ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ยอดการใช้เช็คไตรมาส 2 ปี 50 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เทียบกับไตรมาสแรก รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า ฝ่ายระบบการชำระเงิน ธปท.ได้รายงานการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เช็คเรียกเก็บ
ข้ามเขต สำนักหักบัญชี และเช็คเรียกเก็บในเขตสำนักหักบัญชีทั่วประเทศในระบบเศรษฐกิจไทย ล่าสุด ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี50 มีปริมาณทั้งสิ้น
20,191,541 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 8,079.84 พันล้านบาท โดยปริมาณเช็คเรียกเก็บลดลงร้อยละ 0.9 ในขณะที่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7
จากไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาส 2 ปี 50 มีการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีจำนวนทั้งสิ้น
14,818,975 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 7,341.04 พันล้านบาท โดยปริมาณและมูลค่าเช็คเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 0.1 และ 7.4
ตามลำดับ ขณะที่ปริมาณเช็คคืนในไตรมาส 1 ปี 50 มีจำนวนทั้งสิ้น 334,343 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 42.60 พันล้านบาท โดยปริมาณและมูลค่า
เช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บมีสัดส่วนใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้าเท่าร้อยละ 2.3 และ 0.6 ตามลำดับ ส่วนเช็คคืนด้วยเหตุผลไม่มีเงินมีปริมาณ
18,161 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 22.53 พันล้านบาท โดยสัดส่วนปริมาณและมูลค่าเช็คคืนไม่มีเงินต่อเช็คเรียกเก็บอยู่ในระดับเดียวกับไตรมาส
ก่อนหน้า โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.5 และ 0.3 ตามลำดับ (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, มติชน)
2. ธปท.ส่งรายงานการตรวจสอบฐานะของ ธ.ทหารไทยให้ รมว.คลังรับทราบและถือเป็นชั้นความลับสูงสุด แหล่งข่าวจาก
ก.คลัง เปิดเผยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ส่งรายงานการตรวจสอบฐานะของ ธ.ทหารไทยให้ รมว.คลังรับทราบและถือเป็น
ชั้นความลับสูงสุด ผลการตรวจสอบของ ธปท.ระบุว่า ลูกหนี้ของ ธ.ทหารไทยรายใหญ่จำนวนหลายรายมีสัญญาณว่าจะเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(เอ็นพีแอล) ในอนาคตหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างดีพอ รวมเป็นมูลหนี้สูงถึง 2 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม รายงานของ ธปท.เรื่องลูกหนี้
ที่มีปัญหา ไม่ได้ระบุชื่อของลูกหนี้ หรือรายชื่อประธานประธานกรรมการ ประธานกรรมการบริหาร หรือกรรมการผู้จัดการ รวมถึงผู้อนุมัติสินเชื่อ
ของธนาคาร เพียงแต่แจ้งว่าเป็นหน้าที่ของกรรมการ ธ.ทหารไทย ดำเนินการจัดการด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม ก.คลังได้แต่งตั้ง บลจ.กองทุน
เอ็มเอฟซี ที่ปรึกษาการเงินของ ก.คลัง ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ ธ.ทหารไทยร้อยละ 31 เพื่อเข้าไปตรวจสอบฐานะของ ธ.ทหารไทย โดยเฉพาะ
รายละเอียดแผนเพิ่มทุน 3.5 หมื่นล้านบาทแล้วว่า ที่คณะกรรมการธนาคารเสนอมานั้นสอดคล้องกันหรือไม่ ทั้งในส่วนของการแก้ปัญหาหนี้ที่เสีย
ที่จะเกิดขึ้น แผนงานการกันสำรองหนี้ และการหารายได้การทำกำไรของธนาคารในอนาคต (โพสต์ทูเดย์)
3. ก.คลังเตรียมหารือ ธปท.ควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินตรา ป้องกันการเก็บกำไรตลาดหุ้น ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)
กล่าวถึง กรณีเงินตราจากต่างประเทศไหลทะลักเข้ามาในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ส่งผลทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
และยังทำให้อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราเกิดความผันผวนอย่างรวดเร็วว่า ก.คลัง โดย สศค.กำลังจะปรึกษาหารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เกี่ยวกับแนวทางในการควบคุมเงินทุนที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นของประเทศไทย โดยเฉพาะเงินทุนที่ไหลเข้ามาเพื่อแสวงหาประโยชน์
และเข้ามาเพื่อเก็งกำไรค่าเงินบาท ทั้งนี้ สถานการณ์ที่มีเงินทุนหลั่งไหลเข้ามาในตลาดหุ้น เพื่อแสวงหาผลประโยชน์นั้น ไม่สามารถดูแลและควบคุม
ได้ จึงส่งผลทำให้ ธปท.เกิดต้นทุนและมีภาระ กล่าวคือ ธปท.จะต้องหาเงินบาทเพื่อนำมาแลกเป็นเงินดอลลาร์ สรอ. ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความ
เสี่ยงของภาวะเงินเฟ้อได้ ก.คลังและ ธปท.จะต้องศึกษาเกี่ยวกับมาตรการควบคุมดูแลเงินทุนที่ไหลเข้าออกว่าควรมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง
เพื่อป้องกันความผันผวนที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายของเงินทุนที่รวดเร็ว (บ้านเมือง)
4. ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยเศรษฐกิจการคลัง แนะ ธปท.กำหนดระดับการเปลี่ยนแปลงค่าเงินบาทในแต่ละปีให้อยู่ในอัตราใกล้เคียงกับ
ประเทศคู่แข่ง ดร.โอฬาร ไชยประวัติ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยเศรษฐกิจการคลัง กล่าวในการสัมมนาเรื่อง “ร่วมคิด ร่วมแก้ วิกฤติค่าเงินบาท”
ซึ่งจัดขึ้นโดยกลุ่มรวมใจไทยวานนี้ (15 ก.ค.)ว่า ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบจัดการของไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
จะต้องดูแลค่าเงินบาทโดยมีเป้าหมายในการดูแลที่ชัดเจนด้วยการกำหนดอัตราเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาทไม่ควรแข็งค่าขึ้นเกินกว่าระดับใด
ระดับหนึ่ง โดยพิจารณาจากประเทศคู่แข่งของไทยหลัก ๆ อย่างน้อย 4 ประเทศ คือ จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ เพื่อดูว่าประเทศ
คู่แข่งทางการค้าของไทยปล่อยให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นมากน้อยแค่ไหน แล้วนำมาเป็นอัตราอ้างอิง สำหรับวิธีการดูแลค่าเงินบาทให้เป็นไปตาม
เป้าหมายที่วางไว้นั้น ธปท.ควรขอข้อมูลเงินทุนไหลเข้าออกผ่านการค้าขายการลงทุนโดยตรง การซื้อหุ้น การซื้อตราสารหนี้ และการกู้ยืมจาก
ต่างประเทศจากหน่วยงานที่รับผิดชอบเป็นรายวัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลว่าเงินที่ไหลเข้ามาในประเทศมีมากน้อยแค่ไหน โดยการดูแลค่าเงิน
ธปท.ควรกู้ยืมเงินบาทด้วยการออกพันธบัตรให้กับสถาบันการเงินหรือประชาชนเพื่อเอาเงินบาทไปซื้อดอลลาร์ แล้วนำเอาเงินดอลลาร์ไปฝากไว้
กับธนาคารใน สรอ. ซึ่งจะช่วยให้ ธปท.ได้กำไรจากการดูแลค่าเงินบาท เพราะมีต้นทุนในการออกพันธบัตรตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่
ประมาณร้อยละ 3.5 แต่มีผลตอบแทนจากเงินที่ฝากไว้ใน สรอ.ถึงร้อยละ 5 (กรุงเทพธุรกิจ)
5. อัตราการออมครัวเรือนของไทยปี 49 ลดลงเหลือ 3,491 บาทต่อเดือน รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า อัตราการออมครัวเรือนของคนไทยอยู่ในภาวะน่าเป็นห่วง โดยลดลงจาก 3,907 บาทต่อเดือน
ต่อครัวเรือนในปี 45 เหลือเพียง 3,491 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือนในปี 49 ขณะที่สัดส่วนการออมต่อรายได้ลดลงจากร้อยละ 28.23 ในปี 43
เหลือร้อยละ 19.63 ในปี 49 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของครอบครัวที่เกษียณอายุ หรือมีเหตุที่ไม่อาจทำงานหารายได้มาจุนเจือ
ครอบครัว จนอาจเป็นปัญหาสังคมและภาครัฐ นอกจากนั้น ยังพบว่ามีครัวเรือนไทยถึงร้อยละ 50 ที่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตอย่าง
เป็นสุข มีภาระหนี้สินสูง และมีเงินออมต่ำ แม้ว่ารายได้ช่วงที่ผ่านมาจะเพิ่มขึ้นก็ตาม (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดค้าปลีกของสรอ. ในเดือน มิ.ย. ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งมากกว่าที่คาดไว้ รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 50
ผู้ค้าปลีกของสรอ. รวมทั้ง Wal-Mart ซึ่งเป็นผู้ค้าปลีกรายใหญ่ที่สุดในโลก รายงานว่าตัวเลขยอดค้าปลีกในเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4
มากกว่าที่ Wall Street คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้น เนื่องจากเป็นช่วง back-to-school shopping season ทั้งนี้ที่ผ่านมายอดค้าปลีกของ
สรอ. ได้ลดลงอย่างต่อเนื่องจากภาวะชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งภาวะเช่นนี้
ทำให้เพิ่มความวิตกว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 2 ใน 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจะยังคงแข็งแกร่งหรือไม่ ความ
วิตกดังกล่าวทำให้ Sears Holdings และ Home Depot ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดของ สรอ. เตือนว่าผลกำไรจะ
ลดลง เนื่องจากวิตกว่ายอดขายบ้านในเดือน มิ.ย. จะชะลอตัว อย่างไรก็ตามรายงานดังกล่าวอาจจะดีกว่าที่นักลงทุนคาดการณ์ไว้
(Financial Times)
2. ราคาน้ำมันเบนซินเฉลี่ยของ สรอ.เพิ่มขึ้น 6 เซ็นต์ต่อแกลลอนในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ
15 ก.ค.50 The nationwide Lundberg เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นจากเจ้าของปั๊มน้ำมันจำนวน 7,000 รายพบว่า ราคาน้ำมัน
เบนซินเฉลี่ยของ สรอ. เพิ่มขึ้นในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุหลักจากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับกำลัง
การผลิตน้ำมันของ สรอ.ลดลง อันเป็นผลจากการปิดโรงกลั่นจำนวน 2 แห่งในเขตตอนกลางของประเทศ โดยราคาน้ำมันเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ
6 เซ็นต์ อยู่ที่ 3.0577 ดอลลาร์ สรอ.ต่อแกลลอน ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 ก.ค.50 จากราคาเฉลี่ย 2.9961 ดอลลาร์ สรอ.ต่อแกลลอน
ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 22 มิ.ย.50 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นสวนทางกับช่วง 5 สัปดาห์ก่อนหน้า (ระหว่างวันที่ 18 พ.ค. ถึง 22 มิ.ย.) ซึ่ง
ราคาน้ำมันลดลงเฉลี่ย 19 เซ็นต์ ส่งผลให้ราคาน้ำมันอ้างอิงของ สรอ.ในช่วง 3 สัปดาห์เพิ่มขึ้น 4.79 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลและปิด
ที่ระดับ 73.99 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 ก.ค.50 (รอยเตอร์)
3. จีดีพีของจีนในเดือน พ.ค.50 อาจจะขยายตัวลดลง แต่ยังอยู่ในระดับสูง รายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวัน
ที่ 13 ก.ค.50 สำนักข่าวดาวโจนส์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนใน
ไตรมาส 2 ปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 10.8 จากปีก่อน ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 11.1 ในไตรมาสแรก เนื่องจากมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวด
ของรัฐ อาทิ การควบคุมการลงทุน การค้า และการปล่อยสินเชื่อได้ส่งผลกระทบบางอย่างต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ แต่นักเศรษฐศาสตร์
หลายคนกล่าวว่าปัจจัยเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อนแรงเกินไปยังคงอยู่ในระดับสูง ในขณะที่เมื่อสัปดาห์ก่อน สนง.สถิติแห่งชาติของจีน
ได้ปรับตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปี 49 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 11.1 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 10.7 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า
การปรับตัวเลขดังกล่าวอาจจะสร้างความสับสนว่าจะประเมินเศรษฐกิจในภาพรวมของรัฐอย่างไร เนื่องจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอาจจะ
ไม่สามารถบอกอะไรให้กับนักลงทุนได้มากนักว่าการที่เศรษฐกิจเติบโตเร็วเกินไปมีความสัมพันธ์กับศักยภาพหรือไม่ ส่วนอัตราเงินเฟ้อและ
ค่าเงินหยวนมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้มีความจำเป็นต้องใช้นโยบายทางการเงินอย่างเข้มงวดจริงจังในระยะเวลาอันใกล้นี้
เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจขยายตัวร้อนแรงเกินไป โดยผลสำรวจพบว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 จากปีก่อน
และเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.4 ในเดือน พ.ค.50 ด้านการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 2 ยังขยายตัวอยู่
ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ในเดือน มิ.ย.50
สำหรับการลงทุนจากต่างประเทศในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ขยายตัวร้อยละ 12.2 คิดเป็นมูลค่า 31.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากปีก่อน ในขณะที่
รัฐบาลจีนยังคงใช้นโยบายการเงินและการคลังอย่างระมัดระวัง แต่ในช่วงกลางเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมาได้เริ่มส่งสัญญาณว่ามีความตั้งใจที่แก้ไข
ความสมดุลทางเศรษฐกิจโดยการผ่อนคลายมาตรการลงบ้าง(Dow Jones)
4. ยอดค้าปลีกของสิงคโปร์ในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ต่อเดือน รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 13 ก.ค.50 ยอด
ค้าปลีกของสิงคโปร์หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ในเดือน พ.ค.50 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน หลังจากเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 3.5 ต่อเดือนในเดือน เม.ย.50 โดยหากเทียบต่อปีแล้ว ยอดค้าปลีกในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.7 ต่อปีในเดือน เม.ย.50 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดไว้ก่อนหน้านี้ว่ายอดค้าปลีกในเดือน พ.ค.50 จะขยายตัวเร็วกว่าเดือน
เม.ย.50 จากการที่ชาวสิงคโปร์รีบซื้อสินค้าที่มีราคาสูง เช่น รถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนที่จะมีการขึ้นภาษีขายอีกร้อยละ 2.0 ซึ่งเริ่มมีผล
ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.50 เป็นต้นไป โดยหากไม่รวมยอดขายรถยนต์แล้ว ยอดค้าปลีกในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้ว
ร้อยละ 1.8 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ในเดือน เม.ย.50 รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 16 ก.ค. 50 13 ก.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.273 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.0435/33.3896 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.55.78 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 859.14/33.18 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,500/10,600 10,450/10,550 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 70.75 70.61 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.74** 30.39/25.74** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 14 ก.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 11 ก.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ยอดการใช้เช็คไตรมาส 2 ปี 50 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เทียบกับไตรมาสแรก รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า ฝ่ายระบบการชำระเงิน ธปท.ได้รายงานการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เช็คเรียกเก็บ
ข้ามเขต สำนักหักบัญชี และเช็คเรียกเก็บในเขตสำนักหักบัญชีทั่วประเทศในระบบเศรษฐกิจไทย ล่าสุด ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี50 มีปริมาณทั้งสิ้น
20,191,541 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 8,079.84 พันล้านบาท โดยปริมาณเช็คเรียกเก็บลดลงร้อยละ 0.9 ในขณะที่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7
จากไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาส 2 ปี 50 มีการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีจำนวนทั้งสิ้น
14,818,975 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 7,341.04 พันล้านบาท โดยปริมาณและมูลค่าเช็คเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 0.1 และ 7.4
ตามลำดับ ขณะที่ปริมาณเช็คคืนในไตรมาส 1 ปี 50 มีจำนวนทั้งสิ้น 334,343 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 42.60 พันล้านบาท โดยปริมาณและมูลค่า
เช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บมีสัดส่วนใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้าเท่าร้อยละ 2.3 และ 0.6 ตามลำดับ ส่วนเช็คคืนด้วยเหตุผลไม่มีเงินมีปริมาณ
18,161 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 22.53 พันล้านบาท โดยสัดส่วนปริมาณและมูลค่าเช็คคืนไม่มีเงินต่อเช็คเรียกเก็บอยู่ในระดับเดียวกับไตรมาส
ก่อนหน้า โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.5 และ 0.3 ตามลำดับ (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, มติชน)
2. ธปท.ส่งรายงานการตรวจสอบฐานะของ ธ.ทหารไทยให้ รมว.คลังรับทราบและถือเป็นชั้นความลับสูงสุด แหล่งข่าวจาก
ก.คลัง เปิดเผยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ส่งรายงานการตรวจสอบฐานะของ ธ.ทหารไทยให้ รมว.คลังรับทราบและถือเป็น
ชั้นความลับสูงสุด ผลการตรวจสอบของ ธปท.ระบุว่า ลูกหนี้ของ ธ.ทหารไทยรายใหญ่จำนวนหลายรายมีสัญญาณว่าจะเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(เอ็นพีแอล) ในอนาคตหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างดีพอ รวมเป็นมูลหนี้สูงถึง 2 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม รายงานของ ธปท.เรื่องลูกหนี้
ที่มีปัญหา ไม่ได้ระบุชื่อของลูกหนี้ หรือรายชื่อประธานประธานกรรมการ ประธานกรรมการบริหาร หรือกรรมการผู้จัดการ รวมถึงผู้อนุมัติสินเชื่อ
ของธนาคาร เพียงแต่แจ้งว่าเป็นหน้าที่ของกรรมการ ธ.ทหารไทย ดำเนินการจัดการด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม ก.คลังได้แต่งตั้ง บลจ.กองทุน
เอ็มเอฟซี ที่ปรึกษาการเงินของ ก.คลัง ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ ธ.ทหารไทยร้อยละ 31 เพื่อเข้าไปตรวจสอบฐานะของ ธ.ทหารไทย โดยเฉพาะ
รายละเอียดแผนเพิ่มทุน 3.5 หมื่นล้านบาทแล้วว่า ที่คณะกรรมการธนาคารเสนอมานั้นสอดคล้องกันหรือไม่ ทั้งในส่วนของการแก้ปัญหาหนี้ที่เสีย
ที่จะเกิดขึ้น แผนงานการกันสำรองหนี้ และการหารายได้การทำกำไรของธนาคารในอนาคต (โพสต์ทูเดย์)
3. ก.คลังเตรียมหารือ ธปท.ควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินตรา ป้องกันการเก็บกำไรตลาดหุ้น ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)
กล่าวถึง กรณีเงินตราจากต่างประเทศไหลทะลักเข้ามาในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ส่งผลทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
และยังทำให้อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราเกิดความผันผวนอย่างรวดเร็วว่า ก.คลัง โดย สศค.กำลังจะปรึกษาหารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เกี่ยวกับแนวทางในการควบคุมเงินทุนที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นของประเทศไทย โดยเฉพาะเงินทุนที่ไหลเข้ามาเพื่อแสวงหาประโยชน์
และเข้ามาเพื่อเก็งกำไรค่าเงินบาท ทั้งนี้ สถานการณ์ที่มีเงินทุนหลั่งไหลเข้ามาในตลาดหุ้น เพื่อแสวงหาผลประโยชน์นั้น ไม่สามารถดูแลและควบคุม
ได้ จึงส่งผลทำให้ ธปท.เกิดต้นทุนและมีภาระ กล่าวคือ ธปท.จะต้องหาเงินบาทเพื่อนำมาแลกเป็นเงินดอลลาร์ สรอ. ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความ
เสี่ยงของภาวะเงินเฟ้อได้ ก.คลังและ ธปท.จะต้องศึกษาเกี่ยวกับมาตรการควบคุมดูแลเงินทุนที่ไหลเข้าออกว่าควรมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง
เพื่อป้องกันความผันผวนที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายของเงินทุนที่รวดเร็ว (บ้านเมือง)
4. ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยเศรษฐกิจการคลัง แนะ ธปท.กำหนดระดับการเปลี่ยนแปลงค่าเงินบาทในแต่ละปีให้อยู่ในอัตราใกล้เคียงกับ
ประเทศคู่แข่ง ดร.โอฬาร ไชยประวัติ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยเศรษฐกิจการคลัง กล่าวในการสัมมนาเรื่อง “ร่วมคิด ร่วมแก้ วิกฤติค่าเงินบาท”
ซึ่งจัดขึ้นโดยกลุ่มรวมใจไทยวานนี้ (15 ก.ค.)ว่า ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบจัดการของไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
จะต้องดูแลค่าเงินบาทโดยมีเป้าหมายในการดูแลที่ชัดเจนด้วยการกำหนดอัตราเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาทไม่ควรแข็งค่าขึ้นเกินกว่าระดับใด
ระดับหนึ่ง โดยพิจารณาจากประเทศคู่แข่งของไทยหลัก ๆ อย่างน้อย 4 ประเทศ คือ จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ เพื่อดูว่าประเทศ
คู่แข่งทางการค้าของไทยปล่อยให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นมากน้อยแค่ไหน แล้วนำมาเป็นอัตราอ้างอิง สำหรับวิธีการดูแลค่าเงินบาทให้เป็นไปตาม
เป้าหมายที่วางไว้นั้น ธปท.ควรขอข้อมูลเงินทุนไหลเข้าออกผ่านการค้าขายการลงทุนโดยตรง การซื้อหุ้น การซื้อตราสารหนี้ และการกู้ยืมจาก
ต่างประเทศจากหน่วยงานที่รับผิดชอบเป็นรายวัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลว่าเงินที่ไหลเข้ามาในประเทศมีมากน้อยแค่ไหน โดยการดูแลค่าเงิน
ธปท.ควรกู้ยืมเงินบาทด้วยการออกพันธบัตรให้กับสถาบันการเงินหรือประชาชนเพื่อเอาเงินบาทไปซื้อดอลลาร์ แล้วนำเอาเงินดอลลาร์ไปฝากไว้
กับธนาคารใน สรอ. ซึ่งจะช่วยให้ ธปท.ได้กำไรจากการดูแลค่าเงินบาท เพราะมีต้นทุนในการออกพันธบัตรตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่
ประมาณร้อยละ 3.5 แต่มีผลตอบแทนจากเงินที่ฝากไว้ใน สรอ.ถึงร้อยละ 5 (กรุงเทพธุรกิจ)
5. อัตราการออมครัวเรือนของไทยปี 49 ลดลงเหลือ 3,491 บาทต่อเดือน รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า อัตราการออมครัวเรือนของคนไทยอยู่ในภาวะน่าเป็นห่วง โดยลดลงจาก 3,907 บาทต่อเดือน
ต่อครัวเรือนในปี 45 เหลือเพียง 3,491 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือนในปี 49 ขณะที่สัดส่วนการออมต่อรายได้ลดลงจากร้อยละ 28.23 ในปี 43
เหลือร้อยละ 19.63 ในปี 49 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของครอบครัวที่เกษียณอายุ หรือมีเหตุที่ไม่อาจทำงานหารายได้มาจุนเจือ
ครอบครัว จนอาจเป็นปัญหาสังคมและภาครัฐ นอกจากนั้น ยังพบว่ามีครัวเรือนไทยถึงร้อยละ 50 ที่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตอย่าง
เป็นสุข มีภาระหนี้สินสูง และมีเงินออมต่ำ แม้ว่ารายได้ช่วงที่ผ่านมาจะเพิ่มขึ้นก็ตาม (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดค้าปลีกของสรอ. ในเดือน มิ.ย. ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งมากกว่าที่คาดไว้ รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 50
ผู้ค้าปลีกของสรอ. รวมทั้ง Wal-Mart ซึ่งเป็นผู้ค้าปลีกรายใหญ่ที่สุดในโลก รายงานว่าตัวเลขยอดค้าปลีกในเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4
มากกว่าที่ Wall Street คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้น เนื่องจากเป็นช่วง back-to-school shopping season ทั้งนี้ที่ผ่านมายอดค้าปลีกของ
สรอ. ได้ลดลงอย่างต่อเนื่องจากภาวะชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งภาวะเช่นนี้
ทำให้เพิ่มความวิตกว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 2 ใน 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจะยังคงแข็งแกร่งหรือไม่ ความ
วิตกดังกล่าวทำให้ Sears Holdings และ Home Depot ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดของ สรอ. เตือนว่าผลกำไรจะ
ลดลง เนื่องจากวิตกว่ายอดขายบ้านในเดือน มิ.ย. จะชะลอตัว อย่างไรก็ตามรายงานดังกล่าวอาจจะดีกว่าที่นักลงทุนคาดการณ์ไว้
(Financial Times)
2. ราคาน้ำมันเบนซินเฉลี่ยของ สรอ.เพิ่มขึ้น 6 เซ็นต์ต่อแกลลอนในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ
15 ก.ค.50 The nationwide Lundberg เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นจากเจ้าของปั๊มน้ำมันจำนวน 7,000 รายพบว่า ราคาน้ำมัน
เบนซินเฉลี่ยของ สรอ. เพิ่มขึ้นในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุหลักจากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับกำลัง
การผลิตน้ำมันของ สรอ.ลดลง อันเป็นผลจากการปิดโรงกลั่นจำนวน 2 แห่งในเขตตอนกลางของประเทศ โดยราคาน้ำมันเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ
6 เซ็นต์ อยู่ที่ 3.0577 ดอลลาร์ สรอ.ต่อแกลลอน ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 ก.ค.50 จากราคาเฉลี่ย 2.9961 ดอลลาร์ สรอ.ต่อแกลลอน
ในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 22 มิ.ย.50 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นสวนทางกับช่วง 5 สัปดาห์ก่อนหน้า (ระหว่างวันที่ 18 พ.ค. ถึง 22 มิ.ย.) ซึ่ง
ราคาน้ำมันลดลงเฉลี่ย 19 เซ็นต์ ส่งผลให้ราคาน้ำมันอ้างอิงของ สรอ.ในช่วง 3 สัปดาห์เพิ่มขึ้น 4.79 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลและปิด
ที่ระดับ 73.99 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 ก.ค.50 (รอยเตอร์)
3. จีดีพีของจีนในเดือน พ.ค.50 อาจจะขยายตัวลดลง แต่ยังอยู่ในระดับสูง รายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวัน
ที่ 13 ก.ค.50 สำนักข่าวดาวโจนส์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนใน
ไตรมาส 2 ปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 10.8 จากปีก่อน ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 11.1 ในไตรมาสแรก เนื่องจากมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวด
ของรัฐ อาทิ การควบคุมการลงทุน การค้า และการปล่อยสินเชื่อได้ส่งผลกระทบบางอย่างต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ แต่นักเศรษฐศาสตร์
หลายคนกล่าวว่าปัจจัยเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อนแรงเกินไปยังคงอยู่ในระดับสูง ในขณะที่เมื่อสัปดาห์ก่อน สนง.สถิติแห่งชาติของจีน
ได้ปรับตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปี 49 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 11.1 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 10.7 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า
การปรับตัวเลขดังกล่าวอาจจะสร้างความสับสนว่าจะประเมินเศรษฐกิจในภาพรวมของรัฐอย่างไร เนื่องจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอาจจะ
ไม่สามารถบอกอะไรให้กับนักลงทุนได้มากนักว่าการที่เศรษฐกิจเติบโตเร็วเกินไปมีความสัมพันธ์กับศักยภาพหรือไม่ ส่วนอัตราเงินเฟ้อและ
ค่าเงินหยวนมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้มีความจำเป็นต้องใช้นโยบายทางการเงินอย่างเข้มงวดจริงจังในระยะเวลาอันใกล้นี้
เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจขยายตัวร้อนแรงเกินไป โดยผลสำรวจพบว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 จากปีก่อน
และเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.4 ในเดือน พ.ค.50 ด้านการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 2 ยังขยายตัวอยู่
ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ในเดือน มิ.ย.50
สำหรับการลงทุนจากต่างประเทศในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ขยายตัวร้อยละ 12.2 คิดเป็นมูลค่า 31.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากปีก่อน ในขณะที่
รัฐบาลจีนยังคงใช้นโยบายการเงินและการคลังอย่างระมัดระวัง แต่ในช่วงกลางเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมาได้เริ่มส่งสัญญาณว่ามีความตั้งใจที่แก้ไข
ความสมดุลทางเศรษฐกิจโดยการผ่อนคลายมาตรการลงบ้าง(Dow Jones)
4. ยอดค้าปลีกของสิงคโปร์ในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ต่อเดือน รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 13 ก.ค.50 ยอด
ค้าปลีกของสิงคโปร์หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ในเดือน พ.ค.50 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน หลังจากเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 3.5 ต่อเดือนในเดือน เม.ย.50 โดยหากเทียบต่อปีแล้ว ยอดค้าปลีกในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.7 ต่อปีในเดือน เม.ย.50 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดไว้ก่อนหน้านี้ว่ายอดค้าปลีกในเดือน พ.ค.50 จะขยายตัวเร็วกว่าเดือน
เม.ย.50 จากการที่ชาวสิงคโปร์รีบซื้อสินค้าที่มีราคาสูง เช่น รถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนที่จะมีการขึ้นภาษีขายอีกร้อยละ 2.0 ซึ่งเริ่มมีผล
ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.50 เป็นต้นไป โดยหากไม่รวมยอดขายรถยนต์แล้ว ยอดค้าปลีกในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้ว
ร้อยละ 1.8 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ในเดือน เม.ย.50 รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 16 ก.ค. 50 13 ก.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.273 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.0435/33.3896 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.55.78 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 859.14/33.18 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,500/10,600 10,450/10,550 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 70.75 70.61 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.74** 30.39/25.74** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 14 ก.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 11 ก.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--