ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือเดือนมกราคม 2550 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยด้านอุปทาน รายได้ของเกษตรกรเร่งตัวตามปริมาณผลผลิตพืชหลักที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ เช่นเดียวกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวทั้งจากการผลิตเพื่อการบริโภคในประเทศและการส่งออก ขณะที่ภาคบริการขยายตัวในเกณฑ์ดีใกล้เคียงกับเดือนก่อน ด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์ดี ทางด้านมูลค่าการส่งออกขยายตัวอีกครั้ง ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเร่งตัวจากเดือนก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอตัวต่อเนื่อง ส่วนเงินฝากชะลอตัว และสินเชื่อทรงตัวจากเดือนก่อน
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร
รายได้ของเกษตรกรในภาคเหนือขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.0 เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน ตามการขยายตัวของผลผลิตพืชหลักที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 เร่งตัวจากจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตอ้อยโรงงานและ มันสำปะหลังที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 และร้อยละ 15.3 ตามลำดับ เนื่องจากมีการขยายพื้นที่ปลูกตามแรงจูงใจของราคา ปีก่อน ประกอบกับสภาพอากาศเอื้ออำนวยส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น อย่างไรก็ดี ผลผลิตข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลง ร้อยละ 3.9 และร้อยละ 4.6 ตามลำดับ ทางด้านราคาพืชสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ชะลอตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน โดยราคาอ้อยโรงงานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.7 เนื่องจากอ้อยมีคุณภาพดีประกอบกับมีค่าความหวานเฉลี่ยสูงขึ้น ราคาข้าวเปลือกเหนียวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.8 และร้อยละ 36.9 ตามลำดับ ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ส่วนราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีและมันสำปะหลังลดลงร้อยละ 2.0 และ ร้อยละ 23.4 ตามลำดับ
2. ภาคอุตสาหกรรม
การผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาคเหนือขยายตัวจากเดือนก่อน โดยการผลิตเพื่อส่งออกจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.9 กระเตื้องขึ้นจากร้อยละ 0.9 เดือนก่อน ตามการผลิตสินค้าส่งออกสำคัญประเภท Semiconductor และอัญมณี แต่ชะลอลงมากเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า ทางด้านการผลิตของอุตสาหกรรมน้ำตาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 เป็น 582.1 พันเมตริกตัน ตามปริมาณอ้อยเข้าหีบที่เพิ่มขึ้นและคุณภาพอ้อยที่ดีขึ้นทำให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ยต่อตันอ้อยเพิ่มขึ้น เป็น 108.8 กก./ตัน เทียบกับเฉลี่ย 103.0 กก./ตัน ระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนการผลิตวัสดุก่อสร้างลดลงร้อยละ 15.0 เหลือ 165.0 พันเมตริกตัน
3. ภาคบริการ
ภาคบริการในภาคเหนือขยายตัวในเกณฑ์ดีใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยเป็นการขยายตัวต่อเนื่องซึ่งเป็นผลจากการจัดงานพืชสวนโลกเป็นสำคัญ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าชมงานพืชสวนโลกในเดือนมกราคม 2550 มีทั้งสิ้น 1,404,406 คน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.9 ส่วนหนึ่งเนื่องจากมีวันหยุดติดต่อกันน้อยกว่าเดือนก่อน ทำให้อัตราเข้าพักและราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนแต่ยังคงขยายตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยอัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.5 เป็นร้อยละ 76.9 ขณะที่ราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เป็น 1,137 บาทต่อห้อง ทางด้านจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.5 ส่วนปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดโรงแรมและภัตตาคารเร่งตัวถึงร้อยะ 50.2 โดยเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง และเชียงราย
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนของภาคเหนือขยายตัวในเกณฑ์ดี แม้ว่าปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในภาคเหนือจะชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.4 ส่วนเครื่องชี้ด้านการใช้จ่ายสำคัญปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน ได้แก่ ปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.0 เทียบกับที่ลดลง ร้อยละ 39.7 เดือนก่อน ขณะที่ปริมาณการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.3 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 21.2 เดือนก่อน
5. การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนของภาคเหนือเดือนมกราคม 2550 อยู่ในเกณฑ์ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการขยายตัวของการลงทุนในหมวดก่อสร้างซึ่งปรับตัวดีขึ้น โดยพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 25.2 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 16.2 เดือนก่อน ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นในประเภทที่อยู่อาศัย และอาคารพาณิชย์ ส่วนการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อยร้อยละ 0.4 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เดือนก่อน ค่าธรรมเนียมขายและขายฝากที่ดินลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.4 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เดือนก่อน สำหรับการลงทุนของกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนในเกณฑ์สูง ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตในกิจการเดิมเป็นสำคัญ
6. การค้าต่างประเทศ
การส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือมีมูลค่า 205.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขื้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 5.3 ตามการส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เป็น 142.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเพิ่มขึ้นมากในสินค้าประเภท Semiconductor และอัญมณี ตลาดส่งออกสำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างไรก็ดี สินค้าส่งออกสำคัญที่ลดลงได้แก่ Glass Magnetic Disk และเลนส์ การส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่มีมูลค่า 10.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.7 สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ถั่วแช่แข็ง แผงสัญญาณ (LCD) และส่วนประกอบอุปกรณ์เครื่องจักร ส่วนการส่งออกผ่านด่านชายแดนมีมูลค่า 52.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 จากการส่งออกไปสหภาพพม่าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 เป็น 37.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกสินค้าประเภท น้ำมันเชื้อเพลิง รถจักรยานยนต์ และน้ำมันพืช ขณะที่การส่งออกไปลาวและจีน (ตอนใต้) ขยายตัวร้อยละ 91.4 และร้อยละ 35.2 ตามลำดับ
การนำเข้า มีมูลค่า 137.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.9 เร่งตัวขึ้นจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เดือนก่อน ตามการนำเข้าสินค้าสำคัญผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ที่เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว เป็น 8.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า แก้ว และของทำด้วยแก้ว สำหรับการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.4 เป็น 118.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นสำคัญ ได้แก่ อัญมณี แก้ว แผงวงจร และส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ขณะที่การนำเข้าผ่านด่านชายแดนมีมูลค่า 10.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.1 เร่งตัวขึ้นตามการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากไม้ ปลาสด และผลิตภัณฑ์ปู จากสหภาพพม่า ส่วนการนำเข้าจากลาวและจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.2 และร้อยละ 19.3 ตามลำดับ
ดุลการค้า เกินดุล 68.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 69.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่เกินดุล 64.2 ล้านดอลลาร์ สรอ.
7. ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.9 ชะลอลงเทียบกับที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.7 เดือนก่อน โดยราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.2 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน ทั้งนี้ ราคาสินค้าประเภทผัก ข้าวเหนียว และผลไม้ ยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับราคาหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.5 ต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เดือนก่อน โดยราคาค่าโดยสารสาธารณะเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 เนื่องจากบริษัท ขนส่ง จำกัด(บขส.) ปรับอัตราค่าโดยสารขึ้นเป็นอัตราเดิมหลังจากที่ปรับลดลงในเดือนธันวาคม 2549 ค่ากระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 ส่วนราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 4.4 ทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.9 เทียบกับที่ลดลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เดือนก่อน
8. การจ้างงาน
เดือนธันวาคม 2549 ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.74 ล้านคน โดยการจ้างงานภาคเกษตร ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.5 เนื่องจากอยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชผลหลัก ส่วนการจ้างงานนอกภาคเกษตรลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.4 โดยลดลงมากในสาขาการก่อสร้าง โรงแรมและภัตตาคาร และการผลิต ขณะที่สาขาการขายส่ง/ปลีก มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.2 ทรงตัวในระดับเดียวกันปีก่อน
9. การเงิน
ยอดคงค้างเงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2549 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 328,705 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.2 ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 9.9 เดือนก่อน ส่วนหนึ่งมีการถอนเงินฝากเพื่อลงทุนในตราสารหนี้และหน่วยลงทุน รวมทั้งบางส่วนมีการถอนเงินฝากของส่วนราชการ ส่วนเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 274,502 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.7 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน ส่วนใหญ่เป็นการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจประเภทโรงสีข้าว รีสอร์ท อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรส่งออก ธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ และสหกรณ์ออมทรัพย์ครู โดยเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และนครสวรรค์ สำหรับสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 83.5 สูงขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 80.1 ระยะเดียวกันปีก่อน
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ
2 มีนาคม 2550
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร
รายได้ของเกษตรกรในภาคเหนือขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.0 เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน ตามการขยายตัวของผลผลิตพืชหลักที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 เร่งตัวจากจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตอ้อยโรงงานและ มันสำปะหลังที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 และร้อยละ 15.3 ตามลำดับ เนื่องจากมีการขยายพื้นที่ปลูกตามแรงจูงใจของราคา ปีก่อน ประกอบกับสภาพอากาศเอื้ออำนวยส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น อย่างไรก็ดี ผลผลิตข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลง ร้อยละ 3.9 และร้อยละ 4.6 ตามลำดับ ทางด้านราคาพืชสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ชะลอตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน โดยราคาอ้อยโรงงานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.7 เนื่องจากอ้อยมีคุณภาพดีประกอบกับมีค่าความหวานเฉลี่ยสูงขึ้น ราคาข้าวเปลือกเหนียวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.8 และร้อยละ 36.9 ตามลำดับ ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ส่วนราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีและมันสำปะหลังลดลงร้อยละ 2.0 และ ร้อยละ 23.4 ตามลำดับ
2. ภาคอุตสาหกรรม
การผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาคเหนือขยายตัวจากเดือนก่อน โดยการผลิตเพื่อส่งออกจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.9 กระเตื้องขึ้นจากร้อยละ 0.9 เดือนก่อน ตามการผลิตสินค้าส่งออกสำคัญประเภท Semiconductor และอัญมณี แต่ชะลอลงมากเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า ทางด้านการผลิตของอุตสาหกรรมน้ำตาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 เป็น 582.1 พันเมตริกตัน ตามปริมาณอ้อยเข้าหีบที่เพิ่มขึ้นและคุณภาพอ้อยที่ดีขึ้นทำให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ยต่อตันอ้อยเพิ่มขึ้น เป็น 108.8 กก./ตัน เทียบกับเฉลี่ย 103.0 กก./ตัน ระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนการผลิตวัสดุก่อสร้างลดลงร้อยละ 15.0 เหลือ 165.0 พันเมตริกตัน
3. ภาคบริการ
ภาคบริการในภาคเหนือขยายตัวในเกณฑ์ดีใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยเป็นการขยายตัวต่อเนื่องซึ่งเป็นผลจากการจัดงานพืชสวนโลกเป็นสำคัญ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าชมงานพืชสวนโลกในเดือนมกราคม 2550 มีทั้งสิ้น 1,404,406 คน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.9 ส่วนหนึ่งเนื่องจากมีวันหยุดติดต่อกันน้อยกว่าเดือนก่อน ทำให้อัตราเข้าพักและราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมปรับลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนแต่ยังคงขยายตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยอัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.5 เป็นร้อยละ 76.9 ขณะที่ราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เป็น 1,137 บาทต่อห้อง ทางด้านจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.5 ส่วนปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดโรงแรมและภัตตาคารเร่งตัวถึงร้อยะ 50.2 โดยเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง และเชียงราย
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนของภาคเหนือขยายตัวในเกณฑ์ดี แม้ว่าปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในภาคเหนือจะชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.4 ส่วนเครื่องชี้ด้านการใช้จ่ายสำคัญปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน ได้แก่ ปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.0 เทียบกับที่ลดลง ร้อยละ 39.7 เดือนก่อน ขณะที่ปริมาณการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.3 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 21.2 เดือนก่อน
5. การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนของภาคเหนือเดือนมกราคม 2550 อยู่ในเกณฑ์ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการขยายตัวของการลงทุนในหมวดก่อสร้างซึ่งปรับตัวดีขึ้น โดยพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 25.2 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 16.2 เดือนก่อน ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นในประเภทที่อยู่อาศัย และอาคารพาณิชย์ ส่วนการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อยร้อยละ 0.4 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เดือนก่อน ค่าธรรมเนียมขายและขายฝากที่ดินลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.4 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เดือนก่อน สำหรับการลงทุนของกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนในเกณฑ์สูง ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตในกิจการเดิมเป็นสำคัญ
6. การค้าต่างประเทศ
การส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือมีมูลค่า 205.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขื้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 5.3 ตามการส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เป็น 142.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเพิ่มขึ้นมากในสินค้าประเภท Semiconductor และอัญมณี ตลาดส่งออกสำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างไรก็ดี สินค้าส่งออกสำคัญที่ลดลงได้แก่ Glass Magnetic Disk และเลนส์ การส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่มีมูลค่า 10.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.7 สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ถั่วแช่แข็ง แผงสัญญาณ (LCD) และส่วนประกอบอุปกรณ์เครื่องจักร ส่วนการส่งออกผ่านด่านชายแดนมีมูลค่า 52.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 จากการส่งออกไปสหภาพพม่าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 เป็น 37.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกสินค้าประเภท น้ำมันเชื้อเพลิง รถจักรยานยนต์ และน้ำมันพืช ขณะที่การส่งออกไปลาวและจีน (ตอนใต้) ขยายตัวร้อยละ 91.4 และร้อยละ 35.2 ตามลำดับ
การนำเข้า มีมูลค่า 137.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.9 เร่งตัวขึ้นจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เดือนก่อน ตามการนำเข้าสินค้าสำคัญผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ที่เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว เป็น 8.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า แก้ว และของทำด้วยแก้ว สำหรับการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.4 เป็น 118.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นสำคัญ ได้แก่ อัญมณี แก้ว แผงวงจร และส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ขณะที่การนำเข้าผ่านด่านชายแดนมีมูลค่า 10.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.1 เร่งตัวขึ้นตามการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากไม้ ปลาสด และผลิตภัณฑ์ปู จากสหภาพพม่า ส่วนการนำเข้าจากลาวและจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.2 และร้อยละ 19.3 ตามลำดับ
ดุลการค้า เกินดุล 68.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 69.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่เกินดุล 64.2 ล้านดอลลาร์ สรอ.
7. ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.9 ชะลอลงเทียบกับที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.7 เดือนก่อน โดยราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.2 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน ทั้งนี้ ราคาสินค้าประเภทผัก ข้าวเหนียว และผลไม้ ยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับราคาหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.5 ต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เดือนก่อน โดยราคาค่าโดยสารสาธารณะเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 เนื่องจากบริษัท ขนส่ง จำกัด(บขส.) ปรับอัตราค่าโดยสารขึ้นเป็นอัตราเดิมหลังจากที่ปรับลดลงในเดือนธันวาคม 2549 ค่ากระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 ส่วนราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 4.4 ทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.9 เทียบกับที่ลดลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เดือนก่อน
8. การจ้างงาน
เดือนธันวาคม 2549 ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.74 ล้านคน โดยการจ้างงานภาคเกษตร ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.5 เนื่องจากอยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชผลหลัก ส่วนการจ้างงานนอกภาคเกษตรลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.4 โดยลดลงมากในสาขาการก่อสร้าง โรงแรมและภัตตาคาร และการผลิต ขณะที่สาขาการขายส่ง/ปลีก มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.2 ทรงตัวในระดับเดียวกันปีก่อน
9. การเงิน
ยอดคงค้างเงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2549 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 328,705 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.2 ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 9.9 เดือนก่อน ส่วนหนึ่งมีการถอนเงินฝากเพื่อลงทุนในตราสารหนี้และหน่วยลงทุน รวมทั้งบางส่วนมีการถอนเงินฝากของส่วนราชการ ส่วนเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 274,502 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.7 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน ส่วนใหญ่เป็นการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจประเภทโรงสีข้าว รีสอร์ท อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรส่งออก ธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ และสหกรณ์ออมทรัพย์ครู โดยเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และนครสวรรค์ สำหรับสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 83.5 สูงขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 80.1 ระยะเดียวกันปีก่อน
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ
2 มีนาคม 2550
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--