ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า สถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ถือว่าไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการมากนัก แต่อาจทำให้รายได้ลดน้องลงบ้าง แต่จากการที่ทางสถาบันอาหารได้ทำการวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นนั้น ถือว่าไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ เนื่องจากเชื่อว่าผู้ประกอบการสามารถปรับตัวได้ แต่ปัจจัยที่จะทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจด้านการส่งออกสินค้าประเภทอาหารได้รับผลกระทบโดยตรง คือ ความของผู้ซื้อหากมีการเปลี่ยนแปลง หรือมีการย้ายตลาด จะส่งผลทำให้ผู้ประกอบการเดือนร้อนหนัก เนื่องจากถือว่าอุตสาหกรรมอาหารเป็นตลาดของผู้ซื้อโดยตรง ซึ่งในอนาคตผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัวจากการเป็น Mate มากกลายเป็นกุ๊กแทน เพื่อลดวิกฤตในการส่งออก
ส่วนความคืบหน้าโครงการครัวไทยสู่โลก (Kitchen to the World) ขณะนี้อยู่ในช่วงการแบ่งหน้าที่การทำงานไปยังกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม รวมถึงการกระจายงบฯ ที่เหลืออยู่ประมาณ 140 ล้านบาท ไปตามหน่วยที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อการพัฒนาโครงการครัวไทยสู่โลก เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในส่วนการการทำการตลาด จะเป็นหน้าที่หลักของกรมส่งเสริมการส่งออกกระทรวงพาณิชย์ ส่วนการทำวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จะเป็นภาระของกระทรวงอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ตามในส่วนของร้านอาหารต้นแบบ ที่จะให้เป็นร้านนำร่องของร้านอาหารไทยในต่างประเทศนั้น ขณะนี้ทางสถาบันได้ประสานไปยังกรมส่งเสริมการส่งออก เพื่อให้มีการออกแบบ โดยต้องมีการบริการควบคู่ไปกับผลิตภัณฑ์อาหารของไทยด้วย
ประเด็นวิเคราะห์
จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ถือว่าไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการประเภทอาหารมากนัก เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการค่อนข้างระมัดระวังในการประกอบธุรกิจเป็นอย่างมาก แต่อาจจะส่งผลกระทบต่อเป้าการส่งออกในปี 2550 นี้ ที่อาจลดลงประมาณ 1-2% เท่านั้น ซึ่งการตั้งเป้ายอดการส่งออกจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของอุปสงค์และดูจากค่าเงินเฟ้อเป็นหลัก
ที่มา: http://www.depthai.go.th