฉบับปี 2007 มาใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2007 ทำให้การจัดเก็บสถิตินำเข้า-ส่งออกต้องจัดทำโปรแกรมใหม่ทั้งระบบ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการทำให้ไม่มีข้อมูลในการวิเคราะห์
3. สรุป
สถานการณ์เหล็กโดยรวมในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว จึงทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนเนื่องจากขาดความเชื่อมั่นในสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมือง ขณะเดียวกันผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายเนื่องจากยังคงมีความกังวลต่อสถานการณ์ต่างๆ ทั้งความไม่ชัดเจนทางการเมือง ความไม่สงบในภาคใต้ ภัยแล้ง รวมถึงราคาน้ำมันในประเทศที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น โดยเหล็กทรงยาวซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง การผลิตชะลอตัวลง ร้อยละ 13.39 แต่เหล็กทรงแบน การผลิตขยายตัวขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 1.40
สำหรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของราคาผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญ(FOB)โดยเฉลี่ยในตลาดโลกจาก CIS ณ ท่า Black Sea ในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญทุกตัวมีทิศทางในการปรับตัวของราคาที่เพิ่มขึ้นโดยราคาเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตเพิ่มขึ้นจาก 327 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 480 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 46.74 เหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 313 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 443 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 41.66 เศษเหล็ก เพิ่มขึ้นจาก 218 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 300 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 37.50 เหล็กเส้นเพิ่มขึ้นจาก 380 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 512 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 34.90 เหล็กแผ่นรีดร้อนเพิ่มขึ้นจาก 400 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 533 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.57 และเหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 497 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 607 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.04 เป็นผลมาจากการที่ประเทศจีนมีนโยบายควบคุมการส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป (เช่น เหล็กแท่งยาวและเหล็กแท่งแบน)โดยการประกาศเก็บภาษีส่งออกผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ร้อยละ 10 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ประกอบกับประเทศรัสเซียได้ลดการผลิตลงทั้งที่ความต้องการเพิ่มมากขึ้นจากการขยายตัวของธุรกิจก่อสร้างในประเทศ จึงทำให้ราคาเหล็กส่วนใหญ่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากความต้องการใช้ที่ขยายตัวขึ้นจากประเทศในแถบตะวันออกกลางและยุโรป
ประเทศอินเดียเชื่อมั่นว่าจะกลายเป็นผู้นำอุตสาหกรรมเหล็กในตลาดโลกและจะนำหน้าประเทศจีนในที่สุด โดย เจ้าหน้าที่จากสถาบันวิจัยเหล็กและเหล็กกล้ากลางของจีน เปิดเผยว่าขณะนี้จีนต้องนำเข้าแร่เหล็กถึง 2 ใน 3 ของปริมาณแร่เหล็กที่ใช้ ขณะที่ประเทศอินเดียมีปริมาณแร่เหล็กที่คุณภาพดีเพียงพอ ซึ่งลักษณะของอุตสาหกรรมเหล็กของประเทศจีนและอินเดียจะมีข้อแตกต่างกัน คือ โรงงานจีนส่วนใหญ่จะผลิตสินค้าเพื่อรองรับความต้องการใช้ในประเทศ ในขณะที่อินเดียเน้นขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการควบรวมกิจการของ Arcelor กับ Mittal และ การครอบครอง Corus ของ Tata เป็นต้น
จากความต้องการใช้เหล็กแผ่นหนาของประเทศรัสเซียที่เพิ่มมากขึ้นและการส่งออกที่ลดลง ทำให้ผู้ผลิตในประเทศได้เปลี่ยนสถานะกลายเป็นผู้นำเข้า ซึ่งผู้ผลิตได้เปิดเผยว่าประเทศจีนได้ส่งสินค้ามาให้ผู้ซื้อเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ ราคาและการขนส่ง ขณะที่ผู้ผลิตในยุโรปเองก็หาทางที่จะส่งออกเหล็กเส้นไปยังรัสเซียด้วยเช่นกัน เนื่องจากระดับความต้องการเหล็กเส้นอยู่ในระดับที่มากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ทั้งนี้เพราะธุรกิจอสังหาริมทรพย์ที่ขยายตัวในช่วงนี้ เช่นเดียวกับประเทศลัทเวียและเบโลรัสเซียที่คิดจะส่งออกเหล็กเส้นไปยังรัสเซียเช่นกัน
ตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเผชิญปัญหาการขาดแคลนเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตซึ่งส่งออกจากประเทศจีน เนื่องจากผู้ผลิตในประเทศจีนส่วนใหญ่จะส่งออกไปยังประเทศที่มีราคาสูงกว่า เช่น ประเทศในตะวันออกกลางนอกจากนี้ผู้ผลิตส่วนใหญ่นิยมนำมารีดเป็นเหล็กแผ่นหน้าแคบและเหล็กรูปพรรณในงานก่อสร้างในประเทศเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มมากกว่าที่จะขายเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตเท่านั้น
กระทรวงพาณิชย์และกรมศุลกากร ประเทศจีน ได้ประกาศนโยบายการออกใบอนุญาตการส่งออกสินค้า โดยพบว่ามีสินค้าเหล็กกว่า 83 รายการ ได้แก่ เหล็กเส้น เหล็กลวด เหล็กรีดร้อน เหล็กแผ่นหนา เหล็กแผ่นหน้าแคบ และเหล็กรูปพรรณบางประเภทซึ่งผู้ที่จะส่งออกจะต้องได้รับใบอนุญาต โดยใบอนุญาตดังกล่าวมีระยะเวลา 3 เดือนนับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาต ซึ่งจากข้อมูลการส่งออกตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.พ. 2550 พบว่า ยอดการส่งออกเหล็กประเภทที่ต้องได้รับใบอนุญาตมีประมาณ 50% ของการส่งออกเหล็กทั้งหมด อย่างไรก็ตามมีผลิตภัณฑ์เหล็กบางประเภท เช่น ผลิตภัณฑ์เหล็กรีดเย็นส่วนใหญ่ ผลิตภัณฑ์เหล็กเคลือบสังกะสีและผลิตภัณฑ์ท่อทุกประเภทได้รับการยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาตดังกล่าวซึ่งเรื่องนี้ เลขาธิการสมาคมเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศจีนได้เปิดเผยถึงวัตถุประสงค์หลักของการออกใบอนุญาตการส่งออกนี้เพื่อควบคุมปริมาณการส่งออกสินค้าจากประเทศจีน
4.แนวโน้ม
แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดการณ์ว่าจะทรงตัว โดยการผลิตและการใช้ในประเทศของเหล็กทรงยาวคาดการณ์ว่าจะทรงตัวเนื่องจากธุรกิจภาคก่อสร้างโดยโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐยังไม่เริ่มดำเนินการในช่วงไตรมาสนี้ โครงการภาคเอกชนยังคงชะลอตัวอยู่ สำหรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งจะทำให้ความต้องการใช้เหล็กทรงยาวเพิ่มมากขึ้นในงานที่เกี่ยวข้องในส่วนของโครงสร้างเหล็ก คาดการณ์ว่าจะมีการประมูลในช่วงไตรมาสที่ 3 จากสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศเช่นนี้ทำให้โรงงานผู้ผลิตเหล็กเส้นขนาดใหญ่ขยายตลาดส่งออกเพิ่มมากขึ้น สำหรับสถานการณ์เหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าการผลิตจะขยายตัวขึ้นตามอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศ เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า นอกจากนี้ผู้ผลิตได้ขยายฐานการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น จึงมีผลทำให้การผลิตเพิ่มมากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิต
ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 มีประมาณ 1,986,742 เมตริกตัน (ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) ชะลอตัวลง ร้อยละ 3.53 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวจึงทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนเนื่องจากขาดความเชื่อมั่นในสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมือง ขณะเดียวกันผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายเนื่องจากยังคงมีความกังวลต่อสถานการณ์ต่างๆ ทั้งความไม่ชัดเจนทางการเมือง ความไม่สงบในภาคใต้ ภัยแล้ง รวมถึงราคาน้ำมันในประเทศที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น เมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ชะลอตัวลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 13.65 รองลงมาคือ เหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 13.39 เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่ซบเซา โครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐและโครงการใหม่ๆ ของภาคเอกชนยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งที่มีการดำเนินการอยู่เป็นโครงการหมู่บ้านจัดสรรขนาดเล็กและโครงการต่อเนื่องที่สร้างยังไม่แล้วเสร็จจากปีที่แล้ว ประกอบกับราคาเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับโรงงานเหล็กเส้นประเภทที่ไม่มีเตาหลอมในช่วงนี้ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ความต้องการใช้ในประเทศซบเซา จึงทำให้ผู้ผลิตชะลอการผลิตลงเนื่องจากเกรงผลกระทบจากต้นทุนวัตถุดิบมีราคาสูง สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป และเหล็กแผ่นไม่ได้เคลือบดีบุก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 27.64 สำหรับเหล็กแผ่นรีดร้อน ขยายตัว ขึ้นร้อยละ 8.36 โดยการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการส่งออก เนื่องจากตลาดในประเทศซบเซา ผู้ผลิตจึงมุ่งเน้นตลาดส่งออกซึ่งยังมีความต้องการใช้เหล็กอยู่ เช่น ประเทศเวียดนาม ตะวันออกกลาง ยุโรปและออสเตรเลีย รายละเอียดตามตารางที่ 1
ตารางที่ 1 : ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญไตรมาสที่ 1 ปี 2550 เทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2549
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 อัตราการ
ปี 2550 ปี 2549 เปลี่ยนแปลง
(ร้อยละ)
ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป 1,427,000 1,118,000 27.64
(Semi-Finished Products)
เหล็กทรงยาว(Long Products) 975,000 1,125,730 -13.39
เหล็กทรงแบน(Flat Products) 1,694,604 1,671,241 1.4
เหล็กแผ่นรีดร้อน(Hot-rolled Flat) 1,011,742 933,712 8.36
เหล็กแผ่นรีดเย็น(Cold-rolled Flat ) 417,427 483,402 -13.65
เหล็กแผ่นเคลือบ (Coated Steel) 265,435 254,127 4.45
- เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี 81,898 84,593 -3.19
(Galvanized Sheet)
- เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก (Tin plate) 69,504 65,285 6.46
- เหล็กแผ่นไม่ได้เคลือบดีบุก (Tin free) 45,872 37,456 22.47
- อื่นๆ (other coated steel) 68,161 66,793 2.05
ท่อเหล็ก (Pipes & Tubes) N/A N/A N/A
รวม (1) 1,986,742 2,059,442 -3.53
ที่มา : สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ (1) : ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบ และท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ
2. การนำเข้า-การส่งออก
เนื่องจากกรมศุลกากรได้นำพิกัดฮาร์โมไนซ์ฉบับปี 2007 มาใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2007 ทำให้การจัดเก็บสถิตินำเข้า-ส่งออกต้องจัดทำโปรแกรมใหม่ทั้งระบบ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการทำให้ไม่มีข้อมูลในการวิเคราะห์
3. สรุป
สถานการณ์เหล็กโดยรวมในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว จึงทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนเนื่องจากขาดความเชื่อมั่นในสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมือง ขณะเดียวกันผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายเนื่องจากยังคงมีความกังวลต่อสถานการณ์ต่างๆ ทั้งความไม่ชัดเจนทางการเมือง ความไม่สงบในภาคใต้ ภัยแล้ง รวมถึงราคาน้ำมันในประเทศที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น โดยเหล็กทรงยาวซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง การผลิตชะลอตัวลง ร้อยละ 13.39 แต่เหล็กทรงแบน การผลิตขยายตัวขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 1.40
สำหรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของราคาผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญ(FOB)โดยเฉลี่ยในตลาดโลกจาก CIS ณ ท่า Black Sea ในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญทุกตัวมีทิศทางในการปรับตัวของราคาที่เพิ่มขึ้นโดยราคาเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตเพิ่มขึ้นจาก 327 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 480 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 46.74 เหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 313 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 443 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 41.66 เศษเหล็ก เพิ่มขึ้นจาก 218 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 300 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 37.50 เหล็กเส้นเพิ่มขึ้นจาก 380 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 512 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 34.90 เหล็กแผ่นรีดร้อนเพิ่มขึ้นจาก 400 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 533 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.57 และเหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 497 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 607 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.04 เป็นผลมาจากการที่ประเทศจีนมีนโยบายควบคุมการส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป (เช่น เหล็กแท่งยาวและเหล็กแท่งแบน)โดยการประกาศเก็บภาษีส่งออกผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ร้อยละ 10 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ประกอบกับประเทศรัสเซียได้ลดการผลิตลงทั้งที่ความต้องการเพิ่มมากขึ้นจากการขยายตัวของธุรกิจก่อสร้างในประเทศ จึงทำให้ราคาเหล็กส่วนใหญ่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากความต้องการใช้ที่ขยายตัวขึ้นจากประเทศในแถบตะวันออกกลางและยุโรป
ประเทศอินเดียเชื่อมั่นว่าจะกลายเป็นผู้นำอุตสาหกรรมเหล็กในตลาดโลกและจะนำหน้าประเทศจีนในที่สุด โดย เจ้าหน้าที่จากสถาบันวิจัยเหล็กและเหล็กกล้ากลางของจีน เปิดเผยว่าขณะนี้จีนต้องนำเข้าแร่เหล็กถึง 2 ใน 3 ของปริมาณแร่เหล็กที่ใช้ ขณะที่ประเทศอินเดียมีปริมาณแร่เหล็กที่คุณภาพดีเพียงพอ ซึ่งลักษณะของอุตสาหกรรมเหล็กของประเทศจีนและอินเดียจะมีข้อแตกต่างกัน คือ โรงงานจีนส่วนใหญ่จะผลิตสินค้าเพื่อรองรับความต้องการใช้ในประเทศ ในขณะที่อินเดียเน้นขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการควบรวมกิจการของ Arcelor กับ Mittal และ การครอบครอง Corus ของ Tata เป็นต้น
จากความต้องการใช้เหล็กแผ่นหนาของประเทศรัสเซียที่เพิ่มมากขึ้นและการส่งออกที่ลดลง ทำให้ผู้ผลิตในประเทศได้เปลี่ยนสถานะกลายเป็นผู้นำเข้า ซึ่งผู้ผลิตได้เปิดเผยว่าประเทศจีนได้ส่งสินค้ามาให้ผู้ซื้อเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ ราคาและการขนส่ง ขณะที่ผู้ผลิตในยุโรปเองก็หาทางที่จะส่งออกเหล็กเส้นไปยังรัสเซียด้วยเช่นกัน เนื่องจากระดับความต้องการเหล็กเส้นอยู่ในระดับที่มากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ทั้งนี้เพราะธุรกิจอสังหาริมทรพย์ที่ขยายตัวในช่วงนี้ เช่นเดียวกับประเทศลัทเวียและเบโลรัสเซียที่คิดจะส่งออกเหล็กเส้นไปยังรัสเซียเช่นกัน
ตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเผชิญปัญหาการขาดแคลนเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตซึ่งส่งออกจากประเทศจีน เนื่องจากผู้ผลิตในประเทศจีนส่วนใหญ่จะส่งออกไปยังประเทศที่มีราคาสูงกว่า เช่น ประเทศในตะวันออกกลางนอกจากนี้ผู้ผลิตส่วนใหญ่นิยมนำมารีดเป็นเหล็กแผ่นหน้าแคบและเหล็กรูปพรรณในงานก่อสร้างในประเทศเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มมากกว่าที่จะขายเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตเท่านั้น
กระทรวงพาณิชย์และกรมศุลกากร ประเทศจีน ได้ประกาศนโยบายการออกใบอนุญาตการส่งออกสินค้า โดยพบว่ามีสินค้าเหล็กกว่า 83 รายการ ได้แก่ เหล็กเส้น เหล็กลวด เหล็กรีดร้อน เหล็กแผ่นหนา เหล็กแผ่นหน้าแคบ และเหล็กรูปพรรณบางประเภทซึ่งผู้ที่จะส่งออกจะต้องได้รับใบอนุญาต โดยใบอนุญาตดังกล่าวมีระยะเวลา 3 เดือนนับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาต ซึ่งจากข้อมูลการส่งออกตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.พ. 2550 พบว่า ยอดการส่งออกเหล็กประเภทที่ต้องได้รับใบอนุญาตมีประมาณ 50% ของการส่งออกเหล็กทั้งหมด อย่างไรก็ตามมีผลิตภัณฑ์เหล็กบางประเภท เช่น ผลิตภัณฑ์เหล็กรีดเย็นส่วนใหญ่ ผลิตภัณฑ์เหล็กเคลือบสังกะสีและผลิตภัณฑ์ท่อทุกประเภทได้รับการยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาตดังกล่าวซึ่งเรื่องนี้ เลขาธิการสมาคมเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศจีนได้เปิดเผยถึงวัตถุประสงค์หลักของการออกใบอนุญาตการส่งออกนี้เพื่อควบคุมปริมาณการส่งออกสินค้าจากประเทศจีน
4.แนวโน้ม
แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดการณ์ว่าจะทรงตัว โดยการผลิตและการใช้ในประเทศของเหล็กทรงยาวคาดการณ์ว่าจะทรงตัวเนื่องจากธุรกิจภาคก่อสร้างโดยโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐยังไม่เริ่มดำเนินการในช่วงไตรมาสนี้ โครงการภาคเอกชนยังคงชะลอตัวอยู่ สำหรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งจะทำให้ความต้องการใช้เหล็กทรงยาวเพิ่มมากขึ้นในงานที่เกี่ยวข้องในส่วนของโครงสร้างเหล็ก คาดการณ์ว่าจะมีการประมูลในช่วงไตรมาสที่ 3 จากสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศเช่นนี้ทำให้โรงงานผู้ผลิตเหล็กเส้นขนาดใหญ่ขยายตลาดส่งออกเพิ่มมากขึ้น สำหรับสถานการณ์เหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าการผลิตจะขยายตัวขึ้นตามอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศ เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า นอกจากนี้ผู้ผลิตได้ขยายฐานการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น จึงมีผลทำให้การผลิตเพิ่มมากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-