นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินได้เผยแพร่รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับเดือนเมษายน 2550 ในวันที่ 24 เมษายน 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 ขยายตัวร้อยละ 4.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงจากร้อยละ 4.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัวมากกว่าคาด ขณะที่การส่งออกยังขยายตัวดีและเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ ทำให้ทั้งปี 2549 เศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 5.0 ต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ในรายงานฉบับก่อนเล็กน้อย
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 ข้อมูลเครื่องชี้ล่าสุดยังสะท้อนภาพอุปสงค์ภายในประเทศที่ซบเซาต่อเนื่อง โดยสาเหตุหลักมาจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่ยังคงเปราะบางจากความไม่แน่นอนต่างๆ ทำให้ การฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศอาจเนิ่นช้าออกไป อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายของภาครัฐที่มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น และนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงจะมีส่วนช่วยกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศได้บ้าง ขณะเดียวกันการส่งออกยัง มีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างน่าพอใจ
สำหรับเสถียรภาพโดยรวมของเศรษฐกิจ แรงกดดันด้านราคาปรับลดลงต่อเนื่อง สอดคล้องกับการประเมินในรายงานฉบับก่อน ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน และราคาอาหารสด ที่ชะลอลงหลังจากภาวะน้ำท่วมในช่วงปลายปีที่แล้วเริ่มคลี่คลาย ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อ พื้นฐานในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.4 และ 1.4 ตามลำดับ
ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นยังไม่ส่งผลกระทบสำคัญต่อเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจการเงินโดยรวม ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของภาคสถาบันการเงินและคุณภาพสินเชื่อยังอยู่ใน เกณฑ์ดี ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนพฤติกรรมการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนที่มีความระมัดระวังมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การผิดนัดชำระหนี้ของภาคครัวเรือนโน้มสูงขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้ ความสามารถในการทำกำไรของภาคธุรกิจ ลดลงบ้าง โดยเฉพาะในกลุ่มบริษัทที่มีผลการดำเนินงานค่อนข้างต่ำอยู่ก่อนหน้า
เสถียรภาพต่างประเทศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของ ปี 2549 จากดุลการค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นตามการส่งออกที่ขยายตัวดี และดุลบริการ รายได้ และเงินโอนสุทธิที่กลับมาเกินดุล ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดของทั้งปี 2549 เกินดุลเทียบกับปีก่อนหน้าที่ขาดดุลพอควร สำหรับไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 ดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มที่จะเกินดุลค่อนข้างสูงจากการส่งออกที่ยังขยายตัวดีขณะที่การนำเข้าชะลอตัวมากตามอุปสงค์ภายในประเทศ การเกินดุลดังกล่าวมีส่วนเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินบาทโน้มแข็งขึ้นต่อไป
การคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ
เมื่อเทียบกับข้อสมมติประกอบการคาดการณ์เมื่อ 3 เดือนก่อนหน้า
1. ราคาน้ำมันดิบดูไบปรับเพิ่มขึ้นจากรายงานฉบับก่อนตลอดช่วงประมาณการ โดยเฉลี่ยในปี 2550 และ 2551 อยู่ที่ 58.8 และ 58.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ตามลำดับ เป็นผลมาจากความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศที่เริ่มรุนแรงขึ้นอีก การเพิ่มปริมาณสำรองน้ำมันดิบทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ การปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นน้ำมัน และการปรับลดกำลังการผลิตของประเทศผู้ค้าน้ำมันนอกกลุ่มโอเปก
2. ข้อสมมติราคาสินค้าเกษตรและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่มิใช่เชื้อเพลิงในตลาดโลกปรับสูงขึ้นกว่าเดิม แต่ยังอยู่ในแนวโน้มที่ชะลอตัว สอดคล้องกับประมาณการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
3. อัตราดอกเบี้ย Fed Funds มีแนวโน้มที่จะปรับลดลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ และคาดว่าจะอยู่ในระดับนี้ไปตลอดช่วงประมาณการ
4. ข้อสมมติการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าในปี 2550 - 2551 ปรับดีขึ้นกว่าข้อสมมติใน รายงานฉบับก่อนเล็กน้อย จากเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียและกลุ่มประเทศยุโรปที่ปรับดีขึ้น ซึ่งจะสามารถชดเชยการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้บ้าง
5. ค่าเงินในภูมิภาคยังคงมีแนวโน้มแข็งค่าใกล้เคียงกับข้อสมมติเดิม
6. ในปีงบประมาณ 2550 - 2551 ข้อสมมติรายจ่ายเพื่อการอุปโภคของภาครัฐปรับสูงขึ้นกว่าเดิม ขณะที่ ข้อสมมติการลงทุนของภาครัฐปรับลดลงเล็กน้อย
สำหรับความเสี่ยงต่างๆ ที่มีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไปนั้น ที่อาจทำให้เศรษฐกิจขยายตัว ต่ำกว่ากรณีฐานมาจาก ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่อาจปรับสูงขึ้นจากอุปทานน้ำมันที่ค่อนข้างผันผวน ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นรวดเร็วกว่าในกรณีฐาน และอุปสงค์จากต่างประเทศที่ต่ำกว่าคาดหากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอลงมากกว่า ข้อสมมติในกรณีฐาน ขณะที่ความเสี่ยงที่อาจทำให้เศรษฐกิจขยายตัวสูงกว่ากรณีฐานคือ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่อาจปรับดีขึ้นหากทางการมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งรวมถึงนโยบายการเงินที่อยู่ในแนวทางที่ผ่อนคลายมากกว่าเดิม และแรงกระตุ้นจากภาคการคลังที่เพิ่มขึ้น หากรัฐบาลสามารถเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณได้ตามเป้าหมาย
ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่ามีโอกาสประมาณร้อยละ 94.3 ที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2550 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 3.8 - 4.8 และมีโอกาสร้อยละ 90.8 ที่เศรษฐกิจในปี 2551 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 4.3 - 5.8 ส่วนความเสี่ยงต่างๆ ที่มีต่ออัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไปนั้น ที่อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงกว่ากรณีฐาน คือราคาน้ำมัน ราคาพืชผลเกษตร และการปรับขึ้นราคาสินค้าในบัญชีสินค้าและบริการควบคุมของกระทรวงพาณิชย์ ขณะที่อุปสงค์ในประเทศที่ซบเซา และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น อาจจะทำให้อัตราเงินเฟ้อต่ำกว่า กรณีฐานได้ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2550 จะชะลอตัวต่อเนื่องจากปีก่อนและเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 - 2.5 และในปี 2551 คณะกรรมการฯ ใช้ช่วงประมาณการที่กว้างขึ้น คือ ร้อยละ 1 - 2.5 สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1 - 2 ทั้งในปี 2550 และปี 2551
การดำเนินนโยบายการเงินในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
การตัดสินด้านนโยบายของคณะกรรมการฯ มีประเด็นสำคัญในการพิจารณา ดังนี้
1. ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550 คณะกรรมการฯ เห็นว่า เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 และเดือนมกราคม 2550 สะท้อนการชะลอตัวต่อเนื่องของอุปสงค์ภายในประเทศ ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลง ทำให้คณะกรรมการฯ ประเมินว่าความเสี่ยงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไปมีมากกว่าความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ จึงมีมติให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก ร้อยละ 4.75 ต่อปี เป็นร้อยละ 4.50 ต่อปี
2. ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2550 คณะกรรมการฯ เห็นว่า อุปสงค์ภายในประเทศชะลอตัวลงมากกว่าที่คาดไว้ ทั้งการบริโภคและการลงทุน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อปรับลดลงต่อเนื่อง ทำให้คณะกรรมการฯ มีมติให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 4.50 ต่อปี เป็นร้อยละ 4.00 ต่อปี โดยประเมินว่าแรงกดดันด้านราคาที่จะอยู่ในระดับต่ำ และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่น่าจะอยู่ในช่วงเป้าหมายได้ในช่วง 8 ไตรมาสข้างหน้า ทำให้นโยบายการเงินสามารถผ่อนคลายได้มากขึ้นเพื่อเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยไม่สร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ
ข้อมูลเพิ่มเติม : วรารัตน์ เขมังกรณ์ โทร. 0 2356 7876 E-mail: vararatk@bot.or.th
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 ขยายตัวร้อยละ 4.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงจากร้อยละ 4.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัวมากกว่าคาด ขณะที่การส่งออกยังขยายตัวดีและเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ ทำให้ทั้งปี 2549 เศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 5.0 ต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ในรายงานฉบับก่อนเล็กน้อย
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 ข้อมูลเครื่องชี้ล่าสุดยังสะท้อนภาพอุปสงค์ภายในประเทศที่ซบเซาต่อเนื่อง โดยสาเหตุหลักมาจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่ยังคงเปราะบางจากความไม่แน่นอนต่างๆ ทำให้ การฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศอาจเนิ่นช้าออกไป อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายของภาครัฐที่มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น และนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงจะมีส่วนช่วยกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศได้บ้าง ขณะเดียวกันการส่งออกยัง มีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างน่าพอใจ
สำหรับเสถียรภาพโดยรวมของเศรษฐกิจ แรงกดดันด้านราคาปรับลดลงต่อเนื่อง สอดคล้องกับการประเมินในรายงานฉบับก่อน ซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน และราคาอาหารสด ที่ชะลอลงหลังจากภาวะน้ำท่วมในช่วงปลายปีที่แล้วเริ่มคลี่คลาย ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อ พื้นฐานในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.4 และ 1.4 ตามลำดับ
ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นยังไม่ส่งผลกระทบสำคัญต่อเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจการเงินโดยรวม ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของภาคสถาบันการเงินและคุณภาพสินเชื่อยังอยู่ใน เกณฑ์ดี ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนพฤติกรรมการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนที่มีความระมัดระวังมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การผิดนัดชำระหนี้ของภาคครัวเรือนโน้มสูงขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้ ความสามารถในการทำกำไรของภาคธุรกิจ ลดลงบ้าง โดยเฉพาะในกลุ่มบริษัทที่มีผลการดำเนินงานค่อนข้างต่ำอยู่ก่อนหน้า
เสถียรภาพต่างประเทศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของ ปี 2549 จากดุลการค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นตามการส่งออกที่ขยายตัวดี และดุลบริการ รายได้ และเงินโอนสุทธิที่กลับมาเกินดุล ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดของทั้งปี 2549 เกินดุลเทียบกับปีก่อนหน้าที่ขาดดุลพอควร สำหรับไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 ดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มที่จะเกินดุลค่อนข้างสูงจากการส่งออกที่ยังขยายตัวดีขณะที่การนำเข้าชะลอตัวมากตามอุปสงค์ภายในประเทศ การเกินดุลดังกล่าวมีส่วนเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินบาทโน้มแข็งขึ้นต่อไป
การคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ
เมื่อเทียบกับข้อสมมติประกอบการคาดการณ์เมื่อ 3 เดือนก่อนหน้า
1. ราคาน้ำมันดิบดูไบปรับเพิ่มขึ้นจากรายงานฉบับก่อนตลอดช่วงประมาณการ โดยเฉลี่ยในปี 2550 และ 2551 อยู่ที่ 58.8 และ 58.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ตามลำดับ เป็นผลมาจากความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศที่เริ่มรุนแรงขึ้นอีก การเพิ่มปริมาณสำรองน้ำมันดิบทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ การปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นน้ำมัน และการปรับลดกำลังการผลิตของประเทศผู้ค้าน้ำมันนอกกลุ่มโอเปก
2. ข้อสมมติราคาสินค้าเกษตรและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่มิใช่เชื้อเพลิงในตลาดโลกปรับสูงขึ้นกว่าเดิม แต่ยังอยู่ในแนวโน้มที่ชะลอตัว สอดคล้องกับประมาณการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
3. อัตราดอกเบี้ย Fed Funds มีแนวโน้มที่จะปรับลดลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ และคาดว่าจะอยู่ในระดับนี้ไปตลอดช่วงประมาณการ
4. ข้อสมมติการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าในปี 2550 - 2551 ปรับดีขึ้นกว่าข้อสมมติใน รายงานฉบับก่อนเล็กน้อย จากเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียและกลุ่มประเทศยุโรปที่ปรับดีขึ้น ซึ่งจะสามารถชดเชยการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้บ้าง
5. ค่าเงินในภูมิภาคยังคงมีแนวโน้มแข็งค่าใกล้เคียงกับข้อสมมติเดิม
6. ในปีงบประมาณ 2550 - 2551 ข้อสมมติรายจ่ายเพื่อการอุปโภคของภาครัฐปรับสูงขึ้นกว่าเดิม ขณะที่ ข้อสมมติการลงทุนของภาครัฐปรับลดลงเล็กน้อย
สำหรับความเสี่ยงต่างๆ ที่มีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไปนั้น ที่อาจทำให้เศรษฐกิจขยายตัว ต่ำกว่ากรณีฐานมาจาก ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่อาจปรับสูงขึ้นจากอุปทานน้ำมันที่ค่อนข้างผันผวน ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นรวดเร็วกว่าในกรณีฐาน และอุปสงค์จากต่างประเทศที่ต่ำกว่าคาดหากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอลงมากกว่า ข้อสมมติในกรณีฐาน ขณะที่ความเสี่ยงที่อาจทำให้เศรษฐกิจขยายตัวสูงกว่ากรณีฐานคือ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่อาจปรับดีขึ้นหากทางการมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งรวมถึงนโยบายการเงินที่อยู่ในแนวทางที่ผ่อนคลายมากกว่าเดิม และแรงกระตุ้นจากภาคการคลังที่เพิ่มขึ้น หากรัฐบาลสามารถเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณได้ตามเป้าหมาย
ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่ามีโอกาสประมาณร้อยละ 94.3 ที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2550 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 3.8 - 4.8 และมีโอกาสร้อยละ 90.8 ที่เศรษฐกิจในปี 2551 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 4.3 - 5.8 ส่วนความเสี่ยงต่างๆ ที่มีต่ออัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไปนั้น ที่อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงกว่ากรณีฐาน คือราคาน้ำมัน ราคาพืชผลเกษตร และการปรับขึ้นราคาสินค้าในบัญชีสินค้าและบริการควบคุมของกระทรวงพาณิชย์ ขณะที่อุปสงค์ในประเทศที่ซบเซา และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น อาจจะทำให้อัตราเงินเฟ้อต่ำกว่า กรณีฐานได้ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2550 จะชะลอตัวต่อเนื่องจากปีก่อนและเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 - 2.5 และในปี 2551 คณะกรรมการฯ ใช้ช่วงประมาณการที่กว้างขึ้น คือ ร้อยละ 1 - 2.5 สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1 - 2 ทั้งในปี 2550 และปี 2551
การดำเนินนโยบายการเงินในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
การตัดสินด้านนโยบายของคณะกรรมการฯ มีประเด็นสำคัญในการพิจารณา ดังนี้
1. ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550 คณะกรรมการฯ เห็นว่า เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 และเดือนมกราคม 2550 สะท้อนการชะลอตัวต่อเนื่องของอุปสงค์ภายในประเทศ ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลง ทำให้คณะกรรมการฯ ประเมินว่าความเสี่ยงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไปมีมากกว่าความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ จึงมีมติให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก ร้อยละ 4.75 ต่อปี เป็นร้อยละ 4.50 ต่อปี
2. ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2550 คณะกรรมการฯ เห็นว่า อุปสงค์ภายในประเทศชะลอตัวลงมากกว่าที่คาดไว้ ทั้งการบริโภคและการลงทุน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อปรับลดลงต่อเนื่อง ทำให้คณะกรรมการฯ มีมติให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 4.50 ต่อปี เป็นร้อยละ 4.00 ต่อปี โดยประเมินว่าแรงกดดันด้านราคาที่จะอยู่ในระดับต่ำ และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่น่าจะอยู่ในช่วงเป้าหมายได้ในช่วง 8 ไตรมาสข้างหน้า ทำให้นโยบายการเงินสามารถผ่อนคลายได้มากขึ้นเพื่อเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยไม่สร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ
ข้อมูลเพิ่มเติม : วรารัตน์ เขมังกรณ์ โทร. 0 2356 7876 E-mail: vararatk@bot.or.th
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--