ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. เห็นว่าไม่ควรใช้การปรับเกณฑ์เครดิตบูโรเป็นปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจ นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพ
สถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ไม่ควรนำเรื่องการนิรโทษกรรมลูกหนี้และการลดระยะเวลาการเป็นหนี้เสียในเครดิตบูโรมาเป็นปัจจัยกระตุ้น
เศรษฐกิจ เนื่องจากธุรกิจการปล่อยกู้ต้องบริหารความเสี่ยงเป็นหลัก นอกจากนี้ การใช้ระบบเครดิตบูโรเป็นเพียงแนวทางหนึ่งในการพิจารณา
เลือกลูกค้า ไม่ใช่ทั้งหมดของการตัดสินใจให้กู้เงิน เพราะวงเงินสินเชื่อขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้กู้ ไม่ใช่การลดหย่อนมาตรการให้กู้แล้วจะ
บังคับธนาคารได้ ดังนั้น การปรับเกณฑ์เครดิตบูโรเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นคนละประเด็น ควรดูให้รอบคอบ แต่หากจะมีการทำกันจริงจะเห็นด้วย
หรือไม่ หรือได้ผลแค่ไหนคงต้องแยกเป็นมองอีกประเด็น ด้านนายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า
ขณะนี้ ธปท. ไม่จำเป็นต้องออกมาตรการหรือขอความร่วมมือกับ ธ.พาณิชย์เป็นพิเศษเพื่อกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากปัจจุบัน ธ.พาณิชย์
ก็เร่งปล่อยกู้มากอยู่แล้ว เพียงแต่ภาวะเศรษฐกิจไม่อำนวยและลูกค้ายังไม่ตัดสินใจกู้ จึงไม่ควรไปกดดันธนาคารเพิ่ม แต่ควรเข้าใจระบบการ
สอบทานของธุรกิจ ธ.พาณิชย์มากกว่า ปัจจุบันมีฐานข้อมูลบัญชีสินเชื่อของลูกค้าที่อยู่ในเครดิตบูโรเพิ่มจาก 46 ล้านบัญชี หรือประมาณ 13 ล้านคน
เพิ่มเป็น 55 ล้านบัญชี อัตราการเข้าดูข้อมูลประวัติสินเชื่อของสมาชิกเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้ลูกค้า 1.1 ล้านครั้งต่อปี ส่วนใหญ่
สอบประวัติการเงินเพื่ออนุมัติสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อบัตรเครดิต (โพสต์ทูเดย์, มติชน)
2. กองทุนฟื้นฟูฯ เลื่อนกำหนดการปิดตัวเป็นปี 2555 - 2556 นายไพโรจน์ เฮงสกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายจัดการกองทุน ธปท.
ในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยว่า กองทุนฟื้นฟูฯ จะต้องเลื่อนการยกเลิกดำเนินการไปอีกระยะหนึ่ง
เพื่อรอให้การจัดการสินทรัพย์ต่าง ๆ ของกองทุนฟื้นฟูฯ เสร็จเรียบร้อยก่อน ซึ่งคาดว่าการจัดการสินทรัพย์ทั้งหมดจะแล้วเสร็จได้ประมาณ
ปี 55 — 56 โดยสิ่งที่กองทุนฟื้นฟูฯ ต้องจัดการให้เรียบร้อยมีทั้งการติดตามสินทรัพย์ การขายที่ดินหรือหลักทรัพย์ที่ได้มาจากบริษัทเงินทุนที่ปิดกิจการ
ไปตอนวิกฤติเศรษฐกิจ รวมถึงสัญญาที่กองทุนฟื้นฟูฯ รับอาวัลกรณีที่บริษัทจัดการสินทรัพย์ซื้อหนี้จาก ธ.พาณิชย์เป็นเวลา 10 ปี ซี่งสัญญาเพิ่งผ่าน
ไปเพียง 5 ปี นอกจากนี้ ยังมีหนี้สินต่าง ๆ ของกองทุนฟื้นฟูฯ ที่น่าจะจัดการเสร็จสิ้นภายในปี 55 — 56 เช่นกัน ส่วนความเสียหายที่กองทุนฟื้นฟูฯ
ต้องรับผิดชอบจากการปิดตัวของสถาบันการเงินในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจที่เคยประเมินไว้ว่ามีจำนวนสูงถึง 1.3 ล้านล้านบาทนั้น หลังจากการ
ประนอมหนี้ของ บง. 72 แห่งแล้ว ทำให้ความเสียหายที่กองทุนฟื้นฟูฯ ต้องรับผิดชอบมีต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้เพราะสามารถเก็บเงินจากการ
ชำระหนี้ได้มากกว่าที่คาดไว้ อย่างไรก็ตาม การเลื่อนเวลาปิดตัวของกองทุนฟื้นฟูฯ ไม่มีผลต่อการจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก โดยหากร่าง
พรบ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากผ่านกระบวนการพิจารณาและออกเป็นกฎหมายบังคับใช้แล้ว ก็สามารถจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากได้เลยไม่ต้อง
รอให้กองทุนฟื้นฟูฯ ปิดตัวลงก่อน ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้กองทุนฟื้นฟูฯ มีกำหนดปิดตัวลงประมาณปี 52 หลังจากที่มีการจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝากขึ้นมา
ดูแลเงินฝากของประชาชนแทนกองทุนฟื้นฟูฯ เรียบร้อยแล้ว ขณะที่การเลื่อนปิดกองทุนฟื้นฟูฯ ออกไปจะทำให้ราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ ขายได้ราคา
ดีขึ้น เพราะการเร่งปิดตัวเร็วเกินไปจะทำให้การบริหารสินทรัพย์ไม่มีประสิทธิภาพ (กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์)
3. คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.50 นายธนวรรธน์ พลวิชัย
ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย คาดว่าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 23 พ.ค.นี้ จะปรับลด
อัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกร้อยละ 0.50 ไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.50 เนื่องจากการบริโภคและการลงทุนชะลอตัวลงอย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วย
ให้เศรษฐกิจไม่ชะลอลงไปมากกว่าที่เป็นอยู่เท่านั้น แต่ปัญหาใหญ่เรื่องความเชื่อมั่นยังไม่ได้มีการแก้ไข ทำให้ภาคเศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังไม่มีสัญญาณ
ฟื้นตัวได้อย่างชัดเจน โดยปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในขณะนี้มาจาก 2 สาเหตุ คือ ความกังวลในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเมือง
ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือเหตุระเบิดในกรุงเทพฯ ส่วนอีกสาเหตุมาจากกรณีปัจจัยพื้นฐานจริง ๆ เป็นเรื่องของต้นทุน
ทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันทำให้กำไรลดลง ซึ่งหากมีการปรับลดดอกเบี้ยก็จะช่วยลดต้นทุนของภาคธุรกิจและลดภาระของประชาชนได้
ในระดับหนึ่งเท่านั้น ด้าน นายเชาว์ เก่งชน รอง ผอ. บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า กนง. จะปรับลดดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.50 จากภาวะ
เศรษฐกิจที่ชะลอตัวและแนวโน้มเงินเฟ้อในเดือน พ.ค. ที่น่าจะอยู่ในระดับต่ำกว่าเดือน เม.ย. ทำให้ ธปท. มีช่องว่างพอที่จะปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยลงได้อีก และจนกระทั่งถึงปลายปีคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ในระดับร้อยละ 3.00 อย่างไรก็ตาม ผลต่อเศรษฐกิจที่จะตามมา
ภายหลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยคงต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง เนื่องจากต้องรอให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงินซึ่งจะช้า
และลดลงในระดับที่น้อยกว่า ทำให้เห็นผลในเชิงกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ทันที (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.เพิ่มขึ้นเหนือการคาดการณ์ที่ระดับ 88.7 ในเดือน พ.ค.50 รายงานจากนิวยอร์ก
เมื่อ 18 พ.ค.50 The Reuters/University of Michigan เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน พ.ค.50
ว่า เพิ่มขึ้นที่ระดับ 88.7 จากระดับ 87.1 ในเดือนก่อนหน้า เหนือการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ซึ่งคาดว่าดัชนีฯ จะอยู่ที่ระดับ 86.5 ทั้งนี้
การที่ดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นดังกล่าวมีสาเหตุหลักจากทิศทางตลาดแรงงานอยู่ในภาวะที่ดี โดยการขอรับสวัสดิการว่างงานลดลง ขณะที่รายได้
ยังคงขยายตัวในระดับที่มีเสถียรภาพ ประกอบกับสถานการณ์ตลาดหุ้นซึ่งฟื้นตัวขึ้นจากผลของการควบรวมกิจการและผลประกอบการของบริษัท
เพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมาย ช่วยบรรเทาความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของการใช้จ่ายครัวเรือนและตลาดบ้าน สรอ. สำหรับราคาน้ำมัน
ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 3 ดอลลาร์ สรอ.ต่อแกลลอนในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่ได้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมเท่าใดนัก โดย
ส่งผลกระทบเฉพาะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันให้ลดลงเล็กน้อยที่ระดับ 103.8 จากระดับ 104.6 ในเดือนก่อนหน้า
ส่วนดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคยังคงเพิ่มขึ้นที่ระดับ 79.0 จากระดับ 75.9 ขณะที่การคาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อในช่วง 1 ปีลดลงมาอยู่ที่
ระดับร้อยละ 3.2 จากร้อยละ 3.3 ในเดือนก่อนหน้า และการคาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อในช่วง 10 ปีทรงตัวที่ระดับร้อยละ 3.1 นอกจากนี้
ภาคการผลิตของ สรอ.ได้สะท้อนภาวะเติบโต โดย ก.พาณิชย์เปิดเผยตัวเลขคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานในเดือน มี.ค.50 ว่าขยายตัวร้อยละ 3.1
เช่นเดียวกับ The Economic Cycle Research Institute ซึ่งเปิดเผยดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 พ.ค.50 ว่าเพิ่มขึ้น
ที่ระดับ 142.7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 21 เม.ย.47 (รอยเตอร์)
2. ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน เม.ย.50 ลดลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนผิดจากที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.5 ต่อเดือน รายงานจากลอนดอน เมื่อ 18 พ.ค.50 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานยอดค้าปลีกลดลงร้อยละ 0.1
ในเดือน เม.ย.50 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ผิดจากที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ต่อเดือน จากการคาดการณ์ว่าสภาพอากาศที่อบอุ่น
ผิดปรกติจะช่วยให้ยอดขายอาหารและเสื้อผ้าเพิ่มสูงขึ้น โดยอุณหภูมิในเดือน เม.ย.50 ที่ผ่านมาอยู่ในระดับสูงกว่าเฉลี่ยถึง 3 องศาสูงสุด
เป็นประวัติการณ์ โดยสินค้าที่มียอดขายลดลงมากที่สุดคือเครื่องใช้ในครัวเรือนโดยลดลงถึงร้อยละ 3.0 ต่อเดือนโดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้า
และเฟอร์นิเจอร์มียอดขายลดลงมากที่สุด ทั้งนี้ ตั้งแต่เทศกาลคริสต์มาสเป็นต้นมา ยอดค้าปลีกของอังกฤษค่อนข้างผันผวน นักเศรษฐศาสตร์
จึงใช้ยอดขายเฉลี่ย 3 เดือนเป็นตัวชี้วัดแนวโน้มยอดค้าปลีกแทนยอดขายในแต่ละเดือน โดยยอดค้าปลีกเฉลี่ย 3 เดือนแรก
(ม.ค.- มี.ค.50) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 49 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.47 นักวิเคราะห์จึง
คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือน มิ.ย.หรือ ก.ค.50 นี้ หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาอีกร้อยละ 0.25
เป็นร้อยละ 5.5 ต่อปีสูงสุดในรอบ 6 ปี หากตัวเลขยอดค้าปลีกในเดือน พ.ค.50 แสดงให้เห็นว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดของ ธ.กลาง
อังกฤษไม่ได้ส่งผลกระทบให้ความต้องการของผู้บริโภคลดลง (รอยเตอร์)
3. ดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในเดือน มี.ค.50 ลดลงอยู่ระดับต่ำกว่า 50 เป็นเดือนที่ 5 โดยอยู่ที่ระดับ 36.4 รายงาน
จากโตเกียว เมื่อ 18 พ.ค.50 The Cabinet Office เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ในเดือน มี.ค.50 ลดลงอยู่ที่ระดับ
36.4 จากระดับ 40.0 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ทั้งนี้ ดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจได้จากการใช้ข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจ
หลายตัวเป็นองค์ประกอบ อาทิเช่น จำนวนตำแหน่งงานที่ต้องการรับสมัครใหม่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีราคาหุ้นในโตเกียว ซึ่งล้วน
เป็นสัญญาณภาวะเศรษฐกิจในอนาคต อนึ่ง ดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจหากเหนือกว่าระดับ 50 แสดงถึงภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัว ขณะที่ต่ำกว่า
ระดับ 50 แสดงถึงการหดตัว สำหรับดัชนีพ้องภาวะเศรษฐกิจ (Coincident Index) ซึ่งเป็นดัชนีบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ลดลงอยู่ที่
ระดับ 10.0 จากที่รายงานเบื้องต้นก่อนหน้านี้ว่าอยู่ที่ระดับ 22.2 นับเป็นการอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ขณะที่ดัชนีตาม
ภาวะเศรษฐกิจ (Lagging Index) อยู่เหนือกว่าระดับ 50 โดยอยู่ที่ระดับ 60.0 เทียบกับที่รายงานเบื้องต้นว่าอยู่ที่ระดับ 75.0 (รอยเตอร์)
4. ไตรมาสแรกปีนี้เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.6 สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากสิงคโปร์
เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 50 รมว. การค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์เปิดเผยว่า ในไตรมาสแรกปีนี้เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 7.6
เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้ว (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคบริการเติบโตอย่างมาก และขยายตัวอย่าง
รวดเร็วมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้มีการคาดการณ์กันว่ารัฐบาลสิงคโปร์จะปรับเพิ่มประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจตลอดปี 50 เป็น
ระหว่างร้อยละ 5.0 — 7.0 เพิ่มขึ้นจากคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 4.5 — 6.5 เนื่องจากคาดว่าตลอดทั้งปีเศรษฐกิจจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง
ทั้งนี้ผลการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดว่าทั้งปี 50 เศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวเพียงร้อยละ 6.1 (ตัวเลขที่ปรับแล้ว) เนื่องจากการชะงักงัน
ของภาคอุตสาหกรรมการผลิต และต่ำกว่าคาดการณ์ของทางการสิงคโปร์เมื่อวันที่ 10 เม.ย. ที่คาดว่าเศรษฐกิจในไตรมาสแรกจะเติบโต
ร้อยละ 7.2 สาเหตุจากข้อมูลในเดือน ม.ค. และ ก.พ. ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพี่มขึ้นอย่างมาก การเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจบริการ
การเงิน และมีงานก่อสร้างแหล่งกาสิโน 2 แห่งที่มีมูลค่าหลายพัน ล. ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 21 พ.ค. 50 18 พ.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.618 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.4295/34.7565 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.05547 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 728.76/19.80 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,850/10,950 10,800/10,900 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 65.98 66.45 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 30.39*/25.34** 29.99/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มเมื่อ 19 พ.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. เห็นว่าไม่ควรใช้การปรับเกณฑ์เครดิตบูโรเป็นปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจ นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพ
สถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ไม่ควรนำเรื่องการนิรโทษกรรมลูกหนี้และการลดระยะเวลาการเป็นหนี้เสียในเครดิตบูโรมาเป็นปัจจัยกระตุ้น
เศรษฐกิจ เนื่องจากธุรกิจการปล่อยกู้ต้องบริหารความเสี่ยงเป็นหลัก นอกจากนี้ การใช้ระบบเครดิตบูโรเป็นเพียงแนวทางหนึ่งในการพิจารณา
เลือกลูกค้า ไม่ใช่ทั้งหมดของการตัดสินใจให้กู้เงิน เพราะวงเงินสินเชื่อขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้กู้ ไม่ใช่การลดหย่อนมาตรการให้กู้แล้วจะ
บังคับธนาคารได้ ดังนั้น การปรับเกณฑ์เครดิตบูโรเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นคนละประเด็น ควรดูให้รอบคอบ แต่หากจะมีการทำกันจริงจะเห็นด้วย
หรือไม่ หรือได้ผลแค่ไหนคงต้องแยกเป็นมองอีกประเด็น ด้านนายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า
ขณะนี้ ธปท. ไม่จำเป็นต้องออกมาตรการหรือขอความร่วมมือกับ ธ.พาณิชย์เป็นพิเศษเพื่อกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากปัจจุบัน ธ.พาณิชย์
ก็เร่งปล่อยกู้มากอยู่แล้ว เพียงแต่ภาวะเศรษฐกิจไม่อำนวยและลูกค้ายังไม่ตัดสินใจกู้ จึงไม่ควรไปกดดันธนาคารเพิ่ม แต่ควรเข้าใจระบบการ
สอบทานของธุรกิจ ธ.พาณิชย์มากกว่า ปัจจุบันมีฐานข้อมูลบัญชีสินเชื่อของลูกค้าที่อยู่ในเครดิตบูโรเพิ่มจาก 46 ล้านบัญชี หรือประมาณ 13 ล้านคน
เพิ่มเป็น 55 ล้านบัญชี อัตราการเข้าดูข้อมูลประวัติสินเชื่อของสมาชิกเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้ลูกค้า 1.1 ล้านครั้งต่อปี ส่วนใหญ่
สอบประวัติการเงินเพื่ออนุมัติสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อบัตรเครดิต (โพสต์ทูเดย์, มติชน)
2. กองทุนฟื้นฟูฯ เลื่อนกำหนดการปิดตัวเป็นปี 2555 - 2556 นายไพโรจน์ เฮงสกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายจัดการกองทุน ธปท.
ในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยว่า กองทุนฟื้นฟูฯ จะต้องเลื่อนการยกเลิกดำเนินการไปอีกระยะหนึ่ง
เพื่อรอให้การจัดการสินทรัพย์ต่าง ๆ ของกองทุนฟื้นฟูฯ เสร็จเรียบร้อยก่อน ซึ่งคาดว่าการจัดการสินทรัพย์ทั้งหมดจะแล้วเสร็จได้ประมาณ
ปี 55 — 56 โดยสิ่งที่กองทุนฟื้นฟูฯ ต้องจัดการให้เรียบร้อยมีทั้งการติดตามสินทรัพย์ การขายที่ดินหรือหลักทรัพย์ที่ได้มาจากบริษัทเงินทุนที่ปิดกิจการ
ไปตอนวิกฤติเศรษฐกิจ รวมถึงสัญญาที่กองทุนฟื้นฟูฯ รับอาวัลกรณีที่บริษัทจัดการสินทรัพย์ซื้อหนี้จาก ธ.พาณิชย์เป็นเวลา 10 ปี ซี่งสัญญาเพิ่งผ่าน
ไปเพียง 5 ปี นอกจากนี้ ยังมีหนี้สินต่าง ๆ ของกองทุนฟื้นฟูฯ ที่น่าจะจัดการเสร็จสิ้นภายในปี 55 — 56 เช่นกัน ส่วนความเสียหายที่กองทุนฟื้นฟูฯ
ต้องรับผิดชอบจากการปิดตัวของสถาบันการเงินในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจที่เคยประเมินไว้ว่ามีจำนวนสูงถึง 1.3 ล้านล้านบาทนั้น หลังจากการ
ประนอมหนี้ของ บง. 72 แห่งแล้ว ทำให้ความเสียหายที่กองทุนฟื้นฟูฯ ต้องรับผิดชอบมีต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้เพราะสามารถเก็บเงินจากการ
ชำระหนี้ได้มากกว่าที่คาดไว้ อย่างไรก็ตาม การเลื่อนเวลาปิดตัวของกองทุนฟื้นฟูฯ ไม่มีผลต่อการจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก โดยหากร่าง
พรบ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากผ่านกระบวนการพิจารณาและออกเป็นกฎหมายบังคับใช้แล้ว ก็สามารถจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากได้เลยไม่ต้อง
รอให้กองทุนฟื้นฟูฯ ปิดตัวลงก่อน ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้กองทุนฟื้นฟูฯ มีกำหนดปิดตัวลงประมาณปี 52 หลังจากที่มีการจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝากขึ้นมา
ดูแลเงินฝากของประชาชนแทนกองทุนฟื้นฟูฯ เรียบร้อยแล้ว ขณะที่การเลื่อนปิดกองทุนฟื้นฟูฯ ออกไปจะทำให้ราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ ขายได้ราคา
ดีขึ้น เพราะการเร่งปิดตัวเร็วเกินไปจะทำให้การบริหารสินทรัพย์ไม่มีประสิทธิภาพ (กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์)
3. คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.50 นายธนวรรธน์ พลวิชัย
ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย คาดว่าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 23 พ.ค.นี้ จะปรับลด
อัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกร้อยละ 0.50 ไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.50 เนื่องจากการบริโภคและการลงทุนชะลอตัวลงอย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วย
ให้เศรษฐกิจไม่ชะลอลงไปมากกว่าที่เป็นอยู่เท่านั้น แต่ปัญหาใหญ่เรื่องความเชื่อมั่นยังไม่ได้มีการแก้ไข ทำให้ภาคเศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังไม่มีสัญญาณ
ฟื้นตัวได้อย่างชัดเจน โดยปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในขณะนี้มาจาก 2 สาเหตุ คือ ความกังวลในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเมือง
ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือเหตุระเบิดในกรุงเทพฯ ส่วนอีกสาเหตุมาจากกรณีปัจจัยพื้นฐานจริง ๆ เป็นเรื่องของต้นทุน
ทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันทำให้กำไรลดลง ซึ่งหากมีการปรับลดดอกเบี้ยก็จะช่วยลดต้นทุนของภาคธุรกิจและลดภาระของประชาชนได้
ในระดับหนึ่งเท่านั้น ด้าน นายเชาว์ เก่งชน รอง ผอ. บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า กนง. จะปรับลดดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.50 จากภาวะ
เศรษฐกิจที่ชะลอตัวและแนวโน้มเงินเฟ้อในเดือน พ.ค. ที่น่าจะอยู่ในระดับต่ำกว่าเดือน เม.ย. ทำให้ ธปท. มีช่องว่างพอที่จะปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยลงได้อีก และจนกระทั่งถึงปลายปีคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ในระดับร้อยละ 3.00 อย่างไรก็ตาม ผลต่อเศรษฐกิจที่จะตามมา
ภายหลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยคงต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง เนื่องจากต้องรอให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงินซึ่งจะช้า
และลดลงในระดับที่น้อยกว่า ทำให้เห็นผลในเชิงกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ทันที (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.เพิ่มขึ้นเหนือการคาดการณ์ที่ระดับ 88.7 ในเดือน พ.ค.50 รายงานจากนิวยอร์ก
เมื่อ 18 พ.ค.50 The Reuters/University of Michigan เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน พ.ค.50
ว่า เพิ่มขึ้นที่ระดับ 88.7 จากระดับ 87.1 ในเดือนก่อนหน้า เหนือการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ซึ่งคาดว่าดัชนีฯ จะอยู่ที่ระดับ 86.5 ทั้งนี้
การที่ดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นดังกล่าวมีสาเหตุหลักจากทิศทางตลาดแรงงานอยู่ในภาวะที่ดี โดยการขอรับสวัสดิการว่างงานลดลง ขณะที่รายได้
ยังคงขยายตัวในระดับที่มีเสถียรภาพ ประกอบกับสถานการณ์ตลาดหุ้นซึ่งฟื้นตัวขึ้นจากผลของการควบรวมกิจการและผลประกอบการของบริษัท
เพิ่มขึ้นเหนือความคาดหมาย ช่วยบรรเทาความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของการใช้จ่ายครัวเรือนและตลาดบ้าน สรอ. สำหรับราคาน้ำมัน
ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 3 ดอลลาร์ สรอ.ต่อแกลลอนในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่ได้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมเท่าใดนัก โดย
ส่งผลกระทบเฉพาะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันให้ลดลงเล็กน้อยที่ระดับ 103.8 จากระดับ 104.6 ในเดือนก่อนหน้า
ส่วนดัชนีความคาดหวังของผู้บริโภคยังคงเพิ่มขึ้นที่ระดับ 79.0 จากระดับ 75.9 ขณะที่การคาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อในช่วง 1 ปีลดลงมาอยู่ที่
ระดับร้อยละ 3.2 จากร้อยละ 3.3 ในเดือนก่อนหน้า และการคาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อในช่วง 10 ปีทรงตัวที่ระดับร้อยละ 3.1 นอกจากนี้
ภาคการผลิตของ สรอ.ได้สะท้อนภาวะเติบโต โดย ก.พาณิชย์เปิดเผยตัวเลขคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานในเดือน มี.ค.50 ว่าขยายตัวร้อยละ 3.1
เช่นเดียวกับ The Economic Cycle Research Institute ซึ่งเปิดเผยดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 พ.ค.50 ว่าเพิ่มขึ้น
ที่ระดับ 142.7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 21 เม.ย.47 (รอยเตอร์)
2. ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน เม.ย.50 ลดลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนผิดจากที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.5 ต่อเดือน รายงานจากลอนดอน เมื่อ 18 พ.ค.50 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานยอดค้าปลีกลดลงร้อยละ 0.1
ในเดือน เม.ย.50 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ผิดจากที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ต่อเดือน จากการคาดการณ์ว่าสภาพอากาศที่อบอุ่น
ผิดปรกติจะช่วยให้ยอดขายอาหารและเสื้อผ้าเพิ่มสูงขึ้น โดยอุณหภูมิในเดือน เม.ย.50 ที่ผ่านมาอยู่ในระดับสูงกว่าเฉลี่ยถึง 3 องศาสูงสุด
เป็นประวัติการณ์ โดยสินค้าที่มียอดขายลดลงมากที่สุดคือเครื่องใช้ในครัวเรือนโดยลดลงถึงร้อยละ 3.0 ต่อเดือนโดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้า
และเฟอร์นิเจอร์มียอดขายลดลงมากที่สุด ทั้งนี้ ตั้งแต่เทศกาลคริสต์มาสเป็นต้นมา ยอดค้าปลีกของอังกฤษค่อนข้างผันผวน นักเศรษฐศาสตร์
จึงใช้ยอดขายเฉลี่ย 3 เดือนเป็นตัวชี้วัดแนวโน้มยอดค้าปลีกแทนยอดขายในแต่ละเดือน โดยยอดค้าปลีกเฉลี่ย 3 เดือนแรก
(ม.ค.- มี.ค.50) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 49 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.47 นักวิเคราะห์จึง
คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือน มิ.ย.หรือ ก.ค.50 นี้ หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาอีกร้อยละ 0.25
เป็นร้อยละ 5.5 ต่อปีสูงสุดในรอบ 6 ปี หากตัวเลขยอดค้าปลีกในเดือน พ.ค.50 แสดงให้เห็นว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดของ ธ.กลาง
อังกฤษไม่ได้ส่งผลกระทบให้ความต้องการของผู้บริโภคลดลง (รอยเตอร์)
3. ดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในเดือน มี.ค.50 ลดลงอยู่ระดับต่ำกว่า 50 เป็นเดือนที่ 5 โดยอยู่ที่ระดับ 36.4 รายงาน
จากโตเกียว เมื่อ 18 พ.ค.50 The Cabinet Office เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ในเดือน มี.ค.50 ลดลงอยู่ที่ระดับ
36.4 จากระดับ 40.0 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ทั้งนี้ ดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจได้จากการใช้ข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจ
หลายตัวเป็นองค์ประกอบ อาทิเช่น จำนวนตำแหน่งงานที่ต้องการรับสมัครใหม่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีราคาหุ้นในโตเกียว ซึ่งล้วน
เป็นสัญญาณภาวะเศรษฐกิจในอนาคต อนึ่ง ดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจหากเหนือกว่าระดับ 50 แสดงถึงภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัว ขณะที่ต่ำกว่า
ระดับ 50 แสดงถึงการหดตัว สำหรับดัชนีพ้องภาวะเศรษฐกิจ (Coincident Index) ซึ่งเป็นดัชนีบ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ลดลงอยู่ที่
ระดับ 10.0 จากที่รายงานเบื้องต้นก่อนหน้านี้ว่าอยู่ที่ระดับ 22.2 นับเป็นการอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ขณะที่ดัชนีตาม
ภาวะเศรษฐกิจ (Lagging Index) อยู่เหนือกว่าระดับ 50 โดยอยู่ที่ระดับ 60.0 เทียบกับที่รายงานเบื้องต้นว่าอยู่ที่ระดับ 75.0 (รอยเตอร์)
4. ไตรมาสแรกปีนี้เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.6 สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากสิงคโปร์
เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 50 รมว. การค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์เปิดเผยว่า ในไตรมาสแรกปีนี้เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 7.6
เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้ว (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคบริการเติบโตอย่างมาก และขยายตัวอย่าง
รวดเร็วมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้มีการคาดการณ์กันว่ารัฐบาลสิงคโปร์จะปรับเพิ่มประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจตลอดปี 50 เป็น
ระหว่างร้อยละ 5.0 — 7.0 เพิ่มขึ้นจากคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 4.5 — 6.5 เนื่องจากคาดว่าตลอดทั้งปีเศรษฐกิจจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง
ทั้งนี้ผลการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดว่าทั้งปี 50 เศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวเพียงร้อยละ 6.1 (ตัวเลขที่ปรับแล้ว) เนื่องจากการชะงักงัน
ของภาคอุตสาหกรรมการผลิต และต่ำกว่าคาดการณ์ของทางการสิงคโปร์เมื่อวันที่ 10 เม.ย. ที่คาดว่าเศรษฐกิจในไตรมาสแรกจะเติบโต
ร้อยละ 7.2 สาเหตุจากข้อมูลในเดือน ม.ค. และ ก.พ. ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพี่มขึ้นอย่างมาก การเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจบริการ
การเงิน และมีงานก่อสร้างแหล่งกาสิโน 2 แห่งที่มีมูลค่าหลายพัน ล. ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 21 พ.ค. 50 18 พ.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.618 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.4295/34.7565 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.05547 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 728.76/19.80 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,850/10,950 10,800/10,900 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 65.98 66.45 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 30.39*/25.34** 29.99/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มเมื่อ 19 พ.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--