กรุงเทพ--8 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
นายเกียรติคุณ ชาติประเสริฐ รองอธิบดีกรมสารนิเทศ และรองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องประชุมกรมสารนิเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่างๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว ครั้งที่ 8 (JBC 8) และเยือนลาวอย่างเป็นทางการ
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางไปร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว (Joint Boundary Commission: JBC) ครั้งที่ 8 ณ เมืองหลวงพระบาง ระหว่างวันที่ 7-8 มีนาคม 2550 และจะเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 8-9 มีนาคม 2550 ตามคำเชิญของนายทองลุน สีสุลิด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สสป. ลาว
ประเด็นสำคัญที่คาดว่า จะมีการหารือกันระหว่างการประชุม ได้แก่ ความร่วมมือในการสำรวจ และจัดทำเขตแดน ความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดน ความร่วมมือแก้ปัญหาผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายการพัฒนาเครือข่ายคมนาคมเชื่อมโยงไทย-ลาว และการจัดระเบียบแรงงาน เป็นต้น
ทั้งนี้ ระหว่างการเยือนลาวอย่างเป็นทางการ นายนิตย์ฯ จะได้พบหารือกับนายทองลุน สีสุลิด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศลาว และเข้าเยี่ยมคารวะนายบัวสอน บุบผาวัน นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว และพลโทจูมมะลี ไชยะสอน ประธานประเทศ สปป.ลาว ด้วย
2. ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีในอนุภูมิภาคเพื่อการต่อต้านการก่อการร้าย (Sub-regional Ministerial Meeting on Counter Terrorism)
เมื่อวันที่ 4 -5 มีนาคม 2550 นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีในอนุภูมิภาคเพื่อการต่อต้านการก่อการร้ายร่วมกับคณะผู้แทนระดับสูงจาก 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย ฟิลิปินส์ สิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งการประชุมครั้งนี้ถือเป็นการประชุมวงเล็กของ Bali Process ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการต่อต้านการก่อการร้ายในภูมิภาค
ประเทศไทยใช้เวทีหารือนี้กระชับความร่วมมือระดับภูมิภาค โดยเฉพาะในด้านการต่อต้านการแพร่ขยายของลัทธินิยมความรุนแรง ความร่วมมือด้านการข่าว การสอดส่องควบคุมความเคลื่อนไหว และการจัดการกับยุทธวิธีต่างๆ ของสมาชิกขบวนการก่อการร้าย อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการขยายความร่วมมือในการเสริมสร้างขีดความสามารถในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย และการเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่ดีจากประเทศอื่นในภูมิภาคด้วย
ประเด็นสำคัญซึ่งทุกฝ่ายเห็นพ้องให้ดำเนินการในระยะต่อไปตามแนวทาง 3 ส่วน ได้แก่ การดำเนินการภายในประเทศ การส่งเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ และการเอาชนะใจประชาชน
ทั้งนี้ นายนิตย์ ฯ ได้รับทราบข้อกังวลของฝ่ายอินโดนีเซียเกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้แจ้งฝ่ายอินโดนีเซียว่า ประเทศไทยกำลังดำเนินมาตรการและนโยบายหลายด้านในลักษณะคู่ขนานเพื่อสร้างสันติภาพและความสมานฉันท์ในบริเวณดังกล่าว ได้แก่ การพัฒนาการศึกษา การปรับปรุงโครงสร้างทางสังคม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน การส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศ การสร้างความยุติธรรมให้กับประชาชน และการจัดตั้งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นต้น
3. การประชุมนำเสนอผลการวิจัยเรื่อง “องค์การมุสลิมโลกกับโลกมุสลิม”
ในวันที่ 8 มีนาคม 2550 กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จะจัดการประชุมนำเสนอผลการวิจัยเรื่อง “องค์การมุสลิมโลกกับโลกมุสลิม” ระหว่างเวลา 09.00 — 12.30 น. ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สนใจรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทขององค์กรกลุ่มประเทศมุสลิม เช่น OIC และสันนิบาตอาหรับ ที่มีต่อความสัมพันธ์ของประชาคมมุสลิม โดยจะเน้นการอภิปรายแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันของบรรดาผู้ทรงคุณวุฒิและคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ เกี่ยวกับโลกมุสลิม
การจัดประชุมนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทางวิชาการที่สนับสนุนการดำเนินยุทธศาสตร์ไทยต่อประชาคมมุสลิมของกระทรวงการต่างประเทศ อันเป็นผลสืบเนื่องจากการจัดประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ไทยประจำประเทศมุสลิมเมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา
4. การสัมมนากรณีศึกษา: กระแสความนิยมเกาหลีกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรมของไทย
ในวันที่ 14 มี.ค. 2550 กระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมเอเชียตะวันออก จะจัดการสัมมนากรณีศึกษา: กระแสความนิยมเกาหลี (Korean Wave) กับการส่งเสริมอุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรมของไทย (cultural content industry) ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรม Century Park โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเรียนรู้กลยุทธ์และการดำเนินการส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรมของเกาหลีเพื่อปรับใช้กับอุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรมของไทย
หัวข้อการสัมมนาที่สำคัญ ได้แก่ อิทธิพลของกระแสความนิยมเกาหลีในไทยการดำเนินการของรัฐบาลเกาหลีใต้ในการส่งเสริมการส่งออกทางวัฒนธรรม และการปรับใช้กระแสความนิยมเกาหลีให้เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรมของไทย สื่อมวลชนที่สนใจสามารถแจ้งชื่อได้ที่กรมเอเชียตะวันออกภายในวันที่ 7 มี.ค. 2550 (โทร 02 643 5209 -10 หรือโทรสาร 02 643 5208)
5. ประเทศไทยได้รับรางวัลแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของสวีเดน
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์มว่า ประเทศไทยได้รับรางวัลประเภทจุดหมายปลายทางยอดนิยมประจำปี 2007 (World Best Destination) ในงาน Grand Travel Award 2007 ครั้งที่ 15 ซึ่งจัดขึ้นโดยนิตยสาร Travel News โดยนายอภิชาติ ชินวรรโณ เอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม เป็นผู้แทนเข้ารับรางวัลฯ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2550
ประเทศไทยได้รับรางวัล World Best Destination เป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน โดยประเมินจากผลการลงคะแนนของสมาชิกของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสวีเดนกว่า 500 คน โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสตอกโฮล์ม รายงานว่าในปี 2549 มีนักท่องเที่ยวชาวสวีเดนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย 306,085 คนเพิ่มขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ 37.3
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 8 มกราคม ที่ผ่านมา ประเทศไทยเพิ่งได้รับรางวัลแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมประจำปี 2550 (The World’s Best Tourist Country 2007) เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน จากงาน The Norwegian Grand Travel Awards 2007 ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ด้วย
6. การประชุมคณะทำงานพิเศษและการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส CICA
กระทรวงการต่างประเทศจะเป็นเจ้าภาพการประชุมคณะทำงานพิเศษ (Special Working Group--SWG) และการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Official Committee--SOC) ของกรอบการประชุมว่าด้วยปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจแห่งเอเชีย หรือ CICA (Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia) ระหว่างวันที่ 12 — 14 มีนาคม 2550 ณ โรงแรม InterContinental โดยการประชุมดังกล่าวจะมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิก CICA รวม 18 ประเทศ อาทิ คาซัคสถาน จีน อินเดีย ปากีสถาน รัสเซีย ไทย เกาหลีใต้ เป็นต้น โดยมีคาซัคสถาน
ในฐานะประธาน CICA ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม
7. รัฐบาลไทยส่งสารแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่อินโดนีเซีย
โดยที่ได้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้นที่จังหวัดสุมาตราตะวันตกในประเทศอินโดนีเซีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จึงได้มีสารถึงประธานาธิบดีอินโดนีเซีย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีสารถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย เพื่อแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลไทยกำลังพิจารณาเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลอินโดนีเซีย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
นายเกียรติคุณ ชาติประเสริฐ รองอธิบดีกรมสารนิเทศ และรองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องประชุมกรมสารนิเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่างๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว ครั้งที่ 8 (JBC 8) และเยือนลาวอย่างเป็นทางการ
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางไปร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว (Joint Boundary Commission: JBC) ครั้งที่ 8 ณ เมืองหลวงพระบาง ระหว่างวันที่ 7-8 มีนาคม 2550 และจะเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 8-9 มีนาคม 2550 ตามคำเชิญของนายทองลุน สีสุลิด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สสป. ลาว
ประเด็นสำคัญที่คาดว่า จะมีการหารือกันระหว่างการประชุม ได้แก่ ความร่วมมือในการสำรวจ และจัดทำเขตแดน ความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดน ความร่วมมือแก้ปัญหาผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายการพัฒนาเครือข่ายคมนาคมเชื่อมโยงไทย-ลาว และการจัดระเบียบแรงงาน เป็นต้น
ทั้งนี้ ระหว่างการเยือนลาวอย่างเป็นทางการ นายนิตย์ฯ จะได้พบหารือกับนายทองลุน สีสุลิด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศลาว และเข้าเยี่ยมคารวะนายบัวสอน บุบผาวัน นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว และพลโทจูมมะลี ไชยะสอน ประธานประเทศ สปป.ลาว ด้วย
2. ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีในอนุภูมิภาคเพื่อการต่อต้านการก่อการร้าย (Sub-regional Ministerial Meeting on Counter Terrorism)
เมื่อวันที่ 4 -5 มีนาคม 2550 นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีในอนุภูมิภาคเพื่อการต่อต้านการก่อการร้ายร่วมกับคณะผู้แทนระดับสูงจาก 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย ฟิลิปินส์ สิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งการประชุมครั้งนี้ถือเป็นการประชุมวงเล็กของ Bali Process ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการต่อต้านการก่อการร้ายในภูมิภาค
ประเทศไทยใช้เวทีหารือนี้กระชับความร่วมมือระดับภูมิภาค โดยเฉพาะในด้านการต่อต้านการแพร่ขยายของลัทธินิยมความรุนแรง ความร่วมมือด้านการข่าว การสอดส่องควบคุมความเคลื่อนไหว และการจัดการกับยุทธวิธีต่างๆ ของสมาชิกขบวนการก่อการร้าย อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการขยายความร่วมมือในการเสริมสร้างขีดความสามารถในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย และการเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่ดีจากประเทศอื่นในภูมิภาคด้วย
ประเด็นสำคัญซึ่งทุกฝ่ายเห็นพ้องให้ดำเนินการในระยะต่อไปตามแนวทาง 3 ส่วน ได้แก่ การดำเนินการภายในประเทศ การส่งเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ และการเอาชนะใจประชาชน
ทั้งนี้ นายนิตย์ ฯ ได้รับทราบข้อกังวลของฝ่ายอินโดนีเซียเกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้แจ้งฝ่ายอินโดนีเซียว่า ประเทศไทยกำลังดำเนินมาตรการและนโยบายหลายด้านในลักษณะคู่ขนานเพื่อสร้างสันติภาพและความสมานฉันท์ในบริเวณดังกล่าว ได้แก่ การพัฒนาการศึกษา การปรับปรุงโครงสร้างทางสังคม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน การส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศ การสร้างความยุติธรรมให้กับประชาชน และการจัดตั้งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นต้น
3. การประชุมนำเสนอผลการวิจัยเรื่อง “องค์การมุสลิมโลกกับโลกมุสลิม”
ในวันที่ 8 มีนาคม 2550 กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย จะจัดการประชุมนำเสนอผลการวิจัยเรื่อง “องค์การมุสลิมโลกกับโลกมุสลิม” ระหว่างเวลา 09.00 — 12.30 น. ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สนใจรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทขององค์กรกลุ่มประเทศมุสลิม เช่น OIC และสันนิบาตอาหรับ ที่มีต่อความสัมพันธ์ของประชาคมมุสลิม โดยจะเน้นการอภิปรายแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันของบรรดาผู้ทรงคุณวุฒิและคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ เกี่ยวกับโลกมุสลิม
การจัดประชุมนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทางวิชาการที่สนับสนุนการดำเนินยุทธศาสตร์ไทยต่อประชาคมมุสลิมของกระทรวงการต่างประเทศ อันเป็นผลสืบเนื่องจากการจัดประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ไทยประจำประเทศมุสลิมเมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา
4. การสัมมนากรณีศึกษา: กระแสความนิยมเกาหลีกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรมของไทย
ในวันที่ 14 มี.ค. 2550 กระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมเอเชียตะวันออก จะจัดการสัมมนากรณีศึกษา: กระแสความนิยมเกาหลี (Korean Wave) กับการส่งเสริมอุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรมของไทย (cultural content industry) ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรม Century Park โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเรียนรู้กลยุทธ์และการดำเนินการส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรมของเกาหลีเพื่อปรับใช้กับอุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรมของไทย
หัวข้อการสัมมนาที่สำคัญ ได้แก่ อิทธิพลของกระแสความนิยมเกาหลีในไทยการดำเนินการของรัฐบาลเกาหลีใต้ในการส่งเสริมการส่งออกทางวัฒนธรรม และการปรับใช้กระแสความนิยมเกาหลีให้เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรมของไทย สื่อมวลชนที่สนใจสามารถแจ้งชื่อได้ที่กรมเอเชียตะวันออกภายในวันที่ 7 มี.ค. 2550 (โทร 02 643 5209 -10 หรือโทรสาร 02 643 5208)
5. ประเทศไทยได้รับรางวัลแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของสวีเดน
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์มว่า ประเทศไทยได้รับรางวัลประเภทจุดหมายปลายทางยอดนิยมประจำปี 2007 (World Best Destination) ในงาน Grand Travel Award 2007 ครั้งที่ 15 ซึ่งจัดขึ้นโดยนิตยสาร Travel News โดยนายอภิชาติ ชินวรรโณ เอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม เป็นผู้แทนเข้ารับรางวัลฯ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2550
ประเทศไทยได้รับรางวัล World Best Destination เป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน โดยประเมินจากผลการลงคะแนนของสมาชิกของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสวีเดนกว่า 500 คน โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสตอกโฮล์ม รายงานว่าในปี 2549 มีนักท่องเที่ยวชาวสวีเดนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย 306,085 คนเพิ่มขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ 37.3
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 8 มกราคม ที่ผ่านมา ประเทศไทยเพิ่งได้รับรางวัลแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมประจำปี 2550 (The World’s Best Tourist Country 2007) เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน จากงาน The Norwegian Grand Travel Awards 2007 ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ด้วย
6. การประชุมคณะทำงานพิเศษและการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส CICA
กระทรวงการต่างประเทศจะเป็นเจ้าภาพการประชุมคณะทำงานพิเศษ (Special Working Group--SWG) และการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Official Committee--SOC) ของกรอบการประชุมว่าด้วยปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจแห่งเอเชีย หรือ CICA (Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia) ระหว่างวันที่ 12 — 14 มีนาคม 2550 ณ โรงแรม InterContinental โดยการประชุมดังกล่าวจะมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิก CICA รวม 18 ประเทศ อาทิ คาซัคสถาน จีน อินเดีย ปากีสถาน รัสเซีย ไทย เกาหลีใต้ เป็นต้น โดยมีคาซัคสถาน
ในฐานะประธาน CICA ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม
7. รัฐบาลไทยส่งสารแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่อินโดนีเซีย
โดยที่ได้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้นที่จังหวัดสุมาตราตะวันตกในประเทศอินโดนีเซีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จึงได้มีสารถึงประธานาธิบดีอินโดนีเซีย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีสารถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย เพื่อแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลไทยกำลังพิจารณาเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลอินโดนีเซีย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-