สรุปประเด็นสำคัญ
ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนกุมภาพันธ์ 2550
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม = 164.37 ลดลงจากเดือนมกราคม 2550 (168.95) ร้อยละ 2.71 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี
ก่อน (161.17) ร้อยละ 1.98
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2550 ได้แก่ การผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบ
ไนโตรเจน การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม การผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ
และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ การผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์อื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย = 62.32 ลดลงจากเดือนมกราคม 2550 (65.70) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน
(66.61)
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2550
- อุตสาหกรรมอาหาร คาดว่าการผลิตและการส่งออกจะเริ่มชะลอตัวเล็กน้อย เป็นผลจากการชะลอรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเนื่องจาก
ความกังวลในค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ขณะที่การจำหน่ายสินค้าในประเทศมีการปรับตัวลดลงจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัว
- อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าการผลิตและการส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปในเดือนมีนาคมแลเมษายนจะ
ชะลอตัวเล็กน้อย เนื่องจาก ยอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง และความผันผวนของค่าเงินบาทอันอาจจะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของลูกค้าลดลง
- อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า สถานการณ์เหล็กในเดือน มี.ค. คาดว่าจะขยายตัวขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยในส่วน
ของการผลิต เหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าการผลิตจะขยายตัวขึ้นตามอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ขณะที่เหล็กทรงยาวมีแนวโน้มทรงตัวเป็นผลมาจากการชะลอ
ตัวของภาคการก่อสร้าง ประกอบกับโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐยังไม่มีผลเป็นรูปธรรมในช่วงเดือนนี้ ขณะที่ ราคาเหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับ
ตัวสูงขึ้น เนื่องจากยังคงมีความต้องการใช้จากหลายประเทศ เช่น จีน อินเดีย รัสเซีย และบราซิล เป็นต้น จึงทำให้ประเทศดังกล่าวลดการส่ง
ออกลง
- อุตสาหกรรมยานยนต์ ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมีนาคม 2550 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2550
เนื่องจากได้ มีการจัดงานแสดงรถยนต์ รถจักรยานยนต์ นานาชาติ "Bangkok International Motor Show 2007" ณ ศูนย์นิทรรศการและการ
ประชุมไบเทค ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม -- 8 เมษายน 2550 ซึ่งภายในงานมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด ประกอบกับค่ายรถยนต์มีการจัด
กิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
- อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ในเดือนมีนาคม และเดือนเมษายน 2550 ซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลก่อสร้าง แต่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงชะลอ
ตัวอย่างต่อเนื่องจากปี 2549 จึงคาดว่าการผลิตและการจำหน่ายในประเทศจะทรงตัว สำหรับการส่งออกขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าหลัก คือ
สหรัฐอเมริกา และประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
- อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในเดือนมี.ค.ปี 2550 คาดว่า น่าจะคงปรับตัวเพิ่มขึ้น
เล็กน้อยจากเดือนก.พ. 2550 เนื่องจากสินค้าในกลุ่มเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น นอกจากนี้ ในตลาดส่งออกเครื่องปรับอากาศที่มีแนว
โน้มดี ได้แก่ ตลาดอียู ตะวันออกกลางที่เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มนี้มีทีท่าว่าจะได้ดี ขณะที่ในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ยังคงมีสถานการณ์การผลิตและ
การขายในภาพรวมที่ดีและมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกอาจขยายตัวบ้างแต่ยังไม่ร้อนแรงมากนัก โดยส่วนใหญ่ในช่วงหลังของปีอัน
เป็นช่วงสูงสุดของการผลิตและขาย อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่า ปี 2550 จะมีการขยายตัวโดยรวมประมาณ 10 % ตามสภาวะของตลาดโลก
สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิ ตอุตสาหกรรม
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
ม.ค. 50 = 168.95
ก.พ. 50 = 164.37
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนี เพิ่มขึ้น ได้แก่
- การผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ย และสารประกอบไนโตรเจน
- การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
- การผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด
อัตราการใช้กำลังการผลิต
- อัตราการใช้กำลังการผลิต
ม.ค. 50 = 65.70
ก.พ. 50 = 62.32
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่
- การผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ
- การผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ย และสารประกอบไนโตรเจน
- การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
1.อุตสาหกรรมอาหาร
ภาวะการผลิตโดยรวมปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันอุตสาหกรรมอาหารคาดว่าจะชะลอตัวลง จากความกังวลต่อการแข็งค่าของ
เงินบาทและการชะลอรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ สำหรับการจำหน่ายในประเทศมีการปรับตัวลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัว
1. การผลิต
ภาวะการผลิตและการส่งออกของของปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 10.4 และ 12.0 โดยสินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
ได้แก่ สับปะรดกระป๋องร้อยละ 42.2 กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 22.4 ปลาทูน่ากระป๋อง ร้อยละ 6.1 ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งร้อยละ 5.2 และ
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ร้อยละ 4.4 เนื่องจาก การปรับแข็งค่าขึ้นของเงินบาท ทำให้ผู้ส่งออกไทยต้องชะลอรับคำสั่งซื้อ ในส่วนการผลิตเพื่อตอบสนอง
ความต้องการในประเทศ กลุ่มสินค้าน้ำมันพืช ปาล์มน้ำมันมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 ส่วนถั่วเหลืองและอาหารสัตว์มีการผลิตลดลง ร้อยละ 59.9
และ 16.5 ตามลำดับ สำหรับน้ำตาลทรายอยู่ในช่วงเปิดหีบฤดูกาลผลิต 49/50 การผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 34.5 เนื่องจากปริมาณอ้อยเข้าโรง
งานเพิ่มขึ้น ทำให้การใช้กำลังการผลิตสูงขึ้นจากร้อยละ 38.0 ในปี 2549 เป็นร้อยละ 52.8 ในปี 2550
2. การตลาด
1) ตลาดในประเทศ สินค้าอาหารและเกษตร มีปริมาณจำหน่ายลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนและปีก่อนร้อยละ 17.9 และ 17.3
พิจารณาได้จากการบริโภคสินค้าไก่และกุ้ง ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.9 และ 23.8 ตามลำดับ
2) ตลาดต่างประเทศ เนื่องจากอยู่ระหว่างการปรับปรุงฐานข้อมูลตามพิกัดศุลกากร 2007 ทำให้ไม่มีข้อมูลประกอบการวิเคราะห์
3. แนวโน้ม
คาดว่าการผลิตและการส่งออกจะเริ่มชะลอตัวเล็กน้อย เป็นผลจาก การชะลอรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ เนื่องจากความกังวลในค่าเงิน
บาทที่แข็งค่าขึ้น ขณะที่การจำหน่ายสินค้าในประเทศมีการปรับตัวลดลงจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัว
2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ผู้ส่งออกสิ่งทอฯ ไม่สามารถที่จะเพิ่มราคาขายได้ จากภาวะค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น จะส่งผลให้ผู้ประกอบการนำเข้าวัตถุดิบจากต่าง
ประเทศมากขึ้น
1. การผลิต
ภาวะการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เดือนกุมภาพันธ์ 2550 โดยรวมมีการผลิตที่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ การผลิตเส้นใยสิ่ง
ทอฯ ลดลงร้อยละ 7.2 เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักลดลงร้อยละ 1.7 เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอที่ลดลงร้อยละ 6.0 เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อ
จากต่างประเทศลดลง ประกอบกับผู้ประกอบการหลายรายไม่รับคำสั่งซื้อใหม่ๆ เพราะเกรงความเสี่ยงจากค่าเงินบาท และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 15.9 เนื่องจากเป็นสินค้าที่ผลิตเพื่อการบริโภคในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่เสื้อผ้าสำเร็จรูป
มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
2. การตลาด
2.1. การจำหน่ายในประเทศ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ผลิตภัณฑ์ สิ่งทอฯ ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ ลด
ลงร้อยละ 2.7 เสื้อผ้าสำเร็จรูปผลิตจากผ้าทอลดลงร้อยละ 18.2 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายเส้นใยสิ่งทอฯลดลงร้อยละ
2.6 เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักลดลงร้อยละ 10.4 และเสื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ ลดลงร้อยละ 22.6
2.2. ตลาดต่างประเทศ เนื่องจากอยู่ระหว่างการปรับปรุงฐานข้อมูลพิกัดศุลกากร ปี 2007 จึงไม่มีข้อมูลประกอบการวิเคราะห์
3. แนวโน้ม
คาดว่าการผลิตและการส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปในเดือนเมษายนจะชะลอตัวเล็กน้อย เนื่องจาก ยอดคำสั่งซื้อจากต่าง
ประเทศลดลง และความผันผวนของค่าเงินบาท อันอาจจะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของลูกค้าลดลง
3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ประเทศอินเดียเชื่อมั่นว่าจะกลายเป็นผู้นำอุตสาหกรรมเหล็กในตลาดโลกและจะนำหน้าประเทศจีนในที่สุด โดย เจ้าหน้าที่จากสถาบันวิจัย
เหล็กและเหล็กกล้ากลางของจีน เปิดเผยว่าขณะนี้จีนต้องนำเข้าแร่เหล็กถึง 2 ใน 3 ของปริมาณแร่เหล็กที่ใช้ ขณะที่ประเทศอินเดียมีปริมาณแร่เหล็กที่
คุณภาพดีเพียงพอ ซึ่งลักษณะของอุตสาหกรรมเหล็กของประเทศจีนและอินเดียจะมีข้อแตกต่างกัน คือ โรงงานจีนส่วนใหญ่จะผลิตสินค้าเพื่อรองรับความ
ต้องการใช้ในประเทศ ในขณะที่อินเดียเน้นขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการควบรวมกิจการของ บ.Arcelor กับ บ. Mittal
และ การครอบครองกิจการ บ. Corus ของ บ. Tata เป็นต้น
1.การผลิต
ภาวะการผลิตเหล็กในช่วงเดือน ก.พ. 50 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลงร้อยละ 4.11 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 138.34 เมื่อพิจารณารายผลิตภัณฑ์ พบว่าผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 7.22 โดยเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลด
ลง ร้อยละ 28.01 เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลง ร้อยละ 14.38 และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ลดลง ร้อยละ 6.36 สำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กทรง
ยาวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน การผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.65 โดยเหล็กเส้นข้ออ้อย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.14 แต่ลวดเหล็ก เหล็กลวด และเหล็กเส้น
กลม กลับลดลง ร้อยละ 18.00 6.10 และ 0.67 ตามลำดับ เนื่องจากเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ผู้ผลิตเหล็กชนิดนี้ได้ขยายการผลิตเพิ่มมากขึ้น
ประกอบกับเดือนนี้มีจำนวนวันทำงานที่น้อย จึงทำให้มีการผลิตลดลง ขณะที่สภาวะตลาดในช่วงนี้ทรงตัว เนื่องจากภาคก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริม
ทรัพย์ที่ค่อนข้างซบเซา ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ภาวะการผลิตขยายตัวขึ้น ร้อยละ 12.70 โดยเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เพิ่ม
ขึ้น ร้อยละ 41.80 และเหล็กเส้นข้ออ้อย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 34.53
2.ราคาเหล็ก
การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนมีนาคม 2550 เมื่อ
เทียบกับเดือนก่อน ราคาโดยเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์เหล็กทุกตัวปรับตัวสูงขึ้นโดยเหล็กเส้น เพิ่มขึ้นจาก 497 เป็น 564 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ
13.58 เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้นจาก 476 เป็น 524 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.97 เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นจาก 526 เป็น
554 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.35 เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 600 เป็น 630 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.00 และเหล็ก
แท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 435 เป็น 455 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.60 เนื่องจากความต้องการใช้ที่เพิ่มมากขึ้นจากประเทศต่างๆ ในหลาย
ภูมิภาคของโลก เช่น ประเทศในแถบยุโรปประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะประเทศรัสเซียที่มีความต้องการใช้เหล็กเส้นในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่ง
ขณะนี้กำลังขยายตัวสูงมาก ทำให้ประเทศรัสเซียเปลี่ยนสถานะจากผู้ส่งออกกลายเป็นผู้นำเข้า และส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศจีนและประเทศใน
กลุ่ม CIS ส่งผลให้ผู้ผลิตเหล็กเส้นของไทยที่สั่งซื้อวัตถุดิบจากประเทศดังกล่าวต้องประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบและมีราคาแพง
3. แนวโน้ม
สถานการณ์เหล็กในเดือน มี.ค. คาดว่าจะขยายตัวขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยในส่วนของการผลิตเหล็กทรงแบนคาดการณ์
ว่าการผลิตจะขยายตัวขึ้นตามอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ขณะที่เหล็กทรงยาวมีแนวโน้มทรงตัวเป็นผลมาจากการชะลอตัวของภาคการก่อสร้าง ประกอบกับ
โครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐยังไม่มีผลเป็นรูปธรรมในช่วงเดือนนี้ ขณะที่ ราคาเหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากยังคงมีความ
ต้องการใช้จากหลายประเทศ เช่น จีน อินเดีย รัสเซีย และบราซิล เป็นต้น จึงทำให้ประเทศดังกล่าวลดการส่งออกลง
(ยังมีต่อ).../ 4. อุตสาหกรรมยานยนต์..
ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนกุมภาพันธ์ 2550
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม = 164.37 ลดลงจากเดือนมกราคม 2550 (168.95) ร้อยละ 2.71 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปี
ก่อน (161.17) ร้อยละ 1.98
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2550 ได้แก่ การผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบ
ไนโตรเจน การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม การผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ
และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ การผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์อื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย = 62.32 ลดลงจากเดือนมกราคม 2550 (65.70) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน
(66.61)
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคม 2550
- อุตสาหกรรมอาหาร คาดว่าการผลิตและการส่งออกจะเริ่มชะลอตัวเล็กน้อย เป็นผลจากการชะลอรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเนื่องจาก
ความกังวลในค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ขณะที่การจำหน่ายสินค้าในประเทศมีการปรับตัวลดลงจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัว
- อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าการผลิตและการส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปในเดือนมีนาคมแลเมษายนจะ
ชะลอตัวเล็กน้อย เนื่องจาก ยอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง และความผันผวนของค่าเงินบาทอันอาจจะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของลูกค้าลดลง
- อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า สถานการณ์เหล็กในเดือน มี.ค. คาดว่าจะขยายตัวขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยในส่วน
ของการผลิต เหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าการผลิตจะขยายตัวขึ้นตามอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ขณะที่เหล็กทรงยาวมีแนวโน้มทรงตัวเป็นผลมาจากการชะลอ
ตัวของภาคการก่อสร้าง ประกอบกับโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐยังไม่มีผลเป็นรูปธรรมในช่วงเดือนนี้ ขณะที่ ราคาเหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับ
ตัวสูงขึ้น เนื่องจากยังคงมีความต้องการใช้จากหลายประเทศ เช่น จีน อินเดีย รัสเซีย และบราซิล เป็นต้น จึงทำให้ประเทศดังกล่าวลดการส่ง
ออกลง
- อุตสาหกรรมยานยนต์ ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมีนาคม 2550 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2550
เนื่องจากได้ มีการจัดงานแสดงรถยนต์ รถจักรยานยนต์ นานาชาติ "Bangkok International Motor Show 2007" ณ ศูนย์นิทรรศการและการ
ประชุมไบเทค ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม -- 8 เมษายน 2550 ซึ่งภายในงานมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด ประกอบกับค่ายรถยนต์มีการจัด
กิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
- อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ในเดือนมีนาคม และเดือนเมษายน 2550 ซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลก่อสร้าง แต่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงชะลอ
ตัวอย่างต่อเนื่องจากปี 2549 จึงคาดว่าการผลิตและการจำหน่ายในประเทศจะทรงตัว สำหรับการส่งออกขึ้นอยู่กับอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าหลัก คือ
สหรัฐอเมริกา และประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
- อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในเดือนมี.ค.ปี 2550 คาดว่า น่าจะคงปรับตัวเพิ่มขึ้น
เล็กน้อยจากเดือนก.พ. 2550 เนื่องจากสินค้าในกลุ่มเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น นอกจากนี้ ในตลาดส่งออกเครื่องปรับอากาศที่มีแนว
โน้มดี ได้แก่ ตลาดอียู ตะวันออกกลางที่เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของกลุ่มนี้มีทีท่าว่าจะได้ดี ขณะที่ในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ยังคงมีสถานการณ์การผลิตและ
การขายในภาพรวมที่ดีและมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกอาจขยายตัวบ้างแต่ยังไม่ร้อนแรงมากนัก โดยส่วนใหญ่ในช่วงหลังของปีอัน
เป็นช่วงสูงสุดของการผลิตและขาย อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่า ปี 2550 จะมีการขยายตัวโดยรวมประมาณ 10 % ตามสภาวะของตลาดโลก
สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิ ตอุตสาหกรรม
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
ม.ค. 50 = 168.95
ก.พ. 50 = 164.37
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนี เพิ่มขึ้น ได้แก่
- การผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ย และสารประกอบไนโตรเจน
- การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
- การผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด
อัตราการใช้กำลังการผลิต
- อัตราการใช้กำลังการผลิต
ม.ค. 50 = 65.70
ก.พ. 50 = 62.32
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่
- การผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ
- การผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ย และสารประกอบไนโตรเจน
- การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
1.อุตสาหกรรมอาหาร
ภาวะการผลิตโดยรวมปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันอุตสาหกรรมอาหารคาดว่าจะชะลอตัวลง จากความกังวลต่อการแข็งค่าของ
เงินบาทและการชะลอรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ สำหรับการจำหน่ายในประเทศมีการปรับตัวลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัว
1. การผลิต
ภาวะการผลิตและการส่งออกของของปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 10.4 และ 12.0 โดยสินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
ได้แก่ สับปะรดกระป๋องร้อยละ 42.2 กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 22.4 ปลาทูน่ากระป๋อง ร้อยละ 6.1 ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งร้อยละ 5.2 และ
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ร้อยละ 4.4 เนื่องจาก การปรับแข็งค่าขึ้นของเงินบาท ทำให้ผู้ส่งออกไทยต้องชะลอรับคำสั่งซื้อ ในส่วนการผลิตเพื่อตอบสนอง
ความต้องการในประเทศ กลุ่มสินค้าน้ำมันพืช ปาล์มน้ำมันมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 ส่วนถั่วเหลืองและอาหารสัตว์มีการผลิตลดลง ร้อยละ 59.9
และ 16.5 ตามลำดับ สำหรับน้ำตาลทรายอยู่ในช่วงเปิดหีบฤดูกาลผลิต 49/50 การผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 34.5 เนื่องจากปริมาณอ้อยเข้าโรง
งานเพิ่มขึ้น ทำให้การใช้กำลังการผลิตสูงขึ้นจากร้อยละ 38.0 ในปี 2549 เป็นร้อยละ 52.8 ในปี 2550
2. การตลาด
1) ตลาดในประเทศ สินค้าอาหารและเกษตร มีปริมาณจำหน่ายลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนและปีก่อนร้อยละ 17.9 และ 17.3
พิจารณาได้จากการบริโภคสินค้าไก่และกุ้ง ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.9 และ 23.8 ตามลำดับ
2) ตลาดต่างประเทศ เนื่องจากอยู่ระหว่างการปรับปรุงฐานข้อมูลตามพิกัดศุลกากร 2007 ทำให้ไม่มีข้อมูลประกอบการวิเคราะห์
3. แนวโน้ม
คาดว่าการผลิตและการส่งออกจะเริ่มชะลอตัวเล็กน้อย เป็นผลจาก การชะลอรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ เนื่องจากความกังวลในค่าเงิน
บาทที่แข็งค่าขึ้น ขณะที่การจำหน่ายสินค้าในประเทศมีการปรับตัวลดลงจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัว
2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
ผู้ส่งออกสิ่งทอฯ ไม่สามารถที่จะเพิ่มราคาขายได้ จากภาวะค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น จะส่งผลให้ผู้ประกอบการนำเข้าวัตถุดิบจากต่าง
ประเทศมากขึ้น
1. การผลิต
ภาวะการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เดือนกุมภาพันธ์ 2550 โดยรวมมีการผลิตที่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ การผลิตเส้นใยสิ่ง
ทอฯ ลดลงร้อยละ 7.2 เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักลดลงร้อยละ 1.7 เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอที่ลดลงร้อยละ 6.0 เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อ
จากต่างประเทศลดลง ประกอบกับผู้ประกอบการหลายรายไม่รับคำสั่งซื้อใหม่ๆ เพราะเกรงความเสี่ยงจากค่าเงินบาท และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกัน
ของปีก่อน การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 15.9 เนื่องจากเป็นสินค้าที่ผลิตเพื่อการบริโภคในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่เสื้อผ้าสำเร็จรูป
มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
2. การตลาด
2.1. การจำหน่ายในประเทศ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ผลิตภัณฑ์ สิ่งทอฯ ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ ลด
ลงร้อยละ 2.7 เสื้อผ้าสำเร็จรูปผลิตจากผ้าทอลดลงร้อยละ 18.2 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายเส้นใยสิ่งทอฯลดลงร้อยละ
2.6 เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักลดลงร้อยละ 10.4 และเสื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ ลดลงร้อยละ 22.6
2.2. ตลาดต่างประเทศ เนื่องจากอยู่ระหว่างการปรับปรุงฐานข้อมูลพิกัดศุลกากร ปี 2007 จึงไม่มีข้อมูลประกอบการวิเคราะห์
3. แนวโน้ม
คาดว่าการผลิตและการส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปในเดือนเมษายนจะชะลอตัวเล็กน้อย เนื่องจาก ยอดคำสั่งซื้อจากต่าง
ประเทศลดลง และความผันผวนของค่าเงินบาท อันอาจจะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของลูกค้าลดลง
3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ประเทศอินเดียเชื่อมั่นว่าจะกลายเป็นผู้นำอุตสาหกรรมเหล็กในตลาดโลกและจะนำหน้าประเทศจีนในที่สุด โดย เจ้าหน้าที่จากสถาบันวิจัย
เหล็กและเหล็กกล้ากลางของจีน เปิดเผยว่าขณะนี้จีนต้องนำเข้าแร่เหล็กถึง 2 ใน 3 ของปริมาณแร่เหล็กที่ใช้ ขณะที่ประเทศอินเดียมีปริมาณแร่เหล็กที่
คุณภาพดีเพียงพอ ซึ่งลักษณะของอุตสาหกรรมเหล็กของประเทศจีนและอินเดียจะมีข้อแตกต่างกัน คือ โรงงานจีนส่วนใหญ่จะผลิตสินค้าเพื่อรองรับความ
ต้องการใช้ในประเทศ ในขณะที่อินเดียเน้นขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการควบรวมกิจการของ บ.Arcelor กับ บ. Mittal
และ การครอบครองกิจการ บ. Corus ของ บ. Tata เป็นต้น
1.การผลิต
ภาวะการผลิตเหล็กในช่วงเดือน ก.พ. 50 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลงร้อยละ 4.11 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิต
อุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 138.34 เมื่อพิจารณารายผลิตภัณฑ์ พบว่าผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 7.22 โดยเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลด
ลง ร้อยละ 28.01 เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลง ร้อยละ 14.38 และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ลดลง ร้อยละ 6.36 สำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กทรง
ยาวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน การผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.65 โดยเหล็กเส้นข้ออ้อย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.14 แต่ลวดเหล็ก เหล็กลวด และเหล็กเส้น
กลม กลับลดลง ร้อยละ 18.00 6.10 และ 0.67 ตามลำดับ เนื่องจากเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ผู้ผลิตเหล็กชนิดนี้ได้ขยายการผลิตเพิ่มมากขึ้น
ประกอบกับเดือนนี้มีจำนวนวันทำงานที่น้อย จึงทำให้มีการผลิตลดลง ขณะที่สภาวะตลาดในช่วงนี้ทรงตัว เนื่องจากภาคก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริม
ทรัพย์ที่ค่อนข้างซบเซา ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ภาวะการผลิตขยายตัวขึ้น ร้อยละ 12.70 โดยเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เพิ่ม
ขึ้น ร้อยละ 41.80 และเหล็กเส้นข้ออ้อย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 34.53
2.ราคาเหล็ก
การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนมีนาคม 2550 เมื่อ
เทียบกับเดือนก่อน ราคาโดยเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์เหล็กทุกตัวปรับตัวสูงขึ้นโดยเหล็กเส้น เพิ่มขึ้นจาก 497 เป็น 564 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ
13.58 เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้นจาก 476 เป็น 524 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.97 เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นจาก 526 เป็น
554 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.35 เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 600 เป็น 630 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.00 และเหล็ก
แท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 435 เป็น 455 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.60 เนื่องจากความต้องการใช้ที่เพิ่มมากขึ้นจากประเทศต่างๆ ในหลาย
ภูมิภาคของโลก เช่น ประเทศในแถบยุโรปประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะประเทศรัสเซียที่มีความต้องการใช้เหล็กเส้นในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่ง
ขณะนี้กำลังขยายตัวสูงมาก ทำให้ประเทศรัสเซียเปลี่ยนสถานะจากผู้ส่งออกกลายเป็นผู้นำเข้า และส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศจีนและประเทศใน
กลุ่ม CIS ส่งผลให้ผู้ผลิตเหล็กเส้นของไทยที่สั่งซื้อวัตถุดิบจากประเทศดังกล่าวต้องประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบและมีราคาแพง
3. แนวโน้ม
สถานการณ์เหล็กในเดือน มี.ค. คาดว่าจะขยายตัวขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยในส่วนของการผลิตเหล็กทรงแบนคาดการณ์
ว่าการผลิตจะขยายตัวขึ้นตามอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ขณะที่เหล็กทรงยาวมีแนวโน้มทรงตัวเป็นผลมาจากการชะลอตัวของภาคการก่อสร้าง ประกอบกับ
โครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐยังไม่มีผลเป็นรูปธรรมในช่วงเดือนนี้ ขณะที่ ราคาเหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากยังคงมีความ
ต้องการใช้จากหลายประเทศ เช่น จีน อินเดีย รัสเซีย และบราซิล เป็นต้น จึงทำให้ประเทศดังกล่าวลดการส่งออกลง
(ยังมีต่อ).../ 4. อุตสาหกรรมยานยนต์..