ลดข้อขัดแย้ง - แก้ไขใหม่ให้ดีรัฐธรรมนูญก็จะผ่านไปได้
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
10 พฤษภาคม 2550
เรื่องของรัฐธรรมนูญใหม่ ยังเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจมากเหมือนเดิม หรือดูจะมากกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำ เพราะผู้คนในองค์กรต่าง ๆ รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไปเริ่มแสดงความคิดเห็นทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นข้อขัดแย้งหลัก ๆ และที่เป็นการแสดงออกอย่างจริงจังถึงขนาดจะไม่รับร่างรัฐธรรมนูญใหม่ในเวลาจัดทำประชามติก็มีมาก
มีมากถึงขนาดที่ได้สร้างความหนักใจให้เกิดขึ้นแก่บรรดาคณะกรรมาธิการยกร่างจนต้องออกมาขอร้องให้รับรัฐธรรมนูญไว้ก่อนแล้วค่อยแก้ไขกันในภายหลังก็มี แต่ที่ฟังดูไม่ค่อยดีก็คือ คำอธิบายความของกรรมาธิการยกร่างบางท่าน ที่กล่าวหากไม่รับรัฐธรรมนูญนี้ ก็จะได้รัฐธรรมนูญฉบับของ คมช. ซึ่งอาจจะเป็นประชาธิปไตยน้อยกว่า โดยเปรียบเทียบว่าเสมือนมาจากการถูกข่มขืน จนมีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นการพูดจาข่มขู่ให้จำใจรับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อดูประเด็นข้อขัดแย้ง ที่เป็นประเด็นหลัก ๆ ที่ถึงขนาดอาจมีปัญหารับกันไม่ได้ก็จะเห็นว่ามีอยู่ไม่มาก และถ้าไม่นับประเด็นข้อเรียกร้องขององค์กรพระพุทธศาสนาแล้ว ก็จะเป็นประเด็นที่มีความรู้สึกว่า ไม่เป็นประชาธิปไตยหรือล้าหลังกว่าเดิมด้วยกันทั้งสิ้น เช่น ประเด็นให้มีคณะบุคคลพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาวิกฤตของประเทศตามมาตรา 68 ประเด็นที่มาของ สว. ซึ่งมาจากการแต่งตั้งจากบุคคลที่ได้รับการสรรหาตามมาตรา 106 และประเด็นของบทเฉพาะกาลให้รับรองการใด ๆ ที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้รับรองไว้แล้ว โดยให้รับรองว่าเป็นการกระทำที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญต่อไปอีกตามมาตรา 299
ผมมีความเห็นว่า ทั้ง 3 ประเด็น เป็นบทบัญญัติที่ล้าหลังกว่าเดิม และก็ควรที่จะได้แก้ไขเสียใหม่ด้วยกันทั้งสิ้น กล่าวคือว่า
1. มาตรา 68 ซึ่งความจริงก็คือ มาตรา 68 วรรค 2 ที่บัญญัติว่า “ในกรณีที่ประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤต เหตุการณ์คับขัน หรือเกิดสถานการณ์จำเป็นอย่างยิ่งในทางการเมือง ให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด และประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาหาทางป้องกันหรือแก้ไขปัญหาดังกล่าว”
ผมเข้าใจดีว่า คณะกรรมาธิการยกร่างคงมีเจตนาดีที่จะให้มีคณะบุคคลที่เป็นผู้รับผิดชอบในระดับสูง ได้มาร่วมปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาในเวลาวิกฤต เพื่อยุติปัญหาและทั้งยังหวังว่าอาจป้องกันการปฏิวัติรัฐประหารได้ซึ่งต้องถือเป็นเจตนาดี
แต่ที่มีข้อโต้แย้งกันมากซึ่งผมก็เห็นด้วยกับข้อโต้แย้ง ก็คือว่า เป็นบทบัญญัติที่ไม่อาจเป็นจริงในทางปฏิบัติได้ เพราะเพียงกำหนดไว้ลอย ๆ ไม่มีสภาพบังคับตามกฎหมาย เพราะในบทบัญญัติมาตราเดียวกันก็ยังไม่มีกำหนดไว้ที่ใดว่า ให้มติของที่ประชุมคณะบุคคลดังกล่าวเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย ที่จะต้องถือปฏิบัติอย่างไร และก็จะต้องตีความกันอีกมากมาย เช่น เมื่อใดจึงจะถือได้ว่า ประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤต เหตุการณ์คับขัน หรือเกิดสถานการณ์จำเป็นอย่างยิ่งในทางการเมือง
เมื่อมีแต่จะก่อให้เกิดความยุ่งยากในทางปฏิบัติที่สำคัญคือไม่อาจเป็นจริงได้ เพราะไม่มีสภาพบังคับตามกฎหมายขนาดตัวรัฐธรรมนูญเองก็ยังไม่มีบทบัญญัติรับรองความชอบด้วยกฎหมายเอาไว้ ก็จึงมองไม่เห็นเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องมีบทบัญญัติดังกล่าวนี้ไว้ จึงควรจะได้ตัดบทบัญญัติในส่วนนี้ออกไป
2. มาตรา 106 ซึ่งกำหนดที่มาของ สว. ให้มาจากการแต่งตั้งจากบุคคลที่ได้รับการสรรหา
บทบัญญัติในมาตรานี้ กล่าวได้ว่ามีความล้าหลังมากกว่ารัฐธรรมนูญเดิมคือฉบับปี 2540 ซึ่งกำหนดให้ สว. มาจากการเลือกตั้ง และถือว่าเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยในขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็ยังถือว่าเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยเหมือนเดิม แต่มาจากการแต่งตั้งโดยการสรรหา ซึ่งไม่มีการยึดโยงกับประชาชนหรือปวงชนพอที่จะถือว่าเป็นผู้แทนปวงชนได้เลย แต่อะไรไม่สำคัญเท่ากับว่า ยังคงมีอำนาจให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง และเพิกถอนผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งมีอำนาจเพิกถอนผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ซึ่งรวมทั้ง นายกรัฐมนตรี และ สส. ซึ่งมาจากการเลือกตั้งได้ด้วยเลย ยิ่งก่อให้เกิดความสับสนกันไปใหญ่ว่าระหว่างแต่งตั้งกับเลือกตั้งบุคคลประเภทใดควรจะมีอำนาจมากกว่า
คงไม่มีการปฏิเสธว่า สว. ที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อครั้งก่อนโน้น มีจุดอ่อน จุดด้อย มากมาย ทั้งแทรกแซงได้เพราะได้รับเลือกตั้งมาจากฐานเสียงพรรคการเมืองและอิทธิพลท้องถิ่น มีสภาพเป็นสภาผัวสภาเมียก็มีแต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด สว. ที่มีคุณภาพและได้ทำสิ่งดี ๆ ไว้ก็มีไม่น้อย
เมื่ออำนาจหน้าที่ยังคงมีมากมายเช่นนี้ ก็ควรจะให้มาจากการเลือกตั้ง และเมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างยังมีปัญญาคิดให้ สส. แบบบัญชีรายชื่อเปลี่ยนรูปแบบการเลือกตั้ง ออกเป็น 4 เขตเลือกตั้งได้ ทำไมไม่ลองคิดให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการเลือกตั้ง สว. เสียใหม่เป็น 8 เขต (เขตละ 20 คน) ดูบ้าง ซึ่งก็พอที่จะลดอิทธิพลพรรคการเมือง และอิทธิพลท้องถิ่นลงได้มากแน่นอน
ส่วนถ้าอยากได้ สว. เป็นบุคคลคนละประเภทกับสส. คืออยากได้ผู้แทนกลุ่มอาชีพ หรือผู้ชำนาญการอย่างไรเพื่อให้สมความมุ่งหมายก็ควรต้องอาศัยการสร้างความเข้าใจกับประชาชน จึงจะถูกต้องกว่า ซึ่ง กกต. ก็ควรจะได้ทำหน้าที่รณรงค์เพื่อสร้างความเข้าใจอย่างจริงจังเสียที
สว. จึงควรจะมาจากการเลือกตั้งโดยมีเขตเลือกตั้งใหญ่กว่าเดิม
3. มาตรา 299 ในบทเฉพาะกาล ที่ให้รับรองการใด ๆ ที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้รับรองไว้แล้วว่าเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
บทบัญญัติมาตรานี้ก็ไม่ควรจะมีอีก เหตุผลก็เพราะได้มีรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวรับรองไปแล้วจึงไม่ต้องรับรองอีก
ถ้าจะมีการใด ๆ ที่ควรจะมีการบัญญัติกฎหมายรับรองให้เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะยังอยู่ระหว่างดำเนินการแล้ว และคงจะยังไม่แล้วเสร็จ แม้จะล่วงเลยเวลาจนกระทั่งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ไปแล้ว ก็คือ คตส. และการใด ๆ ของ คตส. แต่สำหรับ คตส. นี้อาจจัดทำเป็น พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปฯ ที่เกี่ยวข้องกับ คตส. รับรองให้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็คือการให้ความคุ้มครองการกระทำโดยสุจริตของ คตส. ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพียงแต่ว่า การดำเนินการโดยวิธีนี้ต้องอาศัยคณะรัฐมนตรีของพลเอกสุรยุทธ์ ฯ หรือสภานิติบัญญัติ ช่วยดำเนินการให้ ซึ่งเมื่อวันอังคารที่ผ่านมานี้ คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบให้มีกฎหมายต่ออายุให้แก่ คตส. ต่อไปแล้ว
คณะกรรมาธิการยกร่างฯ จะเห็นด้วยกับความเห็นของผมหรือไม่ก็แล้วแต่ แต่ก็ควรจะได้ตระหนักว่าไม่มีคำอธิบาย หรือคำชี้ชวนใด ๆ ที่จะทำให้รัฐธรรมนูญใหม่ผ่านการจัดทำประชามติไปได้ นอกเสียจากการลดข้อขัดแย้งลงได้ให้และทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ไม่ให้ล้าหลังไปกว่าเดิมเท่านั้นจึงจะผ่านไปได้.
*****************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 10 พ.ค. 2550--จบ--
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
10 พฤษภาคม 2550
เรื่องของรัฐธรรมนูญใหม่ ยังเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจมากเหมือนเดิม หรือดูจะมากกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำ เพราะผู้คนในองค์กรต่าง ๆ รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไปเริ่มแสดงความคิดเห็นทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นข้อขัดแย้งหลัก ๆ และที่เป็นการแสดงออกอย่างจริงจังถึงขนาดจะไม่รับร่างรัฐธรรมนูญใหม่ในเวลาจัดทำประชามติก็มีมาก
มีมากถึงขนาดที่ได้สร้างความหนักใจให้เกิดขึ้นแก่บรรดาคณะกรรมาธิการยกร่างจนต้องออกมาขอร้องให้รับรัฐธรรมนูญไว้ก่อนแล้วค่อยแก้ไขกันในภายหลังก็มี แต่ที่ฟังดูไม่ค่อยดีก็คือ คำอธิบายความของกรรมาธิการยกร่างบางท่าน ที่กล่าวหากไม่รับรัฐธรรมนูญนี้ ก็จะได้รัฐธรรมนูญฉบับของ คมช. ซึ่งอาจจะเป็นประชาธิปไตยน้อยกว่า โดยเปรียบเทียบว่าเสมือนมาจากการถูกข่มขืน จนมีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นการพูดจาข่มขู่ให้จำใจรับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อดูประเด็นข้อขัดแย้ง ที่เป็นประเด็นหลัก ๆ ที่ถึงขนาดอาจมีปัญหารับกันไม่ได้ก็จะเห็นว่ามีอยู่ไม่มาก และถ้าไม่นับประเด็นข้อเรียกร้องขององค์กรพระพุทธศาสนาแล้ว ก็จะเป็นประเด็นที่มีความรู้สึกว่า ไม่เป็นประชาธิปไตยหรือล้าหลังกว่าเดิมด้วยกันทั้งสิ้น เช่น ประเด็นให้มีคณะบุคคลพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาวิกฤตของประเทศตามมาตรา 68 ประเด็นที่มาของ สว. ซึ่งมาจากการแต่งตั้งจากบุคคลที่ได้รับการสรรหาตามมาตรา 106 และประเด็นของบทเฉพาะกาลให้รับรองการใด ๆ ที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้รับรองไว้แล้ว โดยให้รับรองว่าเป็นการกระทำที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญต่อไปอีกตามมาตรา 299
ผมมีความเห็นว่า ทั้ง 3 ประเด็น เป็นบทบัญญัติที่ล้าหลังกว่าเดิม และก็ควรที่จะได้แก้ไขเสียใหม่ด้วยกันทั้งสิ้น กล่าวคือว่า
1. มาตรา 68 ซึ่งความจริงก็คือ มาตรา 68 วรรค 2 ที่บัญญัติว่า “ในกรณีที่ประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤต เหตุการณ์คับขัน หรือเกิดสถานการณ์จำเป็นอย่างยิ่งในทางการเมือง ให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด และประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาหาทางป้องกันหรือแก้ไขปัญหาดังกล่าว”
ผมเข้าใจดีว่า คณะกรรมาธิการยกร่างคงมีเจตนาดีที่จะให้มีคณะบุคคลที่เป็นผู้รับผิดชอบในระดับสูง ได้มาร่วมปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาในเวลาวิกฤต เพื่อยุติปัญหาและทั้งยังหวังว่าอาจป้องกันการปฏิวัติรัฐประหารได้ซึ่งต้องถือเป็นเจตนาดี
แต่ที่มีข้อโต้แย้งกันมากซึ่งผมก็เห็นด้วยกับข้อโต้แย้ง ก็คือว่า เป็นบทบัญญัติที่ไม่อาจเป็นจริงในทางปฏิบัติได้ เพราะเพียงกำหนดไว้ลอย ๆ ไม่มีสภาพบังคับตามกฎหมาย เพราะในบทบัญญัติมาตราเดียวกันก็ยังไม่มีกำหนดไว้ที่ใดว่า ให้มติของที่ประชุมคณะบุคคลดังกล่าวเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย ที่จะต้องถือปฏิบัติอย่างไร และก็จะต้องตีความกันอีกมากมาย เช่น เมื่อใดจึงจะถือได้ว่า ประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤต เหตุการณ์คับขัน หรือเกิดสถานการณ์จำเป็นอย่างยิ่งในทางการเมือง
เมื่อมีแต่จะก่อให้เกิดความยุ่งยากในทางปฏิบัติที่สำคัญคือไม่อาจเป็นจริงได้ เพราะไม่มีสภาพบังคับตามกฎหมายขนาดตัวรัฐธรรมนูญเองก็ยังไม่มีบทบัญญัติรับรองความชอบด้วยกฎหมายเอาไว้ ก็จึงมองไม่เห็นเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องมีบทบัญญัติดังกล่าวนี้ไว้ จึงควรจะได้ตัดบทบัญญัติในส่วนนี้ออกไป
2. มาตรา 106 ซึ่งกำหนดที่มาของ สว. ให้มาจากการแต่งตั้งจากบุคคลที่ได้รับการสรรหา
บทบัญญัติในมาตรานี้ กล่าวได้ว่ามีความล้าหลังมากกว่ารัฐธรรมนูญเดิมคือฉบับปี 2540 ซึ่งกำหนดให้ สว. มาจากการเลือกตั้ง และถือว่าเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยในขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็ยังถือว่าเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยเหมือนเดิม แต่มาจากการแต่งตั้งโดยการสรรหา ซึ่งไม่มีการยึดโยงกับประชาชนหรือปวงชนพอที่จะถือว่าเป็นผู้แทนปวงชนได้เลย แต่อะไรไม่สำคัญเท่ากับว่า ยังคงมีอำนาจให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง และเพิกถอนผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งมีอำนาจเพิกถอนผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ซึ่งรวมทั้ง นายกรัฐมนตรี และ สส. ซึ่งมาจากการเลือกตั้งได้ด้วยเลย ยิ่งก่อให้เกิดความสับสนกันไปใหญ่ว่าระหว่างแต่งตั้งกับเลือกตั้งบุคคลประเภทใดควรจะมีอำนาจมากกว่า
คงไม่มีการปฏิเสธว่า สว. ที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อครั้งก่อนโน้น มีจุดอ่อน จุดด้อย มากมาย ทั้งแทรกแซงได้เพราะได้รับเลือกตั้งมาจากฐานเสียงพรรคการเมืองและอิทธิพลท้องถิ่น มีสภาพเป็นสภาผัวสภาเมียก็มีแต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด สว. ที่มีคุณภาพและได้ทำสิ่งดี ๆ ไว้ก็มีไม่น้อย
เมื่ออำนาจหน้าที่ยังคงมีมากมายเช่นนี้ ก็ควรจะให้มาจากการเลือกตั้ง และเมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างยังมีปัญญาคิดให้ สส. แบบบัญชีรายชื่อเปลี่ยนรูปแบบการเลือกตั้ง ออกเป็น 4 เขตเลือกตั้งได้ ทำไมไม่ลองคิดให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการเลือกตั้ง สว. เสียใหม่เป็น 8 เขต (เขตละ 20 คน) ดูบ้าง ซึ่งก็พอที่จะลดอิทธิพลพรรคการเมือง และอิทธิพลท้องถิ่นลงได้มากแน่นอน
ส่วนถ้าอยากได้ สว. เป็นบุคคลคนละประเภทกับสส. คืออยากได้ผู้แทนกลุ่มอาชีพ หรือผู้ชำนาญการอย่างไรเพื่อให้สมความมุ่งหมายก็ควรต้องอาศัยการสร้างความเข้าใจกับประชาชน จึงจะถูกต้องกว่า ซึ่ง กกต. ก็ควรจะได้ทำหน้าที่รณรงค์เพื่อสร้างความเข้าใจอย่างจริงจังเสียที
สว. จึงควรจะมาจากการเลือกตั้งโดยมีเขตเลือกตั้งใหญ่กว่าเดิม
3. มาตรา 299 ในบทเฉพาะกาล ที่ให้รับรองการใด ๆ ที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้รับรองไว้แล้วว่าเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
บทบัญญัติมาตรานี้ก็ไม่ควรจะมีอีก เหตุผลก็เพราะได้มีรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวรับรองไปแล้วจึงไม่ต้องรับรองอีก
ถ้าจะมีการใด ๆ ที่ควรจะมีการบัญญัติกฎหมายรับรองให้เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะยังอยู่ระหว่างดำเนินการแล้ว และคงจะยังไม่แล้วเสร็จ แม้จะล่วงเลยเวลาจนกระทั่งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ไปแล้ว ก็คือ คตส. และการใด ๆ ของ คตส. แต่สำหรับ คตส. นี้อาจจัดทำเป็น พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปฯ ที่เกี่ยวข้องกับ คตส. รับรองให้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็คือการให้ความคุ้มครองการกระทำโดยสุจริตของ คตส. ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพียงแต่ว่า การดำเนินการโดยวิธีนี้ต้องอาศัยคณะรัฐมนตรีของพลเอกสุรยุทธ์ ฯ หรือสภานิติบัญญัติ ช่วยดำเนินการให้ ซึ่งเมื่อวันอังคารที่ผ่านมานี้ คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบให้มีกฎหมายต่ออายุให้แก่ คตส. ต่อไปแล้ว
คณะกรรมาธิการยกร่างฯ จะเห็นด้วยกับความเห็นของผมหรือไม่ก็แล้วแต่ แต่ก็ควรจะได้ตระหนักว่าไม่มีคำอธิบาย หรือคำชี้ชวนใด ๆ ที่จะทำให้รัฐธรรมนูญใหม่ผ่านการจัดทำประชามติไปได้ นอกเสียจากการลดข้อขัดแย้งลงได้ให้และทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ไม่ให้ล้าหลังไปกว่าเดิมเท่านั้นจึงจะผ่านไปได้.
*****************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 10 พ.ค. 2550--จบ--