ร่วมสร้างระบบจูงใจคนดีสู่การเมือง
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
3 พฤษภาคม 2550
เรื่องของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยังคงเป็นเรื่องติดอันดับความสนใจ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งอาจเป็นเพราะเป็นสัปดาห์ที่คณะกรรมาธิการยกร่างได้จัดให้มีพิธีส่งมอบร่างรัฐธรรมนูญ ให้แก่ผู้แทนองค์กรสำคัญ ๆ ถึง 12 องค์กร เพื่อพิจารณาและเสนอความคิดเห็นตามที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวกำหนดไว้ และก็เป็นสัปดาห์ที่มีผู้จัดเสวนาเรื่องรัฐธรรมนูญใหม่กันหลายที่หลายแห่ง ซึ่งก็ทำให้เรา ๆ ท่าน ๆ มีโอกาสได้รับฟังความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์มากมายหลายมุมมอง
ในบรรดาความคิดเห็นที่ได้รับฟังมาจากหลายคน หลายเวที กล่าวได้ว่าความคิดเห็นของคุณบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ซึ่งมีตำแหน่งเป็นเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า อยู่ในปัจจุบัน ดูจะมีความแหลมคมและน่าสนใจอยู่หลายประเด็นด้วยกัน
อย่างไรก็ตามมีอยู่ประเด็นหนึ่งที่ผม คงจะเห็นด้วยไม่ได้แน่ ๆ ก็คือประเด็นเรื่องระบบเลือกตั้ง ส.ส.เขต ที่กำหนดไว้ในร่างรัฐธรรมนูญเขตละไม่เกิน 3 คน ซึ่งคุณบวรศักดิ์ ไม่เห็นด้วย เพราะเกรงว่าจะทำให้รัฐบาลอ่อนแอ และบอกว่า “รัฐบาลเข้มแข็ง ต้องออกแบบระบบเลือกตั้งให้รัฐบาลเข้มแข็งเป็นระบบเลือกตั้งสากล คือระบบเขตเดียว คนเดียว ระบบเขตละ 3 คนที่เขียนขึ้นมา อธิบายไม่ได้ว่า ทำไมบางจังหวัดจึงเลือกตั้ง ส.ส.ได้ไม่เท่ากัน และระบบเขตละ 3 คนเชื่อว่ารัฐบาลเจ๊งแน่ พรรคการเมืองจะทุ่มเงินมหาศาลเพื่อซื้อยกเขต เบอร์เดียวได้ทั้งพวง 3 คน ซึ่งระบบนี้มันเละมาแล้วในญี่ปุ่น”
ที่ผมไม่เห็นด้วย กับความเห็นของคุณบวรศักดิ์ในเรื่องนี้ก็เพราะว่า ผมมีประสบการณ์มาอีกอย่างหนึ่งกล่าวคือในเวลาที่ผมลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งเมื่อปี 2518 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2517 ที่ได้ชื่อว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุดฉบับหนึ่ง ก็ใช้ระบบเลือกตั้งเขตละ 3 คน โดยให้ราษฎรผู้เลือกตั้งเลือกได้ 3 คน จะเลือกจากพรรคการเมืองเดียวกันทั้ง 3 คนหรือจะเลือกเอาจากต่างพรรคกันก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 3 คน ซึ่งก็ทำนองเดียวกับที่คณะกรรมาธิการยกร่าง เขายกร่างมานี่แหละ
ระบบนี้ได้ใช้มานับได้ถึง 10 สมัยเลือกตั้งและเพิ่งมาใช้ระบบเขตเดียว คนเดียว ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2544 และเมื่อปี 2548 รวม 2 สมัยเลือกตั้ง
ผมพบความจริงว่าระบบเลือกตั้งเขตละ 3 คนมีข้อดีที่เห็นได้ชัดอยู่มากกล่าวคือ
1. เขตเลือกตั้งกว้างไกล ใช้ระบบอุปถัมภ์ได้ยาก ถ้าคิดจะใช้วิธีซื้อเสียงก็คงต้องใช้เงินมาก
2. เขตเลือกตั้งที่กว้างไกล บรรยากาศการหาเสียงเลือกตั้งไม่ตึงเครียดมากจนเกินไปเพราะไม่มีลักษณะประจันหน้ากัน
3. ผลการเลือกตั้งที่ไม่ใช่ระบบหนึ่งเดียว คือชนะเพียงคนเดียว แต่อาจมีผู้ชนะอื่นสอดแทรกเข้ามาได้ ทำให้ผู้สนับสนุนในหน่วยเลือกตั้งเดียวกันในหมู่บ้านเดียวกัน แม้ว่าจะสนับสนุนผู้สมัครต่างคนหรือต่างพรรค ไม่ค่อยมีความขัดแย้งแตกแยกกัน
4. ในเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครใช้เงินมาก ๆ หรือที่มีอิทธิพลในท้องถิ่นสนับสนุน ก็ยังปรากฎว่ามีผู้สมัครที่เป็นคนดีมีชื่อเสียงที่ไม่ใช้เงินสอดแทรกเข้ามาให้เห็นอยู่เสมอ
ข้อนี้สำคัญ เพราะเรา ๆ ท่าน ๆ ต่างก็ต้องการให้คนดี เข้าสู่ระบบการเมืองมากขึ้นมิใช่หรือ และทั้งยังปรากฎว่าในเวลาที่ใช้ระบบเขตละ 3 คนจะมีคนดี มีชื่อเสียง กล้าเสี่ยงลงสมัครรับเลือกตั้งมากกว่าในเวลาที่ใช้ระบบเขตเดียว คนเดียว
ข้อเสียของระบบนี้ถ้าจะมีก็คงมีเฉพาะที่ว่าจะอธิบายได้อย่างไรว่า ทำไมบางจังหวัดจึงเลือก ส.ส. ได้ไม่เท่ากัน เท่านั้นเอง
ส่วนที่อธิบายกันว่า เป็นระบบที่จะทำให้พรรคอ่อนแอ เพราะผู้สมัครพรรคเดียวกันก็อาจแข่งขันกันเองหรืออาจจะมีการฮั้วกันระหว่างผู้สมัครต่างพรรค แม้จะมีอยู่บ้าง ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่เพราะเป็นปัญหาที่พรรคสามารถตรวจสอบและแก้ไขได้ ซึ่งในการเลือกตั้งในช่วงหลัง ๆ ก่อนหน้าที่จะเปลี่ยนมาใช้ระบบเขตเดียวคนเดียว ดูจะมีการพัฒนาไปในทางเลือกกันยกทีมทั้งพรรคมากขึ้นแล้ว ซึ่งจะบอกว่าเป็นเพราะใช้เงินทุ่มซื้อยกเขต อย่างที่คุณบวรศักดิ์ว่า ก็อาจจะมีอยู่แต่ไม่ใช่ส่วนมาก
แต่ที่แน่ ๆ ผมอยากจะบอกว่า เมื่อเปลี่ยนแปลงมาใช้ระบบเขตเดียวคนเดียวแล้ว มีการใช้เงินกันมากขึ้น ไม่เชื่อก็ให้ไปดูรายงานของสถาบันการเงินต่าง ๆ ภายหลังการเลือกตั้งปี 2535/1 ปี 2535/2 ปี 2544 และปี 2548 เปรียบเทียบกันดูก็จะเห็นได้ชัด ซึ่งผมเข้าใจว่าเหตุที่ทำให้มีการใช้เงินเพื่อการเลือกตั้งมากขึ้น นอกเหนือจากจะเป็นเรื่องของการลงทุนทางการเมือง เพื่อธุรกิจของนักลงทุนแล้ว ระบบเขตเดียวคนเดียวกับค่านิยมของผู้สมัครที่แพ้ไม่ได้แพ้ไม่เป็น ก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการใช้เงินเพื่อการเลือกตั้งมากขึ้นด้วย
ที่เข้าใจกันว่าระบบเลือกตั้งเขตเดียวคนเดียวเป็นระบบเลือกตั้งที่ทำให้รัฐบาลเข้มแข็งก็ไม่ใช่ ผมเข้าใจว่าระบบที่ทำให้รัฐบาลทักษิณเข้มแข็ง จนน่ากลัว และจนได้ก่อให้เกิดปัญหานั้นน่าจะเป็นเพราะระบบอื่น ๆ มากกว่า เช่น
การที่รัฐธรรมนูญไม่มีบทบัญญัติห้ามมิให้มีการควบรวมพรรคการเมืองเข้าด้วยกันได้ภายหลังการเลือกตั้ง รวมทั้งไม่มีบทบัญญัติห้ามการตั้งรัฐบาลผสมจนมีเสียงมากจนสามารถหลีกเลี่ยง มิให้มีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้ ซึ่งก็คือการทำลายการตรวจสอบในระบบรัฐสภา
การแทรกแซงองค์กรอิสระ เพื่อทำลายการตรวจสอบโดยองค์กรอิสระ
การแทรกแซงสื่อ และการใช้สื่อของรัฐในการโฆษณาชวนเชื่อ
การใช้อำนาจรัฐอย่างเบ็ดเสร็จ ในองค์กรราชการเปลี่ยนแปลงหลักราชการ จากข้าราชการและพนักงานของรัฐมาเป็นข้าราชการและพนักงานของพรรค นำระบบให้คุณและโทษในทางราชการมาสร้างเครือข่ายรับใช้เครือข่ายตนซึ่งก็มีข้าราชการที่อยากได้ใคร่ดีวิ่งเข้าหา เพื่อรับใช้เป็นจำนวนไม่น้อย
เหล่านี้ต่างหากที่ทำให้รัฐบาลเข้มแข็งมากจนเกินไปและได้ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมาในที่สุด แต่ก็ดูจะเป็นเรื่องที่คณะกรรมาธิการยกร่าง และสภาร่างรัฐธรรมนูญจะได้ถกเถียงกันมาแล้วทั้งสิ้น สำคัญว่าความพอดีจะอยู่ที่ตรงไหนเท่านั้นเอง
สำหรับเรื่องของระบบเลือกตั้ง ถ้าจะเอาผลประโยชน์ของพรรคการเมืองเป็นที่ตั้งแล้วละก็ การไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลยคงเป็นเรื่องดีที่สุด การจัดการก็สะดวกลงตัวง่ายเพราะเตรียมการกันมาในระบบเดิมตลอดมา บางพรรค บางกลุ่มอาจจะถึงขั้นดีดลูกคิดกันได้แล้วว่าจะได้รับเลือกตั้งเป็นจำนวนเท่าใดที่ไหนบ้าง การเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้งใหม่จึงอาจก่อให้เกิดความไม่แน่นอนขึ้นมาใหม่สำคัญก็คือว่า เราจะเอาประโยชน์พรรค ประโยชน์ตน เป็นที่ตั้งโดยไม่คิดที่จะร่วมกันสร้างระบบที่ดีกว่า เพื่อจูงใจให้คนดีเข้าสู่ระบบการเมืองให้มากยิ่งขึ้นกันบ้างหรือ.
*****************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 3 พ.ค. 2550--จบ--
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
3 พฤษภาคม 2550
เรื่องของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยังคงเป็นเรื่องติดอันดับความสนใจ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งอาจเป็นเพราะเป็นสัปดาห์ที่คณะกรรมาธิการยกร่างได้จัดให้มีพิธีส่งมอบร่างรัฐธรรมนูญ ให้แก่ผู้แทนองค์กรสำคัญ ๆ ถึง 12 องค์กร เพื่อพิจารณาและเสนอความคิดเห็นตามที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวกำหนดไว้ และก็เป็นสัปดาห์ที่มีผู้จัดเสวนาเรื่องรัฐธรรมนูญใหม่กันหลายที่หลายแห่ง ซึ่งก็ทำให้เรา ๆ ท่าน ๆ มีโอกาสได้รับฟังความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์มากมายหลายมุมมอง
ในบรรดาความคิดเห็นที่ได้รับฟังมาจากหลายคน หลายเวที กล่าวได้ว่าความคิดเห็นของคุณบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ซึ่งมีตำแหน่งเป็นเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า อยู่ในปัจจุบัน ดูจะมีความแหลมคมและน่าสนใจอยู่หลายประเด็นด้วยกัน
อย่างไรก็ตามมีอยู่ประเด็นหนึ่งที่ผม คงจะเห็นด้วยไม่ได้แน่ ๆ ก็คือประเด็นเรื่องระบบเลือกตั้ง ส.ส.เขต ที่กำหนดไว้ในร่างรัฐธรรมนูญเขตละไม่เกิน 3 คน ซึ่งคุณบวรศักดิ์ ไม่เห็นด้วย เพราะเกรงว่าจะทำให้รัฐบาลอ่อนแอ และบอกว่า “รัฐบาลเข้มแข็ง ต้องออกแบบระบบเลือกตั้งให้รัฐบาลเข้มแข็งเป็นระบบเลือกตั้งสากล คือระบบเขตเดียว คนเดียว ระบบเขตละ 3 คนที่เขียนขึ้นมา อธิบายไม่ได้ว่า ทำไมบางจังหวัดจึงเลือกตั้ง ส.ส.ได้ไม่เท่ากัน และระบบเขตละ 3 คนเชื่อว่ารัฐบาลเจ๊งแน่ พรรคการเมืองจะทุ่มเงินมหาศาลเพื่อซื้อยกเขต เบอร์เดียวได้ทั้งพวง 3 คน ซึ่งระบบนี้มันเละมาแล้วในญี่ปุ่น”
ที่ผมไม่เห็นด้วย กับความเห็นของคุณบวรศักดิ์ในเรื่องนี้ก็เพราะว่า ผมมีประสบการณ์มาอีกอย่างหนึ่งกล่าวคือในเวลาที่ผมลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งเมื่อปี 2518 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2517 ที่ได้ชื่อว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุดฉบับหนึ่ง ก็ใช้ระบบเลือกตั้งเขตละ 3 คน โดยให้ราษฎรผู้เลือกตั้งเลือกได้ 3 คน จะเลือกจากพรรคการเมืองเดียวกันทั้ง 3 คนหรือจะเลือกเอาจากต่างพรรคกันก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 3 คน ซึ่งก็ทำนองเดียวกับที่คณะกรรมาธิการยกร่าง เขายกร่างมานี่แหละ
ระบบนี้ได้ใช้มานับได้ถึง 10 สมัยเลือกตั้งและเพิ่งมาใช้ระบบเขตเดียว คนเดียว ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2544 และเมื่อปี 2548 รวม 2 สมัยเลือกตั้ง
ผมพบความจริงว่าระบบเลือกตั้งเขตละ 3 คนมีข้อดีที่เห็นได้ชัดอยู่มากกล่าวคือ
1. เขตเลือกตั้งกว้างไกล ใช้ระบบอุปถัมภ์ได้ยาก ถ้าคิดจะใช้วิธีซื้อเสียงก็คงต้องใช้เงินมาก
2. เขตเลือกตั้งที่กว้างไกล บรรยากาศการหาเสียงเลือกตั้งไม่ตึงเครียดมากจนเกินไปเพราะไม่มีลักษณะประจันหน้ากัน
3. ผลการเลือกตั้งที่ไม่ใช่ระบบหนึ่งเดียว คือชนะเพียงคนเดียว แต่อาจมีผู้ชนะอื่นสอดแทรกเข้ามาได้ ทำให้ผู้สนับสนุนในหน่วยเลือกตั้งเดียวกันในหมู่บ้านเดียวกัน แม้ว่าจะสนับสนุนผู้สมัครต่างคนหรือต่างพรรค ไม่ค่อยมีความขัดแย้งแตกแยกกัน
4. ในเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครใช้เงินมาก ๆ หรือที่มีอิทธิพลในท้องถิ่นสนับสนุน ก็ยังปรากฎว่ามีผู้สมัครที่เป็นคนดีมีชื่อเสียงที่ไม่ใช้เงินสอดแทรกเข้ามาให้เห็นอยู่เสมอ
ข้อนี้สำคัญ เพราะเรา ๆ ท่าน ๆ ต่างก็ต้องการให้คนดี เข้าสู่ระบบการเมืองมากขึ้นมิใช่หรือ และทั้งยังปรากฎว่าในเวลาที่ใช้ระบบเขตละ 3 คนจะมีคนดี มีชื่อเสียง กล้าเสี่ยงลงสมัครรับเลือกตั้งมากกว่าในเวลาที่ใช้ระบบเขตเดียว คนเดียว
ข้อเสียของระบบนี้ถ้าจะมีก็คงมีเฉพาะที่ว่าจะอธิบายได้อย่างไรว่า ทำไมบางจังหวัดจึงเลือก ส.ส. ได้ไม่เท่ากัน เท่านั้นเอง
ส่วนที่อธิบายกันว่า เป็นระบบที่จะทำให้พรรคอ่อนแอ เพราะผู้สมัครพรรคเดียวกันก็อาจแข่งขันกันเองหรืออาจจะมีการฮั้วกันระหว่างผู้สมัครต่างพรรค แม้จะมีอยู่บ้าง ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่เพราะเป็นปัญหาที่พรรคสามารถตรวจสอบและแก้ไขได้ ซึ่งในการเลือกตั้งในช่วงหลัง ๆ ก่อนหน้าที่จะเปลี่ยนมาใช้ระบบเขตเดียวคนเดียว ดูจะมีการพัฒนาไปในทางเลือกกันยกทีมทั้งพรรคมากขึ้นแล้ว ซึ่งจะบอกว่าเป็นเพราะใช้เงินทุ่มซื้อยกเขต อย่างที่คุณบวรศักดิ์ว่า ก็อาจจะมีอยู่แต่ไม่ใช่ส่วนมาก
แต่ที่แน่ ๆ ผมอยากจะบอกว่า เมื่อเปลี่ยนแปลงมาใช้ระบบเขตเดียวคนเดียวแล้ว มีการใช้เงินกันมากขึ้น ไม่เชื่อก็ให้ไปดูรายงานของสถาบันการเงินต่าง ๆ ภายหลังการเลือกตั้งปี 2535/1 ปี 2535/2 ปี 2544 และปี 2548 เปรียบเทียบกันดูก็จะเห็นได้ชัด ซึ่งผมเข้าใจว่าเหตุที่ทำให้มีการใช้เงินเพื่อการเลือกตั้งมากขึ้น นอกเหนือจากจะเป็นเรื่องของการลงทุนทางการเมือง เพื่อธุรกิจของนักลงทุนแล้ว ระบบเขตเดียวคนเดียวกับค่านิยมของผู้สมัครที่แพ้ไม่ได้แพ้ไม่เป็น ก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการใช้เงินเพื่อการเลือกตั้งมากขึ้นด้วย
ที่เข้าใจกันว่าระบบเลือกตั้งเขตเดียวคนเดียวเป็นระบบเลือกตั้งที่ทำให้รัฐบาลเข้มแข็งก็ไม่ใช่ ผมเข้าใจว่าระบบที่ทำให้รัฐบาลทักษิณเข้มแข็ง จนน่ากลัว และจนได้ก่อให้เกิดปัญหานั้นน่าจะเป็นเพราะระบบอื่น ๆ มากกว่า เช่น
การที่รัฐธรรมนูญไม่มีบทบัญญัติห้ามมิให้มีการควบรวมพรรคการเมืองเข้าด้วยกันได้ภายหลังการเลือกตั้ง รวมทั้งไม่มีบทบัญญัติห้ามการตั้งรัฐบาลผสมจนมีเสียงมากจนสามารถหลีกเลี่ยง มิให้มีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้ ซึ่งก็คือการทำลายการตรวจสอบในระบบรัฐสภา
การแทรกแซงองค์กรอิสระ เพื่อทำลายการตรวจสอบโดยองค์กรอิสระ
การแทรกแซงสื่อ และการใช้สื่อของรัฐในการโฆษณาชวนเชื่อ
การใช้อำนาจรัฐอย่างเบ็ดเสร็จ ในองค์กรราชการเปลี่ยนแปลงหลักราชการ จากข้าราชการและพนักงานของรัฐมาเป็นข้าราชการและพนักงานของพรรค นำระบบให้คุณและโทษในทางราชการมาสร้างเครือข่ายรับใช้เครือข่ายตนซึ่งก็มีข้าราชการที่อยากได้ใคร่ดีวิ่งเข้าหา เพื่อรับใช้เป็นจำนวนไม่น้อย
เหล่านี้ต่างหากที่ทำให้รัฐบาลเข้มแข็งมากจนเกินไปและได้ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมาในที่สุด แต่ก็ดูจะเป็นเรื่องที่คณะกรรมาธิการยกร่าง และสภาร่างรัฐธรรมนูญจะได้ถกเถียงกันมาแล้วทั้งสิ้น สำคัญว่าความพอดีจะอยู่ที่ตรงไหนเท่านั้นเอง
สำหรับเรื่องของระบบเลือกตั้ง ถ้าจะเอาผลประโยชน์ของพรรคการเมืองเป็นที่ตั้งแล้วละก็ การไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลยคงเป็นเรื่องดีที่สุด การจัดการก็สะดวกลงตัวง่ายเพราะเตรียมการกันมาในระบบเดิมตลอดมา บางพรรค บางกลุ่มอาจจะถึงขั้นดีดลูกคิดกันได้แล้วว่าจะได้รับเลือกตั้งเป็นจำนวนเท่าใดที่ไหนบ้าง การเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้งใหม่จึงอาจก่อให้เกิดความไม่แน่นอนขึ้นมาใหม่สำคัญก็คือว่า เราจะเอาประโยชน์พรรค ประโยชน์ตน เป็นที่ตั้งโดยไม่คิดที่จะร่วมกันสร้างระบบที่ดีกว่า เพื่อจูงใจให้คนดีเข้าสู่ระบบการเมืองให้มากยิ่งขึ้นกันบ้างหรือ.
*****************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 3 พ.ค. 2550--จบ--