ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เตรียมออกกฎเกณฑ์ควบคุมการทวงหนี้ของกลุ่มสถาบันการเงินและนอนแบงก์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีการทวงหนี้ของ ธพ. และบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) ที่มีการปล่อยสินเชื่อ เริ่ม
มีความรุนแรงมากขึ้น เช่น การโทรศัพท์ตามทวงหนี้ตลอดเวลา หรือบางครั้งรุนแรงถึงขั้นทำร้ายร่างกายลูกค้า ว่า จากการรวบรวมข้อมูลของ
ธปท.ตั้งแต่ต้นปี 50 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน พบว่า พฤติกรรมการทวงหนี้ของเจ้าหนี้เริ่มรุนแรงมากขึ้น ทำให้ขณะนี้ ธปท.อยู่ในระหว่างการศึกษา
ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ ธปท.ในการควบคุมดูแลเรื่องดังกล่าว เพราะที่ผ่านมาการดูแลการทวงหนี้ไม่เคยทำโดย ธปท. อย่างไรก็ตาม หาก
ธปท.จะออกเกณฑ์อะไรมาควบคุมดูแลจะต้องแน่ใจว่ามีอำนาจที่จะเข้าไปจัดการได้ อีกทั้งยังต้องพิจารณามูลความผิดที่จะกำหนดเป็นมาตรการ
ด้วยว่า ควรจะต้องมีการสั่งหรือดำเนินการในรูปแบบใดจึงจะเหมาะสมที่สุด (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ)
2. ธปท.ตรวจสอบเส้นทางการเงินบุคคล-นิติบุคคล 200 ราย เกี่ยวข้องกับการโอนเงินไปต่างประเทศของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
หรือไม่ ผอฝ.กำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้
เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้ส่งรายชื่อบุคคลและนิติบุคคลจำนวน 200 ราย เพื่อให้ตรวจสอบเส้นทางการเงินว่ามีธุรกรรมเกี่ยวข้อง
กับการโอนเงินไปต่างประเทศของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีต นรม.หรือไม่ และ ธปท.ได้ตรวจสอบครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม
ธปท.คงไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลที่ตรวจสอบได้ และไม่สามารถบอกได้ว่าบุคคลเหล่านี้เป็นใครบ้าง มีการโอนเงินไปให้ใครบ้าง เพราะ
คตส.มีอำนาจดำเนินการได้อยู่แล้ว สำหรับข้อมูลธุรกรรมการโอนเงินไปต่างประเทศที่ ธปท.ต้องตรวจสอบนั้น จะเริ่มตรวจธุรกรรมที่มีตั้งแต่
เดือน ม.ค.50 ซึ่งธุรกรรมที่ ธปท.สามารถตรวจสอบได้เป็นธุรกรรมการโอนเงินไปต่างประเทศที่ทำผ่าน ธพ. (โพสต์ทูเดย์, สยามรัฐ, แนวหน้า)
3. ธปท.สามารถออกพันธบัตรออมทรัพย์ออมทรัพย์ได้เต็มตามจำนวนที่มีการจองซื้อ 8.7 หมื่นล้านบาท ผอส. ฝ่ายตลาด
การเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ตามที่มีประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจจองซื้อพันธบัตร
ออมทรัพย์รุ่น 1 อายุ 4 ปี และ 7 ปี ซึ่ง ธปท.ออกจำหน่ายให้กับประชาชนร่อยย่อยเป็นครั้งแรกนั้น ภายหลังสรุปยอดจองถึงเที่ยงวานนี้
(28 ส.ค.50) พบว่า มียอดจองซื้อถึงประมาณ 8.7 หมื่นล้านบาท สูงกว่าเท่าตัวของวงเงินที่กำหนดไว้ครั้งแรกจำนวน 4 หมื่นล้านบาท
แต่เนื่องจากจำนวนดังกล่าวอยู่ในขอบเขตที่ ธปท.สามารถรองรับได้ ดังนั้น ธปท.ประชาชนที่จองซื้อพันธบัตรดังกล่าวทุกราย จะได้รับวงเงิน
เต็มตามที่จองไว้ทั้งหมด (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ)
4. ธปท.เฝ้าติดตามปัญหาซับไพร์มรวมถึงความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนในต่างประเทศ รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพ
การเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สายนโยบายการเงิน และสายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท.ยังคงเฝ้าติดตามปัญหา
ซัปไพร์ม รวมถึงความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนในต่างประเทศ ที่อาจจะเกี่ยวเนื่องกระทบถึงประเทศไทยได้ ทั้งในส่วนของภาค
การเงินและสถาบันการเงิน เพราะในขณะนี้ยังไม่ใครแน่ใจว่าเรื่องดังกล่าวจะจบอย่างไร และกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจ
สรอ.ถดถอย จนส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะส่งผลให้ประเทศทั่วโลก รวมทั้งไทยจะต้องปรับ
เปลี่ยนนโยบายการเงินหรือไม่นั้น คงต้องรอการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง) ธปท. ในวันที่ 29 ส.ค.นี้ (สยามรัฐ)
5. ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลง
ภายหลังการประชุม ครม.ว่า ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ......ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจ
พิจารณา และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาพร้อมกับร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน ทั้งนี้ สาระสำคัญของ
พ.ร.บ.ดังกล่าว มีการเปลี่ยนชื่อจากร่าง พ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝาก เป็นร่าง พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ตัดบทบัญญัติเกี่ยวกับ
การกำหนดให้ ก.คลังมีอำนาจค้ำประกันการกู้เงินของสถาบันคุ้มครองเงินฝากเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
จากไม่น้อยกว่า 7 คน เป็นจำนวน 7 คน แต่ไม่เกิน 9 คน และเพิ่มเติมคุณสมบัติของผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน การคลัง
และกฎหมาย อย่างน้อยด้านละ 1 คน ขณะเดียวกันได้ตัดบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสถาบันการเงินออก โดยนำไปกำหนดไว้ในร่าง
พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน เช่นเดียวกับบทบัญญัติเกี่ยวกับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนและนิติกรรมออก (กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน)
6. เครดิตบูโรลดค่าธรรมเนียมตรวจเครดิตบุคคลเหลือ 100 บาทต่อคนต่อครั้ง ผู้จัดการใหญ่ บ.ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด
(เครดิตบูโร) เปิดเผยว่า บริษัทได้ปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมตรวจสอบข้อมูลเครดิตประเภทบุคคลธรรมดาลงจาก 200 บาท เหลือ 100 บาท
ต่อคนต่อครั้ง ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.50 เป็นต้นไป เพื่อลดภาระเจ้าของข้อมูลในการตรวจสอบข้อมูลเครดิต ช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้บริโภคเข้าถึง
ข้อมูลประวัติสินเชื่อของตนเองได้มากขึ้น และเพื่อตรวจสอบความถูกต้องก่อนสมัครขอสินเชื่อจากแหล่งการเงินในระบบ ทั้งนี้ คาดว่าการปรับลด
ค่าธรรมเนียมดังกล่าว จะช่วยจูงใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนไทยจำนวนมากที่ยังไม่เคยตรวจสอบข้อมูลเครดิตหันมาให้ความสำคัญกับข้อมูลเครดิต
เพื่อประโยชน์ทางธุรกรรมการเงินของตนเองในอนาคต (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, เดลินิวส์, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่า ธ.กลางยุโรปจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปีในการประชุมในวันที่ 6 ก.ย.50 นี้ รายงานจาก
เบอร์ลิน เมื่อ 28 ส.ค.50 นักวิเคราะห์ในตลาดการเงินคาดว่า ธ.กลางยุโรปหรือ ECB จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี
ในการประชุมในวันที่ 6 ก.ย.50 นี้ ผลจากการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในเยอรมนีซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดใน Euro zone โดย Ifo
ชะลอตัวลง โดยดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นในเดือน ส.ค.50 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 105.8 จากระดับ 106.4 ในเดือน ก.ค.50 ต่ำกว่าที่คาดไว้
ที่ระดับ105.4 ทั้งนี้ การสำรวจของ Ifo ดำเนินการในระหว่างวันที่ 3 — 27 ส.ค.50 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ความวุ่นวายในตลาดการเงินใน
เยอรมนีเกิดขึ้นจากผลกระทบของวิกฤติสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ใน สรอ. ในขณะที่ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อใน 4 รัฐของเยอรมนีชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อ
ของทั้งประเทศในเดือน ส.ค.50 ลดลงระหว่างร้อยละ 0.1 — 0.2 ต่อเดือนซึ่งจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของ Euro zone ลดลงตามไปด้วย
นักวิเคราะห์จึงคาดว่าปัจจัยดังกล่าวข้างต้นจะทำให้ ECB ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปีต่อไป โดยก่อนที่จะเกิดความ
วุ่นวายในตลาดการเงินดังกล่าว เป็นที่คาดกันในตลาดว่า ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.25 ต่อปีในการ
ประชุมในวันที่ 6 ก.ย.50 นี้ (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน ส.ค.50 ลดลงที่ระดับ 105.0 ต่ำสุดในรอบปี รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 28 ส.ค.50
The Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ. ในเดือน ส.ค.50 ลดลงที่ระดับ 105.0 จากระดับ 111.9
ในเดือนก่อนหน้า ถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบปีนับตั้งแต่เดือน ส.ค.49 ที่ดัชนีฯ อยู่ที่ระดับ 100.2 แต่สูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์
ซึ่งคาดว่าดัชนีฯ จะอยู่ที่ระดับ 104 ทั้งนี้ การที่ดัชนีฯ ปรับตัวลดลงมีสาเหตุจากการชะลอตัวของธุรกิจและตลาดแรงงาน รวมถึงความผันผวน
ของตลาดการเงิน นอกจากนี้ การประเมินภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันและอนาคตของผู้บริโภคก็ลดลงเช่นกัน โดยดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจใน
ปัจจุบันลดลงที่ระดับ 130.3 จากระดับ 138.3 ในเดือนก่อนหน้า เช่นเดียวกับดัชนีความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะเศษฐกิจก็ลดลงที่ระดับ 88.2
จากระดับ 94.4 ในเดือนก่อนหน้า สำหรับการคาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อยังทรงตัวแม้ว่าราคาน้ำมันจะมีทิศทางที่ลดลงก็ตาม โดยผู้บริโภคคาดหมาย
ว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือน ส.ค.50 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.1 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า ในส่วนของความเชื่อมั่นด้านการจ้างงาน
ผู้บริโภคที่มีความเชื่อมั่นว่ามีงานว่างเพียงพอต่อจำนวนแรงงาน ลดลงที่ระดับร้อยละ 27.5 จากระดับ 30.3 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ผู้บริโภค
ที่มีความเชื่อมั่นว่าการหางานทำได้ยาก เพิ่มขึ้นที่ระดับร้อยละ 19.7 จากร้อยละ 18.7 ในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
3. การอนุมัติเงินกู้ซื้อบ้านของอังกฤษในเดือน ก.ค.50 ลดลงร้อยละ 0.7 เทียบต่อปี รายงานจากลอนดอนเมื่อ 28 ส.ค.50
The British Bankers’ Association (BBA) เปิดเผยว่า ยอดการอนุมัติเงินกู้เพื่อซื้อบ้านของอังกฤษในเดือน ก.ค.50 ลดลงร้อยละ 0.7
เทียบต่อปี ขณะที่วงเงินกู้ที่อนุมัติมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เป็นจำนวน 5.7 พันล้านปอนด์ ซึ่ง BBA คาดว่าการกู้ยืมในระบบสถาบันการเงินอังกฤษ
จะมีเสถียรภาพต่อไปอีก 2-3 เดือนข้างหน้า ขณะที่นักวิเคราะห์บางส่วนประเมินว่าตลาดบ้านจะลดความร้อนแรงลง เนื่องจากการปรับเพิ่ม
อัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 5 ที่ระดับร้อยละ 5.75 นับตั้งแต่เดือน ส.ค.49 เป็นต้นมา ทั้งนี้ ธ.กลางอังกฤษจะเปิดเผยตัวเลขการ
อนุมัติเงินกู้ซื้อบ้านของทางการในวันพฤหัสบดีนี้ (รอยเตอร์)
4. รายงานการประชุมชี้ว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธ.กลางเกาหลีใต้ในเดือน ก.ค.50 มุ่งเน้นแก้ปัญหาปริมาณเงิน
หมุนเวียนที่เพิ่มสูงขึ้น รายงานจากโซล เมื่อ 28 ส.ค.50 รายงานการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ.กลางเกาหลีใต้เมื่อ
วันที่ 12 ก.ค.50 ที่ผ่านมาชี้ว่ากรรมการทั้ง 6 คนลงมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 4.75 ต่อปีซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดไว้ โดย
คณะกรรมการดังกล่าวได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังได้แสดงความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจ
เกาหลีใต้ซึ่งใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของเอเชียจะยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยได้รับแรงสนับสนุนจากการส่งออกที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งและ
ความต้องการในประเทศที่กำลังฟื้นตัว ทั้งนี้ รายงานการประชุมในวันที่ 9 ส.ค.50 ที่ผ่านมาซึ่ง ธ.กลางเกาหลีใต้ตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ย
อย่างที่ไม่เคยคาดมาก่อนอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 5.0 ต่อปีมีกำหนดจะเผยแพร่ในปลายเดือน ก.ย.50 นี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29 ส.ค. 50 28 ส.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.385 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.1732/34.5140 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.37250 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 788.21/9.00 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,700/10,800 10,750/10,850 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 67.83 67.56 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 28.39*/25.34* 28.39*/25.34* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดสิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 ส.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เตรียมออกกฎเกณฑ์ควบคุมการทวงหนี้ของกลุ่มสถาบันการเงินและนอนแบงก์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีการทวงหนี้ของ ธพ. และบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) ที่มีการปล่อยสินเชื่อ เริ่ม
มีความรุนแรงมากขึ้น เช่น การโทรศัพท์ตามทวงหนี้ตลอดเวลา หรือบางครั้งรุนแรงถึงขั้นทำร้ายร่างกายลูกค้า ว่า จากการรวบรวมข้อมูลของ
ธปท.ตั้งแต่ต้นปี 50 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน พบว่า พฤติกรรมการทวงหนี้ของเจ้าหนี้เริ่มรุนแรงมากขึ้น ทำให้ขณะนี้ ธปท.อยู่ในระหว่างการศึกษา
ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ ธปท.ในการควบคุมดูแลเรื่องดังกล่าว เพราะที่ผ่านมาการดูแลการทวงหนี้ไม่เคยทำโดย ธปท. อย่างไรก็ตาม หาก
ธปท.จะออกเกณฑ์อะไรมาควบคุมดูแลจะต้องแน่ใจว่ามีอำนาจที่จะเข้าไปจัดการได้ อีกทั้งยังต้องพิจารณามูลความผิดที่จะกำหนดเป็นมาตรการ
ด้วยว่า ควรจะต้องมีการสั่งหรือดำเนินการในรูปแบบใดจึงจะเหมาะสมที่สุด (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ)
2. ธปท.ตรวจสอบเส้นทางการเงินบุคคล-นิติบุคคล 200 ราย เกี่ยวข้องกับการโอนเงินไปต่างประเทศของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
หรือไม่ ผอฝ.กำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้
เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้ส่งรายชื่อบุคคลและนิติบุคคลจำนวน 200 ราย เพื่อให้ตรวจสอบเส้นทางการเงินว่ามีธุรกรรมเกี่ยวข้อง
กับการโอนเงินไปต่างประเทศของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีต นรม.หรือไม่ และ ธปท.ได้ตรวจสอบครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม
ธปท.คงไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลที่ตรวจสอบได้ และไม่สามารถบอกได้ว่าบุคคลเหล่านี้เป็นใครบ้าง มีการโอนเงินไปให้ใครบ้าง เพราะ
คตส.มีอำนาจดำเนินการได้อยู่แล้ว สำหรับข้อมูลธุรกรรมการโอนเงินไปต่างประเทศที่ ธปท.ต้องตรวจสอบนั้น จะเริ่มตรวจธุรกรรมที่มีตั้งแต่
เดือน ม.ค.50 ซึ่งธุรกรรมที่ ธปท.สามารถตรวจสอบได้เป็นธุรกรรมการโอนเงินไปต่างประเทศที่ทำผ่าน ธพ. (โพสต์ทูเดย์, สยามรัฐ, แนวหน้า)
3. ธปท.สามารถออกพันธบัตรออมทรัพย์ออมทรัพย์ได้เต็มตามจำนวนที่มีการจองซื้อ 8.7 หมื่นล้านบาท ผอส. ฝ่ายตลาด
การเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ตามที่มีประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจจองซื้อพันธบัตร
ออมทรัพย์รุ่น 1 อายุ 4 ปี และ 7 ปี ซึ่ง ธปท.ออกจำหน่ายให้กับประชาชนร่อยย่อยเป็นครั้งแรกนั้น ภายหลังสรุปยอดจองถึงเที่ยงวานนี้
(28 ส.ค.50) พบว่า มียอดจองซื้อถึงประมาณ 8.7 หมื่นล้านบาท สูงกว่าเท่าตัวของวงเงินที่กำหนดไว้ครั้งแรกจำนวน 4 หมื่นล้านบาท
แต่เนื่องจากจำนวนดังกล่าวอยู่ในขอบเขตที่ ธปท.สามารถรองรับได้ ดังนั้น ธปท.ประชาชนที่จองซื้อพันธบัตรดังกล่าวทุกราย จะได้รับวงเงิน
เต็มตามที่จองไว้ทั้งหมด (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ)
4. ธปท.เฝ้าติดตามปัญหาซับไพร์มรวมถึงความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนในต่างประเทศ รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพ
การเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สายนโยบายการเงิน และสายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท.ยังคงเฝ้าติดตามปัญหา
ซัปไพร์ม รวมถึงความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนในต่างประเทศ ที่อาจจะเกี่ยวเนื่องกระทบถึงประเทศไทยได้ ทั้งในส่วนของภาค
การเงินและสถาบันการเงิน เพราะในขณะนี้ยังไม่ใครแน่ใจว่าเรื่องดังกล่าวจะจบอย่างไร และกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจ
สรอ.ถดถอย จนส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะส่งผลให้ประเทศทั่วโลก รวมทั้งไทยจะต้องปรับ
เปลี่ยนนโยบายการเงินหรือไม่นั้น คงต้องรอการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง) ธปท. ในวันที่ 29 ส.ค.นี้ (สยามรัฐ)
5. ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากดร.โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลง
ภายหลังการประชุม ครม.ว่า ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ......ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจ
พิจารณา และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาพร้อมกับร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน ทั้งนี้ สาระสำคัญของ
พ.ร.บ.ดังกล่าว มีการเปลี่ยนชื่อจากร่าง พ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝาก เป็นร่าง พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ตัดบทบัญญัติเกี่ยวกับ
การกำหนดให้ ก.คลังมีอำนาจค้ำประกันการกู้เงินของสถาบันคุ้มครองเงินฝากเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
จากไม่น้อยกว่า 7 คน เป็นจำนวน 7 คน แต่ไม่เกิน 9 คน และเพิ่มเติมคุณสมบัติของผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน การคลัง
และกฎหมาย อย่างน้อยด้านละ 1 คน ขณะเดียวกันได้ตัดบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสถาบันการเงินออก โดยนำไปกำหนดไว้ในร่าง
พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน เช่นเดียวกับบทบัญญัติเกี่ยวกับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนและนิติกรรมออก (กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน)
6. เครดิตบูโรลดค่าธรรมเนียมตรวจเครดิตบุคคลเหลือ 100 บาทต่อคนต่อครั้ง ผู้จัดการใหญ่ บ.ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด
(เครดิตบูโร) เปิดเผยว่า บริษัทได้ปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมตรวจสอบข้อมูลเครดิตประเภทบุคคลธรรมดาลงจาก 200 บาท เหลือ 100 บาท
ต่อคนต่อครั้ง ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.50 เป็นต้นไป เพื่อลดภาระเจ้าของข้อมูลในการตรวจสอบข้อมูลเครดิต ช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้บริโภคเข้าถึง
ข้อมูลประวัติสินเชื่อของตนเองได้มากขึ้น และเพื่อตรวจสอบความถูกต้องก่อนสมัครขอสินเชื่อจากแหล่งการเงินในระบบ ทั้งนี้ คาดว่าการปรับลด
ค่าธรรมเนียมดังกล่าว จะช่วยจูงใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนไทยจำนวนมากที่ยังไม่เคยตรวจสอบข้อมูลเครดิตหันมาให้ความสำคัญกับข้อมูลเครดิต
เพื่อประโยชน์ทางธุรกรรมการเงินของตนเองในอนาคต (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, เดลินิวส์, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่า ธ.กลางยุโรปจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปีในการประชุมในวันที่ 6 ก.ย.50 นี้ รายงานจาก
เบอร์ลิน เมื่อ 28 ส.ค.50 นักวิเคราะห์ในตลาดการเงินคาดว่า ธ.กลางยุโรปหรือ ECB จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี
ในการประชุมในวันที่ 6 ก.ย.50 นี้ ผลจากการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในเยอรมนีซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดใน Euro zone โดย Ifo
ชะลอตัวลง โดยดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นในเดือน ส.ค.50 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 105.8 จากระดับ 106.4 ในเดือน ก.ค.50 ต่ำกว่าที่คาดไว้
ที่ระดับ105.4 ทั้งนี้ การสำรวจของ Ifo ดำเนินการในระหว่างวันที่ 3 — 27 ส.ค.50 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ความวุ่นวายในตลาดการเงินใน
เยอรมนีเกิดขึ้นจากผลกระทบของวิกฤติสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ใน สรอ. ในขณะที่ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อใน 4 รัฐของเยอรมนีชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อ
ของทั้งประเทศในเดือน ส.ค.50 ลดลงระหว่างร้อยละ 0.1 — 0.2 ต่อเดือนซึ่งจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของ Euro zone ลดลงตามไปด้วย
นักวิเคราะห์จึงคาดว่าปัจจัยดังกล่าวข้างต้นจะทำให้ ECB ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปีต่อไป โดยก่อนที่จะเกิดความ
วุ่นวายในตลาดการเงินดังกล่าว เป็นที่คาดกันในตลาดว่า ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.25 ต่อปีในการ
ประชุมในวันที่ 6 ก.ย.50 นี้ (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน ส.ค.50 ลดลงที่ระดับ 105.0 ต่ำสุดในรอบปี รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 28 ส.ค.50
The Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ. ในเดือน ส.ค.50 ลดลงที่ระดับ 105.0 จากระดับ 111.9
ในเดือนก่อนหน้า ถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบปีนับตั้งแต่เดือน ส.ค.49 ที่ดัชนีฯ อยู่ที่ระดับ 100.2 แต่สูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์
ซึ่งคาดว่าดัชนีฯ จะอยู่ที่ระดับ 104 ทั้งนี้ การที่ดัชนีฯ ปรับตัวลดลงมีสาเหตุจากการชะลอตัวของธุรกิจและตลาดแรงงาน รวมถึงความผันผวน
ของตลาดการเงิน นอกจากนี้ การประเมินภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันและอนาคตของผู้บริโภคก็ลดลงเช่นกัน โดยดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจใน
ปัจจุบันลดลงที่ระดับ 130.3 จากระดับ 138.3 ในเดือนก่อนหน้า เช่นเดียวกับดัชนีความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะเศษฐกิจก็ลดลงที่ระดับ 88.2
จากระดับ 94.4 ในเดือนก่อนหน้า สำหรับการคาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อยังทรงตัวแม้ว่าราคาน้ำมันจะมีทิศทางที่ลดลงก็ตาม โดยผู้บริโภคคาดหมาย
ว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือน ส.ค.50 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.1 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า ในส่วนของความเชื่อมั่นด้านการจ้างงาน
ผู้บริโภคที่มีความเชื่อมั่นว่ามีงานว่างเพียงพอต่อจำนวนแรงงาน ลดลงที่ระดับร้อยละ 27.5 จากระดับ 30.3 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ผู้บริโภค
ที่มีความเชื่อมั่นว่าการหางานทำได้ยาก เพิ่มขึ้นที่ระดับร้อยละ 19.7 จากร้อยละ 18.7 ในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
3. การอนุมัติเงินกู้ซื้อบ้านของอังกฤษในเดือน ก.ค.50 ลดลงร้อยละ 0.7 เทียบต่อปี รายงานจากลอนดอนเมื่อ 28 ส.ค.50
The British Bankers’ Association (BBA) เปิดเผยว่า ยอดการอนุมัติเงินกู้เพื่อซื้อบ้านของอังกฤษในเดือน ก.ค.50 ลดลงร้อยละ 0.7
เทียบต่อปี ขณะที่วงเงินกู้ที่อนุมัติมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เป็นจำนวน 5.7 พันล้านปอนด์ ซึ่ง BBA คาดว่าการกู้ยืมในระบบสถาบันการเงินอังกฤษ
จะมีเสถียรภาพต่อไปอีก 2-3 เดือนข้างหน้า ขณะที่นักวิเคราะห์บางส่วนประเมินว่าตลาดบ้านจะลดความร้อนแรงลง เนื่องจากการปรับเพิ่ม
อัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 5 ที่ระดับร้อยละ 5.75 นับตั้งแต่เดือน ส.ค.49 เป็นต้นมา ทั้งนี้ ธ.กลางอังกฤษจะเปิดเผยตัวเลขการ
อนุมัติเงินกู้ซื้อบ้านของทางการในวันพฤหัสบดีนี้ (รอยเตอร์)
4. รายงานการประชุมชี้ว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธ.กลางเกาหลีใต้ในเดือน ก.ค.50 มุ่งเน้นแก้ปัญหาปริมาณเงิน
หมุนเวียนที่เพิ่มสูงขึ้น รายงานจากโซล เมื่อ 28 ส.ค.50 รายงานการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ.กลางเกาหลีใต้เมื่อ
วันที่ 12 ก.ค.50 ที่ผ่านมาชี้ว่ากรรมการทั้ง 6 คนลงมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 4.75 ต่อปีซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดไว้ โดย
คณะกรรมการดังกล่าวได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังได้แสดงความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจ
เกาหลีใต้ซึ่งใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของเอเชียจะยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยได้รับแรงสนับสนุนจากการส่งออกที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งและ
ความต้องการในประเทศที่กำลังฟื้นตัว ทั้งนี้ รายงานการประชุมในวันที่ 9 ส.ค.50 ที่ผ่านมาซึ่ง ธ.กลางเกาหลีใต้ตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ย
อย่างที่ไม่เคยคาดมาก่อนอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 5.0 ต่อปีมีกำหนดจะเผยแพร่ในปลายเดือน ก.ย.50 นี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29 ส.ค. 50 28 ส.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.385 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.1732/34.5140 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.37250 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 788.21/9.00 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,700/10,800 10,750/10,850 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 67.83 67.56 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 28.39*/25.34* 28.39*/25.34* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดสิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 ส.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--