วันที่ 8 เมษายน 50 นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงการจัดตั้งรัฐบาลครบ 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคมปีที่แล้ว โดยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมานั้นจะเห็นได้ว่ารัฐบาลมีความตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาของประเทศซึ่งสะสมมาอย่างนานตลอดระยะเวลา 5 — 6 ปีที่ผ่านมาอันเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศ กระทั่งก่อให้เกิดความแตกแยกของประชาชนอย่างต่อเนื่องตลอดมา
นายองอาจ กล่าวว่าแม้รัฐบาลจะมีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการทำงาน แต่ปรากฎว่ามีปัจจัยต่าง ๆ ที่รัฐบาลจะต้องเผชิญกับการแก้ไขปัญหา ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยภายในคณะรัฐบาล ดังนี้ 1.ภาพลักษณ์ที่ปรากฎต่อสายตาภายนอกชี้ให้เห็นถึงความไม่เป็นเอกภาพของรัฐบาลกับ คมช. 2.ผลกระทบจากปัจจัยภายในรัฐบาล ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลทำงานแบบต่างคนต่างทำ 3.ยังมีการปล่อยเกียร์ว่างของรัฐมนตรีและข้าราชการบางส่วน สำหรับปัจจัยภายนอกรัฐบาลที่มีผลกระทบต่อรัฐบาลอย่างมาก ได้แก่ การเคลื่อนไหวของกลุ่มต่าง ๆ ที่สนับสนุนต่อท่อน้ำเลี้ยงโดยกลุ่มอำนาจเก่า ที่มีลักษณะแยกกันเดิน รวมกันตี มุ่งเป้าไปที่รัฐบาล และคมช. นอกจากนี้ยังมีปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นผลกระทบต่อเนื่องมาจากรัฐบาลชุดที่แล้ว
แม้รัฐบาลจะมีปัญหารุมเร้าจากปัจจัยภายในและภายนอกรัฐบาล นายองอาจเห็นว่า รัฐบาลไม่ควรละเลยที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหาพื้นฐานที่กระทบต่อชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชน โดยต้องยอมรับว่าในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมานั้นกลับไม่เห็นการเคลื่อนไหวของรัฐบาลที่จะก่อให้เกิดความสบายใจ และเชื่อมั่นจากประชาชนว่ารัฐบาลได้มีความพยายามที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้นายองอาจยังได้สรุปปัญหา 4 ด้านที่รัฐบาลจะต้องเข้าไปแก้ไข ได้แก่ 1.ปัญหาเศรษฐกิจทั้งในระดับจุลภาค และระดับมหภาค 2.ปัญหาความยากจนของประชาชนในระดับรากแก้ว ซึ่งขณะนี้ปัญหากำลังขยายวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง 3.ปัญหาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน 4.ปัญหาความไม่มั่นใจทางเศรษฐกิจและความไม่มั่นคงในทางการเมือง จากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนี้นายองอาจ จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลใช้เวลาในช่วงที่เหลือก่อนที่จะถึงการเลือกตั้งครั้งต่อไปนั้น เร่งแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยเห็นว่าเวลาที่เหลือนั้นเพียงพอที่รัฐบาลจะใช้ความรู้ความสามารถปรับปรุงการทำงานของรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ข้างต้นได้
“ถ้ารัฐบาลแก้ปัญหาไม่ได้ หรือไม่แก้ไขปัญหา ยังทำตัวเป็นนกขมิ้นเหลืองอ่อน ทำงานแบบเรื่อย ๆ ไปเรียง ๆ อยู่อย่างนี้ ผมคิดว่าจะเกิดผลกระทบต่อตัวรัฐบาลเป็นอย่างมากในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ และแน่นอนที่สุดผลกระทบนี้คงไม่เกิดขึ้นต่อรัฐบาลเท่านั้น แต่จะเกิดผลกระทบต่อประเทศของเราโดยรวมด้วย และอาจจะมีปัญหาต่าง ๆ บานปลายตามมาจากการที่รัฐบาลไม่ใช้ศักยภาพของตัวเองที่มีอยู่เข้าไปแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ผมคิดว่ารัฐบาลควรจะต้องเร่งเข้าไปแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมากกว่าคำพูดหรือมากกว่าการสร้างความพึงพอใจที่ไม่เห็นผลเป็นรูปธรรม ซึ่งจะช่วยให้รัฐบาลเกิดความเชื่อถือต่อพี่น้องประชาชนมากยิ่งขึ้นและจะมีส่วนช่วยทำให้ใครก็ตาม ไม่สามารถใช้การบริหารงานที่ยังแก้ไขปัญหาไม่ได้ของรัฐบาลนั้นไปเป็นเงื่อนไขในการก่อให้เกิดปัญหาต่อประเทศชาติบ้านเมืองของเราโดยรวม” นายองอาจกล่าว
นอกจากนี้นายองอาจ ยังได้กล่าวถึงการยกร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ว่า ถึงแม้คณะกรรมาธิการยกร่างฯ และผู้เกี่ยวข้องพยายามจะชี้ให้เห็นถึงการไม่สืบทอดอำนาจผ่านทางรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่ยังมีความระแวงสงสัยเกิดขึ้นในหมู่ประชาชน นักวิชาการ อย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นข้อความใด ๆ ที่ปรากฎในร่างรัฐธรรมนูญ ตนคิดว่าเป็นภาระหน้าที่ของคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ที่จะต้องยกร่างรัฐธรรมนูญในส่วนนี้ให้ชัดเจนไม่ก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยว่าจะมีการต่อท่ออำนาจใด ๆ ของบุคคลใด หรือคมช. อย่างเด็ดขาด นอกจากนี้ยังต้องการให้คณะกรรมาธิการยกร่างฯ คำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชน และสิทธิประโยชน์ที่ประชาชนพึงได้รับจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้เห็นเป็นรูปธรรม ให้ประชาชนรู้สึกว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นที่พึงที่หวังได้อย่างแท้จริง และสิ่งที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้สามารถปฏิบัติได้จริง ไม่เหมือนกับรัฐธรรมนูญปี 40 ในหลาย ๆ มาตราที่ผ่านมา เช่น รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ให้มีองค์การอิสระเพื่อผู้บริโภค ซึ่งไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ แต่กฎหมายในรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ แต่รัฐบาลในอดีต หาช่องทางไม่เอากฎหมายในลักษณะนี้เข้าไปพิจารณาในสภา
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 เม.ย. 2550--จบ--
นายองอาจ กล่าวว่าแม้รัฐบาลจะมีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการทำงาน แต่ปรากฎว่ามีปัจจัยต่าง ๆ ที่รัฐบาลจะต้องเผชิญกับการแก้ไขปัญหา ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยภายในคณะรัฐบาล ดังนี้ 1.ภาพลักษณ์ที่ปรากฎต่อสายตาภายนอกชี้ให้เห็นถึงความไม่เป็นเอกภาพของรัฐบาลกับ คมช. 2.ผลกระทบจากปัจจัยภายในรัฐบาล ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลทำงานแบบต่างคนต่างทำ 3.ยังมีการปล่อยเกียร์ว่างของรัฐมนตรีและข้าราชการบางส่วน สำหรับปัจจัยภายนอกรัฐบาลที่มีผลกระทบต่อรัฐบาลอย่างมาก ได้แก่ การเคลื่อนไหวของกลุ่มต่าง ๆ ที่สนับสนุนต่อท่อน้ำเลี้ยงโดยกลุ่มอำนาจเก่า ที่มีลักษณะแยกกันเดิน รวมกันตี มุ่งเป้าไปที่รัฐบาล และคมช. นอกจากนี้ยังมีปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นผลกระทบต่อเนื่องมาจากรัฐบาลชุดที่แล้ว
แม้รัฐบาลจะมีปัญหารุมเร้าจากปัจจัยภายในและภายนอกรัฐบาล นายองอาจเห็นว่า รัฐบาลไม่ควรละเลยที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหาพื้นฐานที่กระทบต่อชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชน โดยต้องยอมรับว่าในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมานั้นกลับไม่เห็นการเคลื่อนไหวของรัฐบาลที่จะก่อให้เกิดความสบายใจ และเชื่อมั่นจากประชาชนว่ารัฐบาลได้มีความพยายามที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้นายองอาจยังได้สรุปปัญหา 4 ด้านที่รัฐบาลจะต้องเข้าไปแก้ไข ได้แก่ 1.ปัญหาเศรษฐกิจทั้งในระดับจุลภาค และระดับมหภาค 2.ปัญหาความยากจนของประชาชนในระดับรากแก้ว ซึ่งขณะนี้ปัญหากำลังขยายวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง 3.ปัญหาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน 4.ปัญหาความไม่มั่นใจทางเศรษฐกิจและความไม่มั่นคงในทางการเมือง จากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนี้นายองอาจ จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลใช้เวลาในช่วงที่เหลือก่อนที่จะถึงการเลือกตั้งครั้งต่อไปนั้น เร่งแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยเห็นว่าเวลาที่เหลือนั้นเพียงพอที่รัฐบาลจะใช้ความรู้ความสามารถปรับปรุงการทำงานของรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ข้างต้นได้
“ถ้ารัฐบาลแก้ปัญหาไม่ได้ หรือไม่แก้ไขปัญหา ยังทำตัวเป็นนกขมิ้นเหลืองอ่อน ทำงานแบบเรื่อย ๆ ไปเรียง ๆ อยู่อย่างนี้ ผมคิดว่าจะเกิดผลกระทบต่อตัวรัฐบาลเป็นอย่างมากในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ และแน่นอนที่สุดผลกระทบนี้คงไม่เกิดขึ้นต่อรัฐบาลเท่านั้น แต่จะเกิดผลกระทบต่อประเทศของเราโดยรวมด้วย และอาจจะมีปัญหาต่าง ๆ บานปลายตามมาจากการที่รัฐบาลไม่ใช้ศักยภาพของตัวเองที่มีอยู่เข้าไปแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ผมคิดว่ารัฐบาลควรจะต้องเร่งเข้าไปแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมากกว่าคำพูดหรือมากกว่าการสร้างความพึงพอใจที่ไม่เห็นผลเป็นรูปธรรม ซึ่งจะช่วยให้รัฐบาลเกิดความเชื่อถือต่อพี่น้องประชาชนมากยิ่งขึ้นและจะมีส่วนช่วยทำให้ใครก็ตาม ไม่สามารถใช้การบริหารงานที่ยังแก้ไขปัญหาไม่ได้ของรัฐบาลนั้นไปเป็นเงื่อนไขในการก่อให้เกิดปัญหาต่อประเทศชาติบ้านเมืองของเราโดยรวม” นายองอาจกล่าว
นอกจากนี้นายองอาจ ยังได้กล่าวถึงการยกร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ว่า ถึงแม้คณะกรรมาธิการยกร่างฯ และผู้เกี่ยวข้องพยายามจะชี้ให้เห็นถึงการไม่สืบทอดอำนาจผ่านทางรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่ยังมีความระแวงสงสัยเกิดขึ้นในหมู่ประชาชน นักวิชาการ อย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นข้อความใด ๆ ที่ปรากฎในร่างรัฐธรรมนูญ ตนคิดว่าเป็นภาระหน้าที่ของคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ที่จะต้องยกร่างรัฐธรรมนูญในส่วนนี้ให้ชัดเจนไม่ก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยว่าจะมีการต่อท่ออำนาจใด ๆ ของบุคคลใด หรือคมช. อย่างเด็ดขาด นอกจากนี้ยังต้องการให้คณะกรรมาธิการยกร่างฯ คำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชน และสิทธิประโยชน์ที่ประชาชนพึงได้รับจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้เห็นเป็นรูปธรรม ให้ประชาชนรู้สึกว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นที่พึงที่หวังได้อย่างแท้จริง และสิ่งที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้สามารถปฏิบัติได้จริง ไม่เหมือนกับรัฐธรรมนูญปี 40 ในหลาย ๆ มาตราที่ผ่านมา เช่น รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ให้มีองค์การอิสระเพื่อผู้บริโภค ซึ่งไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ แต่กฎหมายในรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ แต่รัฐบาลในอดีต หาช่องทางไม่เอากฎหมายในลักษณะนี้เข้าไปพิจารณาในสภา
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 เม.ย. 2550--จบ--