1
คำต่อคำรายการตรงไปตรงมากับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ทางสถานีวิทยุ 101 ช่วงเวลา 08.00 — 08.30 น.
วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม 2550
ผู้ดำเนินรายการ สวัสดีค่ะคุณอภิสิทธิ์คะ สวัสดีครับ คุณอภิสิทธิ์ครับ
คุณอภิสิทธิ์ สวัสดีครับ คุณอวัสดาครับ สวัสดีครับคุณเติมศักดิ์ครับ
ผู้ดำเนินรายการ ค่ะ คุณอภิสิทธิ์ ช่วงนี้ทั้งนายกฯ สุรยุทธ์ โดนหนักนิดนึงนะคะ แต่เมื่อวันก่อนที่ทางพรรคการเมือง รวมทั้งคุณอภิสิทธิ์ได้ไปพบท่านนายกรัฐมนตรีด้วยไม่ทราบว่า เป็นอย่างไรบ้างคะ คุณอภิสิทธิ์
คุณอภิสิทธิ์ วันนั้นนายกฯ ก็เชิญหัวหน้าพรรค 42 พรรคนะครับ ถ้าผมจำตัวเลขไม่ผิด ก็ไปขอความเห็นเรื่องรัฐธรรมนูญ สัปดาห์ที่แล้ว ผมเขียนบทความลงในเวปไซต์ (http://www.abhisit.org) บอกว่า อยากจะให้การพบปะมันมีประโยชน์จริง ๆ นะครับ อันนั้นก็พูดไว้ 4 อย่าง อย่างที่ 1 ก็คืออยากให้มี สสร. มาร่วมฟังด้วยนะครับ ก็ปรากฎว่าท่านนายกฯ ก็ได้เชิญท่านประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคือ อาจารย์นรนิติ มาร่วมรับฟังด้วยนะครับ ซึ่งอันนั้นก็เป็นประโยชน์เพราะว่าผู้ที่จะต้องไปปรับปรุงแก้ไข แปรญัตติ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็คือ สสร. เพราะฉะนั้นวันนั้นอาจารย์ นรนิติก็นั่งอยู่ตลอดนะครับ ในช่วงที่มีการแสดงความคิดเห็น ประเด็นที่ 2 ผมก็ได้บอกว่า แหม ชั่วโมงเดียวนั้น เกรงว่าต่างคนต่างจะแสดงความคิดเห็นกันไปเรื่องนั้น เรื่องนี้เพราะรายละเอียดมันเยอะนะครับ แต่ว่าผมอยู่ในที่ประชุมชั่วโมงกว่า ๆ ผมคิดว่าเสียงของพรรคการเมืองชัดเจนนะครับ ก็คือเรามุ่งไปในประเด็นของความไม่เป็นประชาธิปไตยที่ยังเป็นปัญหาในบทบัญญัติบางข้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็มาตรา 68 วรรค 2 ที่มาของ สว. ที่มีอำนาจถึงขั้นที่จะสามารถถอดถอนผู้มาจากการเลือกตั้งได้นะครับ มีบทเฉพาะกาลบางเรื่อง บางพรรคก็ไปถึงเรื่องระบบเลือกตั้งอะไรด้วย แต่ว่าโดยสรุปผมว่าเสียงตรงนี้ค่อนข้างจะเป็นไปในทางเดียวกันนะครับ และผมก็เริ่มเห็นการตอบสนองก็คือมีข่าวว่ากรรมาธิการก็ไปหยิบยกประเด็นเหล่านี้ขึ้นมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ฉะนั้นก็เป็นไปด้วยดี ประเด็นที่ 3 ที่ผมเสนอไว้ก็คือว่า จริง ๆ รัฐบาลกับ คมช. คงจะต้องแสดงจุดยืดเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญด้วยนะครับ วันนั้นแม้ท่านนายกฯ ไม่ได้ยังไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้ แต่ก็มีหลายพรรคการเมืองที่ได้หยิบยกเรื่องประชามติขึ้นมา ว่าจริง ๆ ประชาชนมีสิทธิ์ที่จะได้รับรู้ว่าทางเลือกของประชาชนในการไปลงประชามติคืออะไร นะครับ เพราะฉะนั้นรู้สึกว่าเสียงในเรื่องนี้ก็เริ่มที่จะดังขึ้นนะครับ และผมก็หวังว่าจะมีการตอบสนองจากทางรัฐบาลกับคมช. และก็ข้อสุดท้ายที่ผมพูดเอาไว้ก็คือว่า คงจะต้องสอบถามท่านนายกฯ ด้วย เรื่องคำสั่ง คปค. นะครับ ก็บังเอิญมีการหยิบยกขึ้นมาและท่านนายกฯ ก็รับว่า กำลังจะไปหารือกับคมช. เรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง ฉะนั้นในภาพรวมที่มีการพบปะกัน 4 ข้อนั้นนะครับ ที่ผมเสนอไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วในเวปไซต์นั้น (http://www.abhisit.org) ก็ถือว่าได้รับการตอบสนองเป็นไปตามความตั้งใจว่าจากนี้ไป ก็คงจะจับตาดูว่าการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของร่างรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไรนะครับ ทางผมทางพรรค และก็นักการเมืองอีกหลายส่วนก็คงจะได้มีโอกาสในการนำเสนอความคิดต่อเนื่องต่อไป
ผู้ดำเนินรายการ แล้วก็อย่างที่คุณอภิสิทธิ์บอกนะครับ ว่าหลังจากนั้นดูเหมือนกรรมาธิการยกร่างฯ ก็จะเสียงอ่อนลงเรื่องมาตรา 68 นะครับ น่าจะมีการตัดออกทั้งวรรคเลย ในวรรค 2 อันนี้ก็คือเป็นสัญญาณที่ดีนะครับคุณอภิสิทธิ์ครับ
คุณอภิสิทธิ์ ครับ ก็อย่าไปใช้คำว่าเสียงอ่อน หรืออะไรเลยนะฮะ ถือว่าเรารับฟังซึ่งกันและกันนะครับ ประเด็นที่แต่ละฝ่ายเสนอไปนั้น ถ้ามีเหตุมีผลที่จะแลกเปลี่ยนกันมันก็เป็นจังหวะเวลาที่จะต้องทำในช่วงนี้ก่อนที่จะมีการแปรญัตติ ทีนี้ผมก็เห็นข่าวเมื่อเช้านี้ก็มีความห่วงใยกันในเรื่องของกฎหมายประชามติขึ้นมาอีกนะครับ ก็อยากจะ อยากให้ทุกฝ่ายมองตรงกันนะครับ คือว่าไปแล้วนั้น ให้คนเข้าใจง่ายที่สุดเรื่องประชามติ คือเหมือนเลือกตั้งนะครับ ไม่งั้นเวลาคนพูดแล้วก็จะงง เพราะว่าเรายังไม่เคยทำมาก่อน เหมือนไปเลือกตั้ง เพียงแต่ว่าแทนที่จะเลือก ส.ส. เลือก ส.ว. เลือกผู้ว่าฯ หรือเลือก อบต. หรืออะไรนี่นะครับ แทนที่จะเลือกคน เราเลือกเอาว่าจะเห็นชอบกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม๊นะครับ และก็ที่ผมเรียกร้องแล้วก็ตอนนี้เสียงดังขึ้นกันค่อนข้างมากก็คือถ้าทราบด้วยว่า ไม่รับแล้วจะได้อะไร ก็เหมือนเราไปเลือกว่าจะเอารัฐธรรมนูญฉบับไหน ฉบับ สสร. หรือฉบับรัฐบาลกับ คมช. นะครับ ทีนี้ที่มันจะต้องมีการเปรียบเทียบกับการเลือกตั้ง เพื่อที่จะบอกต่อนะครับว่า อย่าสับสนเพราะหลายฝ่ายยังสับสนอยู่นะครับว่า การขัดขวางประชามติมันคืออะไรนะครับ คนชอบไปพูดเหมารวมว่า ถ้าใครไปบอกว่าไม่รับรัฐธรรมนูญเหมือนกับไปขัดขวางประชามติ ไม่ใช่นะครับ มันเหมือนกับเวลาคนไปบอกว่า อย่าไปเลือกคนนั้น คนนี้นะ มันคนละเรื่องกับการขัดขวางการเลือกตั้งนะครับ อย่างแรกผมถือว่าการที่ใครจะไปบอกว่า รัฐธรรมนูญมีข้อดีข้อเสียควรรับไม่ควรรับนั้น มันเป็นสิทธิ์ นะครับ ก็เหมือนกับเวลาคนไปหาเสียง ควรจะสนับสนุนคนนี้นะ อย่าไปสนับสนุนคนนั้นนะ อันนี้ต้องทำได้นะครับ แต่ว่าถ้าใครไปยุยงส่งเสริมบอกว่า ประชาชนอย่าไปใช้สิทธิ์นะอย่างนี้ผมว่าก็เหมือนกับการขัดขวางการเลือกตั้ง ก็ต้องเป็นความผิดนะครับ ทีนี้วันนี้ก็มีข่าวต่ออีกว่า มีการจะต้องไปเขียนบทบัญญัติ 1 เรื่อง ห้ามทำโพลล์นะครับ กับ 2 ทำนองว่าใครไปสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญก็เป็นความผิดตามกฎหมาย อันนี้ก็จะเทียบเคียงได้กับกฎหมายเลือกตั้งนะครับ ก็คือเรื่องว่าห้ามไปพูดง่าย ๆ ว่าไปโกหก ใส่ร้ายคนนั้นคนนี้นะครับ เช่นที่ผ่านมาก็มีนักการเมืองถูกศาลลงโทษไปว่าไปกล่าวหานักการเมืองอีกคนหนึ่งว่าคนนี้เป็นคนไม่ดี เกี่ยวข้องกับยาเสพติดอย่างนี้นะครับ เมื่อมันเป็นเท็จก็ผิดกฎหมายก็ถูกลงโทษไปนะครับ เช่นเดียวกันถ้าใครไปบอกว่าอุ้ย รัฐธรรมนูญฉบับนี้มันพูดจาแบบเสีย ๆ หาย ๆ เป็นเรื่องเห็นได้ชัดว่าเป็นความเท็จอันนี้ก็เข้าใจได้ว่าเป็นความผิด แต่ทีนี้มันยากนิดนึงครับก็คือว่า ขนาดเรื่องใส่ร้ายนี้ ประชาธิปัตย์ที่ถูกกล่าวหายุบพรรคอยู่นี้ก็ข้อนึงแหละ หาว่าเราไปปราศรัยใส่ร้าย ความจริงคนที่ยื่นเรื่องยุบพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่เห็นเคยพิสูจน์เลยว่ามันใส่ร้ายอย่างไร เพราะสิ่งที่เราพูดเรายืนยันว่าเป็นความจริง ในเรื่องรัฐธรรมนูญจะยิ่งลำบากนึกออกไม๊ครับ ที่คุณอวัสดาคุยกันนั้น นั่งวิเคราะห์กัน เอ้ ถ้าเลือกตั้งเป็นอย่างนี้ หรือถ้ามาตรานั้นเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ มันอาจจะเกิดสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้นมา ทีนี้มันยากเหมือนกันนะครับที่จะบอกว่าอันนี้ถือเป็นการสร้างความเข้าใจผิดหรือเปล่า ใช่ไม๊ฮะ พวกเราก็อาจจะบอกเอ๊ะที่เขาเขียนมามันไม่ใช่อย่างนี้เลย ทำไมคุณอวัสดากับผมมาพูดว่ามันจะเป็นอย่างนั้นหล่ะ เป็นการจงใจหรือเปล่า ผมคิดว่าตรงนี้ต้องใช้ถ้อยคำให้ระมัดระวังเป็นที่สุดนะครับ คือการแสดงความคิดเห็นด้วยความสุจริตใจเป็นลักษณะของการวิเคราะห์นั้นต้องทำได้นะครับ มิเช่นนั้นแล้วการประชามติก็จะไม่เป็นไปในกระบวนการของความเป็นประชาธิปไตยนะครับ แล้วประชาชนที่จะไปลงคะแนนเสียงไปมีส่วนร่วมก็จะไม่ได้ข้อมูลครบถ้วนทุกด้าน เพราะฉะนั้นก็คงจะต้องฝากนะครับว่าเขียนกฎหมายตรงนี้ เขียนด้วยความระมัดระวังนะครับ เพราะว่าสิ่งที่เราต้องการก็คือการทำประชามติที่เป็นประชาธิปไตย เพื่อจะสร้างความชอบธรรมเท่าที่จะทำได้ให้แก่รัฐธรรมนูญที่จะบังคับใช้เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็คงเป็นหน้าที่ของพวกเราที่จะต้องบอกกล่าวกับทางสนช. นะครับว่าให้ทำเรื่องนี้
ผู้ดำเนินรายการ ไม่งั้นเดี๋ยวการอภิปรายเชิงวิชาการ ชี้ข้อดีข้อเสีย อาจจะไม่มีใครกล้าทำ เพราะกลัวจะผิดกฎหมาย
คุณอภิสิทธิ์ ใช่ครับ เพราะโดยธรรมชาติต้องยอมรับว่าฝ่ายที่สนับสนุนรัฐธรรมนูญเขามีเจ้าภาพชัดเจนอยู่แล้ว คือ สสร. ถูกไม๊ครับ คนร่างนี่ยังไงก็ต้องออกมาพูดอยู่แล้วว่ามันดี แต่ทีนี้คนที่ไปวิจารณ์ไปอะไร ตอนนี้ก็อย่างที่เรียนก็คือ ไปสร้างความสับสนให้มองว่าพวกนี้พวกก่อกวน พวกนี้พวกสร้างปัญหาอะไรอย่างนี้ จริง ๆ แล้ว ก็คือหลักของประชามติก็คือเราจะต้องมีการเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกันทั้ง 2 ด้าน
ผู้ดำเนินรายการ ทีนี้เขาอาจจะกลัวว่าพวกโพลล์ความคิดเห็นอะไรต่าง ๆ มันจะมีอิทธิพลมากเกิดไป คุณอภิสิทธิ์คิดว่าจะต้องจัดการตรงนี้อย่างไรเพราะว่า บางคนก็ไม่ค่อยจะเชื่อว่า โพลล์มีความเที่ยงมากน้อยแค่ไหนถูกไม๊คะ
คุณอภิสิทธิ์ คือโพลล์นั้น ที่ผ่านมาเราก็มีการห้ามในบางช่วงเวลาอยู่บ้างนะครับ อันนี้ก็คงจะต้องดูว่าเขาจะเขียนระบุชัดเจนแค่ไหน ความเห็นส่วนตัวผมนะครับ เรื่องโพลล์นั้นมันก็เป็นข้อมูลอย่างหนึ่งนะครับ ทีนี้ผมก็มีความเห็นว่า ตราบเท่าที่การทำโพลล์ไม่เป็นการกระทำที่ขัดกับหลักวิชาหรือทำโดยจงใจทำแบบไม่เที่ยงธรรม พูดง่าย ๆ เป็นโพลล์ที่ไปปั่นกระแสนะครับ ไม่ได้ทำตามหลักวิชาหรืออะไร ถ้าไม่ได้เข้าข่ายพวกนี้ ผมก็คิดว่าน่าจะให้ทำได้ นะครับมันก็เป็นข้อมูลหนึ่งซึ่งคนที่เกี่ยวข้องเขาสนใจนะครับ แต่อาจจะต้องเขียนโทษไว้ให้ชัดว่าใครที่ไปทำโพลล์ พูดง่าย ๆ เพื่อไปสร้างตัวเลขขึ้นมาเพื่อจะจูงใจอันนี้ก็เป็นความผิดนะครับ แล้วก็โดยมาตรฐานของหลาย ๆ ประเทศช่วงใกล้ ๆ เขาก็อาจจะห้ามนะครับ เพราะเห็นว่าอาจจะมีผลชี้นำหรืออะไรเกิดไป แต่ส่วนตัวผม ผมเฉย ๆ เพราะว่าผมไม่ค่อยคิดว่าการที่ผมเห็นโพลล์โดยเฉพาะถ้าเลือกระหว่างรับหรือไม่รับ มันจะไปมีผลต่อการตัดสินใจของผมเท่าไหร่ แต่ว่าอันนี้ก็เข้าใจถ้าคิดว่ามันจะชี้นำคนได้ก็อาจจะไปจำกัดเอาช่วงท้าย ๆ ของก่อนที่จะมีการลงประชามติ
ผู้ดำเนินรายการ คือบางคนอาจจะไปตัดสินใจไม่เด็ดขาดใช่ไม๊คะ เพราะฉะนั้นมันก็อาจจะมีอิทธิพลได้
คุณอภิสิทธิ์ แต่ผมก็ทราบนะครับว่ามันจะต้องชี้นำไปในทางหนึ่งทางใดหรือเปล่าใช่ไม๊ฮะ เพราะว่า จริง ๆ ถ้ามันใกล้เคียงกัน ฝ่ายสมมติว่าฝ่ายไหนทำท่าว่าจะชนะอยู่ เขาก็ต้องทำงานหนักขึ้นฝ่ายที่แพ้อยู่ก็จะต้องทำงานหนักขึ้น รณรงค์มันก็เข้มข้นดีนะครับ ไม่มีปัญหาอะไร
ผู้ดำเนินรายการ ค่ะ ถามเพื่มเติมเกี่ยวกับวันที่พบนายกฯนะคะเพราะว่าก็มีประเด็นอื่น ๆ อีกด้วยใช่ไม๊คะ อย่างเรื่อง สว. หรือเรื่องอะไร เพราะว่าอย่างของคุณอภิสิทธิ์มี 3 หัวข้อ พรรคอื่น ๆ ก็มี 5 ข้อ 6 ข้อ กันไปตามเรื่อง
คุณอภิสิทธิ์ ก็จริง ๆ หลักใหญ่ก็คือเรื่องจุดที่เป็นปัญหาเรื่องความไม่เป็นประชาธิปไตย ก็วนเวียนอยู่นี่แหละครับ ก็มาตรา 68 สว. บทเฉพาะกาล นะครับ บางท่านก็วิจารณ์ไปถึงเรื่องของระบบเลือกตั้ง เรื่องอะไรด้วยนะครับ และก็ในส่วนของการทำงาน เรื่องประชามติ เรื่องบทบาทของพรรคการเมืองก็ได้มีการพูด ก็ได้มีการปรารภอยู่บ้าง
ผู้ดำเนินรายการ ค่ะ มีแนวโน้มจะได้รับการตอบสนองมากน้อยแค่ไหน
คุณอภิสิทธิ์ (หัวเราะ) พอวันรุ่งขึ้นก็มีผู้สื่อข่าวมาบอกผมว่า ทางคมช. ก็ยังไม่เห็นด้วยอะไรต่าง ๆ นะครับ ผมก็บอกว่ามันก็น่าเสียดายนะครับ เพราะว่าผมก็อยากทำให้พรรคฯ ได้ทำกิจกรรมเต็มรูปแบบ ตอนนี้ก็เลยต้องใช้รูปแบบที่ค่อนข้างจำกัด อย่างวันพุธที่ผ่านมา ผมก็เชิญนักวิชาการทางด้านการศึกษามา ก็ดีมากเลยนะครับ ท่านเลขา สกอ. ก็กรุณามาทางผู้อำนวยการสถาบันประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษาก็มา ผู้แทนครูก็มา ผู้แทนกลุ่มผู้ปกครองก็มานะครับ แล้วก็ผมก็ให้สมาชิกมานั่งฟังเขาก็แสดงความคิดเห็นครบหมดเลยครับตั้งแต่ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเด็กเล็กไปจนถึงปัญหาโรงเรียน ปัญหาหลักสูตร ปัญหามหาวิทยาลัย ปัญหามีจบมาแล้วมีงานทำ ไม่มีงานทำ แล้วอย่างวันนี้ผมก็เชิญอีก เชิญเรื่องสาธารณสุข นะครับ ก็จะมีคุยกันทั้งเรื่องระบบยา ทั้งเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าการทำงานในเชิงรุกเรื่องสุขภาพ คือนี่คือสิ่งที่เป็นงานของพรรคการเมืองที่ต้องทำนะครับ เพราะฉะนั้นผมก็จะทำโดยจำกัดอย่างนี้ว่าผมเชิญมาไม่กี่สิบคน และก็นั่งคุยกันในวงแคบ ๆ แต่จริง ๆ แล้ว พรรคการเมืองน่าจะได้มีโอกาสทำแบบเป็นทางการเป็นเรื่องของพรรค เป็นเรื่องของการเตรียมความพร้อมในเรื่องของการที่จะทำงานทางการเมือง
ม
ผู้ดำเนินรายการ ครับ คุณอภิสิทธิ์มองอย่างไรกับกระแสกดดันให้ปลด พลเอกสุรยุทธ์ ออกจากนายกรัฐมนตรีในช่วงนี้ครับ
คุณอภิสิทธิ์ คือ จริง ๆ ก็ไม่แปลกใจนะครับ ต้องยอมรับว่าคนที่มาเป็นนายกรัฐมนตรีในช่วงนี้ มันมีความคาดหวังสูงจากหลายฝ่าย และสังคมมีความคิดเห็นที่แตกต่าง จนแทบจะเรียกได้ว่ามีความแตกแยกอยู่เป็นพื้นฐานอยู่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นบางคนก็อยากจะเห็นการประนีประนอม บางคนก็อยากจะเห็นความเด็ดขาดนะครับ และก็เมื่อทำงานอยู่ในสภาวะซึ่งต้องเรียนตรง ๆ ว่าบรรยากาศหลายอย่างไม่เอื้ออำนายเพราะว่าเป็นรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งนะครับ ทำงานก็เรียนตรง ๆ เช่นกันว่าหลายท่านก็ บนความที่ไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนนะครับ เพราะฉะนั้นปัญหาหลายอย่างที่มันกระทบอยู่นั้น มันก็จะมีแรงกดดันมีกระแสขึ้นมา เป็นเรื่องปกติธรรมดา ทีนี้ผมก็คิดว่าคนที่แสดงออก เขาก็มีสิทธิ์ที่จะแสดงออก แต่ว่าท่านนายกฯ ก็วางท่าทีที่ดี ก็คือว่าบอกว่าท่านก็รับฟัง พิจารณาตัวเองนะครับ แต่ว่าก็อยากให้ช่วยกันดูว่าอะไรที่มันจะดีที่สุด จริง ๆ แล้วดีที่สุดสำหรับบ้านเมืองตอนนี้ก็คือว่าเรากลับไปสู่ภาวะปกติมีรัฐธรรมนูญมีการเลือกตั้ง โดยเร็ว และราบรื่นที่สุด เพราะฉะนั้นคำถามก็จะเกิดขึ้นมาว่าเอ๊ะ ถ้าเกิดมันมีความเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นมาตรงนี้ มันจะช่วยให้ตรงนั้นดีขึ้นหรือเปล่า นะครับ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าก็เป็นปกติธรรมดานะครับ ก็แสดงให้เห็นว่าบ้านเมืองเราก็ยังเปิดโอกาสให้คนใช้สิทธิเสรีภาพในระดับหนึ่งแต่ว่า ข้อวิจารณ์ต่าง ๆ ท่านนายกฯ และรัฐบาลก็ควรรับฟังนะครับ แล้วก็ผมคิดว่า คมช. วันนี้ก็พยายามที่จะให้ความมั่นใจว่ามันไม่ได้มีความแตกแยกกันโดยพื้นฐานนะครับ ก็ดีเพระว่าถ้ามันมีความไม่เป็นเอกภาพนั้นมันก็จะยิ่งยุ่งไปอีกนะครับ ในช่วงระยะเวลา 3 — 4 เดือนข้างหน้านี้ มันมีเรื่องใหญ่ ๆ เรื่องละเอียดอ่อนเยอะ ที่จะต้องเกิดขึ้นนะครับ เพราะฉะนั้นความเป็นเอกภาพนี้สำคัญแต่ว่า ทุกคนมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นผมก็เพียงแต่พูดย้ำอีกครั้งหนึ่งก็คือว่าเรียกร้องว่าทำอย่างไรทุกฝ่ายช่วยกันประคับประคองบ้านเมืองในช่วงนี้นะครับ แล้วก็มุ่งไปสู่ประโยชน์ของประเทศโดยนึกถึงภาพใหญ่เป็นหลักนะครับ
ผู้ดำเนินรายการ เอาละครับ ขอบพระคุณมากครับคุณอภิสิทธิ์ครับ ขอบพระคุณค่ะคุณอภิสิทธิ์ สวัสดีค่ะ
คุณอภิสิทธิ์ สวัสดีครับ
*************************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 พ.ค. 2550--จบ--
คำต่อคำรายการตรงไปตรงมากับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ทางสถานีวิทยุ 101 ช่วงเวลา 08.00 — 08.30 น.
วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม 2550
ผู้ดำเนินรายการ สวัสดีค่ะคุณอภิสิทธิ์คะ สวัสดีครับ คุณอภิสิทธิ์ครับ
คุณอภิสิทธิ์ สวัสดีครับ คุณอวัสดาครับ สวัสดีครับคุณเติมศักดิ์ครับ
ผู้ดำเนินรายการ ค่ะ คุณอภิสิทธิ์ ช่วงนี้ทั้งนายกฯ สุรยุทธ์ โดนหนักนิดนึงนะคะ แต่เมื่อวันก่อนที่ทางพรรคการเมือง รวมทั้งคุณอภิสิทธิ์ได้ไปพบท่านนายกรัฐมนตรีด้วยไม่ทราบว่า เป็นอย่างไรบ้างคะ คุณอภิสิทธิ์
คุณอภิสิทธิ์ วันนั้นนายกฯ ก็เชิญหัวหน้าพรรค 42 พรรคนะครับ ถ้าผมจำตัวเลขไม่ผิด ก็ไปขอความเห็นเรื่องรัฐธรรมนูญ สัปดาห์ที่แล้ว ผมเขียนบทความลงในเวปไซต์ (http://www.abhisit.org) บอกว่า อยากจะให้การพบปะมันมีประโยชน์จริง ๆ นะครับ อันนั้นก็พูดไว้ 4 อย่าง อย่างที่ 1 ก็คืออยากให้มี สสร. มาร่วมฟังด้วยนะครับ ก็ปรากฎว่าท่านนายกฯ ก็ได้เชิญท่านประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคือ อาจารย์นรนิติ มาร่วมรับฟังด้วยนะครับ ซึ่งอันนั้นก็เป็นประโยชน์เพราะว่าผู้ที่จะต้องไปปรับปรุงแก้ไข แปรญัตติ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็คือ สสร. เพราะฉะนั้นวันนั้นอาจารย์ นรนิติก็นั่งอยู่ตลอดนะครับ ในช่วงที่มีการแสดงความคิดเห็น ประเด็นที่ 2 ผมก็ได้บอกว่า แหม ชั่วโมงเดียวนั้น เกรงว่าต่างคนต่างจะแสดงความคิดเห็นกันไปเรื่องนั้น เรื่องนี้เพราะรายละเอียดมันเยอะนะครับ แต่ว่าผมอยู่ในที่ประชุมชั่วโมงกว่า ๆ ผมคิดว่าเสียงของพรรคการเมืองชัดเจนนะครับ ก็คือเรามุ่งไปในประเด็นของความไม่เป็นประชาธิปไตยที่ยังเป็นปัญหาในบทบัญญัติบางข้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็มาตรา 68 วรรค 2 ที่มาของ สว. ที่มีอำนาจถึงขั้นที่จะสามารถถอดถอนผู้มาจากการเลือกตั้งได้นะครับ มีบทเฉพาะกาลบางเรื่อง บางพรรคก็ไปถึงเรื่องระบบเลือกตั้งอะไรด้วย แต่ว่าโดยสรุปผมว่าเสียงตรงนี้ค่อนข้างจะเป็นไปในทางเดียวกันนะครับ และผมก็เริ่มเห็นการตอบสนองก็คือมีข่าวว่ากรรมาธิการก็ไปหยิบยกประเด็นเหล่านี้ขึ้นมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ฉะนั้นก็เป็นไปด้วยดี ประเด็นที่ 3 ที่ผมเสนอไว้ก็คือว่า จริง ๆ รัฐบาลกับ คมช. คงจะต้องแสดงจุดยืดเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญด้วยนะครับ วันนั้นแม้ท่านนายกฯ ไม่ได้ยังไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้ แต่ก็มีหลายพรรคการเมืองที่ได้หยิบยกเรื่องประชามติขึ้นมา ว่าจริง ๆ ประชาชนมีสิทธิ์ที่จะได้รับรู้ว่าทางเลือกของประชาชนในการไปลงประชามติคืออะไร นะครับ เพราะฉะนั้นรู้สึกว่าเสียงในเรื่องนี้ก็เริ่มที่จะดังขึ้นนะครับ และผมก็หวังว่าจะมีการตอบสนองจากทางรัฐบาลกับคมช. และก็ข้อสุดท้ายที่ผมพูดเอาไว้ก็คือว่า คงจะต้องสอบถามท่านนายกฯ ด้วย เรื่องคำสั่ง คปค. นะครับ ก็บังเอิญมีการหยิบยกขึ้นมาและท่านนายกฯ ก็รับว่า กำลังจะไปหารือกับคมช. เรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง ฉะนั้นในภาพรวมที่มีการพบปะกัน 4 ข้อนั้นนะครับ ที่ผมเสนอไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วในเวปไซต์นั้น (http://www.abhisit.org) ก็ถือว่าได้รับการตอบสนองเป็นไปตามความตั้งใจว่าจากนี้ไป ก็คงจะจับตาดูว่าการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของร่างรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไรนะครับ ทางผมทางพรรค และก็นักการเมืองอีกหลายส่วนก็คงจะได้มีโอกาสในการนำเสนอความคิดต่อเนื่องต่อไป
ผู้ดำเนินรายการ แล้วก็อย่างที่คุณอภิสิทธิ์บอกนะครับ ว่าหลังจากนั้นดูเหมือนกรรมาธิการยกร่างฯ ก็จะเสียงอ่อนลงเรื่องมาตรา 68 นะครับ น่าจะมีการตัดออกทั้งวรรคเลย ในวรรค 2 อันนี้ก็คือเป็นสัญญาณที่ดีนะครับคุณอภิสิทธิ์ครับ
คุณอภิสิทธิ์ ครับ ก็อย่าไปใช้คำว่าเสียงอ่อน หรืออะไรเลยนะฮะ ถือว่าเรารับฟังซึ่งกันและกันนะครับ ประเด็นที่แต่ละฝ่ายเสนอไปนั้น ถ้ามีเหตุมีผลที่จะแลกเปลี่ยนกันมันก็เป็นจังหวะเวลาที่จะต้องทำในช่วงนี้ก่อนที่จะมีการแปรญัตติ ทีนี้ผมก็เห็นข่าวเมื่อเช้านี้ก็มีความห่วงใยกันในเรื่องของกฎหมายประชามติขึ้นมาอีกนะครับ ก็อยากจะ อยากให้ทุกฝ่ายมองตรงกันนะครับ คือว่าไปแล้วนั้น ให้คนเข้าใจง่ายที่สุดเรื่องประชามติ คือเหมือนเลือกตั้งนะครับ ไม่งั้นเวลาคนพูดแล้วก็จะงง เพราะว่าเรายังไม่เคยทำมาก่อน เหมือนไปเลือกตั้ง เพียงแต่ว่าแทนที่จะเลือก ส.ส. เลือก ส.ว. เลือกผู้ว่าฯ หรือเลือก อบต. หรืออะไรนี่นะครับ แทนที่จะเลือกคน เราเลือกเอาว่าจะเห็นชอบกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม๊นะครับ และก็ที่ผมเรียกร้องแล้วก็ตอนนี้เสียงดังขึ้นกันค่อนข้างมากก็คือถ้าทราบด้วยว่า ไม่รับแล้วจะได้อะไร ก็เหมือนเราไปเลือกว่าจะเอารัฐธรรมนูญฉบับไหน ฉบับ สสร. หรือฉบับรัฐบาลกับ คมช. นะครับ ทีนี้ที่มันจะต้องมีการเปรียบเทียบกับการเลือกตั้ง เพื่อที่จะบอกต่อนะครับว่า อย่าสับสนเพราะหลายฝ่ายยังสับสนอยู่นะครับว่า การขัดขวางประชามติมันคืออะไรนะครับ คนชอบไปพูดเหมารวมว่า ถ้าใครไปบอกว่าไม่รับรัฐธรรมนูญเหมือนกับไปขัดขวางประชามติ ไม่ใช่นะครับ มันเหมือนกับเวลาคนไปบอกว่า อย่าไปเลือกคนนั้น คนนี้นะ มันคนละเรื่องกับการขัดขวางการเลือกตั้งนะครับ อย่างแรกผมถือว่าการที่ใครจะไปบอกว่า รัฐธรรมนูญมีข้อดีข้อเสียควรรับไม่ควรรับนั้น มันเป็นสิทธิ์ นะครับ ก็เหมือนกับเวลาคนไปหาเสียง ควรจะสนับสนุนคนนี้นะ อย่าไปสนับสนุนคนนั้นนะ อันนี้ต้องทำได้นะครับ แต่ว่าถ้าใครไปยุยงส่งเสริมบอกว่า ประชาชนอย่าไปใช้สิทธิ์นะอย่างนี้ผมว่าก็เหมือนกับการขัดขวางการเลือกตั้ง ก็ต้องเป็นความผิดนะครับ ทีนี้วันนี้ก็มีข่าวต่ออีกว่า มีการจะต้องไปเขียนบทบัญญัติ 1 เรื่อง ห้ามทำโพลล์นะครับ กับ 2 ทำนองว่าใครไปสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญก็เป็นความผิดตามกฎหมาย อันนี้ก็จะเทียบเคียงได้กับกฎหมายเลือกตั้งนะครับ ก็คือเรื่องว่าห้ามไปพูดง่าย ๆ ว่าไปโกหก ใส่ร้ายคนนั้นคนนี้นะครับ เช่นที่ผ่านมาก็มีนักการเมืองถูกศาลลงโทษไปว่าไปกล่าวหานักการเมืองอีกคนหนึ่งว่าคนนี้เป็นคนไม่ดี เกี่ยวข้องกับยาเสพติดอย่างนี้นะครับ เมื่อมันเป็นเท็จก็ผิดกฎหมายก็ถูกลงโทษไปนะครับ เช่นเดียวกันถ้าใครไปบอกว่าอุ้ย รัฐธรรมนูญฉบับนี้มันพูดจาแบบเสีย ๆ หาย ๆ เป็นเรื่องเห็นได้ชัดว่าเป็นความเท็จอันนี้ก็เข้าใจได้ว่าเป็นความผิด แต่ทีนี้มันยากนิดนึงครับก็คือว่า ขนาดเรื่องใส่ร้ายนี้ ประชาธิปัตย์ที่ถูกกล่าวหายุบพรรคอยู่นี้ก็ข้อนึงแหละ หาว่าเราไปปราศรัยใส่ร้าย ความจริงคนที่ยื่นเรื่องยุบพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่เห็นเคยพิสูจน์เลยว่ามันใส่ร้ายอย่างไร เพราะสิ่งที่เราพูดเรายืนยันว่าเป็นความจริง ในเรื่องรัฐธรรมนูญจะยิ่งลำบากนึกออกไม๊ครับ ที่คุณอวัสดาคุยกันนั้น นั่งวิเคราะห์กัน เอ้ ถ้าเลือกตั้งเป็นอย่างนี้ หรือถ้ามาตรานั้นเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ มันอาจจะเกิดสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้นมา ทีนี้มันยากเหมือนกันนะครับที่จะบอกว่าอันนี้ถือเป็นการสร้างความเข้าใจผิดหรือเปล่า ใช่ไม๊ฮะ พวกเราก็อาจจะบอกเอ๊ะที่เขาเขียนมามันไม่ใช่อย่างนี้เลย ทำไมคุณอวัสดากับผมมาพูดว่ามันจะเป็นอย่างนั้นหล่ะ เป็นการจงใจหรือเปล่า ผมคิดว่าตรงนี้ต้องใช้ถ้อยคำให้ระมัดระวังเป็นที่สุดนะครับ คือการแสดงความคิดเห็นด้วยความสุจริตใจเป็นลักษณะของการวิเคราะห์นั้นต้องทำได้นะครับ มิเช่นนั้นแล้วการประชามติก็จะไม่เป็นไปในกระบวนการของความเป็นประชาธิปไตยนะครับ แล้วประชาชนที่จะไปลงคะแนนเสียงไปมีส่วนร่วมก็จะไม่ได้ข้อมูลครบถ้วนทุกด้าน เพราะฉะนั้นก็คงจะต้องฝากนะครับว่าเขียนกฎหมายตรงนี้ เขียนด้วยความระมัดระวังนะครับ เพราะว่าสิ่งที่เราต้องการก็คือการทำประชามติที่เป็นประชาธิปไตย เพื่อจะสร้างความชอบธรรมเท่าที่จะทำได้ให้แก่รัฐธรรมนูญที่จะบังคับใช้เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็คงเป็นหน้าที่ของพวกเราที่จะต้องบอกกล่าวกับทางสนช. นะครับว่าให้ทำเรื่องนี้
ผู้ดำเนินรายการ ไม่งั้นเดี๋ยวการอภิปรายเชิงวิชาการ ชี้ข้อดีข้อเสีย อาจจะไม่มีใครกล้าทำ เพราะกลัวจะผิดกฎหมาย
คุณอภิสิทธิ์ ใช่ครับ เพราะโดยธรรมชาติต้องยอมรับว่าฝ่ายที่สนับสนุนรัฐธรรมนูญเขามีเจ้าภาพชัดเจนอยู่แล้ว คือ สสร. ถูกไม๊ครับ คนร่างนี่ยังไงก็ต้องออกมาพูดอยู่แล้วว่ามันดี แต่ทีนี้คนที่ไปวิจารณ์ไปอะไร ตอนนี้ก็อย่างที่เรียนก็คือ ไปสร้างความสับสนให้มองว่าพวกนี้พวกก่อกวน พวกนี้พวกสร้างปัญหาอะไรอย่างนี้ จริง ๆ แล้ว ก็คือหลักของประชามติก็คือเราจะต้องมีการเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกันทั้ง 2 ด้าน
ผู้ดำเนินรายการ ทีนี้เขาอาจจะกลัวว่าพวกโพลล์ความคิดเห็นอะไรต่าง ๆ มันจะมีอิทธิพลมากเกิดไป คุณอภิสิทธิ์คิดว่าจะต้องจัดการตรงนี้อย่างไรเพราะว่า บางคนก็ไม่ค่อยจะเชื่อว่า โพลล์มีความเที่ยงมากน้อยแค่ไหนถูกไม๊คะ
คุณอภิสิทธิ์ คือโพลล์นั้น ที่ผ่านมาเราก็มีการห้ามในบางช่วงเวลาอยู่บ้างนะครับ อันนี้ก็คงจะต้องดูว่าเขาจะเขียนระบุชัดเจนแค่ไหน ความเห็นส่วนตัวผมนะครับ เรื่องโพลล์นั้นมันก็เป็นข้อมูลอย่างหนึ่งนะครับ ทีนี้ผมก็มีความเห็นว่า ตราบเท่าที่การทำโพลล์ไม่เป็นการกระทำที่ขัดกับหลักวิชาหรือทำโดยจงใจทำแบบไม่เที่ยงธรรม พูดง่าย ๆ เป็นโพลล์ที่ไปปั่นกระแสนะครับ ไม่ได้ทำตามหลักวิชาหรืออะไร ถ้าไม่ได้เข้าข่ายพวกนี้ ผมก็คิดว่าน่าจะให้ทำได้ นะครับมันก็เป็นข้อมูลหนึ่งซึ่งคนที่เกี่ยวข้องเขาสนใจนะครับ แต่อาจจะต้องเขียนโทษไว้ให้ชัดว่าใครที่ไปทำโพลล์ พูดง่าย ๆ เพื่อไปสร้างตัวเลขขึ้นมาเพื่อจะจูงใจอันนี้ก็เป็นความผิดนะครับ แล้วก็โดยมาตรฐานของหลาย ๆ ประเทศช่วงใกล้ ๆ เขาก็อาจจะห้ามนะครับ เพราะเห็นว่าอาจจะมีผลชี้นำหรืออะไรเกิดไป แต่ส่วนตัวผม ผมเฉย ๆ เพราะว่าผมไม่ค่อยคิดว่าการที่ผมเห็นโพลล์โดยเฉพาะถ้าเลือกระหว่างรับหรือไม่รับ มันจะไปมีผลต่อการตัดสินใจของผมเท่าไหร่ แต่ว่าอันนี้ก็เข้าใจถ้าคิดว่ามันจะชี้นำคนได้ก็อาจจะไปจำกัดเอาช่วงท้าย ๆ ของก่อนที่จะมีการลงประชามติ
ผู้ดำเนินรายการ คือบางคนอาจจะไปตัดสินใจไม่เด็ดขาดใช่ไม๊คะ เพราะฉะนั้นมันก็อาจจะมีอิทธิพลได้
คุณอภิสิทธิ์ แต่ผมก็ทราบนะครับว่ามันจะต้องชี้นำไปในทางหนึ่งทางใดหรือเปล่าใช่ไม๊ฮะ เพราะว่า จริง ๆ ถ้ามันใกล้เคียงกัน ฝ่ายสมมติว่าฝ่ายไหนทำท่าว่าจะชนะอยู่ เขาก็ต้องทำงานหนักขึ้นฝ่ายที่แพ้อยู่ก็จะต้องทำงานหนักขึ้น รณรงค์มันก็เข้มข้นดีนะครับ ไม่มีปัญหาอะไร
ผู้ดำเนินรายการ ค่ะ ถามเพื่มเติมเกี่ยวกับวันที่พบนายกฯนะคะเพราะว่าก็มีประเด็นอื่น ๆ อีกด้วยใช่ไม๊คะ อย่างเรื่อง สว. หรือเรื่องอะไร เพราะว่าอย่างของคุณอภิสิทธิ์มี 3 หัวข้อ พรรคอื่น ๆ ก็มี 5 ข้อ 6 ข้อ กันไปตามเรื่อง
คุณอภิสิทธิ์ ก็จริง ๆ หลักใหญ่ก็คือเรื่องจุดที่เป็นปัญหาเรื่องความไม่เป็นประชาธิปไตย ก็วนเวียนอยู่นี่แหละครับ ก็มาตรา 68 สว. บทเฉพาะกาล นะครับ บางท่านก็วิจารณ์ไปถึงเรื่องของระบบเลือกตั้ง เรื่องอะไรด้วยนะครับ และก็ในส่วนของการทำงาน เรื่องประชามติ เรื่องบทบาทของพรรคการเมืองก็ได้มีการพูด ก็ได้มีการปรารภอยู่บ้าง
ผู้ดำเนินรายการ ค่ะ มีแนวโน้มจะได้รับการตอบสนองมากน้อยแค่ไหน
คุณอภิสิทธิ์ (หัวเราะ) พอวันรุ่งขึ้นก็มีผู้สื่อข่าวมาบอกผมว่า ทางคมช. ก็ยังไม่เห็นด้วยอะไรต่าง ๆ นะครับ ผมก็บอกว่ามันก็น่าเสียดายนะครับ เพราะว่าผมก็อยากทำให้พรรคฯ ได้ทำกิจกรรมเต็มรูปแบบ ตอนนี้ก็เลยต้องใช้รูปแบบที่ค่อนข้างจำกัด อย่างวันพุธที่ผ่านมา ผมก็เชิญนักวิชาการทางด้านการศึกษามา ก็ดีมากเลยนะครับ ท่านเลขา สกอ. ก็กรุณามาทางผู้อำนวยการสถาบันประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษาก็มา ผู้แทนครูก็มา ผู้แทนกลุ่มผู้ปกครองก็มานะครับ แล้วก็ผมก็ให้สมาชิกมานั่งฟังเขาก็แสดงความคิดเห็นครบหมดเลยครับตั้งแต่ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเด็กเล็กไปจนถึงปัญหาโรงเรียน ปัญหาหลักสูตร ปัญหามหาวิทยาลัย ปัญหามีจบมาแล้วมีงานทำ ไม่มีงานทำ แล้วอย่างวันนี้ผมก็เชิญอีก เชิญเรื่องสาธารณสุข นะครับ ก็จะมีคุยกันทั้งเรื่องระบบยา ทั้งเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าการทำงานในเชิงรุกเรื่องสุขภาพ คือนี่คือสิ่งที่เป็นงานของพรรคการเมืองที่ต้องทำนะครับ เพราะฉะนั้นผมก็จะทำโดยจำกัดอย่างนี้ว่าผมเชิญมาไม่กี่สิบคน และก็นั่งคุยกันในวงแคบ ๆ แต่จริง ๆ แล้ว พรรคการเมืองน่าจะได้มีโอกาสทำแบบเป็นทางการเป็นเรื่องของพรรค เป็นเรื่องของการเตรียมความพร้อมในเรื่องของการที่จะทำงานทางการเมือง
ม
ผู้ดำเนินรายการ ครับ คุณอภิสิทธิ์มองอย่างไรกับกระแสกดดันให้ปลด พลเอกสุรยุทธ์ ออกจากนายกรัฐมนตรีในช่วงนี้ครับ
คุณอภิสิทธิ์ คือ จริง ๆ ก็ไม่แปลกใจนะครับ ต้องยอมรับว่าคนที่มาเป็นนายกรัฐมนตรีในช่วงนี้ มันมีความคาดหวังสูงจากหลายฝ่าย และสังคมมีความคิดเห็นที่แตกต่าง จนแทบจะเรียกได้ว่ามีความแตกแยกอยู่เป็นพื้นฐานอยู่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นบางคนก็อยากจะเห็นการประนีประนอม บางคนก็อยากจะเห็นความเด็ดขาดนะครับ และก็เมื่อทำงานอยู่ในสภาวะซึ่งต้องเรียนตรง ๆ ว่าบรรยากาศหลายอย่างไม่เอื้ออำนายเพราะว่าเป็นรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งนะครับ ทำงานก็เรียนตรง ๆ เช่นกันว่าหลายท่านก็ บนความที่ไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนนะครับ เพราะฉะนั้นปัญหาหลายอย่างที่มันกระทบอยู่นั้น มันก็จะมีแรงกดดันมีกระแสขึ้นมา เป็นเรื่องปกติธรรมดา ทีนี้ผมก็คิดว่าคนที่แสดงออก เขาก็มีสิทธิ์ที่จะแสดงออก แต่ว่าท่านนายกฯ ก็วางท่าทีที่ดี ก็คือว่าบอกว่าท่านก็รับฟัง พิจารณาตัวเองนะครับ แต่ว่าก็อยากให้ช่วยกันดูว่าอะไรที่มันจะดีที่สุด จริง ๆ แล้วดีที่สุดสำหรับบ้านเมืองตอนนี้ก็คือว่าเรากลับไปสู่ภาวะปกติมีรัฐธรรมนูญมีการเลือกตั้ง โดยเร็ว และราบรื่นที่สุด เพราะฉะนั้นคำถามก็จะเกิดขึ้นมาว่าเอ๊ะ ถ้าเกิดมันมีความเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นมาตรงนี้ มันจะช่วยให้ตรงนั้นดีขึ้นหรือเปล่า นะครับ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าก็เป็นปกติธรรมดานะครับ ก็แสดงให้เห็นว่าบ้านเมืองเราก็ยังเปิดโอกาสให้คนใช้สิทธิเสรีภาพในระดับหนึ่งแต่ว่า ข้อวิจารณ์ต่าง ๆ ท่านนายกฯ และรัฐบาลก็ควรรับฟังนะครับ แล้วก็ผมคิดว่า คมช. วันนี้ก็พยายามที่จะให้ความมั่นใจว่ามันไม่ได้มีความแตกแยกกันโดยพื้นฐานนะครับ ก็ดีเพระว่าถ้ามันมีความไม่เป็นเอกภาพนั้นมันก็จะยิ่งยุ่งไปอีกนะครับ ในช่วงระยะเวลา 3 — 4 เดือนข้างหน้านี้ มันมีเรื่องใหญ่ ๆ เรื่องละเอียดอ่อนเยอะ ที่จะต้องเกิดขึ้นนะครับ เพราะฉะนั้นความเป็นเอกภาพนี้สำคัญแต่ว่า ทุกคนมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นผมก็เพียงแต่พูดย้ำอีกครั้งหนึ่งก็คือว่าเรียกร้องว่าทำอย่างไรทุกฝ่ายช่วยกันประคับประคองบ้านเมืองในช่วงนี้นะครับ แล้วก็มุ่งไปสู่ประโยชน์ของประเทศโดยนึกถึงภาพใหญ่เป็นหลักนะครับ
ผู้ดำเนินรายการ เอาละครับ ขอบพระคุณมากครับคุณอภิสิทธิ์ครับ ขอบพระคุณค่ะคุณอภิสิทธิ์ สวัสดีค่ะ
คุณอภิสิทธิ์ สวัสดีครับ
*************************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 พ.ค. 2550--จบ--