1. การผลิต
ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีค่าดัชนีผลผลิต 146.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 และ 6.9 เมื่อเปรียบเทียบครึ่งปีแรกของปี 2550 กับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เนื่องจากจีนมีความต้องการใช้เยื่อกระดาษสูงอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับเตรียมรองรับการพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ภาวะการผลิตกระดาษ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ของกระดาษพิมพ์เขียน มีค่าดัชนีผลผลิต 121.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.2 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อนลดลงร้อยละ 5.6 และเมื่อเปรียบเทียบครึ่งปีแรกของปี 2550 กับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 4.4 เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศทำให้บริษัทต่าง ๆ ลดงบประมาณโฆษณาสิ่งพิมพ์ ประกอบกับบางโรงงานหยุดซ่อมบำรุงเครื่องจักร ส่วนภาวะการผลิตกระดาษคราฟท์และกระดาษลูกฟูก มีค่าดัชนีผลผลิต 134.6 และ 189.4 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงเล็กน้อยร้อยละ 2.1 และ 0.8 ตามลำดับ เนื่องจากไตรมาสก่อนมีคำสั่งซื้อตั้งแต่ปีก่อน ส่วนในไตรมาสนี้ยังไม่กล้ารับคำสั่งซื้อเพราะค่าเงินบาทแข็ง หากเปรียบเทียบครึ่งปีแรกของปี 2550 กับช่วงเดียวกันของปีก่อน ค่าดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 และ 7.9 ตามลำดับ
ปัจจัยสนับสนุนการผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษที่สำคัญ คือ ราคาน้ำมันมีแนวโน้ม ทรงตัว และปรับลดลง ซึ่งช่วยลดต้นทุนการผลิต และต้นทุนการขนส่ง
2. การนำเข้าและการส่งออก
2.1 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่า 134.6 273.5 และ 42.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 7.3 และ 17.8 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบครึ่งปีแรกของ ปี 2550 กับช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.9 12.3 และ 6.4 ตามลำดับ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องนำเข้าเยื่อใยยาว และกระดาษคุณภาพสูงที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ เพื่อรองรับความต้องการในประเทศ โดยมีตลาดนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษจากสหรัฐอเมริกา แคนาดา และสวีเดน ส่วนตลาดนำเข้ากระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษจากญี่ปุ่น จีน และสิงคโปร์ สำหรับสาเหตุที่สิ่งพิมพ์มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นก็เพื่อนำมาจำหน่ายในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ/นานาชาติ และรองรับการเปิดเทอมของนักเรียน นักศึกษา ตลาดนำเข้า ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น
2.2 การส่งออก
ภาวะการส่งออกเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่า 47.5 295.4 และ 159.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8 6.0 และ 580.8 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบครึ่งปีแรกของปี 2550กับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.5 12.4 และ 337.3 ตามลำดับ เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน ทำให้ความต้องการใช้เยื่อกระดาษเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าการส่งออกไปยังจีนร้อยละ 70 ของมูลค่าการส่งออกเยื่อกระดาษทั้งหมด ในส่วนของมูลค่าการส่งออกกระดาษเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นเดียวกันกับเยื่อกระดาษ สืบเนื่องจากการเติบโตของประเทศในเอเชีย ประเภทกระดาษที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ กระดาษพิมพ์เขียน ตลาดส่งออก ได้แก่ เกาหลีใต้ ฮ่องกง และมาเลเซีย สำหรับมูลค่าการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เป็นเพราะการประชาสัมพันธ์ของกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมการพิมพ์ไทย จะให้ไทยเป็นศูนย์กลางการพิมพ์ในภูมิภาคอาเซียนตั้งแต่ปีที่แล้ว ส่งผลให้มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากเล็งเห็นถึงศักยภาพของไทย โดยเฉพาะสิ่งพิมพ์ประเภทไปรษณียากร อากรแสตมป์ ธนบัตร สมุดเช็ค ใบสต๊อก และใบหุ้น มีมูลค่าส่งออกสูงสุด ตลาดส่งออก ได้แก่ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และสิงคโปร์
3. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ ในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากจีน มีความต้องการใช้เยื่อกระดาษสูงอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ส่วนภาวะการผลิตอุตสาหกรรมกระดาษโดยรวมทรงตัว เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศ ทำให้บริษัทต่าง ๆ ลดงบประมาณโฆษณาสิ่งพิมพ์ ประกอบกับบางโรงงานหยุดซ่อมบำรุงเครื่องจักร
ภาวะการนำเข้าและการส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมการพิมพ์ไทย ประชาสัมพันธ์การเป็นศูนย์กลางการพิมพ์ในภูมิภาคอาเซียน ทำให้ต่างชาติเล็งเห็นถึงศักยภาพของไทย ประการสำคัญที่จะทำให้มูลค่าการส่งออกขยายตัวอย่างต่อเนื่องนั้น ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนควรเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการพัฒนาเทคโนโลยี พัฒนาบุคลากร รวมทั้งจัดกิจกรรมด้านการตลาดเพื่อกระตุ้นความต้องการผู้บริโภค และมัดใจผู้บริโภค
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้า คาดว่าจะทรงตัว เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ส่งผลต่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ แต่ยังคงมีปัจจัยบวกจากการพิมพ์และประชาสัมพันธ์ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับคาดว่าจะมีการเลือกตั้งในช่วงปลายปีนี้ ทำให้ความต้องการสื่อสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีค่าดัชนีผลผลิต 146.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 และ 6.9 เมื่อเปรียบเทียบครึ่งปีแรกของปี 2550 กับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เนื่องจากจีนมีความต้องการใช้เยื่อกระดาษสูงอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับเตรียมรองรับการพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ภาวะการผลิตกระดาษ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ของกระดาษพิมพ์เขียน มีค่าดัชนีผลผลิต 121.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.2 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อนลดลงร้อยละ 5.6 และเมื่อเปรียบเทียบครึ่งปีแรกของปี 2550 กับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 4.4 เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศทำให้บริษัทต่าง ๆ ลดงบประมาณโฆษณาสิ่งพิมพ์ ประกอบกับบางโรงงานหยุดซ่อมบำรุงเครื่องจักร ส่วนภาวะการผลิตกระดาษคราฟท์และกระดาษลูกฟูก มีค่าดัชนีผลผลิต 134.6 และ 189.4 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงเล็กน้อยร้อยละ 2.1 และ 0.8 ตามลำดับ เนื่องจากไตรมาสก่อนมีคำสั่งซื้อตั้งแต่ปีก่อน ส่วนในไตรมาสนี้ยังไม่กล้ารับคำสั่งซื้อเพราะค่าเงินบาทแข็ง หากเปรียบเทียบครึ่งปีแรกของปี 2550 กับช่วงเดียวกันของปีก่อน ค่าดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 และ 7.9 ตามลำดับ
ปัจจัยสนับสนุนการผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษที่สำคัญ คือ ราคาน้ำมันมีแนวโน้ม ทรงตัว และปรับลดลง ซึ่งช่วยลดต้นทุนการผลิต และต้นทุนการขนส่ง
2. การนำเข้าและการส่งออก
2.1 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่า 134.6 273.5 และ 42.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 7.3 และ 17.8 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบครึ่งปีแรกของ ปี 2550 กับช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.9 12.3 และ 6.4 ตามลำดับ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องนำเข้าเยื่อใยยาว และกระดาษคุณภาพสูงที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ เพื่อรองรับความต้องการในประเทศ โดยมีตลาดนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษจากสหรัฐอเมริกา แคนาดา และสวีเดน ส่วนตลาดนำเข้ากระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษจากญี่ปุ่น จีน และสิงคโปร์ สำหรับสาเหตุที่สิ่งพิมพ์มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นก็เพื่อนำมาจำหน่ายในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ/นานาชาติ และรองรับการเปิดเทอมของนักเรียน นักศึกษา ตลาดนำเข้า ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น
2.2 การส่งออก
ภาวะการส่งออกเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีมูลค่า 47.5 295.4 และ 159.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8 6.0 และ 580.8 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบครึ่งปีแรกของปี 2550กับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.5 12.4 และ 337.3 ตามลำดับ เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน ทำให้ความต้องการใช้เยื่อกระดาษเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าการส่งออกไปยังจีนร้อยละ 70 ของมูลค่าการส่งออกเยื่อกระดาษทั้งหมด ในส่วนของมูลค่าการส่งออกกระดาษเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นเดียวกันกับเยื่อกระดาษ สืบเนื่องจากการเติบโตของประเทศในเอเชีย ประเภทกระดาษที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ กระดาษพิมพ์เขียน ตลาดส่งออก ได้แก่ เกาหลีใต้ ฮ่องกง และมาเลเซีย สำหรับมูลค่าการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เป็นเพราะการประชาสัมพันธ์ของกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมการพิมพ์ไทย จะให้ไทยเป็นศูนย์กลางการพิมพ์ในภูมิภาคอาเซียนตั้งแต่ปีที่แล้ว ส่งผลให้มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากเล็งเห็นถึงศักยภาพของไทย โดยเฉพาะสิ่งพิมพ์ประเภทไปรษณียากร อากรแสตมป์ ธนบัตร สมุดเช็ค ใบสต๊อก และใบหุ้น มีมูลค่าส่งออกสูงสุด ตลาดส่งออก ได้แก่ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และสิงคโปร์
3. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ ในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากจีน มีความต้องการใช้เยื่อกระดาษสูงอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ส่วนภาวะการผลิตอุตสาหกรรมกระดาษโดยรวมทรงตัว เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศ ทำให้บริษัทต่าง ๆ ลดงบประมาณโฆษณาสิ่งพิมพ์ ประกอบกับบางโรงงานหยุดซ่อมบำรุงเครื่องจักร
ภาวะการนำเข้าและการส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมการพิมพ์ไทย ประชาสัมพันธ์การเป็นศูนย์กลางการพิมพ์ในภูมิภาคอาเซียน ทำให้ต่างชาติเล็งเห็นถึงศักยภาพของไทย ประการสำคัญที่จะทำให้มูลค่าการส่งออกขยายตัวอย่างต่อเนื่องนั้น ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนควรเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการพัฒนาเทคโนโลยี พัฒนาบุคลากร รวมทั้งจัดกิจกรรมด้านการตลาดเพื่อกระตุ้นความต้องการผู้บริโภค และมัดใจผู้บริโภค
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้า คาดว่าจะทรงตัว เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ส่งผลต่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ แต่ยังคงมีปัจจัยบวกจากการพิมพ์และประชาสัมพันธ์ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับคาดว่าจะมีการเลือกตั้งในช่วงปลายปีนี้ ทำให้ความต้องการสื่อสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-