อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่ค่อยจะสู้ดีนัก ทั้งภาวะการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ที่แข็งค่าสูงสุดในรอบหลายปี และการที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปหรือจีเอสพีของสินค้าไทย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ เครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยทอง ทำให้ส่งทางผลลบบ้าง แต่โดยรวมมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่า 856.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2550 ที่มีมูลค่าการส่งออกโดยรวม 1,033.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงคิดเป็นร้อยละ 17.11 โดยมีมูลค่าการนำเข้าโดยรวมสูงถึง 1,145.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2550 ที่มีมูลค่าการนำเข้าโดยรวม 903.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 26.77
การผลิต
การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณและของที่เกี่ยวข้องกัน ในไตรมาส 2 ปี 2550
เมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรมเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน การผลิตและการจำหน่ายลดลงร้อยละ 17.98 และ 14.90 ซึ่งลดลงมาก ด้านดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.36 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่การผลิต และการจำหน่าย ลดลงร้อยละ 14.59 และ 11.52 ด้านดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.04 หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
การตลาด
การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 856.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 17.11 เป็นผลจากการส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปลดลง ซึ่งลดลงถึงร้อยละ 63.72 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 61.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่
1. อัญมณี ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 293.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 5.16 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ เบลเยี่ยม อิสราเอล และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.25, 20.96 และ 15.84 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์อัญมณีที่สำคัญมีดังนี้
1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 219.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.51 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ เบลเยี่ยม อิสราเอล และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29.01, 28.59 และ 16.12 ตามลำดับ
1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 73.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 18.08 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32.09, 14.21 และ 12.03 ตามลำดับ
2. เครื่องประดับแท้ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 395.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.08, 9.99 และ 6.27 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้ ที่สำคัญมีดังนี้
2.1 ทำด้วยเงิน ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 175.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.51 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนีและ สหราชอาณาจักร คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.42, 8.9 และ 8.53 ตามลำดับ
2.2 ทำด้วยทอง ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 193 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 14.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.22, 11.35 และ 5.00 ตามลำดับ
3. เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 42.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.27 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 51.23, 21.73 และ 6.05 ตามลำดับ
4. อัญมณีสังเคราะห์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 12.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 4.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง และอินโดเนียเซีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 62.45, 14.31 และ 6.37 ตามลำดับ
5. ทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป มูลค่าการส่งออก 80 ล้านเหรียญสหรัฐ มีขนาดการหดตัวของมูลค่าการส่งออกอย่างเห็นได้ชัด คือ ลดลงร้อยละ 63.72 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ที่มีมูลค่าการส่งออก 220.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ลดลงร้อยละ 61.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย สวิตเซอร์แลนด์และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.05, 24.66 และ 21.62 ตามลำดับ
การนำเข้า
ช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ไทยนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1,145.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.77 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.51 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การนำเข้าส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าวัตถุดิบ เช่น เพชร พลอย ทองคำ เงิน โลหะมีค่าและโลหะอื่น ๆ เป็นต้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 98.04 ของการนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
ประเทศที่เป็นแหล่งนำเข้าหลักของเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย อินเดีย และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 17.85, 15.89, 9.14 และ 8.17 ตามลำดับ
ขณะที่นำเข้าเครื่องประดับอัญมณีมีมูลค่าทั้งสิ้น 60.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นพอสมควรถึงร้อยละ 13.84 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นอย่างมากร้อยละ 20.68 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ประเทศที่เป็นแหล่งนำเข้าหลักของเครื่องประดับอัญมณี ได้แก่ ฮ่องกง อิตาลี และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 18.42, 14.18, และ 8.50 ตามลำดับ
สรุปและแนวโน้ม
ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีการชะลอตัวอย่างมากทั้งด้านการผลิตที่หดตัวลดลงกว่าร้อยละ 17.98 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา อีกทั้งการจำหน่ายได้หดตัวลดลงร้อยละ 14.59 ด้านการส่งออกมีการหดตัวอย่างมากคือ ลดลงร้อยละ 17.11 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา การส่งออกที่หดตัวลงนี้ทำให้ยิ่งห่างจากเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ในปีนี้คือ ขยายตัวร้อยละ 20 จากยอดรวมมูลค่าการส่งออกของปี 2549 ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้เป็นผลิตภัณฑ์หลักที่มีผลต่อมูลค่าการส่งออกในทางบวกคือ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และขยายตัวร้อยละ 7.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเครื่องประดับแท้มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 46.17 ของการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด จึงนับได้ว่าเป็นตัวขับเคลื่อนการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ส่วนด้านการนำเข้าสินค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบในไตรมาสนี้ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากร้อยละ 26.77 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 เนื่องจากอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีการส่งออกผลิตภัณฑ์เป็นมูลค่าที่สูง และการนำเข้าวัตถุดิบก็มีมูลค่าสูงมากเช่นกัน ดังนั้นการที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้นย่อมมีผลกระทบต่อการส่งออกและการนำเข้า ด้านการส่งออก ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยเน้นการเพิ่มมูลค่า จึงส่งออกและจำหน่ายในตลาดระดับกลางถึงตลาดระดับบนขึ้นไป ซึ่งสามารถจำหน่ายได้ราคาสูง ทำให้ปัญหาปัจจัยค่าเงินบาทแข็งมีผลกระทบเล็กน้อย ดังนั้นผู้ประกอบการส่วนน้อยที่ยังไม่ปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์แบบเน้นเพิ่มมูลค่า จึงควรเร่งปรับเปลี่ยน อย่างไรก็ดีหากในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2550 การที่ค่าเงินบาทยังแข็งอยู่ที่ระดับเฉลี่ยประมาณ 33.5 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ หรือมีค่าแข็งไปกว่านี้ และประเด็นกระแสข่าวที่ไทยจะถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปหรือจีเอสพีจากประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ต้นปี 2550 ได้ส่งผลกระทบด้านจิตวิทยา ทำให้ผู้นำเข้าในประเทศสหรัฐอเมริกาหันไปนำเข้าจากประเทศอื่นเพิ่มขึ้น เพราะการถูกตัดจีเอสพีจะทำให้สินค้าไทยมีภาระต้นทุนที่สูงขึ้น จึงคาดว่าการส่งออกจะคงยังหดตัวต่อไป ส่วนด้านการนำเข้าสินค้าของอุตสาหกรรมนี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบ ย่อมได้รับผลดีจากการแข็งค่าของเงินบาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นโอกาสดีในการมีวัตถุดิบที่ต้นทุนถูกลง สามารถนำมาผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิต
การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณและของที่เกี่ยวข้องกัน ในไตรมาส 2 ปี 2550
เมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรมเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน การผลิตและการจำหน่ายลดลงร้อยละ 17.98 และ 14.90 ซึ่งลดลงมาก ด้านดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.36 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่การผลิต และการจำหน่าย ลดลงร้อยละ 14.59 และ 11.52 ด้านดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.04 หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
การตลาด
การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 856.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 17.11 เป็นผลจากการส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปลดลง ซึ่งลดลงถึงร้อยละ 63.72 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 61.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่
1. อัญมณี ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 293.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 5.16 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ เบลเยี่ยม อิสราเอล และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.25, 20.96 และ 15.84 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์อัญมณีที่สำคัญมีดังนี้
1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 219.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.51 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ เบลเยี่ยม อิสราเอล และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29.01, 28.59 และ 16.12 ตามลำดับ
1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 73.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 18.08 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32.09, 14.21 และ 12.03 ตามลำดับ
2. เครื่องประดับแท้ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 395.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.08, 9.99 และ 6.27 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้ ที่สำคัญมีดังนี้
2.1 ทำด้วยเงิน ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 175.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.51 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนีและ สหราชอาณาจักร คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.42, 8.9 และ 8.53 ตามลำดับ
2.2 ทำด้วยทอง ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 193 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 14.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.22, 11.35 และ 5.00 ตามลำดับ
3. เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 42.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.27 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 51.23, 21.73 และ 6.05 ตามลำดับ
4. อัญมณีสังเคราะห์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 12.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 4.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง และอินโดเนียเซีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 62.45, 14.31 และ 6.37 ตามลำดับ
5. ทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป มูลค่าการส่งออก 80 ล้านเหรียญสหรัฐ มีขนาดการหดตัวของมูลค่าการส่งออกอย่างเห็นได้ชัด คือ ลดลงร้อยละ 63.72 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ที่มีมูลค่าการส่งออก 220.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ลดลงร้อยละ 61.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย สวิตเซอร์แลนด์และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.05, 24.66 และ 21.62 ตามลำดับ
การนำเข้า
ช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ไทยนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1,145.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.77 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.51 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การนำเข้าส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าวัตถุดิบ เช่น เพชร พลอย ทองคำ เงิน โลหะมีค่าและโลหะอื่น ๆ เป็นต้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 98.04 ของการนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
ประเทศที่เป็นแหล่งนำเข้าหลักของเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย อินเดีย และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 17.85, 15.89, 9.14 และ 8.17 ตามลำดับ
ขณะที่นำเข้าเครื่องประดับอัญมณีมีมูลค่าทั้งสิ้น 60.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นพอสมควรถึงร้อยละ 13.84 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นอย่างมากร้อยละ 20.68 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ประเทศที่เป็นแหล่งนำเข้าหลักของเครื่องประดับอัญมณี ได้แก่ ฮ่องกง อิตาลี และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 18.42, 14.18, และ 8.50 ตามลำดับ
สรุปและแนวโน้ม
ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีการชะลอตัวอย่างมากทั้งด้านการผลิตที่หดตัวลดลงกว่าร้อยละ 17.98 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา อีกทั้งการจำหน่ายได้หดตัวลดลงร้อยละ 14.59 ด้านการส่งออกมีการหดตัวอย่างมากคือ ลดลงร้อยละ 17.11 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา การส่งออกที่หดตัวลงนี้ทำให้ยิ่งห่างจากเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ในปีนี้คือ ขยายตัวร้อยละ 20 จากยอดรวมมูลค่าการส่งออกของปี 2549 ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้เป็นผลิตภัณฑ์หลักที่มีผลต่อมูลค่าการส่งออกในทางบวกคือ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และขยายตัวร้อยละ 7.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเครื่องประดับแท้มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 46.17 ของการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด จึงนับได้ว่าเป็นตัวขับเคลื่อนการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ส่วนด้านการนำเข้าสินค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบในไตรมาสนี้ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากร้อยละ 26.77 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 เนื่องจากอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีการส่งออกผลิตภัณฑ์เป็นมูลค่าที่สูง และการนำเข้าวัตถุดิบก็มีมูลค่าสูงมากเช่นกัน ดังนั้นการที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้นย่อมมีผลกระทบต่อการส่งออกและการนำเข้า ด้านการส่งออก ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยเน้นการเพิ่มมูลค่า จึงส่งออกและจำหน่ายในตลาดระดับกลางถึงตลาดระดับบนขึ้นไป ซึ่งสามารถจำหน่ายได้ราคาสูง ทำให้ปัญหาปัจจัยค่าเงินบาทแข็งมีผลกระทบเล็กน้อย ดังนั้นผู้ประกอบการส่วนน้อยที่ยังไม่ปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์แบบเน้นเพิ่มมูลค่า จึงควรเร่งปรับเปลี่ยน อย่างไรก็ดีหากในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2550 การที่ค่าเงินบาทยังแข็งอยู่ที่ระดับเฉลี่ยประมาณ 33.5 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ หรือมีค่าแข็งไปกว่านี้ และประเด็นกระแสข่าวที่ไทยจะถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปหรือจีเอสพีจากประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ต้นปี 2550 ได้ส่งผลกระทบด้านจิตวิทยา ทำให้ผู้นำเข้าในประเทศสหรัฐอเมริกาหันไปนำเข้าจากประเทศอื่นเพิ่มขึ้น เพราะการถูกตัดจีเอสพีจะทำให้สินค้าไทยมีภาระต้นทุนที่สูงขึ้น จึงคาดว่าการส่งออกจะคงยังหดตัวต่อไป ส่วนด้านการนำเข้าสินค้าของอุตสาหกรรมนี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบ ย่อมได้รับผลดีจากการแข็งค่าของเงินบาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นโอกาสดีในการมีวัตถุดิบที่ต้นทุนถูกลง สามารถนำมาผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-