สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ยังคงปรับตัวลดลงอีกเล็กน้อย จากปัญหาสุกรล้นตลาดและราคาตกต่ำ แม้จะมีมาตรการเพิ่มเติมโดยการขยายการจัดจำหน่ายเนื้อสุกรราคาถูก 2 กิโลกรัม 100 บาท จากระดับจังหวัดเป็นระดับอำเภอ เพื่อเพิ่มความต้องการบริโภค และปรับลดการผลิตโดยการตัดวงจรลูกสุกรไปทำหมูหัน ปรับลดแม่พันธุ์สุกรและเก็บเนื้อสุกรเข้าห้องเย็น แต่จากข่าวการพบเชื้อไข้หวัดนกในเป็ดไล่ทุ่งและการทำลายสัตว์ปีกเพิ่มขึ้นในพื้นที่จ.พิษณุโลก และรายงานล่าสุดพบในไก่ไข่พื้นที่จ.หนองคาย ประกอบกับใกล้ช่วงเทศกาลตรุษจีน อาจทำให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะเริ่มทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.08 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.36 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.96 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 29.17 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 33.42 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 32.26 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 34.43 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 800 บาท (บวกลบ 33 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 22-28 มกราคม 2550--
-พห-
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ยังคงปรับตัวลดลงอีกเล็กน้อย จากปัญหาสุกรล้นตลาดและราคาตกต่ำ แม้จะมีมาตรการเพิ่มเติมโดยการขยายการจัดจำหน่ายเนื้อสุกรราคาถูก 2 กิโลกรัม 100 บาท จากระดับจังหวัดเป็นระดับอำเภอ เพื่อเพิ่มความต้องการบริโภค และปรับลดการผลิตโดยการตัดวงจรลูกสุกรไปทำหมูหัน ปรับลดแม่พันธุ์สุกรและเก็บเนื้อสุกรเข้าห้องเย็น แต่จากข่าวการพบเชื้อไข้หวัดนกในเป็ดไล่ทุ่งและการทำลายสัตว์ปีกเพิ่มขึ้นในพื้นที่จ.พิษณุโลก และรายงานล่าสุดพบในไก่ไข่พื้นที่จ.หนองคาย ประกอบกับใกล้ช่วงเทศกาลตรุษจีน อาจทำให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะเริ่มทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.08 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.36 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.96 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 29.17 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 33.42 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 32.26 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 34.43 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 800 บาท (บวกลบ 33 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 22-28 มกราคม 2550--
-พห-