อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
24 มีนาคม — 2 เมษายน 2549 มีงาน Bangkok International Motor Show ครั้งที่ 27 ในงานนี้มียอดจองรถยนต์ใหม่รวมประมาณ 15,000 คัน เพิ่มขึ้นจากยอดจองในงานเดียวกันของปี 2548 ประมาณ 1,000 คัน
30 มิถุนายน 2549 มีประกาศกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 78 ยกเว้นภาษีสรรพสามิตรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซี. ที่ได้นำไปติดตั้งชุดอุปกรณ์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติในกระบวนการผลิต ให้ได้รับยกเว้นภาษีสรรพสามิตเป็นจำนวนเงินเท่าที่เป็นค่าใช้จ่ายในการติดตั้งชุดอุปกรณ์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV — Retrofit) แต่ไม่เกินห้าหมื่นบาทต่อคัน ทั้งนี้ รถยนต์ตามประเภทดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงการคลังฉบับนี้ โดยการยกเว้นภาษีสรรพสามิตครั้งนี้ให้มีผลเฉพาะรถยนต์ที่ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม 2549 ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2551
20 พฤศจิกายน 2549 ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีมติให้เปิดส่งเสริมการลงทุนผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล เพื่อสร้างฐานการผลิตรถยนต์ประเภทใหม่ที่ประหยัดพลังงาน ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ ปี 2549
ปริมาณการผลิตรถยนต์ในปี 2549(ม.ค.-ต.ค.) 1,001,035 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 9.03 และในปี 2549 ประมาณว่า ปริมาณการผลิตรถยนต์ 1,200,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.64 จากปี 2548 ที่มีการผลิต 1,125,316 คัน โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ประมาณ ร้อยละ 25, 73 และ 2 ตามลำดับ
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในปี 2549(ม.ค.-ต.ค.) 539,008 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 4.11 และในปี 2549 ประมาณว่า มีการจำหน่ายรถยนต์ 700,000 คัน ลดลงร้อยละ 0.48 จากปี 2548 ที่มีการจำหน่าย 703,410 คัน โดยเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV ประมาณ ร้อยละ 26 , 62, 5 และ 4 ตามลำดับ
ปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) ในปี 2549(ม.ค.-ต.ค.) 439,985 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 21.72 และในปี 2549 ประมาณว่า มีการส่งออกรถยนต์ 540,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.53 จากปี 2548 ที่มีการส่งออก 440,715 คัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนปริมาณการส่งออกต่อปริมาณการผลิต คิดเป็นร้อยละ 45 โดยตลาดส่งออกรถยนต์นั่งที่มีการขยายตัวสูงได้แก่ ออสเตรเลีย และซาอุดีอาระเบีย ตลาดส่งออกรถแวนและปิกอัพที่มีการขยายตัวสูงได้แก่ สหราชอาณาจักร ซาอุดีอาระเบีย และเยอรมนี ตลาดส่งออกรถบัสและรถบรรทุกที่มีการขยายตัวสูงได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย และลาว
อุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2549 การผลิตและการส่งออกมีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ส่วนการจำหน่ายในประเทศชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยมีปัจจัยด้านลบต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมและความต้องการซื้อของผู้บริโภค ได้แก่ สถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงสามไตรมาสแรกของปี ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองที่มีความไม่แน่นอนจนนำมาสู่การมีรัฐบาลชุดใหม่ ได้ส่งผลกระทบทางด้านจิตวิทยาของผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และปัญหาอุทกภัยในพื้นที่หลายจังหวัดของประเทศ อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายปี สถานการณ์ต่างๆ เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ประกอบกับมีงาน Motor Expo 2006 ที่ค่ายรถยนต์ต่างๆ ได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นตลาดในประเทศ
ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ปี 2549
ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในปี 2549(ม.ค.-ต.ค.) 1,775,773 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 8.50 และในปี 2549 ประมาณว่า ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ 2,110,000 คัน ลดลงร้อยละ 10.54 จากปี 2548 ที่มีการผลิต 2,358,511 คัน โดยแบ่งเป็น รถจักรยานยนต์แบบครอบครัวประมาณ ร้อยละ 96 และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตประมาณ ร้อยละ 4
ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในปี 2549(ม.ค.-ต.ค.) 1,758,858 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 1.65 และในปี 2549 ประมาณว่า มีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 2,150,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.99 จากปี 2548 ที่มีการจำหน่าย 2,108,078 คัน โดยแบ่งเป็น รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว (รวมการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบครอบครัวกึ่งสปอร์ต และแบบสกู๊ตเตอร์) ประมาณร้อยละ 99 และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต( รวมแบบสปอร์ต และ แบบ off Road) ประมาณร้อยละ 1
ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ในปี 2549 (ม.ค.-ต.ค.) 1,287,194 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 17.18 และในปี 2549 ประมาณว่า มีการส่งออกรถจักรยานยนต์ 1,600,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.62 จากปี 2548 ที่มีการส่งออก 1,337,586 คัน อย่างไรก็ตาม ในส่วนของรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) ประมาณว่า มีการส่งออกลดลงร้อยละ 25.66 เนื่องจาก ผู้ประกอบการบางรายมีการชะลอและปิดสายการผลิตรถจักรยานยนต์รุ่นเก่าที่ส่งออกไปยังตลาดยุโรป และได้เริ่มมีการส่งออกรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ที่มีคุณภาพสอดคล้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ใหม่ของยุโรป
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในปี 2549 ชะลอตัวลงเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศและกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง อันเนื่องมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น และฤดูฝนที่มีฝนตกหนัก ทำให้เกิดน้ำท่วมขังเป็นเวลานานในหลายพื้นที่ของประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่เป็นตลาดผู้ซื้อหลัก ประกอบกับแหล่งเงินทุนต่างๆ ได้ชะลอการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์
แนวโน้ม
ในปี 2550 คาดว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศจะขยายตัวร้อยละ 4-5 โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากการบริโภคและการลงทุนจากภาคเอกชน ส่วนการส่งออกที่เคยเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2549 จะชะลอตัวตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า
ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2550 คาดว่าจะยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยจะเป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 45-50 และเป็นการผลิตเพื่อส่งออกประมาณร้อยละ 50-55
ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในปี 2550 คาดว่า จะทรงตัวจากปี 2549 เนื่องจากตลาดในประเทศเริ่มเข้าสู่ภาวะอิ่มตัว ส่วนตลาดส่งออกก็สามารถที่จะส่งรถจักรยานยนต์สำเร็จรูปไปยังตลาดยุโรปซึ่งเป็นตลาดหลักรองจากตลาดอาเซียนได้มากขึ้น
ปริมาณการผลิต จำหน่าย และส่งออกรถยนต์
หน่วย : คัน
อุตสาหกรรมรถยนต์ ปี พ.ศ.
2546 2547 2548 2549e
การผลิต 750,512 928,081 1,125,316 1,200,000
การจำหน่าย 533,176 625,978 703,410 700,000
การส่งออก 235,022 332,053 440,715 540,000
ปริมาณการผลิต จำหน่าย และส่งออกรถจักรยานยนต์
หน่วย : คัน
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ปี พ.ศ.
2546 2547 2548 2549e
การผลิต 2,424,676 3,028,070 2,358,511 2,110,000
การจำหน่าย 1,755,297 2,033,766 2,108,078 2,150,000
การส่งออก (CBU+CKD) 604,995 846,619 1,337,586 1,600,000
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
24 มีนาคม — 2 เมษายน 2549 มีงาน Bangkok International Motor Show ครั้งที่ 27 ในงานนี้มียอดจองรถยนต์ใหม่รวมประมาณ 15,000 คัน เพิ่มขึ้นจากยอดจองในงานเดียวกันของปี 2548 ประมาณ 1,000 คัน
30 มิถุนายน 2549 มีประกาศกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 78 ยกเว้นภาษีสรรพสามิตรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ซีซี. ที่ได้นำไปติดตั้งชุดอุปกรณ์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติในกระบวนการผลิต ให้ได้รับยกเว้นภาษีสรรพสามิตเป็นจำนวนเงินเท่าที่เป็นค่าใช้จ่ายในการติดตั้งชุดอุปกรณ์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV — Retrofit) แต่ไม่เกินห้าหมื่นบาทต่อคัน ทั้งนี้ รถยนต์ตามประเภทดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงการคลังฉบับนี้ โดยการยกเว้นภาษีสรรพสามิตครั้งนี้ให้มีผลเฉพาะรถยนต์ที่ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม 2549 ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2551
20 พฤศจิกายน 2549 ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีมติให้เปิดส่งเสริมการลงทุนผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล เพื่อสร้างฐานการผลิตรถยนต์ประเภทใหม่ที่ประหยัดพลังงาน ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ ปี 2549
ปริมาณการผลิตรถยนต์ในปี 2549(ม.ค.-ต.ค.) 1,001,035 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 9.03 และในปี 2549 ประมาณว่า ปริมาณการผลิตรถยนต์ 1,200,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.64 จากปี 2548 ที่มีการผลิต 1,125,316 คัน โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ประมาณ ร้อยละ 25, 73 และ 2 ตามลำดับ
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในปี 2549(ม.ค.-ต.ค.) 539,008 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 4.11 และในปี 2549 ประมาณว่า มีการจำหน่ายรถยนต์ 700,000 คัน ลดลงร้อยละ 0.48 จากปี 2548 ที่มีการจำหน่าย 703,410 คัน โดยเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV ประมาณ ร้อยละ 26 , 62, 5 และ 4 ตามลำดับ
ปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) ในปี 2549(ม.ค.-ต.ค.) 439,985 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 21.72 และในปี 2549 ประมาณว่า มีการส่งออกรถยนต์ 540,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.53 จากปี 2548 ที่มีการส่งออก 440,715 คัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนปริมาณการส่งออกต่อปริมาณการผลิต คิดเป็นร้อยละ 45 โดยตลาดส่งออกรถยนต์นั่งที่มีการขยายตัวสูงได้แก่ ออสเตรเลีย และซาอุดีอาระเบีย ตลาดส่งออกรถแวนและปิกอัพที่มีการขยายตัวสูงได้แก่ สหราชอาณาจักร ซาอุดีอาระเบีย และเยอรมนี ตลาดส่งออกรถบัสและรถบรรทุกที่มีการขยายตัวสูงได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย และลาว
อุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2549 การผลิตและการส่งออกมีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ส่วนการจำหน่ายในประเทศชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยมีปัจจัยด้านลบต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมและความต้องการซื้อของผู้บริโภค ได้แก่ สถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงสามไตรมาสแรกของปี ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองที่มีความไม่แน่นอนจนนำมาสู่การมีรัฐบาลชุดใหม่ ได้ส่งผลกระทบทางด้านจิตวิทยาของผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และปัญหาอุทกภัยในพื้นที่หลายจังหวัดของประเทศ อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายปี สถานการณ์ต่างๆ เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ประกอบกับมีงาน Motor Expo 2006 ที่ค่ายรถยนต์ต่างๆ ได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นตลาดในประเทศ
ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ปี 2549
ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในปี 2549(ม.ค.-ต.ค.) 1,775,773 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 8.50 และในปี 2549 ประมาณว่า ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ 2,110,000 คัน ลดลงร้อยละ 10.54 จากปี 2548 ที่มีการผลิต 2,358,511 คัน โดยแบ่งเป็น รถจักรยานยนต์แบบครอบครัวประมาณ ร้อยละ 96 และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตประมาณ ร้อยละ 4
ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในปี 2549(ม.ค.-ต.ค.) 1,758,858 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 1.65 และในปี 2549 ประมาณว่า มีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 2,150,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.99 จากปี 2548 ที่มีการจำหน่าย 2,108,078 คัน โดยแบ่งเป็น รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว (รวมการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบครอบครัวกึ่งสปอร์ต และแบบสกู๊ตเตอร์) ประมาณร้อยละ 99 และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต( รวมแบบสปอร์ต และ แบบ off Road) ประมาณร้อยละ 1
ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ในปี 2549 (ม.ค.-ต.ค.) 1,287,194 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 17.18 และในปี 2549 ประมาณว่า มีการส่งออกรถจักรยานยนต์ 1,600,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.62 จากปี 2548 ที่มีการส่งออก 1,337,586 คัน อย่างไรก็ตาม ในส่วนของรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) ประมาณว่า มีการส่งออกลดลงร้อยละ 25.66 เนื่องจาก ผู้ประกอบการบางรายมีการชะลอและปิดสายการผลิตรถจักรยานยนต์รุ่นเก่าที่ส่งออกไปยังตลาดยุโรป และได้เริ่มมีการส่งออกรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ที่มีคุณภาพสอดคล้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ใหม่ของยุโรป
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในปี 2549 ชะลอตัวลงเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศและกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง อันเนื่องมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น และฤดูฝนที่มีฝนตกหนัก ทำให้เกิดน้ำท่วมขังเป็นเวลานานในหลายพื้นที่ของประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่เป็นตลาดผู้ซื้อหลัก ประกอบกับแหล่งเงินทุนต่างๆ ได้ชะลอการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์
แนวโน้ม
ในปี 2550 คาดว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศจะขยายตัวร้อยละ 4-5 โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากการบริโภคและการลงทุนจากภาคเอกชน ส่วนการส่งออกที่เคยเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2549 จะชะลอตัวตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า
ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2550 คาดว่าจะยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยจะเป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 45-50 และเป็นการผลิตเพื่อส่งออกประมาณร้อยละ 50-55
ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในปี 2550 คาดว่า จะทรงตัวจากปี 2549 เนื่องจากตลาดในประเทศเริ่มเข้าสู่ภาวะอิ่มตัว ส่วนตลาดส่งออกก็สามารถที่จะส่งรถจักรยานยนต์สำเร็จรูปไปยังตลาดยุโรปซึ่งเป็นตลาดหลักรองจากตลาดอาเซียนได้มากขึ้น
ปริมาณการผลิต จำหน่าย และส่งออกรถยนต์
หน่วย : คัน
อุตสาหกรรมรถยนต์ ปี พ.ศ.
2546 2547 2548 2549e
การผลิต 750,512 928,081 1,125,316 1,200,000
การจำหน่าย 533,176 625,978 703,410 700,000
การส่งออก 235,022 332,053 440,715 540,000
ปริมาณการผลิต จำหน่าย และส่งออกรถจักรยานยนต์
หน่วย : คัน
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ปี พ.ศ.
2546 2547 2548 2549e
การผลิต 2,424,676 3,028,070 2,358,511 2,110,000
การจำหน่าย 1,755,297 2,033,766 2,108,078 2,150,000
การส่งออก (CBU+CKD) 604,995 846,619 1,337,586 1,600,000
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-