กรุงเทพ--26 ก.ค--กระทรวงการต่างประเทศ
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 40 (40th ASEAN Ministerial Meeting - AMM) และการประชุมระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา รวมทั้งการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม — 2 สิงหาคม 2550 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นในช่วงของการครบรอบ 40 ปีของการก่อตั้งอาเซียน จึงถือว่าเป็นพัฒนาการสำคัญที่อาเซียนจะก้าวสู่ความเป็น “ประชาคม” หรือหมู่บ้านอาเซียนที่ประชาชนมีความเอื้ออาทร ผูกพันช่วยเหลือกัน ให้อาเซียนเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง (people — centered ASEAN) ดังนั้น ปีนี้จึงมีการผลักดัน ASEAN Charter หรือกฎบัตรอาเซียน โดยรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนจะร่วมกันพิจารณาร่างกฏบัตรอาเซียน ซึ่งจะช่วยกำหนดกรอบกติกาในการดำเนินงานของอาเซียน เพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพและมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
นอกจากเรื่องกฎบัตรอาเซียนแล้ว ประเทศสมาชิกอาเซียนจะร่วมกันทบทวนภารกิจประจำปี ซึ่งสิ่งที่ประเทศไทยจะมุ่งเน้นอีกประการ คือ การเสนอชื่อของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อย่างเป็นทางการในที่ประชุมใหญ่เพื่อให้ความเห็นชอบในการเข้าดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน ซึ่งกำหนดเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม 2551 โดยมีวาระการทำงาน 5 ปี
ในระหว่างการประชุมฯ รัฐมนตรีต่างประเทศจะหารือกันเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาทั้ง 10 ประเทศ ในประเด็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อภูมิภาค เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม การจัดการภัยพิบัติ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การลดช่องว่างในการพัฒนา การเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 โดยประเทศไทยจะใช้โอกาสนี้ผลักดันความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงินในภูมิภาคอีกด้วย
ในด้านการเมืองและความมั่นคง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการระดับรัฐมนตรีสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANWFZ Commission) เพื่อพิจารณาทบทวนการดำเนินงานภายหลังจากสนธิสัญญาครบ 10 ปี รวมทั้งแนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือในอนาคต โดยเฉพาะความร่วมมือกับทบวงการปรมาณูระหว่างประเทศ ในการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ รวมทั้งจะเข้าร่วมการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 14 (14th ASEAN Regional Forum - ARF) ซึ่งเป็นเวทีที่ส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก โดยในปีนี้รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนจะร่วมกันพิจารณาแนวทางเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในด้านการไม่แพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงและการจัดการภัยพิบัติ ทั้งนี้ ประเทศไทยต้องการจะผลักดันให้ ARF เป็นกลไกสำหรับการพิจารณาแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคอย่างแท้จริง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 40 (40th ASEAN Ministerial Meeting - AMM) และการประชุมระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา รวมทั้งการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม — 2 สิงหาคม 2550 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นในช่วงของการครบรอบ 40 ปีของการก่อตั้งอาเซียน จึงถือว่าเป็นพัฒนาการสำคัญที่อาเซียนจะก้าวสู่ความเป็น “ประชาคม” หรือหมู่บ้านอาเซียนที่ประชาชนมีความเอื้ออาทร ผูกพันช่วยเหลือกัน ให้อาเซียนเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง (people — centered ASEAN) ดังนั้น ปีนี้จึงมีการผลักดัน ASEAN Charter หรือกฎบัตรอาเซียน โดยรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนจะร่วมกันพิจารณาร่างกฏบัตรอาเซียน ซึ่งจะช่วยกำหนดกรอบกติกาในการดำเนินงานของอาเซียน เพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพและมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
นอกจากเรื่องกฎบัตรอาเซียนแล้ว ประเทศสมาชิกอาเซียนจะร่วมกันทบทวนภารกิจประจำปี ซึ่งสิ่งที่ประเทศไทยจะมุ่งเน้นอีกประการ คือ การเสนอชื่อของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อย่างเป็นทางการในที่ประชุมใหญ่เพื่อให้ความเห็นชอบในการเข้าดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน ซึ่งกำหนดเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม 2551 โดยมีวาระการทำงาน 5 ปี
ในระหว่างการประชุมฯ รัฐมนตรีต่างประเทศจะหารือกันเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาทั้ง 10 ประเทศ ในประเด็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อภูมิภาค เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม การจัดการภัยพิบัติ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การลดช่องว่างในการพัฒนา การเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 โดยประเทศไทยจะใช้โอกาสนี้ผลักดันความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงินในภูมิภาคอีกด้วย
ในด้านการเมืองและความมั่นคง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการระดับรัฐมนตรีสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANWFZ Commission) เพื่อพิจารณาทบทวนการดำเนินงานภายหลังจากสนธิสัญญาครบ 10 ปี รวมทั้งแนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือในอนาคต โดยเฉพาะความร่วมมือกับทบวงการปรมาณูระหว่างประเทศ ในการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ รวมทั้งจะเข้าร่วมการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 14 (14th ASEAN Regional Forum - ARF) ซึ่งเป็นเวทีที่ส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก โดยในปีนี้รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนจะร่วมกันพิจารณาแนวทางเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในด้านการไม่แพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงและการจัดการภัยพิบัติ ทั้งนี้ ประเทศไทยต้องการจะผลักดันให้ ARF เป็นกลไกสำหรับการพิจารณาแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคอย่างแท้จริง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-