ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ชี้รัฐควรออก พธบ.กู้ยืมเงินจากทุนสำรองเพื่อนำไปใช้ลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์ ดร.อัจนา ไวความดี
รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในการสัมมนาเรื่อง “โลกาภิวัฒน์ด้านเงินทุนและตลาดเงินตลาดทุนไทย” ซึ่งจัดโดย
สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเมื่อวันที่ 29 พ.ค.ที่ผ่านมาว่า การที่สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอให้
ธปท.นำเงินทุนสำรองที่มีอยู่จำนวนมากไปให้รัฐบาลใช้ลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์ โดยหลักทางเศรษฐศาสตร์สมเหตุสมผล
เพราะผลตอบแทนจากการลงทุนของเงินทุนสำรองมีประมาณ 7% ซึ่งหากรัฐบาลต้องกู้เงินมาลงทุน จะมีต้นทุนสูงถึง 8-9% แต่การ
นำทุนสำรองไปลงทุน เท่ากับเป็นการนำเงินออมออกไปใช้ ดังนั้น รัฐบาลควรใช้วิธีการออก พธบ.มากู้ยืมเงินจากทุนสำรองจะเหมาะสมกว่า
(กรุงเทพธุรกิจ)
2. ก.คลังปรับลดประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 50 ลงเหลือ 4% ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
เปิดเผยว่า ก.คลังได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจในปี 50 ลง โดยคาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ 4% โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 3.8-4.3% จาก
เดิม 4.2% เนื่องจากการใช้จ่ายภายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนในไตรมาส 1 ชะลอตัวลงค่อนข้างมาก ประกอบความไม่แน่นอน
ทางการเมือง ทั้งนี้ คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวลดลงจาก 3.1% ในปี 49 มาอยู่ที่ 2.3% ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนจะลดลง
จาก 3.9% เป็น 0.5% การใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้นจาก 3.4% มาอยู่ที่ 10.8% เนื่องจากการเร่งเบิกจ่าย งปม.ของรัฐบาลและการปรับปรุง
กรอบวงเงินรายจ่ายประจำของ งปม.ปี 50 จาก 1,191.5 พัน ล.บาท เป็น 1,246.3 พัน ล.บาท แต่คาดว่าการลงทุนของภาครัฐจะ
ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 2.2% จากปีก่อนที่อยู่ที่ 4.5% ด้านนายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สศค. กล่าวว่า เศรษฐกิจใน
ไตรมาส 1 ของปีนี้ถือว่าเป็นช่วงขาลง และในไตรมาส 2 ก็ขยายตัวต่ำสุด แต่เชื่อว่าในไตรมาส 3 และ 4 จะเริ่มฟื้นตัวขึ้นมาอยู่ในระดับ
ที่ไม่ก่อให้เกิดวิกฤต (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, ผู้จัดการรายวัน)
3. คาดว่าจีดีพีของ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในปี 50 จะขยายตัว 1.9% ต่ำสุดในรอบ 6 ปี ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์
เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับสำนักการเงินการคลัง กรมบัญชีกลาง และคลังจังหวัด รวบรวม
ข้อมูลทางเศรษฐกิจใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สตูล และสงขลา พบว่าสภาพเศรษฐกิจในปี 50
ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ทำให้คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ(จีดีพี)
ของพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนจะขยายตัวเพียง 1.9% ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 6 ปี นับตั้งแต่ปี 45 และเมื่อแยกเฉพาะ
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) คาดว่าจีดีพีจะขยายตัวเพียง 0.8% และอาจถึงขั้นติดลบได้หากยังไม่สามารถ
ทำให้เหตุการณ์สงบ สำหรับจีดีพีเฉลี่ยของภาคใต้จะขยายตัว 2.73% ซึ่งเป็นภาคเดียวที่จีดีพีจะขยายตัวต่ำกว่า 3% ขณะที่ภาคกลางคาดว่า
จีดีพีจะขยายตัวสูงสุดอยู่ที่ 4.73% รองลงมาเป็นกรุงเทพฯ และปริมณฑล 3.77% ภาคเหนือ 3.55% และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3.26%
ส่วนจีดีพีเฉลี่ยของประเทศในปีนี้ คาดว่าจะขยายตัว 3.8%จากเดิมคาดการณ์ว่าจะขยายตัว 4.5% (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ)
4. ครม.อนุมัติเพิ่มวงเงินลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยจาก 50,000 เป็น 100,000 บาท รมว.คลัง
เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 29 พ.ค. มีมติเห็นชอบเพิ่มวงเงินลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับดอกเบี้ย
เงินกู้ยืมเพื่อซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยจาก 50,000 บาท เป็น 100,000 บาท เพื่อเป็นมาตรการช่วยส่งเสริมภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และ
สอดคล้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ โดยคาดว่ารัฐจะสูญเสียรายได้ประมาณ 2,500-4,000 ล.บาท (ข่าวสด, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ. ณ สัปดาห์ล่าสุดลดลงอยู่ที่ระดับ -13 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 29 พ.ค.50 ABC
News/Washington Post เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 27 พ.ค.50 ลดลงอยู่ที่ระดับ -13 จาก
ระดับ -9 ในสัปดาห์ก่อนหน้า อันเป็นระดับเฉลี่ยต่ำสุดในรอบปี 50 เนื่องจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก โดยช่วงดัชนีดังกล่าวเคลื่อนไหว
อยู่ระหว่าง -100 ถึง +100 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเฉลี่ยปี 50 อยู่ที่ระดับ -4 หลังจากที่เคยอยู่ในระดับต่ำสุดที่ -9 เมื่อปี 38 อนึ่ง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ.ลดลงอยู่ที่ระดับ -10 ตั้งแต่สัปดาห์วันที่ 6 พ.ค.50 เป็นต้น และเคยอยู่ในระดับต่ำกว่า -10 หรือมากกว่า
ถึง 13 ครั้งในรอบ 21 ปี โดยต่ำกว่า -10 ครั้งล่าสุดเมื่อต้นปี 47 สำหรับดัชนีองค์ประกอบย่อยของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคทั้ง 3 ตัวลดลง
จากสัปดาห์ก่อนหน้า คือ ดัชนีการเงินส่วนบุคคลที่ลดลงถึงร้อยละ 7 ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยสัปดาห์ล่าสุดลดลงร้อยละ 4 มาอยู่ที่ระดับ
58 ส่วนมุมมองด้านบวกเกี่ยวกับฤดูกาลการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคชาวอเมริกันลดลงร้อยละ 2 อยู่ที่ระดับ 35 และมุมมองทางเศรษฐกิจ
ของประเทศลดลงร้อยละ 1 อยู่ที่ระดับ 39 ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ.สามารถชี้วัดมุมมองได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากเป็น
เครื่องชี้วัดการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งมีสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของระบบเศรษฐกิจ สรอ. อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ให้ข้อสังเกตว่า
ผู้บริโภคมักมีพฤติกรรมไม่สอดคล้องกับการตอบแบบสำรวจ โดยการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ ABC/Washington Post ได้
จากการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่างประมาณ 1,000 คน ในรอบ 4 สัปดาห์ และมีค่าความผิดพลาดอยู่ระหว่างบวกลบร้อยละ 3 (รอยเตอร์)
2. ยอดการอนุมัติสินเชื่อจำนองของอังกฤษในเดือน เม.ย. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.0 รายงานจากลอนดอน
เมื่อวันที่ 29 พ.ค.50 The British Bankers’ Association (BBA) เปิดเผยว่า ในเดือน เม.ย. ยอดการอนุมัติสินเชื่อเพื่อซื้อบ้าน
ในอังกฤษเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.0 บ่งชี้ว่าการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา 4 เดือนของตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้
สิ้นสุดลงแล้ว และอุปสงค์เป็นไปอย่างมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ BBA กล่าวว่าการอนุมัติสินเชื่อจำนองเมื่อเดือนที่แล้วเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 64,815 ราย
จาก 64,183 รายเมื่อช่วงเดียวกันปีที่แล้วเป็นมูลค่า 5.0 พัน ล. ปอนด์ (ตัวเลขเบื้องต้น) ลดลงจาก 5.1 พัน ล. ปอนด์ในเดือน มี.ค.
และต่ำกว่าเฉลี่ยเมื่อเร็วๆนี้ที่ 5.4 พัน ล. ปอนด์ ทั้งนี้ ยอดการอนุมัติสินเชื่อเป็นตัวเลขชี้วัดตลาดอสังหาริมทรัพย์ในอนาคต ได้ลดลงอย่าง
ต่อเนื่องทุกเดือนในระหว่างเดือน ธ.ค. — เดือน มี.ค. บ่งชี้ว่าการดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวดของธ.กลางอังกฤษได้ส่งผลกระทบ
ต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนั้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ ระดับปัจจุบันที่ร้อยละ 5.5 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มเป็นครั้งที่ 4 นับตั้งแต่เดือน ส.ค.
รวมทั้งการคาดว่าจะมีการปรับเพิ่มอีกในปีนี้ทำให้คาดว่าตลาดบ้านจะชะลอตัวลงอีก โดยนาย David Dooks ผู้อำนวยการสำนักสถิติของ BBA
กล่าวว่ายอดการอนุมัติสินเชื่อชี้ว่าความต้องการสินเชื่อจะลดลงอีกในปีหน้าและผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เพิ่มขึ้นจะซ้ำเติมตลาด
อสังหาริมทรัพย์(รอยเตอร์)
3. อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน พ.ค.50 คงที่อยู่ที่ร้อยละ 1.9 เทียบต่อปี รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 29 พ.ค.50
สนง.สถิติกลางของเยอรมนีรายงานตัวเลขเบื้องต้นอัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ค.50 ของเยอรมนีว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบต่อเดือน
และร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบต่อปีตามที่คาดไว้ ส่งผลถึงการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของ Euro zone ในเดือน พ.ค.50 ว่าจะคงที่อยู่ที่
ร้อยละ 1.9 ต่อปีเช่นเดียวกับเดือนก่อน และหากคำนวณอัตราเงินเฟ้อตามมาตรฐานของสหภาพยุโรปหรือที่เรียกว่า HICP แล้ว อัตรา
เงินเฟ้อของเยอรมนีจะคงที่อยู่ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปีเช่นเดียวกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบต่อเดือนซึ่งเป็นผลจากราคา
น้ำมันที่กลับมาสูงขึ้นอีกในช่วงนี้ โดยราคาน้ำมันในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 0.5 ถึง 3.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนซึ่งสร้าง
แรงกดดันต่อราคาสินค้า นักเศรษฐศาสตร์จึงคาดว่า ธ.กลางยุโรปหรือ ECB อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งภายในปีนี้หลังการขึ้น
อัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์หน้าตามที่ตลาดคาดไว้ ทั้งนี้ สนง.สถิติมีกำหนดจะรายงานอัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ค.50 อย่างเป็นทางการใน
วันที่ 14 มิ.ย.50 นี้ (รอยเตอร์)
4. คาดว่ายอดเกินดุลการค้าของจีนในปีนี้จะเพิ่มขึ้นถึงระดับ 250 พันล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
เมื่อวันที่ 29 พ.ค.50 คณะกรรมาธิการเพื่อการปฏิรูปและพัฒนาแห่งชาติ (NDRC) ของจีน แถลงคาดการณ์ว่า ยอดเกินดุลการค้าของจีน
ในปีนี้จะพุ่งสูงถึงระดับ 250 — 300 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากราคาสินค้าที่ถูกกว่าประเทศคู่แข่งและความต้องการสินค้า
จากต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ในปี 49 จีนมียอดเกินดุลการค้าสูงเป็นสถิติ 177.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ในช่วง 4 เดือนแรก
ของปีนี้จีนมียอดเกินดุลการค้ารวมทั้งสิ้น 63.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 88 จากปีก่อน ซึ่ง NDRC คาดว่าการเกินดุลการค้า
ของจีนจะไม่ลดลงในระยะสั้นและอาจจะเกินดุลไปอีกนานในช่วงที่ภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัว อย่างไรก็ตาม ทางการจีนได้พยายาม
ทำให้ยอดเกินดุลการค้าลดลงโดยการตัดการเรียกคืนภาษีส่งออกและเพิ่มภาษีสินค้าส่งออกที่สร้างมลภาวะสูงและใช้พลังงานมาก และยังคง
ใช้นโยบายดูแลค่าเงินหยวนให้แข็งขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปแม้ว่าจะมีแรงกดดันจากนานาชาติให้ปล่อยค่าเงินหยวนให้แข็งขึ้นอย่างรวดเร็วก็ตาม
ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ต่างชาติกล่าวว่าเงินหยวนมีค่าต่ำกว่าความเป็นจริงมากทำให้สินค้าจีนได้เปรียบด้านราคาและเป็นการแข่งขันทางการค้า
ที่ไม่เป็นธรรม ทั้งนี้ การมีต้นทุนด้านแรงงานและทรัพยากร เช่น ที่ดิน พลังงาน และน้ำในระดับต่ำถือเป็นปัจจัยสนับสนุนให้จีนใช้การส่งออก
เป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากราคาสินค้าของจีนสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 30 พ.ค.50 29 พ.ค. 50 29 ธ.ค.49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.608 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3934/34.7340 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.69188 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 727.79/17.19 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,750/10,850 10,700/10,800 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 64.07 65.77 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 30.39*/25.34** 30.39*/25.34** 26.49/23.34 ปตท
* ปรับเพิ่มเมื่อ 19 พ.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ชี้รัฐควรออก พธบ.กู้ยืมเงินจากทุนสำรองเพื่อนำไปใช้ลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์ ดร.อัจนา ไวความดี
รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในการสัมมนาเรื่อง “โลกาภิวัฒน์ด้านเงินทุนและตลาดเงินตลาดทุนไทย” ซึ่งจัดโดย
สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเมื่อวันที่ 29 พ.ค.ที่ผ่านมาว่า การที่สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอให้
ธปท.นำเงินทุนสำรองที่มีอยู่จำนวนมากไปให้รัฐบาลใช้ลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็กต์ โดยหลักทางเศรษฐศาสตร์สมเหตุสมผล
เพราะผลตอบแทนจากการลงทุนของเงินทุนสำรองมีประมาณ 7% ซึ่งหากรัฐบาลต้องกู้เงินมาลงทุน จะมีต้นทุนสูงถึง 8-9% แต่การ
นำทุนสำรองไปลงทุน เท่ากับเป็นการนำเงินออมออกไปใช้ ดังนั้น รัฐบาลควรใช้วิธีการออก พธบ.มากู้ยืมเงินจากทุนสำรองจะเหมาะสมกว่า
(กรุงเทพธุรกิจ)
2. ก.คลังปรับลดประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 50 ลงเหลือ 4% ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
เปิดเผยว่า ก.คลังได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจในปี 50 ลง โดยคาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ 4% โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 3.8-4.3% จาก
เดิม 4.2% เนื่องจากการใช้จ่ายภายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนในไตรมาส 1 ชะลอตัวลงค่อนข้างมาก ประกอบความไม่แน่นอน
ทางการเมือง ทั้งนี้ คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวลดลงจาก 3.1% ในปี 49 มาอยู่ที่ 2.3% ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนจะลดลง
จาก 3.9% เป็น 0.5% การใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้นจาก 3.4% มาอยู่ที่ 10.8% เนื่องจากการเร่งเบิกจ่าย งปม.ของรัฐบาลและการปรับปรุง
กรอบวงเงินรายจ่ายประจำของ งปม.ปี 50 จาก 1,191.5 พัน ล.บาท เป็น 1,246.3 พัน ล.บาท แต่คาดว่าการลงทุนของภาครัฐจะ
ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 2.2% จากปีก่อนที่อยู่ที่ 4.5% ด้านนายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สศค. กล่าวว่า เศรษฐกิจใน
ไตรมาส 1 ของปีนี้ถือว่าเป็นช่วงขาลง และในไตรมาส 2 ก็ขยายตัวต่ำสุด แต่เชื่อว่าในไตรมาส 3 และ 4 จะเริ่มฟื้นตัวขึ้นมาอยู่ในระดับ
ที่ไม่ก่อให้เกิดวิกฤต (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, ผู้จัดการรายวัน)
3. คาดว่าจีดีพีของ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในปี 50 จะขยายตัว 1.9% ต่ำสุดในรอบ 6 ปี ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์
เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับสำนักการเงินการคลัง กรมบัญชีกลาง และคลังจังหวัด รวบรวม
ข้อมูลทางเศรษฐกิจใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สตูล และสงขลา พบว่าสภาพเศรษฐกิจในปี 50
ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ทำให้คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ(จีดีพี)
ของพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนจะขยายตัวเพียง 1.9% ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 6 ปี นับตั้งแต่ปี 45 และเมื่อแยกเฉพาะ
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) คาดว่าจีดีพีจะขยายตัวเพียง 0.8% และอาจถึงขั้นติดลบได้หากยังไม่สามารถ
ทำให้เหตุการณ์สงบ สำหรับจีดีพีเฉลี่ยของภาคใต้จะขยายตัว 2.73% ซึ่งเป็นภาคเดียวที่จีดีพีจะขยายตัวต่ำกว่า 3% ขณะที่ภาคกลางคาดว่า
จีดีพีจะขยายตัวสูงสุดอยู่ที่ 4.73% รองลงมาเป็นกรุงเทพฯ และปริมณฑล 3.77% ภาคเหนือ 3.55% และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3.26%
ส่วนจีดีพีเฉลี่ยของประเทศในปีนี้ คาดว่าจะขยายตัว 3.8%จากเดิมคาดการณ์ว่าจะขยายตัว 4.5% (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ)
4. ครม.อนุมัติเพิ่มวงเงินลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยจาก 50,000 เป็น 100,000 บาท รมว.คลัง
เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 29 พ.ค. มีมติเห็นชอบเพิ่มวงเงินลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับดอกเบี้ย
เงินกู้ยืมเพื่อซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยจาก 50,000 บาท เป็น 100,000 บาท เพื่อเป็นมาตรการช่วยส่งเสริมภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และ
สอดคล้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ โดยคาดว่ารัฐจะสูญเสียรายได้ประมาณ 2,500-4,000 ล.บาท (ข่าวสด, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ. ณ สัปดาห์ล่าสุดลดลงอยู่ที่ระดับ -13 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 29 พ.ค.50 ABC
News/Washington Post เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 27 พ.ค.50 ลดลงอยู่ที่ระดับ -13 จาก
ระดับ -9 ในสัปดาห์ก่อนหน้า อันเป็นระดับเฉลี่ยต่ำสุดในรอบปี 50 เนื่องจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก โดยช่วงดัชนีดังกล่าวเคลื่อนไหว
อยู่ระหว่าง -100 ถึง +100 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเฉลี่ยปี 50 อยู่ที่ระดับ -4 หลังจากที่เคยอยู่ในระดับต่ำสุดที่ -9 เมื่อปี 38 อนึ่ง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ.ลดลงอยู่ที่ระดับ -10 ตั้งแต่สัปดาห์วันที่ 6 พ.ค.50 เป็นต้น และเคยอยู่ในระดับต่ำกว่า -10 หรือมากกว่า
ถึง 13 ครั้งในรอบ 21 ปี โดยต่ำกว่า -10 ครั้งล่าสุดเมื่อต้นปี 47 สำหรับดัชนีองค์ประกอบย่อยของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคทั้ง 3 ตัวลดลง
จากสัปดาห์ก่อนหน้า คือ ดัชนีการเงินส่วนบุคคลที่ลดลงถึงร้อยละ 7 ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยสัปดาห์ล่าสุดลดลงร้อยละ 4 มาอยู่ที่ระดับ
58 ส่วนมุมมองด้านบวกเกี่ยวกับฤดูกาลการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคชาวอเมริกันลดลงร้อยละ 2 อยู่ที่ระดับ 35 และมุมมองทางเศรษฐกิจ
ของประเทศลดลงร้อยละ 1 อยู่ที่ระดับ 39 ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ.สามารถชี้วัดมุมมองได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากเป็น
เครื่องชี้วัดการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งมีสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของระบบเศรษฐกิจ สรอ. อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ให้ข้อสังเกตว่า
ผู้บริโภคมักมีพฤติกรรมไม่สอดคล้องกับการตอบแบบสำรวจ โดยการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ ABC/Washington Post ได้
จากการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่างประมาณ 1,000 คน ในรอบ 4 สัปดาห์ และมีค่าความผิดพลาดอยู่ระหว่างบวกลบร้อยละ 3 (รอยเตอร์)
2. ยอดการอนุมัติสินเชื่อจำนองของอังกฤษในเดือน เม.ย. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.0 รายงานจากลอนดอน
เมื่อวันที่ 29 พ.ค.50 The British Bankers’ Association (BBA) เปิดเผยว่า ในเดือน เม.ย. ยอดการอนุมัติสินเชื่อเพื่อซื้อบ้าน
ในอังกฤษเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.0 บ่งชี้ว่าการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา 4 เดือนของตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้
สิ้นสุดลงแล้ว และอุปสงค์เป็นไปอย่างมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ BBA กล่าวว่าการอนุมัติสินเชื่อจำนองเมื่อเดือนที่แล้วเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 64,815 ราย
จาก 64,183 รายเมื่อช่วงเดียวกันปีที่แล้วเป็นมูลค่า 5.0 พัน ล. ปอนด์ (ตัวเลขเบื้องต้น) ลดลงจาก 5.1 พัน ล. ปอนด์ในเดือน มี.ค.
และต่ำกว่าเฉลี่ยเมื่อเร็วๆนี้ที่ 5.4 พัน ล. ปอนด์ ทั้งนี้ ยอดการอนุมัติสินเชื่อเป็นตัวเลขชี้วัดตลาดอสังหาริมทรัพย์ในอนาคต ได้ลดลงอย่าง
ต่อเนื่องทุกเดือนในระหว่างเดือน ธ.ค. — เดือน มี.ค. บ่งชี้ว่าการดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวดของธ.กลางอังกฤษได้ส่งผลกระทบ
ต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนั้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ ระดับปัจจุบันที่ร้อยละ 5.5 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มเป็นครั้งที่ 4 นับตั้งแต่เดือน ส.ค.
รวมทั้งการคาดว่าจะมีการปรับเพิ่มอีกในปีนี้ทำให้คาดว่าตลาดบ้านจะชะลอตัวลงอีก โดยนาย David Dooks ผู้อำนวยการสำนักสถิติของ BBA
กล่าวว่ายอดการอนุมัติสินเชื่อชี้ว่าความต้องการสินเชื่อจะลดลงอีกในปีหน้าและผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เพิ่มขึ้นจะซ้ำเติมตลาด
อสังหาริมทรัพย์(รอยเตอร์)
3. อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน พ.ค.50 คงที่อยู่ที่ร้อยละ 1.9 เทียบต่อปี รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 29 พ.ค.50
สนง.สถิติกลางของเยอรมนีรายงานตัวเลขเบื้องต้นอัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ค.50 ของเยอรมนีว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบต่อเดือน
และร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบต่อปีตามที่คาดไว้ ส่งผลถึงการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของ Euro zone ในเดือน พ.ค.50 ว่าจะคงที่อยู่ที่
ร้อยละ 1.9 ต่อปีเช่นเดียวกับเดือนก่อน และหากคำนวณอัตราเงินเฟ้อตามมาตรฐานของสหภาพยุโรปหรือที่เรียกว่า HICP แล้ว อัตรา
เงินเฟ้อของเยอรมนีจะคงที่อยู่ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปีเช่นเดียวกับเดือนก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบต่อเดือนซึ่งเป็นผลจากราคา
น้ำมันที่กลับมาสูงขึ้นอีกในช่วงนี้ โดยราคาน้ำมันในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 0.5 ถึง 3.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนซึ่งสร้าง
แรงกดดันต่อราคาสินค้า นักเศรษฐศาสตร์จึงคาดว่า ธ.กลางยุโรปหรือ ECB อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งภายในปีนี้หลังการขึ้น
อัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์หน้าตามที่ตลาดคาดไว้ ทั้งนี้ สนง.สถิติมีกำหนดจะรายงานอัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ค.50 อย่างเป็นทางการใน
วันที่ 14 มิ.ย.50 นี้ (รอยเตอร์)
4. คาดว่ายอดเกินดุลการค้าของจีนในปีนี้จะเพิ่มขึ้นถึงระดับ 250 พันล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
เมื่อวันที่ 29 พ.ค.50 คณะกรรมาธิการเพื่อการปฏิรูปและพัฒนาแห่งชาติ (NDRC) ของจีน แถลงคาดการณ์ว่า ยอดเกินดุลการค้าของจีน
ในปีนี้จะพุ่งสูงถึงระดับ 250 — 300 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากราคาสินค้าที่ถูกกว่าประเทศคู่แข่งและความต้องการสินค้า
จากต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ในปี 49 จีนมียอดเกินดุลการค้าสูงเป็นสถิติ 177.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ในช่วง 4 เดือนแรก
ของปีนี้จีนมียอดเกินดุลการค้ารวมทั้งสิ้น 63.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 88 จากปีก่อน ซึ่ง NDRC คาดว่าการเกินดุลการค้า
ของจีนจะไม่ลดลงในระยะสั้นและอาจจะเกินดุลไปอีกนานในช่วงที่ภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัว อย่างไรก็ตาม ทางการจีนได้พยายาม
ทำให้ยอดเกินดุลการค้าลดลงโดยการตัดการเรียกคืนภาษีส่งออกและเพิ่มภาษีสินค้าส่งออกที่สร้างมลภาวะสูงและใช้พลังงานมาก และยังคง
ใช้นโยบายดูแลค่าเงินหยวนให้แข็งขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปแม้ว่าจะมีแรงกดดันจากนานาชาติให้ปล่อยค่าเงินหยวนให้แข็งขึ้นอย่างรวดเร็วก็ตาม
ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ต่างชาติกล่าวว่าเงินหยวนมีค่าต่ำกว่าความเป็นจริงมากทำให้สินค้าจีนได้เปรียบด้านราคาและเป็นการแข่งขันทางการค้า
ที่ไม่เป็นธรรม ทั้งนี้ การมีต้นทุนด้านแรงงานและทรัพยากร เช่น ที่ดิน พลังงาน และน้ำในระดับต่ำถือเป็นปัจจัยสนับสนุนให้จีนใช้การส่งออก
เป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากราคาสินค้าของจีนสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 30 พ.ค.50 29 พ.ค. 50 29 ธ.ค.49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.608 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3934/34.7340 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.69188 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 727.79/17.19 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,750/10,850 10,700/10,800 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 64.07 65.77 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 30.39*/25.34** 30.39*/25.34** 26.49/23.34 ปตท
* ปรับเพิ่มเมื่อ 19 พ.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--