แท็ก
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมส่งเสริมการเกษตร
จังหวัดจันทบุรี
จังหวัดชลบุรี
ภาคตะวันออก
นางสุวคนธ์ ทรงแสงธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 (สศข.6) จังหวัดชลบุรี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงข้อมูลเอกภาพไม้ผลภาคตะวันออก ปี 2550 ของจังหวัดจันทบุรี ตราด และระยอง ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สศก. กับกรมส่งเสริมการเกษตร ว่า สถานการณ์การผลิตทุเรียนของ 3 จังหวัดภาคตะวันออก ปี 2550 มีเนื้อที่ยืนต้นจำนวน 342,034 ไร่ ลดลงจากปี 2549 จำนวน 21,578 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.93 เนื้อที่ให้ผลจำนวน 314,043 ไร่ ลดลงจำนวน 19,025 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.71 แต่มีผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 1,215 กิโลกรัม เพิ่มขึ้น 86 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 7.62 ทำให้มีปริมาณผลผลิตโดยรวม 381,667 ตัน เพิ่มขึ้นจำนวน 5,781 ตัน คิดเป็นร้อยละ 1.54
สาเหตุจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการออกดอกและติดผล ส่วนพื้นที่ทุเรียนที่ลดลงโดยส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ชะนีและกระดุม โดยปรับเปลี่ยนไปปลูกยางพารา กล้วยไข่ มังคุด และลองกอง เพราะราคาจูงใจและดูแลรักษาเรื่องโรคแมลงง่ายกว่าทุเรียน สำหรับการกระจายตัวของผลผลิตที่จะออกสู่ตลาด เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม - กรกฎาคม ซึ่งจะกระจุกตัวในช่วง 21 เมษายน - 10 พฤษภาคม 2550
ด้านสถานการณ์การผลิตเงาะ ของ 3 จังหวัดภาคตะวันออก ปี 2550 มีเนื้อที่ยืนต้นจำนวน 223,530 ไร่ ลดลงจากปี 2549 จำนวน 28,707 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 11.38 เนื้อที่ให้ผลจำนวน 218,923 ไร่ ลดลงจำนวน 22,460 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 9.30 ส่วนผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 1,332 กิโลกรัม เพิ่มขึ้น 44 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 3.42 แต่มีปริมาณผลผลิตโดยรวม 291,640 ตัน ลดลงจำนวน 19,163 ตัน คิดเป็นร้อยละ 6.17 เนื่องจากจังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ปลูกเงาะมากเป็นอันดับหนึ่งของภาคตะวันออก แต่มีเนื้อที่โค่นทิ้งจำนวนมาก สาเหตุจากราคาผลผลิตตกต่ำอย่างต่อเนื่องจึงไม่จูงใจให้เกษตรกรผลิต โดยพื้นที่ที่ลดลงเป็นการปรับเปลี่ยนไปปลูกยางพารา กล้วยไข่ ลองกอง เพราะราคาอยู่ในเกณฑ์ดี การกระจายตัวของผลผลิตที่จะออกสู่ตลาด เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม - กรกฎาคม โดยจะออกกระจุกตัวช่วง 1 — 20 พฤษภาคมนี้
นางสุวคนธ์ กล่าวปิดท้ายด้วยสถานการณ์การผลิตมังคุดว่า มังคุดของ 3 จังหวัดภาคตะวันออก ปี 2550 มีเนื้อที่ ยืนต้นจำนวน 178,070 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2549 จำนวน 9,921 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.90 เนื้อที่ให้ผลจำนวน 144,896 ไร่ เพิ่มขึ้นจำนวน 17,726 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 13.94 ส่วนผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 770 กิโลกรัม เพิ่มขึ้น 410 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 113 ทำให้มีปริมาณผลผลิตโดยรวม 111,542 ตัน เพิ่มขึ้นจำนวน 65,720 ตัน คิดเป็นร้อยละ 143.42
สาเหตุจากปีที่ผ่านมามังคุดติดผลน้อย ทำให้มังคุดได้พักต้นสะสมอาหาร จึงมีความสมบูรณ์ในการติดดอกออกผล ส่งผลให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นกว่า 1 เท่าตัว แต่ขนาดของผลค่อนข้างเล็กจึงคาดว่าจะมีสัดส่วนเป็นมังคุดตกไซส์จำนวนมาก ดังนั้น ควรเตรียมจัดการให้มีตลาดรองรับมังคุดดังกล่าวเพิ่มขึ้น ด้านการกระจายตัวของผลผลิตที่จะออกสู่ตลาด เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม — กรกฎาคม โดยจะออกกระจุกตัวในช่วง 11 เมษายน — 10 พฤษภาคม นี้ เช่นกัน และในการพิจารณาข้อมูลเอกภาพไม้ผลภาคตะวันออกปี 2550 ที่ประชุมมีมติให้เพิ่มชนิดไม้ผล ได้แก่ ลองกอง ในการดำเนินการจัดทำข้อมูลไม้ผลเอกภาพครั้งต่อไปในปี 2551 ด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
สาเหตุจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการออกดอกและติดผล ส่วนพื้นที่ทุเรียนที่ลดลงโดยส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ชะนีและกระดุม โดยปรับเปลี่ยนไปปลูกยางพารา กล้วยไข่ มังคุด และลองกอง เพราะราคาจูงใจและดูแลรักษาเรื่องโรคแมลงง่ายกว่าทุเรียน สำหรับการกระจายตัวของผลผลิตที่จะออกสู่ตลาด เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม - กรกฎาคม ซึ่งจะกระจุกตัวในช่วง 21 เมษายน - 10 พฤษภาคม 2550
ด้านสถานการณ์การผลิตเงาะ ของ 3 จังหวัดภาคตะวันออก ปี 2550 มีเนื้อที่ยืนต้นจำนวน 223,530 ไร่ ลดลงจากปี 2549 จำนวน 28,707 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 11.38 เนื้อที่ให้ผลจำนวน 218,923 ไร่ ลดลงจำนวน 22,460 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 9.30 ส่วนผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 1,332 กิโลกรัม เพิ่มขึ้น 44 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 3.42 แต่มีปริมาณผลผลิตโดยรวม 291,640 ตัน ลดลงจำนวน 19,163 ตัน คิดเป็นร้อยละ 6.17 เนื่องจากจังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ปลูกเงาะมากเป็นอันดับหนึ่งของภาคตะวันออก แต่มีเนื้อที่โค่นทิ้งจำนวนมาก สาเหตุจากราคาผลผลิตตกต่ำอย่างต่อเนื่องจึงไม่จูงใจให้เกษตรกรผลิต โดยพื้นที่ที่ลดลงเป็นการปรับเปลี่ยนไปปลูกยางพารา กล้วยไข่ ลองกอง เพราะราคาอยู่ในเกณฑ์ดี การกระจายตัวของผลผลิตที่จะออกสู่ตลาด เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม - กรกฎาคม โดยจะออกกระจุกตัวช่วง 1 — 20 พฤษภาคมนี้
นางสุวคนธ์ กล่าวปิดท้ายด้วยสถานการณ์การผลิตมังคุดว่า มังคุดของ 3 จังหวัดภาคตะวันออก ปี 2550 มีเนื้อที่ ยืนต้นจำนวน 178,070 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2549 จำนวน 9,921 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.90 เนื้อที่ให้ผลจำนวน 144,896 ไร่ เพิ่มขึ้นจำนวน 17,726 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 13.94 ส่วนผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 770 กิโลกรัม เพิ่มขึ้น 410 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 113 ทำให้มีปริมาณผลผลิตโดยรวม 111,542 ตัน เพิ่มขึ้นจำนวน 65,720 ตัน คิดเป็นร้อยละ 143.42
สาเหตุจากปีที่ผ่านมามังคุดติดผลน้อย ทำให้มังคุดได้พักต้นสะสมอาหาร จึงมีความสมบูรณ์ในการติดดอกออกผล ส่งผลให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นกว่า 1 เท่าตัว แต่ขนาดของผลค่อนข้างเล็กจึงคาดว่าจะมีสัดส่วนเป็นมังคุดตกไซส์จำนวนมาก ดังนั้น ควรเตรียมจัดการให้มีตลาดรองรับมังคุดดังกล่าวเพิ่มขึ้น ด้านการกระจายตัวของผลผลิตที่จะออกสู่ตลาด เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม — กรกฎาคม โดยจะออกกระจุกตัวในช่วง 11 เมษายน — 10 พฤษภาคม นี้ เช่นกัน และในการพิจารณาข้อมูลเอกภาพไม้ผลภาคตะวันออกปี 2550 ที่ประชุมมีมติให้เพิ่มชนิดไม้ผล ได้แก่ ลองกอง ในการดำเนินการจัดทำข้อมูลไม้ผลเอกภาพครั้งต่อไปในปี 2551 ด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-