อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 มีการประชุมวิชาการนานาชาติด้านอัญมณีและเครื่องประดับครั้ง
ที่ 1 (The 1st International Gem and Jewelry) ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 6-9 ธันวาคม 2549 ณ ศูนย์การประชุมแห่งสิริกิติ์ โดยสถาบัน
วิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ นับเป็นการพัฒนาของอุตสาหกรรมนี้อีกก้าวหนึ่ง ซึ่งอุตสาหกรรมนี้มีมูลค่าการส่งออกโดยรวมใน ปี 2549
สูงถึง 3,644.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับปี 2548 ที่มีมูลค่าการส่งออกโดยรวม 3,232.7 เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 12.73 โดยมีมูลค่าการนำเข้า
โดยรวมสูงถึง 4,101.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับปี 2548 ที่มีมูลค่าการนำเข้าโดยรวม 4,124.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงคิดเป็นร้อยละ
0.54 อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับจึงเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพมากอุตสาหกรรมหนึ่ง
การผลิต
การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณและของที่เกี่ยวข้องกัน ในไตรมาส 4 ปี 2549 เมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรมเครื่องเพชร
พลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน การผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.75 และ 13.90 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนซึ่งเพิ่มขึ้นมากและ
คาดว่าการบริโภคยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในไตรมาส 1 ของปี 2550 ด้านดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงเล็กน้อยร้อย 3.08 แสดงถึงมีการ
จำหน่ายได้เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้
ตารางที่ 1 การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน
ดัชนี 2548 2549 อัตราการขยายตัว(%)
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q4(49)/Q3(49) Q4(49)/Q4(48)
ผลผลิต 62.1 58.7 68.6 84.4 60.8 66.3 69.2 84.1 21.75 -0.32
ส่งสินค้า 67.2 61.4 75.8 87.2 64.9 67 73.8 84.1 13.9 -3.6
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 82.5 101.4 100.5 100.4 92.3 89.6 95 92.2 -3.08 -8.19
ที่มา :ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ฐานเฉลี่ย ปี 2543และเป็นดัชนีที่ยังไม่ได้ปรับผลกระทบของฤดูกาล
การตลาด
การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 949.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.07
ผลจากการส่งออกทองคำที่ไม่ได้ขึ้นรูปที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 164.57 แต่ลดลงร้อยละ 17.98 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์
สำคัญๆ ได้แก่
1. อัญมณี ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 275.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.94 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ อิสราเอล เบลเยี่ยม และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
23.17, 22.33 และ 17.35 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์อัญมณีที่สำคัญมีดังนี้
1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 206.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.57 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ อิสราเอล เบลเยี่ยม และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.61, 29.46 และ 16.12 ตามลำดับ
1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 67.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 11.13 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.99, 17.04 และ 11.56 ตามลำดับ
2. เครื่องประดับแท้ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 503.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.10 เมื่อเทียบกับไตร
มาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.01 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และ
เยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.91, 11.48 และ 5.55 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้ ที่สำคัญมีดังนี้
2.1 ทำด้วยเงิน ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 168.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.64 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.51, 10.34 และ 8.99 ตามลำดับ
2.2 ทำด้วยทอง ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 326.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.95 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.80, 12.13 และ 4.50 ตามลำดับ
3. เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 44.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.28 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อน และร้อยละ 37.81 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส คิดเป็น
สัดส่วนร้อยละ 44.56, 24.44 และ 7.19 ตามลำดับ
4. อัญมณีสังเคราะห์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 12.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 223.08 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตลาดส่งออก ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
53.10, 13.33 และ 13.10 ตามลำดับ
5. ทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป มูลค่าการส่งออก 92.6 ล้านเหรียญสหรัฐ มีขนาดการเติบโตของการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือ ร้อย
ละ 164.57 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ที่มีมูลค่าการส่งออก 35.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ลดลงร้อยละ 17.98 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อน ตลาดส่งออก ได้แก่ ออสเตรเลีย ฮ่องกงและสวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45.36, 21.07และ 18.12 ตามลำดับ
ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ
รายการ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัว : (%)
2548 2549 Q4(49) เทียบ
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q3(49) Q4(48) 2549
อัญมณีและเครื่องประดับ 773 699 832 928 903 905 887 950 7.07 2.34 12.73
1 อัญมณี 281 259 306 270 301 264 302 275 -8.94 1.74 2.34
(1) เพชร 211 203 239 210 231 201 221 206 -6.57 -1.57 -0.39
(2) พลอย 61.1 51.4 63.8 54.6 66 56.2 76.4 67.9 -11.13 24.36 15.42
(3) ไข่มุก 8.5 4.1 3 6.1 3.5 6.4 5 0.8 -84 -86.89 -27.65
2 เครื่องประดับแท้ 424 331 447 489 370 367 479 503 5.1 3.01 1.6
(1) ทำด้วยเงิน 112 116 137 141 117 130 154 168 9.64 19.62 12.4
(2) ทำด้วยทอง 297 211 298 334 243 227 314 327 3.95 -2.3 -2.58
(3) ทำด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ 14 4.9 12.7 13.5 9.5 10.1 11 8.3 -24.55 -38.52 -13.75
3 เครื่องประดับอัญมณีเทียม 23.4 29.1 35.2 32 32.6 40.6 42.7 44.1 3.28 37.81 33.67
4 อัญมณีสังเคราะห์ 3.8 4 5.5 3.9 3.6 12.9 12.9 12.6 -2.33 223.1 144.2
5 ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป 21.9 63.6 26.4 113 174 207 35 92.6 164.6 -17.98 126.1
6 โลหะมีค่าและของที่หุ้มด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ 19.8 12.5 11.9 20.3 22.3 14.3 15.6 22.2 42.31 9.36 15.35
ที่มา :กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือกับกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
การนำเข้า
ช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ไทยนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 919.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง
ร้อยละ 5.15 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การนำเข้าส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าวัตถุ
ดิบ เช่น เพชร พลอย ทองคำ เงิน โลหะมีค่าและโลหะอื่น ๆ เป็นต้น คิดสัดส่วนร้อยละ 93.55 ของการนำเข้าทั้งหมด ประเทศที่เป็นแหล่งนำเข้า
หลักของเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย ฮ่องกง และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ
14.98, 13.92, 10.28 และ 8.93 ตามลำดับ ขณะที่นำเข้าเครื่องประดับอัญมณีมีมูลค่าทั้งสิ้น 46.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงมากถึงร้อยละ
25.44 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.09 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ประเทศที่เป็นแหล่งนำเข้าหลักของเครื่องประดับ
อัญมณี ได้แก่ ไทย ฮ่องกง สหรัฐอเมริกาและอิตาลี คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 25.71, 21.41, 10.43 และ 9.58 ตามลำดับ
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
รายการ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัว : (%)
2548 2549 Q4 (49)เทียบ
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q3(49) Q4(48) 2549
เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ 1,329.80 726.8 997 871.1 961.7 1,027.30 969.7 919.8 -5.15 5.59 -1.18
1 เพชร 349.8 297.1 347 308.8 371.9 303.8 308.2 290.2 -5.84 -6.02 -2.23
2 พลอย 32.5 35.3 42.3 35.2 43.6 35.9 46.7 42.3 -9.42 20.17 15.97
3 อัญมณีสังเคราะห์ 9 11.2 9.7 9.1 8.1 8.9 9.9 9.4 -5.05 3.3 -6.92
4 ไข่มุก 9.2 0.9 8.5 6.8 6.2 2.8 3.6 2.7 -25 -60.3 -39.8
5 ทองคำ 821.5 273.1 480 395.3 405.2 551.3 481.2 438 -8.98 10.8 -4.8
6 เงิน 79.1 80.8 80.5 91.6 98.7 93.9 80.2 93.4 16.46 1.97 10.3
7 แพลทินัม 5.3 5.7 6.7 5.7 7.4 5.2 7.5 3.6 -52 -36.8 1.28
8 โลหะมีค่า และโลหะอื่น ๆ 23.3 22.8 21.6 18.5 20.5 25.7 32.3 40.2 24.46 117.3 37.7
เครื่องประดับอัญมณี 62.5 49.7 51.1 36.1 64.3 49.9 62.5 46.6 -25.44 29.09 11.99
1 เครื่องประดับอัญมณีแท้ 59.4 46.8 48 32.2 59.9 45.7 57.6 42.5 -26.22 31.99 10.35
2 เครื่องประดับอัญมณีเทียม 3.1 2.9 3.2 3.8 4.4 4.2 4.9 4.1 -16.33 7.89 35.38
ที่มา :กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
สรุปและแนวโน้ม
ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีการเติบโตที่สูงขึ้นทั้งด้านการผลิตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ
21.75 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ด้านการส่งออกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในผลิตภัณฑ์ ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป เนื่องมาจากราคาทองคำเพิ่มสูง
ขึ้น และผู้ประกอบการเห็นว่าการที่ผู้บริโภคในประเทศนำทองมาขายคืนให้กับตน ผู้ประกอบการจึงได้ลดการถือครองทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปลงโดยส่งออก
ไปตลาดต่างประเทศ และผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่เครื่องประดับแท้มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ52.99 ของการส่งออกอัญมณีและเครื่อง
ประดับทั้งหมด จึงนับได้ว่าเป็นตัวขับเคลื่อนการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ แม้ว่าการจำหน่ายและการส่งออกจะเพิ่มขึ้น แต่ด้านการนำเข้าสินค้าเพื่อ
เป็นวัตถุดิบในไตรมาสนี้ได้ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 5.15
แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 จากการออกมาตรการป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาทโดยให้มีการกันสำรอง 30%
ของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผลให้ค่าเงินบาทขณะนี้อ่อนตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 จึงคาดการณ์ว่าการส่งออกมีแนวโน้มที่
ขยายตัวในระดับเล็กน้อย อย่างไรก็ดีการที่จีนและอินเดีย ซึ่งนับเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีฐานผู้บริโภคจำนวนมากและมีกำลังซื้อสูงจะเป็นตลาดที่ผู้ประกอบ
การไทยน่าจะทำการตลาดในปีนี้ แต่ทั้งจีนและอินเดียก็เป็นคู่แข่งที่สำคัญของประเทศไทย ฉะนั้นผู้ประกอบการไทยจึงควรสำรวจตลาดที่มีศักยภาพ จากนั้น
ส่งผลิตภัณฑ์ที่ได้เพิ่มมูลค่าแล้วไปตลาดนั้นๆ ส่วนการที่สหรัฐอเมริกาขยายสิทธิพิเศษทางภาษี GSP ให้สินค้าไทยแต่มีเงื่อนไขเพิ่มขึ้น ทำให้สินค้าอัญมณีบาง
พิกัดอาจถูกตัดสิทธิพิเศษ GSP อย่างไรก็ตาม สินค้าที่เข้าเกณฑ์เหล่านั้นยังพอมีช่องทางอาจจะไม่ถูกตัดสิทธิได้ เนื่องจากกฎหมายสหรัฐได้เปิดช่องให้มี
การรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณชนและผู้ได้รับผลกระทบ อีกทั้งการยกเว้นไม่ระงับสิทธิของสินค้า GSP แต่ละรายการ ยังขึ้นอยู่กับดุลพินิจของประ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ที่ 1 (The 1st International Gem and Jewelry) ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 6-9 ธันวาคม 2549 ณ ศูนย์การประชุมแห่งสิริกิติ์ โดยสถาบัน
วิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ นับเป็นการพัฒนาของอุตสาหกรรมนี้อีกก้าวหนึ่ง ซึ่งอุตสาหกรรมนี้มีมูลค่าการส่งออกโดยรวมใน ปี 2549
สูงถึง 3,644.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับปี 2548 ที่มีมูลค่าการส่งออกโดยรวม 3,232.7 เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 12.73 โดยมีมูลค่าการนำเข้า
โดยรวมสูงถึง 4,101.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับปี 2548 ที่มีมูลค่าการนำเข้าโดยรวม 4,124.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงคิดเป็นร้อยละ
0.54 อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับจึงเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพมากอุตสาหกรรมหนึ่ง
การผลิต
การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณและของที่เกี่ยวข้องกัน ในไตรมาส 4 ปี 2549 เมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรมเครื่องเพชร
พลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน การผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.75 และ 13.90 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนซึ่งเพิ่มขึ้นมากและ
คาดว่าการบริโภคยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในไตรมาส 1 ของปี 2550 ด้านดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงเล็กน้อยร้อย 3.08 แสดงถึงมีการ
จำหน่ายได้เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้
ตารางที่ 1 การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน
ดัชนี 2548 2549 อัตราการขยายตัว(%)
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q4(49)/Q3(49) Q4(49)/Q4(48)
ผลผลิต 62.1 58.7 68.6 84.4 60.8 66.3 69.2 84.1 21.75 -0.32
ส่งสินค้า 67.2 61.4 75.8 87.2 64.9 67 73.8 84.1 13.9 -3.6
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 82.5 101.4 100.5 100.4 92.3 89.6 95 92.2 -3.08 -8.19
ที่มา :ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ฐานเฉลี่ย ปี 2543และเป็นดัชนีที่ยังไม่ได้ปรับผลกระทบของฤดูกาล
การตลาด
การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 949.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.07
ผลจากการส่งออกทองคำที่ไม่ได้ขึ้นรูปที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 164.57 แต่ลดลงร้อยละ 17.98 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์
สำคัญๆ ได้แก่
1. อัญมณี ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 275.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.94 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.74 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ อิสราเอล เบลเยี่ยม และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
23.17, 22.33 และ 17.35 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์อัญมณีที่สำคัญมีดังนี้
1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 206.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.57 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ อิสราเอล เบลเยี่ยม และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.61, 29.46 และ 16.12 ตามลำดับ
1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 67.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 11.13 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.99, 17.04 และ 11.56 ตามลำดับ
2. เครื่องประดับแท้ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 503.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.10 เมื่อเทียบกับไตร
มาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.01 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และ
เยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.91, 11.48 และ 5.55 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้ ที่สำคัญมีดังนี้
2.1 ทำด้วยเงิน ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 168.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.64 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.51, 10.34 และ 8.99 ตามลำดับ
2.2 ทำด้วยทอง ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 326.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.95 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.80, 12.13 และ 4.50 ตามลำดับ
3. เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 44.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.28 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อน และร้อยละ 37.81 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส คิดเป็น
สัดส่วนร้อยละ 44.56, 24.44 และ 7.19 ตามลำดับ
4. อัญมณีสังเคราะห์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 12.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 223.08 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตลาดส่งออก ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
53.10, 13.33 และ 13.10 ตามลำดับ
5. ทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป มูลค่าการส่งออก 92.6 ล้านเหรียญสหรัฐ มีขนาดการเติบโตของการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือ ร้อย
ละ 164.57 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ที่มีมูลค่าการส่งออก 35.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ลดลงร้อยละ 17.98 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อน ตลาดส่งออก ได้แก่ ออสเตรเลีย ฮ่องกงและสวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45.36, 21.07และ 18.12 ตามลำดับ
ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ
รายการ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัว : (%)
2548 2549 Q4(49) เทียบ
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q3(49) Q4(48) 2549
อัญมณีและเครื่องประดับ 773 699 832 928 903 905 887 950 7.07 2.34 12.73
1 อัญมณี 281 259 306 270 301 264 302 275 -8.94 1.74 2.34
(1) เพชร 211 203 239 210 231 201 221 206 -6.57 -1.57 -0.39
(2) พลอย 61.1 51.4 63.8 54.6 66 56.2 76.4 67.9 -11.13 24.36 15.42
(3) ไข่มุก 8.5 4.1 3 6.1 3.5 6.4 5 0.8 -84 -86.89 -27.65
2 เครื่องประดับแท้ 424 331 447 489 370 367 479 503 5.1 3.01 1.6
(1) ทำด้วยเงิน 112 116 137 141 117 130 154 168 9.64 19.62 12.4
(2) ทำด้วยทอง 297 211 298 334 243 227 314 327 3.95 -2.3 -2.58
(3) ทำด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ 14 4.9 12.7 13.5 9.5 10.1 11 8.3 -24.55 -38.52 -13.75
3 เครื่องประดับอัญมณีเทียม 23.4 29.1 35.2 32 32.6 40.6 42.7 44.1 3.28 37.81 33.67
4 อัญมณีสังเคราะห์ 3.8 4 5.5 3.9 3.6 12.9 12.9 12.6 -2.33 223.1 144.2
5 ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป 21.9 63.6 26.4 113 174 207 35 92.6 164.6 -17.98 126.1
6 โลหะมีค่าและของที่หุ้มด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ 19.8 12.5 11.9 20.3 22.3 14.3 15.6 22.2 42.31 9.36 15.35
ที่มา :กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือกับกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
การนำเข้า
ช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ไทยนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 919.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง
ร้อยละ 5.15 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การนำเข้าส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าวัตถุ
ดิบ เช่น เพชร พลอย ทองคำ เงิน โลหะมีค่าและโลหะอื่น ๆ เป็นต้น คิดสัดส่วนร้อยละ 93.55 ของการนำเข้าทั้งหมด ประเทศที่เป็นแหล่งนำเข้า
หลักของเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย ฮ่องกง และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ
14.98, 13.92, 10.28 และ 8.93 ตามลำดับ ขณะที่นำเข้าเครื่องประดับอัญมณีมีมูลค่าทั้งสิ้น 46.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงมากถึงร้อยละ
25.44 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.09 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ประเทศที่เป็นแหล่งนำเข้าหลักของเครื่องประดับ
อัญมณี ได้แก่ ไทย ฮ่องกง สหรัฐอเมริกาและอิตาลี คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 25.71, 21.41, 10.43 และ 9.58 ตามลำดับ
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
รายการ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัว : (%)
2548 2549 Q4 (49)เทียบ
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q3(49) Q4(48) 2549
เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ 1,329.80 726.8 997 871.1 961.7 1,027.30 969.7 919.8 -5.15 5.59 -1.18
1 เพชร 349.8 297.1 347 308.8 371.9 303.8 308.2 290.2 -5.84 -6.02 -2.23
2 พลอย 32.5 35.3 42.3 35.2 43.6 35.9 46.7 42.3 -9.42 20.17 15.97
3 อัญมณีสังเคราะห์ 9 11.2 9.7 9.1 8.1 8.9 9.9 9.4 -5.05 3.3 -6.92
4 ไข่มุก 9.2 0.9 8.5 6.8 6.2 2.8 3.6 2.7 -25 -60.3 -39.8
5 ทองคำ 821.5 273.1 480 395.3 405.2 551.3 481.2 438 -8.98 10.8 -4.8
6 เงิน 79.1 80.8 80.5 91.6 98.7 93.9 80.2 93.4 16.46 1.97 10.3
7 แพลทินัม 5.3 5.7 6.7 5.7 7.4 5.2 7.5 3.6 -52 -36.8 1.28
8 โลหะมีค่า และโลหะอื่น ๆ 23.3 22.8 21.6 18.5 20.5 25.7 32.3 40.2 24.46 117.3 37.7
เครื่องประดับอัญมณี 62.5 49.7 51.1 36.1 64.3 49.9 62.5 46.6 -25.44 29.09 11.99
1 เครื่องประดับอัญมณีแท้ 59.4 46.8 48 32.2 59.9 45.7 57.6 42.5 -26.22 31.99 10.35
2 เครื่องประดับอัญมณีเทียม 3.1 2.9 3.2 3.8 4.4 4.2 4.9 4.1 -16.33 7.89 35.38
ที่มา :กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
สรุปและแนวโน้ม
ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีการเติบโตที่สูงขึ้นทั้งด้านการผลิตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ
21.75 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ด้านการส่งออกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในผลิตภัณฑ์ ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป เนื่องมาจากราคาทองคำเพิ่มสูง
ขึ้น และผู้ประกอบการเห็นว่าการที่ผู้บริโภคในประเทศนำทองมาขายคืนให้กับตน ผู้ประกอบการจึงได้ลดการถือครองทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปลงโดยส่งออก
ไปตลาดต่างประเทศ และผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่เครื่องประดับแท้มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ52.99 ของการส่งออกอัญมณีและเครื่อง
ประดับทั้งหมด จึงนับได้ว่าเป็นตัวขับเคลื่อนการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ แม้ว่าการจำหน่ายและการส่งออกจะเพิ่มขึ้น แต่ด้านการนำเข้าสินค้าเพื่อ
เป็นวัตถุดิบในไตรมาสนี้ได้ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 5.15
แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 จากการออกมาตรการป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาทโดยให้มีการกันสำรอง 30%
ของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผลให้ค่าเงินบาทขณะนี้อ่อนตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 จึงคาดการณ์ว่าการส่งออกมีแนวโน้มที่
ขยายตัวในระดับเล็กน้อย อย่างไรก็ดีการที่จีนและอินเดีย ซึ่งนับเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีฐานผู้บริโภคจำนวนมากและมีกำลังซื้อสูงจะเป็นตลาดที่ผู้ประกอบ
การไทยน่าจะทำการตลาดในปีนี้ แต่ทั้งจีนและอินเดียก็เป็นคู่แข่งที่สำคัญของประเทศไทย ฉะนั้นผู้ประกอบการไทยจึงควรสำรวจตลาดที่มีศักยภาพ จากนั้น
ส่งผลิตภัณฑ์ที่ได้เพิ่มมูลค่าแล้วไปตลาดนั้นๆ ส่วนการที่สหรัฐอเมริกาขยายสิทธิพิเศษทางภาษี GSP ให้สินค้าไทยแต่มีเงื่อนไขเพิ่มขึ้น ทำให้สินค้าอัญมณีบาง
พิกัดอาจถูกตัดสิทธิพิเศษ GSP อย่างไรก็ตาม สินค้าที่เข้าเกณฑ์เหล่านั้นยังพอมีช่องทางอาจจะไม่ถูกตัดสิทธิได้ เนื่องจากกฎหมายสหรัฐได้เปิดช่องให้มี
การรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณชนและผู้ได้รับผลกระทบ อีกทั้งการยกเว้นไม่ระงับสิทธิของสินค้า GSP แต่ละรายการ ยังขึ้นอยู่กับดุลพินิจของประ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-