ภาคเกษตรยังคงมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ เพราะนอกจากจะก่อให้เกิดรายได้แล้ว คนส่วนใหญ่ของประเทศยังมีอาชีพทำการเกษตร และผลการพัฒนาการเกษตรที่ผ่านมา พบว่า รายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรโดยรวมดีขึ้น แม้แต่ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมาภาคการเกษตรได้รับผลกระทบน้อยกว่าภาคอื่น ๆ ของประเทศ เป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายหลายด้าน รวมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรทำการเกษตรในแนวทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาบ้างแล้ว
อย่างไรก็ตาม ยังมีความแตกต่างของรายได้จากคนในภาคการเกษตรและภาคผลิตอื่นมาก ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตสินค้าเกษตร ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัฒน์ การรวมตัวทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศแบบทวิภาคีและพหุภาคี ได้ส่งผลกระทบที่สำคัญต่อภาค การเกษตรและเกษตรกรของไทย ทำให้ประเทศไทยต้องมีการปรับตัวรับสถานการณ์ โดยเฉพาะเกษตรกร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้ยกร่างแผนพัฒนาภาคเกษตร เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการดำเนินงานของภาคเกษตร ซึ่งเน้นนโยบายให้เกษตรกรเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา โดยใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเกษตรกรรายย่อย หรือเกษตรกรที่มีที่ดินทำกินน้อยจะส่งเสริมการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ ผลิตเพื่อเป็นฐานให้พึ่งตนเองได้ เกษตรกรขนาดกลาง หรือเกษตรกรก้าวหน้า ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายดำเนินการรวมพลังช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์ ให้ความสำคัญกับการผลิตจากองค์ความรู้และวิทยการสมัยใหม่ที่ผสมผสานกับเทคโนโลยีพื้นฐานและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นตัวขับเคลื่อน สำหรับเกษตรกรรายใหญ่ หรือเกษตรพาณิชย์ เน้นการอำนวยความสะดวกทางการค้า และพัฒนาการผลิตให้มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค โดยมี
วิสัยทัศน์ ดูแลเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่พอเพียง และผาสุก
พันธกิจ ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทุกครัวเรือน พัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้มีความผาสุก โดยมีดัชนีชี้วัดความผาสุกของเกษตรกร 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขอนามัย ด้านการศึกษา ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่มีมาตรฐานปลอดภัยต่อผู้บริโภคทั้งภายในและ ต่างประเทศ
เป้าหมาย (1) ครัวเรือนเกษตรยากจนลดลงเหลือร้อยละ 4 ในปี 2554
(2) ครัวเรือนเกษตรไม่ต่ำกว่า 1 ใน 4 ทำการเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(3) สนับสนุนให้ครัวเรือนเกษตรลดการใช้สารเคมีในฟาร์ม
(4) อัตราการเติบโตของสาขาเกษตรเฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี
(5) ฟาร์ม / โรงงานที่ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารมีมาตรฐาน
ยุทธศาสตร์การพัฒนา ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่
1. การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
2. พัฒนาสินค้าเกษตร
3. บริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร
4. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
อย่างไรก็ตาม ยังมีความแตกต่างของรายได้จากคนในภาคการเกษตรและภาคผลิตอื่นมาก ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตสินค้าเกษตร ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัฒน์ การรวมตัวทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศแบบทวิภาคีและพหุภาคี ได้ส่งผลกระทบที่สำคัญต่อภาค การเกษตรและเกษตรกรของไทย ทำให้ประเทศไทยต้องมีการปรับตัวรับสถานการณ์ โดยเฉพาะเกษตรกร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้ยกร่างแผนพัฒนาภาคเกษตร เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการดำเนินงานของภาคเกษตร ซึ่งเน้นนโยบายให้เกษตรกรเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา โดยใช้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเกษตรกรรายย่อย หรือเกษตรกรที่มีที่ดินทำกินน้อยจะส่งเสริมการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ ผลิตเพื่อเป็นฐานให้พึ่งตนเองได้ เกษตรกรขนาดกลาง หรือเกษตรกรก้าวหน้า ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายดำเนินการรวมพลังช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์ ให้ความสำคัญกับการผลิตจากองค์ความรู้และวิทยการสมัยใหม่ที่ผสมผสานกับเทคโนโลยีพื้นฐานและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นตัวขับเคลื่อน สำหรับเกษตรกรรายใหญ่ หรือเกษตรพาณิชย์ เน้นการอำนวยความสะดวกทางการค้า และพัฒนาการผลิตให้มีคุณภาพ ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค โดยมี
วิสัยทัศน์ ดูแลเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่พอเพียง และผาสุก
พันธกิจ ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทุกครัวเรือน พัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้มีความผาสุก โดยมีดัชนีชี้วัดความผาสุกของเกษตรกร 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขอนามัย ด้านการศึกษา ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่มีมาตรฐานปลอดภัยต่อผู้บริโภคทั้งภายในและ ต่างประเทศ
เป้าหมาย (1) ครัวเรือนเกษตรยากจนลดลงเหลือร้อยละ 4 ในปี 2554
(2) ครัวเรือนเกษตรไม่ต่ำกว่า 1 ใน 4 ทำการเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(3) สนับสนุนให้ครัวเรือนเกษตรลดการใช้สารเคมีในฟาร์ม
(4) อัตราการเติบโตของสาขาเกษตรเฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี
(5) ฟาร์ม / โรงงานที่ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารมีมาตรฐาน
ยุทธศาสตร์การพัฒนา ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่
1. การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
2. พัฒนาสินค้าเกษตร
3. บริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร
4. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-