ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ชี้ไม่มีอำนาจกำหนดสิทธิในการถือครองบัตรเครดิตของผู้ใช้บัตรเครดิต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) จะเชิญ ธปท.ไปหารือถึงแนวทางจำกัดการทำบัตรเครดิต
ของลูกค้าไม่ให้มากเกินไปว่า ขณะนี้ ธปท.ยังไม่ได้รับการติดต่อจาก สคบ. อย่างไรก็ตาม การเข้าไปดูแลการใช้บัตรเครดิตของประชาชนนั้น
สคบ.ไม่ต้องหารือกับ ธปท.ก็ได้ เพราะ สคบ.มีอำนาจในการดูแลเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ มาตรการกำกับดูแลการใช้บัตรเครดิตของ
ธปท.ในขณะนี้มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่สามารถขอสินเชื่อบัตรเครดิตไว้ว่าจะต้องเป็นผู้มีรายได้ประจำไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน และ
วงเงินสินเชื่อจะต้องไม่เกิน 5 เท่าของเงินเดือน หรือเป็นผู้มีเงินฝากอย่างน้อย 500,000 บาท หรือการลงทุนในตราสารหนี้ที่ ธพ. องค์กร
ของรัฐ และรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ออกเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทอย่างน้อย 6 เดือน (กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์, มติชน)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีภาคการค้าและบริการเดือน พ.ย.49 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 46.3 ผอ.สำนักงานส่งเสริม
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการ
(Trade & Service Sentiment Index : TSSI) ประจำเดือน พ.ย.49 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ
ขนาดย่อม (SMEs) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยภาคการค้าและบริการ เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 46.3 จากระดับ
45.5 ภาคการค้าส่งและค้าปลีก อยู่ที่ระดับ 44.9 จากระดับ 44.3 ส่วนภาคบริการ อยู่ที่ระดับ 48.4 จากระดับ 47.2 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นต่อ
ธุรกิจตนเองของเอสเอ็มอี ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 43.8 จากระดับ 43.1 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ปรับตัวลดลง
มาอยู่ที่ระดับ 41.3 จากระดับ 43.6 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นประจำเดือน พ.ย.49 นี้ สาขาธุรกิจที่มีระดับความเชื่อมั่นสูง คือ สถานีบริการน้ำมัน
ซึ่งอยู่ที่ระดับ 52.9 จากระดับ 49.3 รองลงมา คือ การท่องเที่ยว อยู่ที่ระดับ 52.7 จากระดับ 49.3 (ผู้จัดการรายวัน)
3. สศช.เผยครัวเรือนไทยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันพบว่าครัวเรือนไทยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วง 9 เดือนแรกของปี 49 มีรายจ่ายรวม
3,271,006 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 48 ถึง 269,597 ล้านบาท โดยมีปัจจัยจากราคาน้ำมัน ราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงการ
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของคนชุมชนเมืองที่ชอบรับประทานอาหารนอกบ้าน และเพิ่มกิจกรรมพักผ่อนคลายความเครียดจากปัญหาการงาน
การเมือง หรือค่าครองชีพที่สูงขึ้น (ผู้จัดการรายวัน)
4. ยอดคนไทยเดินทางไปต่างประเทศปี 49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากปี 48 นายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (ทีทีเอเอ) ผู้ทำ
ธุรกิจท่องเที่ยวต่างประเทศ เปิดเผยว่า ยอดคนไทยเดินทางไปต่างประเทศตลอดปี 49 ยังมีการเติบโตจากปี 48 ถึงร้อยละ 10 โดยมีการเดินทาง
ออกนอกประเทศรวม 3.3 ล้านคนจากปีก่อนหน้าที่มีจำนวน 3 ล้านคน แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจและการเมืองจะยังไม่แน่นอนก็ตาม โดยส่วนใหญ่จะนิยม
เดินทางในทวีปเอเชียเป็นหลัก เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว เวียดนาม ที่ขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 10 เนื่องจากสามารถ
เดินทางง่ายและค่าใช้จ่ายไม่สูงนักเมื่อเทียบกับการท่องเที่ยวในประเทศด้วยเครื่องบิน ส่วนตลาดระยะไกลในแถบยุโรป สรอ. พบว่ามียอดเดินทาง
ไม่เพิ่ม เนื่องจากต้นทุนการเดินทางสูงขึ้นจากราคาน้ำมัน รวมถึงการขออนุญาตหนังสือเดินทาง (วีซ่า) ทำได้ยากขึ้น เพราะมีการรักษาความ
ปลอดภัยสูง โดยเฉพาะช่วงเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้กลุ่มคนที่คิดเดินทางลดลง (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. การจ้างงานของ สรอ.ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในเดือน ธ.ค.49 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 5 ม.ค.49 ก.แรงงาน
เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานของ สรอ.ในเดือน ธ.ค.49 อยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ตัวเลขการจ้างงาน
เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 167,000 อัตรา เหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะมีการจ้างงานเพียง 100,000 อัตรา สะท้อนภาพ
ความแข็งแกร่งของตลาดแรงงาน สรอ. โดยเป็นการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในภาคบริการจำนวน 178,000 อัตรา ขณะที่การจ้างงานในภาคการผลิต
ลดลงจำนวน 11,000 อัตรา สำหรับตัวเลขจำนวนชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์ในเดือน ธ.ค.อยู่ที่ 33.9 ชั่วโมง ไม่เปลี่ยนแปลงจาก
เดือนก่อนหน้า ขณะที่จำนวนชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาเฉลี่ยต่อสัปดาห์อยู่ที่ 4.3 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจาก 4.2 ชั่วโมงในเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้
ตัวเลขรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือน ธ.ค. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่เคยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ล้วน
เป็นปัจจัยที่อาจส่งผลให้ ธ.กลาง สรอ.เกิดความกังวลเกี่ยวกับการเกิดภาวะเงินเฟ้อ (รอยเตอร์)
2. อัตราว่างงานของ Euro zone ในเดือน พ.ย.49 ลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 13 ปี รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ
5 ม.ค.50 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานอัตราว่างงานของ Euro zone ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 7.6 ในเดือน พ.ย.49
จากร้อยละ 7.7 ในเดือน ต.ค.49 โดยอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่มีการเก็บตัวเลขดังกล่าวในปี 36 สอดคล้องกับอัตราว่างงานในเยอรมนีและ
ฝรั่งเศสซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 1 และ 2 ของ Euro zone ที่ลดลงร้อยละ 0.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 8.0 และ 8.6 ตามลำดับ ทั้งนี้
เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจของ Euro zone ที่ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.6 ในปี 49 ก่อนที่ชะลอตัวลงเหลือร้อยละ
2.1 ในปี 50 ในขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือนเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบต่อปีอันเป็นผลจากราคาพลังงานและวัตถุดิบที่สูงขึ้นในช่วง
ต้นปี 49 เช่นเดียวกับยอดค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ต่อปีเมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.48 นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่จากผลสำรวจโดยรอยเตอร์จึง
คาดว่า ธ.กลางยุโรปหรือ ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 เป็น 3.75 ต่อปีภายในเดือน ก.พ.หรือ มี.ค.50 นี้ และขึ้นอัตราดอกเบี้ย
อีกครั้งเป็นร้อยละ 4.0 ภายในไตรมาสที่ 3 ปี 50 ในขณะที่ผลสำรวจครั้งก่อนเมื่อกลางเดือน ธ.ค.49 ที่ผ่านมาคาดว่าจะไม่เห็นอัตราดอกเบี้ยที่
ร้อยละ 4.0 ต่อปีจนกว่าจะถึงไตรมาสสุดท้ายปี 50 (รอยเตอร์)
3. ราคาผู้ผลิตของเกาหลีใต้ในเดือน ธ.ค.49 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบ 3 เดือน รายงานจากโซล เมื่อ 7 ม.ค.49 ธ.กลาง
เกาหลีใต้รายงานราคาผู้ผลิตของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ในเดือน ธ.ค.49 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.48 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบ
3 เดือนนับตั้งแต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ในเดือน ก.ย.49 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ในเดือน พ.ย.49 โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากราคาพลังงาน
และน้ำประปาที่สูงขึ้นร้อยละ 6.0 และราคาอาหารที่สูงขึ้นร้อยละ 2.2 ทั้งนี้ราคาผู้ผลิตเป็นตัวชี้แนวโน้มราคาผู้บริโภคที่จะตามมาในภายหลัง
(รอยเตอร์)
4. ยอดการส่งออกของมาเลเซียเดือน พ.ย.49 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 2 ปี รายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
เมื่อวันที่ 7 ม.ค.50 ทางการมาเลเซียเปิดเผยว่า ยอดการส่งออกสินค้าของมาเลเซียในเดือน พ.ย.49 พลิกฟื้นเติบโตเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 2 ปี
หลังจากที่ลดลงอย่างไม่คาดคิดในเดือน ต.ค.49 จากยอดขายที่เพิ่มขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเคมีภัณฑ์ โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5
จากปีก่อน สูงสุดนับตั้งแต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 ในเดือน ต.ค.47 และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 ทั้งนี้ เป็นการพลิกฟื้น
กลับหลังจากที่ยอดการส่งออกลดลงอย่างไม่คาดคิดร้อยละ 3.4 เมื่อเดือน ต.ค.49 ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบเกือบ 5 ปี เนื่องจากยอด
ขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ลดลงและช่วงเวลาการทำงานลดลงเนื่องจากเป็นเดือนที่มีวันหยุดทางศาสนาอิสลาม ในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ
21 จากปีก่อน เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าจากที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ระดับร้อยละ 12 ด้านการได้เปรียบดุลการค้าในเดือน พ.ย.49 ขยายตัว
เพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 8.8 พันล้านริงกิต (2.50 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) จากระดับ 8.6 พันล้านริงกิต (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 8 ม.ค. 50 5 ม.ค. 50 31 ม.ค. 49 แหล่ง
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.987 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.7355/36.1033 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12125 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 628.19/16.60 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,350/10,450 10,600/10,700 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 52.02 51.07 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเมื่อ 23 ธ.ค. 49 ** ปรับเมื่อ 16 ธ.ค. 49 26.49*/22.94 26.49*/23.34** 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ชี้ไม่มีอำนาจกำหนดสิทธิในการถือครองบัตรเครดิตของผู้ใช้บัตรเครดิต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) จะเชิญ ธปท.ไปหารือถึงแนวทางจำกัดการทำบัตรเครดิต
ของลูกค้าไม่ให้มากเกินไปว่า ขณะนี้ ธปท.ยังไม่ได้รับการติดต่อจาก สคบ. อย่างไรก็ตาม การเข้าไปดูแลการใช้บัตรเครดิตของประชาชนนั้น
สคบ.ไม่ต้องหารือกับ ธปท.ก็ได้ เพราะ สคบ.มีอำนาจในการดูแลเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ มาตรการกำกับดูแลการใช้บัตรเครดิตของ
ธปท.ในขณะนี้มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่สามารถขอสินเชื่อบัตรเครดิตไว้ว่าจะต้องเป็นผู้มีรายได้ประจำไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน และ
วงเงินสินเชื่อจะต้องไม่เกิน 5 เท่าของเงินเดือน หรือเป็นผู้มีเงินฝากอย่างน้อย 500,000 บาท หรือการลงทุนในตราสารหนี้ที่ ธพ. องค์กร
ของรัฐ และรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ออกเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทอย่างน้อย 6 เดือน (กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์, มติชน)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีภาคการค้าและบริการเดือน พ.ย.49 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 46.3 ผอ.สำนักงานส่งเสริม
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการ
(Trade & Service Sentiment Index : TSSI) ประจำเดือน พ.ย.49 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและ
ขนาดย่อม (SMEs) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยภาคการค้าและบริการ เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 46.3 จากระดับ
45.5 ภาคการค้าส่งและค้าปลีก อยู่ที่ระดับ 44.9 จากระดับ 44.3 ส่วนภาคบริการ อยู่ที่ระดับ 48.4 จากระดับ 47.2 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นต่อ
ธุรกิจตนเองของเอสเอ็มอี ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 43.8 จากระดับ 43.1 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ปรับตัวลดลง
มาอยู่ที่ระดับ 41.3 จากระดับ 43.6 สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นประจำเดือน พ.ย.49 นี้ สาขาธุรกิจที่มีระดับความเชื่อมั่นสูง คือ สถานีบริการน้ำมัน
ซึ่งอยู่ที่ระดับ 52.9 จากระดับ 49.3 รองลงมา คือ การท่องเที่ยว อยู่ที่ระดับ 52.7 จากระดับ 49.3 (ผู้จัดการรายวัน)
3. สศช.เผยครัวเรือนไทยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันพบว่าครัวเรือนไทยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วง 9 เดือนแรกของปี 49 มีรายจ่ายรวม
3,271,006 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 48 ถึง 269,597 ล้านบาท โดยมีปัจจัยจากราคาน้ำมัน ราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงการ
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของคนชุมชนเมืองที่ชอบรับประทานอาหารนอกบ้าน และเพิ่มกิจกรรมพักผ่อนคลายความเครียดจากปัญหาการงาน
การเมือง หรือค่าครองชีพที่สูงขึ้น (ผู้จัดการรายวัน)
4. ยอดคนไทยเดินทางไปต่างประเทศปี 49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากปี 48 นายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (ทีทีเอเอ) ผู้ทำ
ธุรกิจท่องเที่ยวต่างประเทศ เปิดเผยว่า ยอดคนไทยเดินทางไปต่างประเทศตลอดปี 49 ยังมีการเติบโตจากปี 48 ถึงร้อยละ 10 โดยมีการเดินทาง
ออกนอกประเทศรวม 3.3 ล้านคนจากปีก่อนหน้าที่มีจำนวน 3 ล้านคน แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจและการเมืองจะยังไม่แน่นอนก็ตาม โดยส่วนใหญ่จะนิยม
เดินทางในทวีปเอเชียเป็นหลัก เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว เวียดนาม ที่ขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 10 เนื่องจากสามารถ
เดินทางง่ายและค่าใช้จ่ายไม่สูงนักเมื่อเทียบกับการท่องเที่ยวในประเทศด้วยเครื่องบิน ส่วนตลาดระยะไกลในแถบยุโรป สรอ. พบว่ามียอดเดินทาง
ไม่เพิ่ม เนื่องจากต้นทุนการเดินทางสูงขึ้นจากราคาน้ำมัน รวมถึงการขออนุญาตหนังสือเดินทาง (วีซ่า) ทำได้ยากขึ้น เพราะมีการรักษาความ
ปลอดภัยสูง โดยเฉพาะช่วงเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้กลุ่มคนที่คิดเดินทางลดลง (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. การจ้างงานของ สรอ.ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในเดือน ธ.ค.49 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 5 ม.ค.49 ก.แรงงาน
เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานของ สรอ.ในเดือน ธ.ค.49 อยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ตัวเลขการจ้างงาน
เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 167,000 อัตรา เหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะมีการจ้างงานเพียง 100,000 อัตรา สะท้อนภาพ
ความแข็งแกร่งของตลาดแรงงาน สรอ. โดยเป็นการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในภาคบริการจำนวน 178,000 อัตรา ขณะที่การจ้างงานในภาคการผลิต
ลดลงจำนวน 11,000 อัตรา สำหรับตัวเลขจำนวนชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์ในเดือน ธ.ค.อยู่ที่ 33.9 ชั่วโมง ไม่เปลี่ยนแปลงจาก
เดือนก่อนหน้า ขณะที่จำนวนชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาเฉลี่ยต่อสัปดาห์อยู่ที่ 4.3 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจาก 4.2 ชั่วโมงในเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้
ตัวเลขรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือน ธ.ค. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่เคยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ล้วน
เป็นปัจจัยที่อาจส่งผลให้ ธ.กลาง สรอ.เกิดความกังวลเกี่ยวกับการเกิดภาวะเงินเฟ้อ (รอยเตอร์)
2. อัตราว่างงานของ Euro zone ในเดือน พ.ย.49 ลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 13 ปี รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ
5 ม.ค.50 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานอัตราว่างงานของ Euro zone ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 7.6 ในเดือน พ.ย.49
จากร้อยละ 7.7 ในเดือน ต.ค.49 โดยอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่มีการเก็บตัวเลขดังกล่าวในปี 36 สอดคล้องกับอัตราว่างงานในเยอรมนีและ
ฝรั่งเศสซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 1 และ 2 ของ Euro zone ที่ลดลงร้อยละ 0.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 8.0 และ 8.6 ตามลำดับ ทั้งนี้
เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจของ Euro zone ที่ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.6 ในปี 49 ก่อนที่ชะลอตัวลงเหลือร้อยละ
2.1 ในปี 50 ในขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือนเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบต่อปีอันเป็นผลจากราคาพลังงานและวัตถุดิบที่สูงขึ้นในช่วง
ต้นปี 49 เช่นเดียวกับยอดค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ต่อปีเมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.48 นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่จากผลสำรวจโดยรอยเตอร์จึง
คาดว่า ธ.กลางยุโรปหรือ ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 เป็น 3.75 ต่อปีภายในเดือน ก.พ.หรือ มี.ค.50 นี้ และขึ้นอัตราดอกเบี้ย
อีกครั้งเป็นร้อยละ 4.0 ภายในไตรมาสที่ 3 ปี 50 ในขณะที่ผลสำรวจครั้งก่อนเมื่อกลางเดือน ธ.ค.49 ที่ผ่านมาคาดว่าจะไม่เห็นอัตราดอกเบี้ยที่
ร้อยละ 4.0 ต่อปีจนกว่าจะถึงไตรมาสสุดท้ายปี 50 (รอยเตอร์)
3. ราคาผู้ผลิตของเกาหลีใต้ในเดือน ธ.ค.49 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบ 3 เดือน รายงานจากโซล เมื่อ 7 ม.ค.49 ธ.กลาง
เกาหลีใต้รายงานราคาผู้ผลิตของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ในเดือน ธ.ค.49 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.48 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบ
3 เดือนนับตั้งแต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ในเดือน ก.ย.49 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ในเดือน พ.ย.49 โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากราคาพลังงาน
และน้ำประปาที่สูงขึ้นร้อยละ 6.0 และราคาอาหารที่สูงขึ้นร้อยละ 2.2 ทั้งนี้ราคาผู้ผลิตเป็นตัวชี้แนวโน้มราคาผู้บริโภคที่จะตามมาในภายหลัง
(รอยเตอร์)
4. ยอดการส่งออกของมาเลเซียเดือน พ.ย.49 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 2 ปี รายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
เมื่อวันที่ 7 ม.ค.50 ทางการมาเลเซียเปิดเผยว่า ยอดการส่งออกสินค้าของมาเลเซียในเดือน พ.ย.49 พลิกฟื้นเติบโตเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 2 ปี
หลังจากที่ลดลงอย่างไม่คาดคิดในเดือน ต.ค.49 จากยอดขายที่เพิ่มขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเคมีภัณฑ์ โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5
จากปีก่อน สูงสุดนับตั้งแต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 ในเดือน ต.ค.47 และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 ทั้งนี้ เป็นการพลิกฟื้น
กลับหลังจากที่ยอดการส่งออกลดลงอย่างไม่คาดคิดร้อยละ 3.4 เมื่อเดือน ต.ค.49 ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบเกือบ 5 ปี เนื่องจากยอด
ขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ลดลงและช่วงเวลาการทำงานลดลงเนื่องจากเป็นเดือนที่มีวันหยุดทางศาสนาอิสลาม ในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ
21 จากปีก่อน เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าจากที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ระดับร้อยละ 12 ด้านการได้เปรียบดุลการค้าในเดือน พ.ย.49 ขยายตัว
เพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 8.8 พันล้านริงกิต (2.50 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) จากระดับ 8.6 พันล้านริงกิต (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 8 ม.ค. 50 5 ม.ค. 50 31 ม.ค. 49 แหล่ง
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.987 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.7355/36.1033 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12125 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 628.19/16.60 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,350/10,450 10,600/10,700 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 52.02 51.07 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเมื่อ 23 ธ.ค. 49 ** ปรับเมื่อ 16 ธ.ค. 49 26.49*/22.94 26.49*/23.34** 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--