ตุรกีเป็นตลาดส่งออกแห่งหนึ่งของไทยที่ทวีความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับ โดยช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ไทยสามารถขยายมูลค่าการส่งออกไปยังตุรกีได้สูงถึงปีละ 20% - 70% ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากรัฐบาลตุรกีส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมหลายประเภท อาทิ รถยนต์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ทำให้มีการนำเข้าสินค้าที่ใช้เป็นวัตถุดิบจากประเทศไทยเพิ่มขึ้น อาทิ ยางพารา ชิ้นส่วนยานยนต์ เม็ดพลาสติก ฯลฯ นอกจากนี้ ตุรกียังมีจุดเด่นในด้านภูมิศาสตร์ที่มีพรมแดนเชื่อมต่อระหว่างทวีปเอเชีย กับยุโรปตะวันออก ทำให้ไทยสามารถอาศัยตุรกีเป็นประตูการค้าเพื่อขยาย
การส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียงได้ ไม่ว่าจะเป็นประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) หรือกลุ่มประเทศบนคาบสมุทรบอลข่าน(อาทิ บัลแกเรีย กรีซ แอลเบเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา)สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับกฎระบียบด้านการนำเข้าสินค้าของตุรกีที่ควรทราบในเบื้องต้น มีดังนี้
1. โครงสร้างอัตราภาษี ส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับโครงสร้างภาษีของ EU เนื่องจากตุรกี อยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของ EU โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ภาษีนำเข้า (Import Duty) โดยทั่วไปตุรกีจะเก็บภาษีนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมจากประเทศนอกกลุ่ม EU และสมาคมการค้าเสรียุโรป (European Free Trade Association : EFTA ประกอบด้วยสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ ไอซ์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ และลิกเตนสไตน์) ในอัตราเฉลี่ยราว 6% - 7.5% และเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรในอัตรา ค่อนข้างสูง เนื่องจากตุรกียังให้การคุ้มครองสินค้าในภาคเกษตรกรรมอยู่มาก สำหรับสินค้าจากประเทศไทย ขณะนี้ มีสินค้าอุตสาหกรรมหลายรายการที่ยังได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences : GSP) จากตุรกี ซึ่งทำให้ได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีนำเข้า
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT) ตุรกีจะเก็บ VAT จากสินค้าและบริการที่ผลิตในประเทศและที่นำเข้าในอัตราเดียวกัน แต่จะแตกต่างกันไปตามประเภทสินค้า โดย VAT สูงสุดที่เก็บจะไม่เกิน 26% ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะเก็บในอัตรา 18% และจะยกเว้น VAT สำหรับสินค้าทุนและวัตถุดิบที่นำเข้าโดยรัฐบาล
2. มาตรฐานสินค้า ข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้านำเข้าของตุรกี ที่สำคัญมีดังนี้
- สินค้าอาหารและสินค้าเกษตร ผู้นำเข้าในตุรกีต้องขอใบรับรองการควบคุม (Control Certificate) จาก Ministry of Agriculture and Rural Affairs ของตุรกี เพื่อรับรองว่าสินค้านำเข้านี้ผลิตได้ตามมาตรฐานที่กำหนดหรือผู้ส่งออกสินค้าอาจขอใบรับรองจากประเทศของตนก่อนการส่งออก สำหรับสินค้าส่งออกจากประเทศไทยสามารถขอใบรับรองได้จากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร หรือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือกรมวิชาการเกษตร ทั้งนี้ ขึ้นกับประเภทของสินค้าที่ส่งออก
- สินค้าอุตสาหกรรม อาทิ ของเล่น ตู้เย็น เครื่องจักร ฯลฯ ที่นำเข้าในตุรกีต้องติดเครื่องหมาย CE (Conformite European Mark : CE Mark) เช่นเดียวกับระเบียบข้อบังคับการนำเข้าสินค้าของ EU เพื่อสร้างความมั่นใจ ให้แก่ผู้บริโภคถึงความปลอดภัยและลดผลกระทบที่อาจมีต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในกระบวนการทดสอบมาตรฐานสินค้า ผู้ผลิตสามารถควบคุมมาตรฐาน ตรวจสอบและรับรองความปลอดภัยของสินค้าด้วยตนเอง หากสินค้ามีความเสี่ยงน้อยในการใช้งาน แต่หากสินค้ามีความเสี่ยงสูงในการใช้งาน ผู้ผลิตต้องให้หน่วยงานตรวจสอบอิสระ (Notified Body)
ที่ผ่านการรับรองจาก EU เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความปลอดภัย
3. ฉลากสินค้า โดยรายละเอียดสำคัญที่ต้องแสดงบนบรรจุภัณฑ์สินค้าที่จะส่งออกไปจำหน่ายในตุรกี เช่น ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า ชื่อสามัญของสินค้า วันที่ผลิตหรือนำเข้า วันหมดอายุ ประเทศผู้ผลิต น้ำหนักและปริมาณสุทธิ ส่วนประกอบและคุณค่าทางโภชนาการ เป็นต้น ทั้งนี้ สินค้าที่ผ่านเข้าตุรกีเพื่อส่งออกต่อไปยังประเทศที่ 3 ต้องมีข้อความ “In Transit” มิฉะนั้น สินค้าดังกล่าวจะถูกเรียกเก็บภาษีและต้องผ่านพิธีการทางศุลกากรของตุรกี
5. อื่น ๆ ตุรกีมีข้อจำกัดสำหรับการนำเข้าสินค้าบางประเภท อาทิ โลหะมีค่าต้องนำเข้าโดยสมาชิกของ Istanbul Gold Exchange เท่านั้น ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมที่มีการให้บริการหลังการขาย เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ต้องได้รับอนุญาตการนำเข้าจาก Ministry of Industry and Trade ของตุรกีด้วย ฯลฯ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มิถุนายน 2550--
-พห-
การส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียงได้ ไม่ว่าจะเป็นประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) หรือกลุ่มประเทศบนคาบสมุทรบอลข่าน(อาทิ บัลแกเรีย กรีซ แอลเบเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา)สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับกฎระบียบด้านการนำเข้าสินค้าของตุรกีที่ควรทราบในเบื้องต้น มีดังนี้
1. โครงสร้างอัตราภาษี ส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับโครงสร้างภาษีของ EU เนื่องจากตุรกี อยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของ EU โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ภาษีนำเข้า (Import Duty) โดยทั่วไปตุรกีจะเก็บภาษีนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมจากประเทศนอกกลุ่ม EU และสมาคมการค้าเสรียุโรป (European Free Trade Association : EFTA ประกอบด้วยสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ ไอซ์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ และลิกเตนสไตน์) ในอัตราเฉลี่ยราว 6% - 7.5% และเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรในอัตรา ค่อนข้างสูง เนื่องจากตุรกียังให้การคุ้มครองสินค้าในภาคเกษตรกรรมอยู่มาก สำหรับสินค้าจากประเทศไทย ขณะนี้ มีสินค้าอุตสาหกรรมหลายรายการที่ยังได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences : GSP) จากตุรกี ซึ่งทำให้ได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีนำเข้า
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT) ตุรกีจะเก็บ VAT จากสินค้าและบริการที่ผลิตในประเทศและที่นำเข้าในอัตราเดียวกัน แต่จะแตกต่างกันไปตามประเภทสินค้า โดย VAT สูงสุดที่เก็บจะไม่เกิน 26% ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะเก็บในอัตรา 18% และจะยกเว้น VAT สำหรับสินค้าทุนและวัตถุดิบที่นำเข้าโดยรัฐบาล
2. มาตรฐานสินค้า ข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้านำเข้าของตุรกี ที่สำคัญมีดังนี้
- สินค้าอาหารและสินค้าเกษตร ผู้นำเข้าในตุรกีต้องขอใบรับรองการควบคุม (Control Certificate) จาก Ministry of Agriculture and Rural Affairs ของตุรกี เพื่อรับรองว่าสินค้านำเข้านี้ผลิตได้ตามมาตรฐานที่กำหนดหรือผู้ส่งออกสินค้าอาจขอใบรับรองจากประเทศของตนก่อนการส่งออก สำหรับสินค้าส่งออกจากประเทศไทยสามารถขอใบรับรองได้จากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร หรือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือกรมวิชาการเกษตร ทั้งนี้ ขึ้นกับประเภทของสินค้าที่ส่งออก
- สินค้าอุตสาหกรรม อาทิ ของเล่น ตู้เย็น เครื่องจักร ฯลฯ ที่นำเข้าในตุรกีต้องติดเครื่องหมาย CE (Conformite European Mark : CE Mark) เช่นเดียวกับระเบียบข้อบังคับการนำเข้าสินค้าของ EU เพื่อสร้างความมั่นใจ ให้แก่ผู้บริโภคถึงความปลอดภัยและลดผลกระทบที่อาจมีต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในกระบวนการทดสอบมาตรฐานสินค้า ผู้ผลิตสามารถควบคุมมาตรฐาน ตรวจสอบและรับรองความปลอดภัยของสินค้าด้วยตนเอง หากสินค้ามีความเสี่ยงน้อยในการใช้งาน แต่หากสินค้ามีความเสี่ยงสูงในการใช้งาน ผู้ผลิตต้องให้หน่วยงานตรวจสอบอิสระ (Notified Body)
ที่ผ่านการรับรองจาก EU เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความปลอดภัย
3. ฉลากสินค้า โดยรายละเอียดสำคัญที่ต้องแสดงบนบรรจุภัณฑ์สินค้าที่จะส่งออกไปจำหน่ายในตุรกี เช่น ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า ชื่อสามัญของสินค้า วันที่ผลิตหรือนำเข้า วันหมดอายุ ประเทศผู้ผลิต น้ำหนักและปริมาณสุทธิ ส่วนประกอบและคุณค่าทางโภชนาการ เป็นต้น ทั้งนี้ สินค้าที่ผ่านเข้าตุรกีเพื่อส่งออกต่อไปยังประเทศที่ 3 ต้องมีข้อความ “In Transit” มิฉะนั้น สินค้าดังกล่าวจะถูกเรียกเก็บภาษีและต้องผ่านพิธีการทางศุลกากรของตุรกี
5. อื่น ๆ ตุรกีมีข้อจำกัดสำหรับการนำเข้าสินค้าบางประเภท อาทิ โลหะมีค่าต้องนำเข้าโดยสมาชิกของ Istanbul Gold Exchange เท่านั้น ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมที่มีการให้บริการหลังการขาย เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ต้องได้รับอนุญาตการนำเข้าจาก Ministry of Industry and Trade ของตุรกีด้วย ฯลฯ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มิถุนายน 2550--
-พห-