การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๐
__________________
การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๐ วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๕๐ นาฬิกา โดยมีนายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นประธานการประชุม เมื่อสมาชิกครบองค์ประชุมแล้วประธานการประชุมได้ดำเนินการประชุม ตามระเบียบวาระต่าง ๆ ดังนี้
๑. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานการประชุมได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ซึ่งนายสมชาย สกุลสุรรัตน์ และคณะเป็นผู้เสนอ ไปพิจารณาก่อนรับหลักการ บัดนี้คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเสร็จแล้ว และลงมติให้ส่งคืนร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมายังสภานิติบัญญัติภายในกำหนดเวลาพร้อมทั้งข้อสังเกตว่าคณะรัฐมนตรีเห็นด้วยในหลักการที่จะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จึงได้ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแต่ยังไม่แล้วเสร็จ ซึ่งจะได้เร่งนำเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาโดยเร็วจึงขอให้ชะลอการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้ก่อน
ที่ประชุมรับทราบ
๒. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
เรื่องด่วน
๑. ร่างพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุผู้พิการ และ ความมั่นคงของมนุษย์ พิจารณาเสร็จแล้ว
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นตั้งแต่ชื่อร่าง คำปรารภ แล้วพิจารณาเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง เมื่อที่ประชุมได้พิจาณารายงานของคณะกรรมาธิการเรียบร้อยแล้ว ได้ลงมติให้ความเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนน ๙๖ เสียง เพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมาย จากนั้นที่ประชุมเห็นชอบให้ส่งข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
๒. ร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. .... ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ และเนื่องจากมีร่างพระราชบัญญัติในทำนองเดียวกัน ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. .... ซึ่งพลเอกสุรินทร์ พิกุลทอง กับคณะ เป็นผู้เสนอ ประธานการประชุมจึงเสนอต่อที่ประชุมให้รวมพิจารณาไปในคราวเดียวกัน
ที่ประชุมเห็นชอบ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้แถลงต่อที่ประชุมว่า โดยที่เป็นการสมควรส่งเสริมให้ราษฎรได้มีส่วนร่วมกับรัฐในการอนุรักษ์ฟื้นฟู และพัฒนาสภาวะแวดล้อม โดยให้ราษฎรรวมตัวกันเพื่อจัดการ ดูแลรักษา และใช้ทรัพยากรป่าด้วยตนเองอย่างยั่งยืน ซึ่งจะทำให้ราษฎรมีความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของทรัพยากรป่าอันจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ ในการช่วยรักษาระบบนิเวศธรรมชาติและสภาพแวดล้อมลดการทำลายป่าและเป็นการพื้นฟูสภาพป่า จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผู้เสนอร่างได้แถลงต่อที่ประชุมเสร็จแล้วสมาชิกได้อภิปรายว่า เห็นด้วยกับหลักการของ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ เนื่องจากปัจจุบันภาครัฐเพียงอย่างเดียงไม่อาจปกป้องและฟื้นฟูสภาพป่าให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ได้ แต่ต้องอาศัยความร่วมมือของประชาชนที่อยู่ใกล้ชิดกับป่าเป็นกำลังสำคัญ ในการดูแลรักษาป่าเมื่อสมาชิกได้พิจารณาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับ ด้วยคะแนน ๑๑๔ เสียง และที่ประชุมมีมติให้คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา จำนวน ๒๕ คน กำหนดแปรญัตติ ๗ วัน โดยใช้ร่างฯ ของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
เรื่องการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้แถลงต่อที่ประชุมว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดจำนวนองค์คณะผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาเก้าคน เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแต่ละคดี แต่ในปัจจุบันมีแนวโน้มว่าจะมีปริมาณคดีเข้ามาสู่ศาลฎีกาเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้ศาลฎีกาประสบปัญหาภาวะขาดแคลนอัตรากำลังผู้พิพากษาที่จะเป็นองค์คณะผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาคดีอย่างมาก ดังนั้น สมควรกำหนดให้มีผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกาตามกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสร่วมเป็นองค์คณะผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
เมื่อสมาชิกได้พิจารณาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอด้วยคะแนน ๑๑๖ เสียง และที่ประชุมมีมติให้คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา จำนวน ๒๕ คน กำหนด แปรญัตติ ๗ วัน
๒. ร่างพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมซึ่งจะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณใด ไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้น แต่เนื่องจากอัตรากำลังผู้พิพากษาศาลสูงที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่เพียงพอที่จะรองรับปริมาณคดี รวมทั้งภารกิจตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เพิ่มขึ้นได้ สมควรให้ผู้พิพากษาอาวุโสซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายและมีประสบการณ์ในการพิจารณาพิพากษาคดีมาเป็นเวลานานสามารถดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสในศาลสูงได้ จึงจำเป็นต้องตราพระบัญญัตินี้
เมื่อสมาชิกได้พิจารณาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่๑ รับหลักการแห่ง ร่างพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอด้วยคะแนน ๑๒๐ เสียง และที่ประชุมมีมติให้คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา จำนวน ๒๕ คน กำหนดแปรญัตติ ๗ วัน
๓. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
(ฉบับที่..) พ.ศ. .... ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า พระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ กำหนดให้มีผู้พิพากษาอาวุโสเพื่อนั่งพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้น แต่เนื่องจากปัจจุบันศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์มีปริมาณคดีที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ประกอบกับศาลฎีกามีภารกิจที่ต้องปฏิบัติหลายประการ โดยเฉพาะการพิจารณาพิพากษาคดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งต้องมีองค์คณะผู้พิพากษาพิจารณาพิพากษาในแต่ละคดีถึงเก้าคน ทำให้เกิดผลกระทบต่อการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน สมควรให้มีตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา นอกจากนี้ สมควรกำหนดหลักเกณฑ์ให้ประธานศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ข้าราชการตุลาการไป ช่วยทำงานชั่วคราวได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้นั้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
เมื่อสมาชิกได้พิจารณาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่๑ รับหลักการแห่ง ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอด้วยคะแนน ๑๑๘ เสียง และที่ประชุมมีมติให้คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา จำนวน ๒๕ คน กำหนดแปรญัตติ ๗ วัน
๔. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมครอบครัว พ.ศ. .... ซึ่งนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ผู้เสนอร่างฯ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานหลักที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพคน แต่ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหาทางสังคมซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น มีปัญหาการเลี้ยงดูและสัมพันธภาพในครอบครัว อันไม่สามารถแสดงบทบาทหน้าที่ในการหล่อหลอมปลูกฝังค่านิยมคุณธรรมแก่บุตรหลาน ทั้งนี้โดยเหตุที่สังคมและครอบครัวยังขาดโอกาสในการเรียนรู้และขาดกลไกสนับสนุนให้ครอบครัวสามารถนำทำหน้าที่ของคตนเองได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างและพัฒนาสถาบันครอบครัวให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญนี้
จากนั้น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอขอรับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อนที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะพิจารณารับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติในวาระที่ ๑
ที่ประชุมเห็นชอบ
๕. ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. .... ซึ่ง
นางสาวกัญจนา ศิลปะอาชา กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ผู้เสนอร่างฯ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า ด้วยประเทศไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาการค้ามนุษย์อย่างรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะปัญหาการค้าหญิงและเด็กที่กระทำในลักษณะองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งนำผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์โดยเฉพาะที่เป็นหญิงและเด็กเหล่านั้นเข้า มาค้าในหรือส่งไปค้ายังนอกราชอาณาจักร ทั้งในรูปของการค้าประเวณี บังคับใช้แรงงาน โดยกดขี่ทารุณ บังคับขี่เข็ญให้เป็นขอทาน หรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบประการอื่น แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๐ ยังมีมาตรการไม่ครอบคลุมถึงการค้ามนุษย์โดยทั่วไป และมีมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดไม่เพียงพอ ทั้งยังมิได้มีบทบัญญัติยกเว้นการดำเนินคดีแก่ผู้เสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
จากนั้น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอขอรับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อนที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะพิจารณารับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติในวาระที่ ๑
ที่ประชุมเห็นชอบ
๖. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ซึ่ง นายมนัส โกศล กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ผู้เสนอร่างฯ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.
๒๕๔๑ มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อให้การใช้แรงงานเป็นไปอย่างเป็นธรรมสมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้นายจ้างตามมาตรา ๕ (๓) ต้องจัดให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงงานที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างได้รับสิทธิต่าง ๆ ภายใต้สภาพการจ้างที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน กำหนดหลักเกณฑ์กรณีนายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการ เพื่อให้ชัดเจนและเป็นธรรมแก่นายจ้าง และกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษกรณีนายจ้างย้ายสถาน
ประกอบกิจการ ไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา ๑๑๘ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
จากนั้น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอขอรับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อนที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะพิจารณารับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติในวาระที่ ๑
ที่ประชุมเห็นชอบ
๗. ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพะราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒
พ.ศ. .... ซึ่งนายโสภณ สุภาพงษ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ผู้เสนอร่างฯ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า รัฐวิสาหกิจเป็นทรัพย์สมบัติของประเทศชาติ และประชาชนที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างสรรค็และสร้างสมไว้ให้เป็นประโยชน์แก่คนรุ่นหลัง รัฐวิสาหกิจ แต่ละแห่งมีทรัพย์สินทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินเป็นจำนวนมาก การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ มีผลโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ต่อชีวิตความเป็นอยู่ และภาระรายจ่ายของประชาชน ตลอดจนความสะดวก ความสุขสบายของประชาชน และเป็นผลประโยชน์ของชาติโดยตรง ดังนั้นการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจจึงต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้แทนของปวงชน และต้องให้ประชาชนมี ส่วนรวม เพื่อปกป้องกันและพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
ปรากฏว่าพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจ รัฐบาลแปรรูปและจัดการกับรัฐวิสาหกิจได้ โดยเพียงแต่ออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งไม่ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา และโดยที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม ทำให้เกิดความไม่โปร่งใส ไม่เป็นธรรม และทำให้ประเทศชาติ ตลอดจนประชาชนได้รับความเสียหายและผลกระทบเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อมีการกำหนดมูลค่าทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจและกำหนดเป็นทุนของรัฐวิสาหกิจแล้ว รัฐบาลก็สามารถนำหุ้นนั้นออกจำหน่ายขายได้ ทำให้ประเทศชาติและประชาชนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก และเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นแก่ประเทศชาติและประชาชนเป็นส่วนรวม ทั้งยังเป็นการเปิดช่องให้นักการเมืองและทุนการเมืองใช้อำนาจแสวงหาผลประโยชน์จากการจัดจำหน่ายหุ้นและการเข้ายึดครองกิจการ อันแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจโดยไม่เป็นธรรมและโดยฉ้อฉล จึงสมควรยกเลิกกฎหมายฉบับนี้ และเมื่อได้ที่รัฐบาลมีความประสงค์จะแปรรูปรัฐวิสาหกิจใดก็จะต้องเสนอเป็นร่างพระราชบัญญัติต่อรัฐสภา เพื่อให้ผู้แทนของปวงชนได้มีโอกาสพิจารณาตรวจสอบและให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาผลได้เสียและผลกระทบต่อประเทศชาติและประชาชนด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
จากนั้น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอขอรับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อนที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะพิจารณารับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติในวาระที่ ๑
ที่ประชุมเห็นชอบ
๘. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๐ เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ พ.ศ. ....
ซึ่งนายประพันธ์ คูณมี กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ผู้เสนอร่างฯ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า ปัญหาการทุจริตในการดำเนินการโครงการต่าง ๆ ของรัฐมีความสำคัญในฐานะที่เป็นวาระแห่งชาติ และมีกรณีที่ต้องตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ระยะเวลาการทำงานของคณะกรรมการตรวจสอบตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๐ ใกล้จะสิ้นสุดลง ประกอบกับมีปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการกล่าวโทษหรือแจ้งความร้องทุกข์ ตลอดจนการแสวงหาพยานหลักฐาน กรณีจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงอำนาจหน้าที่หรือเพิ่มเติมจำนวนคณะกรรมการตรวจสอบให้มีความเหมาะสมแก่ภารกิจ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติ
จากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เสนอขอรับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อนที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะพิจารณารับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติในวาระที่ ๑
ที่ประชุมเห็นชอบ
๓. กระทู้ถาม
๓.๑ กระทู้ถามสด
กระทู้ถามเรื่อง มาตรการเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหากรณีตรารับรองมาตรฐานอาหารฮาลาลของประเทศไทยขาดความเชื่อถือ ของนายแวมาฮาดี แวดาโอะ ถามนายกรัฐมนตรี
ผู้ตั้งกระทู้ถาม ได้อภิปรายว่าตามที่มีการตรวจพบส่วนผสมของเนื้อสุกรในอาหารที่ ได้รับเครื่องหมายฮาลาล ซึ่งส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของอาหารที่ได้รับตราฮาลาลที่ผลิต ในประเทศไทยที่จะส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งรัฐบาลได้รับทราบเรื่องดังกล่าวแล้วหรือไม่ และ หากทราบแล้วได้มีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวหรือไม่อย่างไร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ตอบชี้แจงว่า คณะกรรมการกลางอิสลาม แห่งประเทศไทย ได้ถอนการรับรองผลิตภัณฑ์สินค้าที่เป็นประเด็นปัญหาชั่วคราว และได้ตั้ง คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง และหากพบว่ามีความผิดจริงจะยกเลิกการรับรองตราฮาลาล ทุกผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการรายที่ก่อปัญหาและจะดำเนินคดีกับผู้ประกอบการด้วย รวมทั้งกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องทำหน้าที่กำกับดูแลให้เข้มงวดยิ่งขึ้นด้วยเพื่อให้เป็นไปตามข้อบัญญัติของกฎหมาย
๓.๒ กระทู้ถามทั่วไป
กระทู้ถามเรื่อง การเวนคืนที่ดินบริเวณสถานที่ก่อสร้างสะพาน ด่านตรวจคนเข้าเมื่องบูเกะดา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ของนายแวมาฮาดี แวดาโอะ ถามนายกรัฐมนตรี
ผู้ตั้งกระทู้ถามได้อภิปรายว่ารัฐบาลมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาการเวนคืนที่ดินบริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองบูเกะดา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส หรือไม่ อย่างไร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ตอบชี้แจงว่า ได้มีการลงนามในบันทึกความ เข้าใจระหว่างไทย-มาเลเซีย ในการก่อสร้างสะพานดังกล่าวแล้ว และกรมทางหลวงอยู่ระหว่าง ดำเนินการเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดินที่เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้าง ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาในการ ดำเนินการพอสมควร ซึ่งจะได้เร่งรัดให้การดำเนินการเสร็จทันตามกำหนดสัญญาต่อไป
กระทู้ถามเรื่อง ความเดือดร้อนของราษฎรชุมชนคลิตี้ล่างเนื่องจากคณะ
นักท่องเที่ยวที่เดินทางด้วยรถยนต์ออฟโรด ของนายสุริชัย หวันแก้ว ถามนายกรัฐมนตรี
ผู้ตั้งกระทู้ถามได้อภิปรายว่า ๑. รัฐบาลมีมาตรการเฉพาะหน้าอย่างไรในการซ่อมแซมถนนสายคลิตี้-น้ำตกคลิตี้ล่าง และการห้ามรถยนต์ออฟโรดหรือรถขนาดใหญ่อื่น ๆ ใช้เส้นทางนี้ในบางช่วงของปี ๒. รัฐบาลดำเนินการเกี่ยวกับการประกาศพื้นที่ที่ประสบปัญหานี้เป็นอุทยานแห่งชาติอยู่ ในขั้นตอนใด และปัจจุบันหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบเส้นทางดังกล่าว ๓. รัฐบาลมีนโยบายและ มาตรการกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่กลับเป็นการสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำลายธรรมชาติ และ สร้างความเดือดร้อนให้กับราษฎรในชุมชนอย่างไร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ตอบชี้แจงว่า พื้นที่ ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่กำลังจะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำคลองงู ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ และเส้นทางดังกล่าวได้รับผลกระทบจากรถยนต์ออฟโรดจริง ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบให้ดูแลชั่วคราว ได้ดำเนินการปิดกั้นห้ามไม่ให้รถออฟโรดเข้าไปในพื้นที่ ๆ ก่อให้เกิดปัญหาแล้ว และในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและดูแลการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์นั้นเห็นว่าควรเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
๔. เรื่องที่พิจารณาเสร็จแล้ว (ไม่มี)
๕. เรื่องที่ค้างพิจารณา
๕.๑ ญัตติ เรื่องขอให้ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณากรณี
การดำเนินกิจการของบริษัทไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด ซึ่ง พลเรือเอกประเสริฐ บุญทรง กับคณะเป็นผู้เสนอ
ผู้เสนอญัตติและสมาชิกได้อภิปรายว่า การดำเนินการของบริษัทไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด มีปัญหาและไม่เป็นไปตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ รวมทั้งไม่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งหากให้ดำเนินการต่อไปอาจทำให้เกิดความเสียหายมากยิ่งขึ้นจึงควรมีการยุบเลิกเพื่อระงับความ เสียหายให้อยู่ในวงจำกัดตั้งแต่ตอนนี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกีฬาและการท่องเที่ยว ได้อภิปรายว่าจะได้นำข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในเรื่องดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
๕.๒ ญัตติ เรื่องขอให้ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาแนวทางการ
ป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติในระยะยาว ซึ่งนายวันชัย ศิริชนะ เป็นผู้เสนอ
ผู้เสนอญัตติและสมาชิกได้อภิปรายว่า ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้สร้างความเสียหายแก่ประชาชนเป็นจำนวนมากรวมทั้งเมื่อเกิดขึ้นแล้วแต่ละครั้งต้องใช้งบประมาณเป็น จำนวนมากในการเยี่ยวยาความเสียหายแก่ประชาชน ซึ่งในบางกรณีอาจดำเนินการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายได้แต่ปัจจุบันมาตรการป้องกันภัยยังไม่ชัดเจนเพียงพอ ดังนั้นควรมีการปรับปรุงในเรื่องของระบบการป้องกันให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดความเสียหายให้น้อยลง และควรมีการจัดสรร งบประมาณที่เหมาะสมและเพียงพอด้วย
รัฐมนตรีว่าการการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้อภิปรายได้มีการพิจารณาจัดทำแผนป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติไว้เรียบร้อยแล้ว สำหรับข้อเสนอแนะต่าง ๆ จะได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
๖. เรื่องที่เสนอใหม่
ที่ประชุมเห็นชอบตามที่สมาชิกผู้เสนอญัตติขอให้เลื่อนระเบียบวาระจำนวน ๒ เรื่อง ไปพิจารณาในคราวต่อไป ได้แก่
๑ ญัตติ เรื่องขอให้ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาปัญหาอัตราภาษี
สุรา ซึ่งนายประพันธ์ คูณมี เป็นผู้เสนอ
๒ ญัตติ เรื่องกรณีการดำเนินการกับการชุมนุมทางการเมืองที่ผิดกฎหมาย
และมาตรการป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการหมิ่นพะบรมเดชานุภาพ ซึ่งนายสำราญ
รอดเพชร กับคณะ เป็นผู้เสนอ
จากนั้น ที่ประชุมเห็นชอบให้ถอน ญัตติ เรื่อง ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาการยกร่างกฎบัตรอาเซียน ซึ่งนายพิชัย วาสนาส่ง เป็นผู้เสนอ เพื่อนำไปพิจารณาในรายละเอียดอีกครั้งในคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ
๗. เรื่องอื่น ๆ
ประธานการประชุมได้เสนอที่ประชุมเพื่อขอนำเรื่องตั้งคณะกรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่าง ในคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อสอบสวนและศึกษาสถานการณ์ ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบและมีมติตั้ง นายเด่น โต๊ะมีนา เป็นกรรมาธิการ แทน ร้อยตำรวจเอก นิติภูมิ นวรัตน์ ซึ่งขอลาออกจากตำแหน่ง
ปิดประชุมเวลา ๑๘.๑๐ นาฬิกา
------------------------------------------------------------
วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๐
__________________
การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๐ วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๕๐ นาฬิกา โดยมีนายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นประธานการประชุม เมื่อสมาชิกครบองค์ประชุมแล้วประธานการประชุมได้ดำเนินการประชุม ตามระเบียบวาระต่าง ๆ ดังนี้
๑. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานการประชุมได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ซึ่งนายสมชาย สกุลสุรรัตน์ และคณะเป็นผู้เสนอ ไปพิจารณาก่อนรับหลักการ บัดนี้คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเสร็จแล้ว และลงมติให้ส่งคืนร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมายังสภานิติบัญญัติภายในกำหนดเวลาพร้อมทั้งข้อสังเกตว่าคณะรัฐมนตรีเห็นด้วยในหลักการที่จะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จึงได้ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแต่ยังไม่แล้วเสร็จ ซึ่งจะได้เร่งนำเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาโดยเร็วจึงขอให้ชะลอการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้ก่อน
ที่ประชุมรับทราบ
๒. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
เรื่องด่วน
๑. ร่างพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุผู้พิการ และ ความมั่นคงของมนุษย์ พิจารณาเสร็จแล้ว
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นตั้งแต่ชื่อร่าง คำปรารภ แล้วพิจารณาเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง เมื่อที่ประชุมได้พิจาณารายงานของคณะกรรมาธิการเรียบร้อยแล้ว ได้ลงมติให้ความเห็นชอบในวาระที่ ๓ ด้วยคะแนน ๙๖ เสียง เพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมาย จากนั้นที่ประชุมเห็นชอบให้ส่งข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
๒. ร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. .... ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ และเนื่องจากมีร่างพระราชบัญญัติในทำนองเดียวกัน ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. .... ซึ่งพลเอกสุรินทร์ พิกุลทอง กับคณะ เป็นผู้เสนอ ประธานการประชุมจึงเสนอต่อที่ประชุมให้รวมพิจารณาไปในคราวเดียวกัน
ที่ประชุมเห็นชอบ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้แถลงต่อที่ประชุมว่า โดยที่เป็นการสมควรส่งเสริมให้ราษฎรได้มีส่วนร่วมกับรัฐในการอนุรักษ์ฟื้นฟู และพัฒนาสภาวะแวดล้อม โดยให้ราษฎรรวมตัวกันเพื่อจัดการ ดูแลรักษา และใช้ทรัพยากรป่าด้วยตนเองอย่างยั่งยืน ซึ่งจะทำให้ราษฎรมีความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของทรัพยากรป่าอันจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ ในการช่วยรักษาระบบนิเวศธรรมชาติและสภาพแวดล้อมลดการทำลายป่าและเป็นการพื้นฟูสภาพป่า จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผู้เสนอร่างได้แถลงต่อที่ประชุมเสร็จแล้วสมาชิกได้อภิปรายว่า เห็นด้วยกับหลักการของ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ เนื่องจากปัจจุบันภาครัฐเพียงอย่างเดียงไม่อาจปกป้องและฟื้นฟูสภาพป่าให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ได้ แต่ต้องอาศัยความร่วมมือของประชาชนที่อยู่ใกล้ชิดกับป่าเป็นกำลังสำคัญ ในการดูแลรักษาป่าเมื่อสมาชิกได้พิจารณาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับ ด้วยคะแนน ๑๑๔ เสียง และที่ประชุมมีมติให้คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา จำนวน ๒๕ คน กำหนดแปรญัตติ ๗ วัน โดยใช้ร่างฯ ของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
เรื่องการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
๑. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้แถลงต่อที่ประชุมว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดจำนวนองค์คณะผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาเก้าคน เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแต่ละคดี แต่ในปัจจุบันมีแนวโน้มว่าจะมีปริมาณคดีเข้ามาสู่ศาลฎีกาเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้ศาลฎีกาประสบปัญหาภาวะขาดแคลนอัตรากำลังผู้พิพากษาที่จะเป็นองค์คณะผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาคดีอย่างมาก ดังนั้น สมควรกำหนดให้มีผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกาตามกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสร่วมเป็นองค์คณะผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
เมื่อสมาชิกได้พิจารณาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอด้วยคะแนน ๑๑๖ เสียง และที่ประชุมมีมติให้คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา จำนวน ๒๕ คน กำหนด แปรญัตติ ๗ วัน
๒. ร่างพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมซึ่งจะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณใด ไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้น แต่เนื่องจากอัตรากำลังผู้พิพากษาศาลสูงที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่เพียงพอที่จะรองรับปริมาณคดี รวมทั้งภารกิจตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เพิ่มขึ้นได้ สมควรให้ผู้พิพากษาอาวุโสซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายและมีประสบการณ์ในการพิจารณาพิพากษาคดีมาเป็นเวลานานสามารถดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสในศาลสูงได้ จึงจำเป็นต้องตราพระบัญญัตินี้
เมื่อสมาชิกได้พิจารณาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่๑ รับหลักการแห่ง ร่างพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอด้วยคะแนน ๑๒๐ เสียง และที่ประชุมมีมติให้คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา จำนวน ๒๕ คน กำหนดแปรญัตติ ๗ วัน
๓. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
(ฉบับที่..) พ.ศ. .... ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า พระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ กำหนดให้มีผู้พิพากษาอาวุโสเพื่อนั่งพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้น แต่เนื่องจากปัจจุบันศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์มีปริมาณคดีที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ประกอบกับศาลฎีกามีภารกิจที่ต้องปฏิบัติหลายประการ โดยเฉพาะการพิจารณาพิพากษาคดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งต้องมีองค์คณะผู้พิพากษาพิจารณาพิพากษาในแต่ละคดีถึงเก้าคน ทำให้เกิดผลกระทบต่อการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน สมควรให้มีตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา นอกจากนี้ สมควรกำหนดหลักเกณฑ์ให้ประธานศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ข้าราชการตุลาการไป ช่วยทำงานชั่วคราวได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้นั้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
เมื่อสมาชิกได้พิจารณาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่๑ รับหลักการแห่ง ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอด้วยคะแนน ๑๑๘ เสียง และที่ประชุมมีมติให้คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา จำนวน ๒๕ คน กำหนดแปรญัตติ ๗ วัน
๔. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมครอบครัว พ.ศ. .... ซึ่งนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ผู้เสนอร่างฯ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานหลักที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพคน แต่ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหาทางสังคมซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น มีปัญหาการเลี้ยงดูและสัมพันธภาพในครอบครัว อันไม่สามารถแสดงบทบาทหน้าที่ในการหล่อหลอมปลูกฝังค่านิยมคุณธรรมแก่บุตรหลาน ทั้งนี้โดยเหตุที่สังคมและครอบครัวยังขาดโอกาสในการเรียนรู้และขาดกลไกสนับสนุนให้ครอบครัวสามารถนำทำหน้าที่ของคตนเองได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างและพัฒนาสถาบันครอบครัวให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญนี้
จากนั้น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอขอรับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อนที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะพิจารณารับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติในวาระที่ ๑
ที่ประชุมเห็นชอบ
๕. ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. .... ซึ่ง
นางสาวกัญจนา ศิลปะอาชา กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ผู้เสนอร่างฯ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า ด้วยประเทศไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาการค้ามนุษย์อย่างรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะปัญหาการค้าหญิงและเด็กที่กระทำในลักษณะองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งนำผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์โดยเฉพาะที่เป็นหญิงและเด็กเหล่านั้นเข้า มาค้าในหรือส่งไปค้ายังนอกราชอาณาจักร ทั้งในรูปของการค้าประเวณี บังคับใช้แรงงาน โดยกดขี่ทารุณ บังคับขี่เข็ญให้เป็นขอทาน หรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบประการอื่น แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๐ ยังมีมาตรการไม่ครอบคลุมถึงการค้ามนุษย์โดยทั่วไป และมีมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดไม่เพียงพอ ทั้งยังมิได้มีบทบัญญัติยกเว้นการดำเนินคดีแก่ผู้เสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
จากนั้น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอขอรับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อนที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะพิจารณารับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติในวาระที่ ๑
ที่ประชุมเห็นชอบ
๖. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ซึ่ง นายมนัส โกศล กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ผู้เสนอร่างฯ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.
๒๕๔๑ มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อให้การใช้แรงงานเป็นไปอย่างเป็นธรรมสมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้นายจ้างตามมาตรา ๕ (๓) ต้องจัดให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงงานที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างได้รับสิทธิต่าง ๆ ภายใต้สภาพการจ้างที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน กำหนดหลักเกณฑ์กรณีนายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการ เพื่อให้ชัดเจนและเป็นธรรมแก่นายจ้าง และกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษกรณีนายจ้างย้ายสถาน
ประกอบกิจการ ไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา ๑๑๘ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
จากนั้น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอขอรับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อนที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะพิจารณารับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติในวาระที่ ๑
ที่ประชุมเห็นชอบ
๗. ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพะราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒
พ.ศ. .... ซึ่งนายโสภณ สุภาพงษ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ผู้เสนอร่างฯ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า รัฐวิสาหกิจเป็นทรัพย์สมบัติของประเทศชาติ และประชาชนที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างสรรค็และสร้างสมไว้ให้เป็นประโยชน์แก่คนรุ่นหลัง รัฐวิสาหกิจ แต่ละแห่งมีทรัพย์สินทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินเป็นจำนวนมาก การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ มีผลโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ต่อชีวิตความเป็นอยู่ และภาระรายจ่ายของประชาชน ตลอดจนความสะดวก ความสุขสบายของประชาชน และเป็นผลประโยชน์ของชาติโดยตรง ดังนั้นการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจจึงต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้แทนของปวงชน และต้องให้ประชาชนมี ส่วนรวม เพื่อปกป้องกันและพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
ปรากฏว่าพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจ รัฐบาลแปรรูปและจัดการกับรัฐวิสาหกิจได้ โดยเพียงแต่ออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งไม่ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา และโดยที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม ทำให้เกิดความไม่โปร่งใส ไม่เป็นธรรม และทำให้ประเทศชาติ ตลอดจนประชาชนได้รับความเสียหายและผลกระทบเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อมีการกำหนดมูลค่าทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจและกำหนดเป็นทุนของรัฐวิสาหกิจแล้ว รัฐบาลก็สามารถนำหุ้นนั้นออกจำหน่ายขายได้ ทำให้ประเทศชาติและประชาชนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก และเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นแก่ประเทศชาติและประชาชนเป็นส่วนรวม ทั้งยังเป็นการเปิดช่องให้นักการเมืองและทุนการเมืองใช้อำนาจแสวงหาผลประโยชน์จากการจัดจำหน่ายหุ้นและการเข้ายึดครองกิจการ อันแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจโดยไม่เป็นธรรมและโดยฉ้อฉล จึงสมควรยกเลิกกฎหมายฉบับนี้ และเมื่อได้ที่รัฐบาลมีความประสงค์จะแปรรูปรัฐวิสาหกิจใดก็จะต้องเสนอเป็นร่างพระราชบัญญัติต่อรัฐสภา เพื่อให้ผู้แทนของปวงชนได้มีโอกาสพิจารณาตรวจสอบและให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาผลได้เสียและผลกระทบต่อประเทศชาติและประชาชนด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
จากนั้น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอขอรับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อนที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะพิจารณารับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติในวาระที่ ๑
ที่ประชุมเห็นชอบ
๘. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๐ เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ พ.ศ. ....
ซึ่งนายประพันธ์ คูณมี กับคณะ เป็นผู้เสนอ
ผู้เสนอร่างฯ ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า ปัญหาการทุจริตในการดำเนินการโครงการต่าง ๆ ของรัฐมีความสำคัญในฐานะที่เป็นวาระแห่งชาติ และมีกรณีที่ต้องตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ระยะเวลาการทำงานของคณะกรรมการตรวจสอบตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๐ ใกล้จะสิ้นสุดลง ประกอบกับมีปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการกล่าวโทษหรือแจ้งความร้องทุกข์ ตลอดจนการแสวงหาพยานหลักฐาน กรณีจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงอำนาจหน้าที่หรือเพิ่มเติมจำนวนคณะกรรมการตรวจสอบให้มีความเหมาะสมแก่ภารกิจ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติ
จากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เสนอขอรับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อนที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะพิจารณารับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติในวาระที่ ๑
ที่ประชุมเห็นชอบ
๓. กระทู้ถาม
๓.๑ กระทู้ถามสด
กระทู้ถามเรื่อง มาตรการเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหากรณีตรารับรองมาตรฐานอาหารฮาลาลของประเทศไทยขาดความเชื่อถือ ของนายแวมาฮาดี แวดาโอะ ถามนายกรัฐมนตรี
ผู้ตั้งกระทู้ถาม ได้อภิปรายว่าตามที่มีการตรวจพบส่วนผสมของเนื้อสุกรในอาหารที่ ได้รับเครื่องหมายฮาลาล ซึ่งส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของอาหารที่ได้รับตราฮาลาลที่ผลิต ในประเทศไทยที่จะส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งรัฐบาลได้รับทราบเรื่องดังกล่าวแล้วหรือไม่ และ หากทราบแล้วได้มีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวหรือไม่อย่างไร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ตอบชี้แจงว่า คณะกรรมการกลางอิสลาม แห่งประเทศไทย ได้ถอนการรับรองผลิตภัณฑ์สินค้าที่เป็นประเด็นปัญหาชั่วคราว และได้ตั้ง คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง และหากพบว่ามีความผิดจริงจะยกเลิกการรับรองตราฮาลาล ทุกผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการรายที่ก่อปัญหาและจะดำเนินคดีกับผู้ประกอบการด้วย รวมทั้งกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องทำหน้าที่กำกับดูแลให้เข้มงวดยิ่งขึ้นด้วยเพื่อให้เป็นไปตามข้อบัญญัติของกฎหมาย
๓.๒ กระทู้ถามทั่วไป
กระทู้ถามเรื่อง การเวนคืนที่ดินบริเวณสถานที่ก่อสร้างสะพาน ด่านตรวจคนเข้าเมื่องบูเกะดา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ของนายแวมาฮาดี แวดาโอะ ถามนายกรัฐมนตรี
ผู้ตั้งกระทู้ถามได้อภิปรายว่ารัฐบาลมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาการเวนคืนที่ดินบริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองบูเกะดา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส หรือไม่ อย่างไร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ตอบชี้แจงว่า ได้มีการลงนามในบันทึกความ เข้าใจระหว่างไทย-มาเลเซีย ในการก่อสร้างสะพานดังกล่าวแล้ว และกรมทางหลวงอยู่ระหว่าง ดำเนินการเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดินที่เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้าง ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาในการ ดำเนินการพอสมควร ซึ่งจะได้เร่งรัดให้การดำเนินการเสร็จทันตามกำหนดสัญญาต่อไป
กระทู้ถามเรื่อง ความเดือดร้อนของราษฎรชุมชนคลิตี้ล่างเนื่องจากคณะ
นักท่องเที่ยวที่เดินทางด้วยรถยนต์ออฟโรด ของนายสุริชัย หวันแก้ว ถามนายกรัฐมนตรี
ผู้ตั้งกระทู้ถามได้อภิปรายว่า ๑. รัฐบาลมีมาตรการเฉพาะหน้าอย่างไรในการซ่อมแซมถนนสายคลิตี้-น้ำตกคลิตี้ล่าง และการห้ามรถยนต์ออฟโรดหรือรถขนาดใหญ่อื่น ๆ ใช้เส้นทางนี้ในบางช่วงของปี ๒. รัฐบาลดำเนินการเกี่ยวกับการประกาศพื้นที่ที่ประสบปัญหานี้เป็นอุทยานแห่งชาติอยู่ ในขั้นตอนใด และปัจจุบันหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบเส้นทางดังกล่าว ๓. รัฐบาลมีนโยบายและ มาตรการกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่กลับเป็นการสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำลายธรรมชาติ และ สร้างความเดือดร้อนให้กับราษฎรในชุมชนอย่างไร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ตอบชี้แจงว่า พื้นที่ ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่กำลังจะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำคลองงู ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ และเส้นทางดังกล่าวได้รับผลกระทบจากรถยนต์ออฟโรดจริง ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบให้ดูแลชั่วคราว ได้ดำเนินการปิดกั้นห้ามไม่ให้รถออฟโรดเข้าไปในพื้นที่ ๆ ก่อให้เกิดปัญหาแล้ว และในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและดูแลการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์นั้นเห็นว่าควรเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย
๔. เรื่องที่พิจารณาเสร็จแล้ว (ไม่มี)
๕. เรื่องที่ค้างพิจารณา
๕.๑ ญัตติ เรื่องขอให้ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณากรณี
การดำเนินกิจการของบริษัทไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด ซึ่ง พลเรือเอกประเสริฐ บุญทรง กับคณะเป็นผู้เสนอ
ผู้เสนอญัตติและสมาชิกได้อภิปรายว่า การดำเนินการของบริษัทไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด มีปัญหาและไม่เป็นไปตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ รวมทั้งไม่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งหากให้ดำเนินการต่อไปอาจทำให้เกิดความเสียหายมากยิ่งขึ้นจึงควรมีการยุบเลิกเพื่อระงับความ เสียหายให้อยู่ในวงจำกัดตั้งแต่ตอนนี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกีฬาและการท่องเที่ยว ได้อภิปรายว่าจะได้นำข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในเรื่องดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
๕.๒ ญัตติ เรื่องขอให้ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาแนวทางการ
ป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติในระยะยาว ซึ่งนายวันชัย ศิริชนะ เป็นผู้เสนอ
ผู้เสนอญัตติและสมาชิกได้อภิปรายว่า ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้สร้างความเสียหายแก่ประชาชนเป็นจำนวนมากรวมทั้งเมื่อเกิดขึ้นแล้วแต่ละครั้งต้องใช้งบประมาณเป็น จำนวนมากในการเยี่ยวยาความเสียหายแก่ประชาชน ซึ่งในบางกรณีอาจดำเนินการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายได้แต่ปัจจุบันมาตรการป้องกันภัยยังไม่ชัดเจนเพียงพอ ดังนั้นควรมีการปรับปรุงในเรื่องของระบบการป้องกันให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดความเสียหายให้น้อยลง และควรมีการจัดสรร งบประมาณที่เหมาะสมและเพียงพอด้วย
รัฐมนตรีว่าการการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้อภิปรายได้มีการพิจารณาจัดทำแผนป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติไว้เรียบร้อยแล้ว สำหรับข้อเสนอแนะต่าง ๆ จะได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
๖. เรื่องที่เสนอใหม่
ที่ประชุมเห็นชอบตามที่สมาชิกผู้เสนอญัตติขอให้เลื่อนระเบียบวาระจำนวน ๒ เรื่อง ไปพิจารณาในคราวต่อไป ได้แก่
๑ ญัตติ เรื่องขอให้ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาปัญหาอัตราภาษี
สุรา ซึ่งนายประพันธ์ คูณมี เป็นผู้เสนอ
๒ ญัตติ เรื่องกรณีการดำเนินการกับการชุมนุมทางการเมืองที่ผิดกฎหมาย
และมาตรการป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการหมิ่นพะบรมเดชานุภาพ ซึ่งนายสำราญ
รอดเพชร กับคณะ เป็นผู้เสนอ
จากนั้น ที่ประชุมเห็นชอบให้ถอน ญัตติ เรื่อง ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาการยกร่างกฎบัตรอาเซียน ซึ่งนายพิชัย วาสนาส่ง เป็นผู้เสนอ เพื่อนำไปพิจารณาในรายละเอียดอีกครั้งในคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ
๗. เรื่องอื่น ๆ
ประธานการประชุมได้เสนอที่ประชุมเพื่อขอนำเรื่องตั้งคณะกรรมาธิการแทนตำแหน่งที่ว่าง ในคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อสอบสวนและศึกษาสถานการณ์ ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบและมีมติตั้ง นายเด่น โต๊ะมีนา เป็นกรรมาธิการ แทน ร้อยตำรวจเอก นิติภูมิ นวรัตน์ ซึ่งขอลาออกจากตำแหน่ง
ปิดประชุมเวลา ๑๘.๑๐ นาฬิกา
------------------------------------------------------------