โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ระบุ ที่มาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ควรมาจากการคัดเลือกของหลายฝ่ายเพื่อให้เกิดความหลากหลาย พร้อมยืนยันไม่เห็นด้วยกับความคิดให้นายกรัฐมนตรี มาจากคนนอก
วันนี้(11 มี.ค.50 ) นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการแทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระที่จะเข้าไปตรวจสอบเรื่องสำคัญต่างๆ ในขณะนี้ที่กำลังอยู่ระหว่างการแสดงความเห็นเรื่องยกร่างรัฐธรรมนูญ จึงเป็นช่วงเวลาที่สำคัญ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เห็นว่า ที่มาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)ควรมาจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเลือกกันเอง 2 คน ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองเลือกกันเอง 1 คน สภาทนายความเลือกกันเอง 1 คน ที่ประชุมใหญ่คณะกรรมการกฤษฎีกาเลือกกันเอง 1 คน และคณะบดีจากทุกมหาวิทยาลัยเลือกอีก 2 คน เพื่อให้เกิดความหลากหลาย ควรให้มี ปปช. ในระดับภาคและจังหวัด ที่จะช่วยให้เกิดการตรวจสอบในระดับท้องถิ่น ทั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยกับความคิดที่จะให้นายกรัฐมนตรีมาจากคนนอก และไม่ควรมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ( สส.) ระบบบัญชีรายชื่ออีกต่อไป เนื่องจากควรได้รับความเห็นชอบจากประชาชนเสียงข้างมาก รวมทั้งไม่เห็นด้วยที่สมาชิกวุฒิสภา(สว.) จะมาจากการแต่งตั้ง
นายองอาจ กล่าวอีกว่า พรรคประชาธิปัตย์ ยังเห็นว่าควรให้มีการแยกศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ตะลาการรัฐธรรมนูญจะทำหน้าที่พิจารณาคดีสำคัญเป็นบางคดี ไม่ใช่องค์กรประจำเพื่อไม่ให้เกิดการแทรกแซง และควรมีที่มาจากการประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกกันเอง 3 คน ศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกกันเอง 2 คน กฤษฎีกาคัดเลือกกันเอง 2 คน ส่วนภาคประชาชน ควรให้คณะบดีของทุกมหาวิทยาลัยในคณะนิติศาสตร์คัดเลือก 1 คน และคณะรัฐศาสตร์คัดเลือกอีก 1 คน ส่วนศาลรัฐธรรมนูญ ควรมีหน้าที่เฉพาะการวินิจฉัยเรื่องการร่างพระราชบัญญัติต่างๆ ที่ไม่ให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือการพิจารณาเพียงเรื่องข้อกฎหมายเท่านั้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 มี.ค. 2550--จบ--
วันนี้(11 มี.ค.50 ) นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการแทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระที่จะเข้าไปตรวจสอบเรื่องสำคัญต่างๆ ในขณะนี้ที่กำลังอยู่ระหว่างการแสดงความเห็นเรื่องยกร่างรัฐธรรมนูญ จึงเป็นช่วงเวลาที่สำคัญ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เห็นว่า ที่มาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)ควรมาจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเลือกกันเอง 2 คน ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองเลือกกันเอง 1 คน สภาทนายความเลือกกันเอง 1 คน ที่ประชุมใหญ่คณะกรรมการกฤษฎีกาเลือกกันเอง 1 คน และคณะบดีจากทุกมหาวิทยาลัยเลือกอีก 2 คน เพื่อให้เกิดความหลากหลาย ควรให้มี ปปช. ในระดับภาคและจังหวัด ที่จะช่วยให้เกิดการตรวจสอบในระดับท้องถิ่น ทั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยกับความคิดที่จะให้นายกรัฐมนตรีมาจากคนนอก และไม่ควรมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ( สส.) ระบบบัญชีรายชื่ออีกต่อไป เนื่องจากควรได้รับความเห็นชอบจากประชาชนเสียงข้างมาก รวมทั้งไม่เห็นด้วยที่สมาชิกวุฒิสภา(สว.) จะมาจากการแต่งตั้ง
นายองอาจ กล่าวอีกว่า พรรคประชาธิปัตย์ ยังเห็นว่าควรให้มีการแยกศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ตะลาการรัฐธรรมนูญจะทำหน้าที่พิจารณาคดีสำคัญเป็นบางคดี ไม่ใช่องค์กรประจำเพื่อไม่ให้เกิดการแทรกแซง และควรมีที่มาจากการประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกกันเอง 3 คน ศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกกันเอง 2 คน กฤษฎีกาคัดเลือกกันเอง 2 คน ส่วนภาคประชาชน ควรให้คณะบดีของทุกมหาวิทยาลัยในคณะนิติศาสตร์คัดเลือก 1 คน และคณะรัฐศาสตร์คัดเลือกอีก 1 คน ส่วนศาลรัฐธรรมนูญ ควรมีหน้าที่เฉพาะการวินิจฉัยเรื่องการร่างพระราชบัญญัติต่างๆ ที่ไม่ให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือการพิจารณาเพียงเรื่องข้อกฎหมายเท่านั้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 มี.ค. 2550--จบ--