อุตสาหกรรมปิโตรเคมี (Petrochemical Industry)
ไตรมาส 4 ปี 2549 ราคาแนฟธาของตลาดเอเชียค่อนข้างผันผวน มีการปรับตัวตามราคาน้ำมันดิบ โดยในช่วงแรกของไตรมาสปริมา
ณแนฟธาในตลาดมีมาก เนื่องจากอินเดียมีการส่งออกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาปรับตัวลดลง ส่วนช่วงหลังของไตรมาสราคาปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย
เนื่องจากผู้ผลิตเอทิลีนในเอเชียหลายรายกลับเข้ามาซื้อแนฟธาเพิ่มขึ้นเพื่อใช้หลังจากปิดซ่อมบำรุง สาเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบมีความผันผวนอย่างมาก
ได้แก่ การประชุมฉุกเฉินของกลุ่มโอเปค ซึ่งมีมติลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบลงวันละ 1.2 ล้านบาร์เรล ส่วนราคาเอทิลีนตลาดเอเชียปรับตัวตามราคา
แนฟธา ประกอบกับตลาดเอทิลีนอยู่ในภาวะตึงตัว เนื่องจากเอทิลีนแครกเกอร์ขนาดใหญ่ในเอเชียมีการปิดซ่อมบำรุง และปิดฉุกเฉิน แต่อย่างไรก็ตามใน
ช่วงหลังของไตรมาสมีแรงซื้อจากจีนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาเอทิลีนปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ปริมาณการซื้อขายเม็ดพลาสติก PE และ PP ในตลาดเอเชียมีการเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบ โดยในช่วงต้นของไตรมาสราคามีการปรับตัว
ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสที่ผ่านมา ส่วนช่วงกลางไตรมาสราคามีการปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากโพรพิลีนและ PP จากตลาดสหรัฐ
อเมริกาที่คาดว่าจะนำเข้ามาขายในตลาดเอเซีย เกิดปัญหาเรื่องการขนส่ง อย่างไรก็ตาม จีนซึ่งเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ อยู่ในช่วง National Holidays
และมีการชะลอการซื้อเพื่อใช้อัตราภาษีนำเข้าใหม่ที่คาดว่าจะปรับลดลงในช่วงไตรมาสแรกของปี 2550 ขณะเดียวกันจีนได้เริ่มทดลองเดินเครื่องหน่วย
ผลิต HDPE ใหม่ขนาด 350,000 ตัน/ปีและหน่วยผลิต LDPE ขนาด 200,000 ตัน/ปี รวมถึงหน่วยผลิต LLDPE/HDPE 300,000 ตัน/ปี ทำให้มีความ
ต้องการ PE เพิ่มขึ้น สำหรับช่วงปลายไตรมาสผู้ซื้อได้ชะลอการซื้อลงเนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าปริมาณเอทิลีนจะเพิ่มขึ้นจากการที่เกาหลีใต้กลับมา
เดินเครื่องเอทิลีนแครกเกอร์หลังจากปิดซ่อมบำรุงและขยายขนาดการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 850,000 ตัน/ปี
การผลิต
ไตรมาส 4 ปี 2549 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีภายในประเทศมีแผนขยายกำลังการผลิตในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง
ประกอบด้วย โครงการโอเลฟินส์คอมเพล็กซ์ 2 ซึ่งจะผลิตเอทิลีน 900,000 ตัน/ปี และ โพรพิลีน 800,000 ตัน/ปี โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการผลิต
ในครึ่งแรกของปี 2554 โครงการผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง คือ HDPE และ PP ขนาดอย่างละ 400,000 ตัน/ปี โครงการก่อสร้างหน่วยผลิต Methyl
Ester กำลังการผลิต 200,000 ตัน/ปี กำหนดเสร็จสมบูรณ์ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 และ หน่วยผลิต Fatty Alcohol กำลังการผลิต
100,000 ตัน/ปี กำหนดเสร็จสมบูรณ์ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551
สำหรับการผลิตในภูมิภาคเอเชีย หลายประเทศมีโครงการขยายการผลิต โดยประเทศการ์ตา ปัจจุบันมีเอทิลีนแครกเกอร์ 2 หน่วย
ขนาด 500,000 ตัน/ปี และขนาด 525,000 ตัน/ปี โดยมีแผนขยายกำลังการผลิตในหน่วยหลังเพิ่มจาก 525,000 ตัน/ปี เป็น 720,000 ตัน/ปี มี
กำหนดเสร็จสมบูรณ์ในปลายไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 และได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนสร้างคอมเพล็กซ์ปิโตรเคมีแห่งใหม่ที่สามารถผลิต
เอทิลีนได้ 1.3 ล้านตัน/ปี รวมถึงหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องได้แก่ PE และ MEG โดยใช้ก๊าซจากในประเทศเป็นวัตถุดิบตั้งต้น มีกำหนดเสร็จสมบูรณ์ใน
ปี 2555 และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้จะขายในเอเชียและยุโรป
ประเทศสหรัฐอารับเอมิเรต มีโครงการลงทุนสร้างคอมเพล็กซ์ปิโตรเคมีที่สามารถผลิตโพรพิลีน 752,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต PP กำลัง
การผลิตรวม 800,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิต PE กำลังการผลิตรวม 540,000 ตัน/ปี ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการประมูลงาน และวางแผนเปิดศูนย์การ
กระจายสินค้าและเก็บสินค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มดำเนินการในปี 2550
ประเทศอิหร่าน อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนสร้างหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องอีก 5 หน่วย จากแผนเดิมที่วางไว้ 5
หน่วย เพื่อรองรับเอทิลีนที่จะส่งผ่านท่อทางตะวันตกของประเทศ ประกอบด้วย โครงการหน่วยผลิต HDPE, LDPE และ PVC ขนาดหน่วยละ
300,000 ตัน/ปี มีกำหนดเริ่มเดินเครื่องผลิตในปี 2554 และโครงการโอเลฟินส์หมายเลข 10 ซึ่งประกอบด้วยเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1.32 ล้าน
ตัน/ปี สามารถผลิตโพรพิลีนได้ 305,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต HDPE, LLDPE/HDPE และ PP กำลังการผลิตหน่วยละ 300,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต EG
กำลังการผลิต 444,000 ตัน/ปี คาดการณ์ว่าจะเริ่มเดินเครื่องผลิตเชิงพาณิชย์ทั้งหมดภายในเดือนสิงหาคม 2550
ประเทศซาอุดิอาระเบีย วางแผนขยายกำลังการผลิต PP จาก 450,000 ตัน/ปี เป็น 485,000 ตัน/ปี เนื่องจากกลุ่มประเทศในตะวัน
ออกกลางมีความต้องการใช้ PP โดยเฉพาะเกรดเส้นใยที่ใช้ในการผลิตถุงปูนซีเมนต์เพื่อรองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่องของภาคการก่อสร้าง และมี
โครงการร่วมลงทุนในหน่วยผลิตเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1.3 ล้านตัน/ปี มีกำหนดเริ่มเดินเครื่องผลิตในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551
ประเทศอินเดีย อนุมัติการลงทุนสร้างคอมเพล็กซ์ปิโตรเคมี 2 แห่ง ได้แก่ โอเลฟินส์คอมเพล็กซ์ และอะโรมาติกส์คอมเพล็กซ์ โดยโอเล
ฟินส์คอมเพล็กซ์ประกอบด้วยเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1.1 ล้านตัน/ปี สามารถผลิตโพรพิลีนได้ 360,000 ตัน/ปี หน่วยผลิตเบนซีน บิวทีน และ
pyrolysis gasoline ขนาดหน่วยละ 135,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องอื่นๆ ได้แก่ strylene monomer, LLDPE, HDPE และ
PP ส่วนของอะโรมาติกส์คอมเพล็กซ์ สามารถผลิตพาราไซรีน 920,000 ตัน/ปี เบนซีน 140,000 ตัน/ปี โดยจะซัพพลายแนฟธาจากโรงกลั่นน้ำมันที่จะ
ขยายกำลังการผลิตจาก 9.69 ล้านตัน/ปี เป็น 15 ล้านตัน/ปี เพื่อเป็นวัตถุดิบตั้งต้น โครงการมีกำหนดเสร็จสมบูรณ์ในช่วงกลางปี 2553
ประเทศจีน มีแผนการเพิ่มกำลังการผลิตเอทิลีนจาก 300,000 ตัน/ปี เป็น 450,000 ตัน/ปี และลงทุนในหน่วยผลิต HDPE ขนาด
300,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต PP ขนาด 230,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิตสไตรีนโมโนเมอร์ 150,000 ตัน/ปี มีกำหนดเดินเครื่องในปี 2552
ประเทศไต้หวัน ได้เลื่อนกำหนดเดินเครื่องเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1.2 ล้านตัน/ปีเนื่องจากประสบปัญหาเรื่องแรงงานและวัสดุก่อสร้าง
โดยมีกำหนดเดินเครื่องในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ซึ่งแครกเกอร์ดังกล่าวสามารถผลิต โพรพิลีนได้ 250,000 ตัน/ปี และยังมีหน่วยผลิตเมทาธีสิสที่
สามารถผลิตโพรพิลีนได้อีก 250,000 ตัน/ปี อีกทั้งมีแผนเพิ่มกำลังการผลิตโพรพิลีนจากโรงกลั่นน้ำมันจาก 400,000 ตัน/ปี เป็น 684,000 ตัน/ปี
ประเทศเกาหลีใต้ วางแผนขยายกำลังการผลิตแครกเกอร์และหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องภายในครึ่งแรกของปี 2551 ทำให้กำลังการผลิต
เอทิลีนเพิ่มขึ้นจาก 650,000 ตัน/ปี เป็น 1 ล้านตัน/ปี โพรพิลีนเพิ่มจาก 325,000 ตัน/ปี เป็น 500,000 ตัน/ปี เบนซีนเพิ่มจาก 200,000 ตัน/ปี
เป็น 320,000 ตัน/ปี styrene monomer เพิ่มจาก 335,000 ตัน/ปี เป็น 470,000 ตัน/ปี butadiene เพิ่มจาก 100,000 ตัน/ปี เป็น
150,000 ตัน/ปี และ LDPE เพิ่มจาก 160,000 ตัน/ปี เป็น 290,000 ตัน/ปี นอกจากนี้ ยังมีแผนสร้างหน่วยผลิต MEG ขนาด 390,000 ตัน/ปี
อีก 1 หน่วยจากเดิมที่มีอยู่แล้ว 1 หน่วย ขนาด 250,000 ตัน/ปี และสร้างหน่วยผลิต PP เพิ่มอีก 1 หน่วยขนาด 330,000 ตัน/ปี จากเดิมที่มีอยู่
แล้ว 1 หน่วย ขนาด 227,000 ตัน/ปี อีกทั้งได้วางแผนเริ่มเดินเครื่องหน่วยผลิต polycarbonate (PC) ขนาด 65,000 ตัน/ปี ในช่วงครึ่งหลัง
ของปี 2551 และมีโครงการร่วมลงทุนในการผลิต methyl methacrylate (MMA) และ polymethyl methacrylate (PMMA) ขนาด
90,000 ตัน/ปี และ 40,000 ตัน/ปี ตามลำดับ โดยจะเริ่มทำการผลิตในปี 2551 และ 2552
การตลาด
ราคาเม็ดพลาสติก PE และ PP ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2549 ระดับราคาโดยเฉลี่ยปรับลดลง โดยราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติก (ราคา
เฉลี่ย SE Asia CIF) ในเดือนธันวาคม 2549 ของ LDPE, HDPE, และ PP (Blown Film) อยู่ที่ระดับ 45.73, 45.61 และ 45.25
บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ทั้งนี้ LDPE, HDPE และ PP มีระดับราคาเฉลี่ยลดลงจากไตรมาสก่อน ที่ระดับราคา 50.55, 50.83 และ 51.44
บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ
การนำเข้า
ไตรมาส 4 ปี 2549 การนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 4,003.58 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 30.83 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและลดลง
ร้อยละ 1.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 8,552.54 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.49 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่
แล้วและลดลงร้อยละ 23.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่านำเข้า 15,735.06 ล้านบาทลดลงร้อยละ 4.26
เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่านำเข้า (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง(ร้อยละ)
Q4/2548 Q3/2549 Q4/2549 Q4/Q3 2549 Q4 2549/Q4 2548
ขั้นต้น 4,064.92 5,787.75 4,003.58 -30.83 -1.51
ขั้นกลาง 11,220.28 8,770.68 8,552.54 -2.49 -23.78
ขั้นปลาย 15,460.49 16,436.03 15,735.06 -4.26 1.78
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
การส่งออก
ไตรมาส 4 ปี 2549 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 6,541.03 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.76 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 16,549.96 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.96 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 117.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออก 38,236.51 ล้าน
บาท ลดลงร้อยละ 4.51 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและลดลงร้อยละ 8.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่าส่งออก (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง(ร้อยละ)
Q4/2548 Q3/2549 Q4/2549 Q4/Q3 2549 Q4 2549/Q4 2548
ขั้นต้น 6,392.98 6,591.33 6,541.03 -0.76 2.32
ขั้นกลาง 7,621.24 14,522.12 16,549.96 13.96 117.16
ขั้นปลาย 41,601.79 40,042.42 38,236.51 -4.51 -8.09
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
แนวโน้ม
จากกรณีความผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก เนื่องจากการประชุมฉุกเฉินของกลุ่มประเทศโอเปค และมีข้อตกลงในการลดกำลัง
การผลิตน้ำมันดิบลง ส่งผลให้สถานการณ์ตลาดเอทิลีนมีแนวโน้มที่จะตึงตัวต่อไป ในขณะที่หลายประเทศมีแผนงานขยายกำลังการผลิตและลงทุนในเอทิลี
นแครกเกอร์ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นจีน เกาหลีใต้ อิหร่าน อินเดีย โอมาน ไต้หวัน ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอารับเอมิเรต ทั้งนี้ส่วนหนึ่งก็เพื่อสนับสนุน
อุตสาหกรรมภายในประเทศของตน ลดการพึ่งพาการนำเข้า ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณวัตถุดิบในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมของไทยเพื่อรับสถานการณ์ดังกล่าว จึงควรเร่งวางแผนการผลิต และส่งเสริมให้มีการศึกษาแหล่งวัตถุดิบทางเลือกอื่นๆ
อาทิเช่น ก๊าซธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนวัตถุดิบที่ได้จากการกลั่นน้ำมัน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ไตรมาส 4 ปี 2549 ราคาแนฟธาของตลาดเอเชียค่อนข้างผันผวน มีการปรับตัวตามราคาน้ำมันดิบ โดยในช่วงแรกของไตรมาสปริมา
ณแนฟธาในตลาดมีมาก เนื่องจากอินเดียมีการส่งออกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาปรับตัวลดลง ส่วนช่วงหลังของไตรมาสราคาปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย
เนื่องจากผู้ผลิตเอทิลีนในเอเชียหลายรายกลับเข้ามาซื้อแนฟธาเพิ่มขึ้นเพื่อใช้หลังจากปิดซ่อมบำรุง สาเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบมีความผันผวนอย่างมาก
ได้แก่ การประชุมฉุกเฉินของกลุ่มโอเปค ซึ่งมีมติลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบลงวันละ 1.2 ล้านบาร์เรล ส่วนราคาเอทิลีนตลาดเอเชียปรับตัวตามราคา
แนฟธา ประกอบกับตลาดเอทิลีนอยู่ในภาวะตึงตัว เนื่องจากเอทิลีนแครกเกอร์ขนาดใหญ่ในเอเชียมีการปิดซ่อมบำรุง และปิดฉุกเฉิน แต่อย่างไรก็ตามใน
ช่วงหลังของไตรมาสมีแรงซื้อจากจีนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาเอทิลีนปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ปริมาณการซื้อขายเม็ดพลาสติก PE และ PP ในตลาดเอเชียมีการเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบ โดยในช่วงต้นของไตรมาสราคามีการปรับตัว
ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสที่ผ่านมา ส่วนช่วงกลางไตรมาสราคามีการปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากโพรพิลีนและ PP จากตลาดสหรัฐ
อเมริกาที่คาดว่าจะนำเข้ามาขายในตลาดเอเซีย เกิดปัญหาเรื่องการขนส่ง อย่างไรก็ตาม จีนซึ่งเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ อยู่ในช่วง National Holidays
และมีการชะลอการซื้อเพื่อใช้อัตราภาษีนำเข้าใหม่ที่คาดว่าจะปรับลดลงในช่วงไตรมาสแรกของปี 2550 ขณะเดียวกันจีนได้เริ่มทดลองเดินเครื่องหน่วย
ผลิต HDPE ใหม่ขนาด 350,000 ตัน/ปีและหน่วยผลิต LDPE ขนาด 200,000 ตัน/ปี รวมถึงหน่วยผลิต LLDPE/HDPE 300,000 ตัน/ปี ทำให้มีความ
ต้องการ PE เพิ่มขึ้น สำหรับช่วงปลายไตรมาสผู้ซื้อได้ชะลอการซื้อลงเนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าปริมาณเอทิลีนจะเพิ่มขึ้นจากการที่เกาหลีใต้กลับมา
เดินเครื่องเอทิลีนแครกเกอร์หลังจากปิดซ่อมบำรุงและขยายขนาดการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 850,000 ตัน/ปี
การผลิต
ไตรมาส 4 ปี 2549 อุตสาหกรรมปิโตรเคมีภายในประเทศมีแผนขยายกำลังการผลิตในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง
ประกอบด้วย โครงการโอเลฟินส์คอมเพล็กซ์ 2 ซึ่งจะผลิตเอทิลีน 900,000 ตัน/ปี และ โพรพิลีน 800,000 ตัน/ปี โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการผลิต
ในครึ่งแรกของปี 2554 โครงการผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง คือ HDPE และ PP ขนาดอย่างละ 400,000 ตัน/ปี โครงการก่อสร้างหน่วยผลิต Methyl
Ester กำลังการผลิต 200,000 ตัน/ปี กำหนดเสร็จสมบูรณ์ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 และ หน่วยผลิต Fatty Alcohol กำลังการผลิต
100,000 ตัน/ปี กำหนดเสร็จสมบูรณ์ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551
สำหรับการผลิตในภูมิภาคเอเชีย หลายประเทศมีโครงการขยายการผลิต โดยประเทศการ์ตา ปัจจุบันมีเอทิลีนแครกเกอร์ 2 หน่วย
ขนาด 500,000 ตัน/ปี และขนาด 525,000 ตัน/ปี โดยมีแผนขยายกำลังการผลิตในหน่วยหลังเพิ่มจาก 525,000 ตัน/ปี เป็น 720,000 ตัน/ปี มี
กำหนดเสร็จสมบูรณ์ในปลายไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 และได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนสร้างคอมเพล็กซ์ปิโตรเคมีแห่งใหม่ที่สามารถผลิต
เอทิลีนได้ 1.3 ล้านตัน/ปี รวมถึงหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องได้แก่ PE และ MEG โดยใช้ก๊าซจากในประเทศเป็นวัตถุดิบตั้งต้น มีกำหนดเสร็จสมบูรณ์ใน
ปี 2555 และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้จะขายในเอเชียและยุโรป
ประเทศสหรัฐอารับเอมิเรต มีโครงการลงทุนสร้างคอมเพล็กซ์ปิโตรเคมีที่สามารถผลิตโพรพิลีน 752,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต PP กำลัง
การผลิตรวม 800,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิต PE กำลังการผลิตรวม 540,000 ตัน/ปี ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการประมูลงาน และวางแผนเปิดศูนย์การ
กระจายสินค้าและเก็บสินค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มดำเนินการในปี 2550
ประเทศอิหร่าน อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนสร้างหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องอีก 5 หน่วย จากแผนเดิมที่วางไว้ 5
หน่วย เพื่อรองรับเอทิลีนที่จะส่งผ่านท่อทางตะวันตกของประเทศ ประกอบด้วย โครงการหน่วยผลิต HDPE, LDPE และ PVC ขนาดหน่วยละ
300,000 ตัน/ปี มีกำหนดเริ่มเดินเครื่องผลิตในปี 2554 และโครงการโอเลฟินส์หมายเลข 10 ซึ่งประกอบด้วยเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1.32 ล้าน
ตัน/ปี สามารถผลิตโพรพิลีนได้ 305,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต HDPE, LLDPE/HDPE และ PP กำลังการผลิตหน่วยละ 300,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต EG
กำลังการผลิต 444,000 ตัน/ปี คาดการณ์ว่าจะเริ่มเดินเครื่องผลิตเชิงพาณิชย์ทั้งหมดภายในเดือนสิงหาคม 2550
ประเทศซาอุดิอาระเบีย วางแผนขยายกำลังการผลิต PP จาก 450,000 ตัน/ปี เป็น 485,000 ตัน/ปี เนื่องจากกลุ่มประเทศในตะวัน
ออกกลางมีความต้องการใช้ PP โดยเฉพาะเกรดเส้นใยที่ใช้ในการผลิตถุงปูนซีเมนต์เพื่อรองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่องของภาคการก่อสร้าง และมี
โครงการร่วมลงทุนในหน่วยผลิตเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1.3 ล้านตัน/ปี มีกำหนดเริ่มเดินเครื่องผลิตในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551
ประเทศอินเดีย อนุมัติการลงทุนสร้างคอมเพล็กซ์ปิโตรเคมี 2 แห่ง ได้แก่ โอเลฟินส์คอมเพล็กซ์ และอะโรมาติกส์คอมเพล็กซ์ โดยโอเล
ฟินส์คอมเพล็กซ์ประกอบด้วยเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1.1 ล้านตัน/ปี สามารถผลิตโพรพิลีนได้ 360,000 ตัน/ปี หน่วยผลิตเบนซีน บิวทีน และ
pyrolysis gasoline ขนาดหน่วยละ 135,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องอื่นๆ ได้แก่ strylene monomer, LLDPE, HDPE และ
PP ส่วนของอะโรมาติกส์คอมเพล็กซ์ สามารถผลิตพาราไซรีน 920,000 ตัน/ปี เบนซีน 140,000 ตัน/ปี โดยจะซัพพลายแนฟธาจากโรงกลั่นน้ำมันที่จะ
ขยายกำลังการผลิตจาก 9.69 ล้านตัน/ปี เป็น 15 ล้านตัน/ปี เพื่อเป็นวัตถุดิบตั้งต้น โครงการมีกำหนดเสร็จสมบูรณ์ในช่วงกลางปี 2553
ประเทศจีน มีแผนการเพิ่มกำลังการผลิตเอทิลีนจาก 300,000 ตัน/ปี เป็น 450,000 ตัน/ปี และลงทุนในหน่วยผลิต HDPE ขนาด
300,000 ตัน/ปี หน่วยผลิต PP ขนาด 230,000 ตัน/ปี และหน่วยผลิตสไตรีนโมโนเมอร์ 150,000 ตัน/ปี มีกำหนดเดินเครื่องในปี 2552
ประเทศไต้หวัน ได้เลื่อนกำหนดเดินเครื่องเอทิลีนแครกเกอร์ขนาด 1.2 ล้านตัน/ปีเนื่องจากประสบปัญหาเรื่องแรงงานและวัสดุก่อสร้าง
โดยมีกำหนดเดินเครื่องในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ซึ่งแครกเกอร์ดังกล่าวสามารถผลิต โพรพิลีนได้ 250,000 ตัน/ปี และยังมีหน่วยผลิตเมทาธีสิสที่
สามารถผลิตโพรพิลีนได้อีก 250,000 ตัน/ปี อีกทั้งมีแผนเพิ่มกำลังการผลิตโพรพิลีนจากโรงกลั่นน้ำมันจาก 400,000 ตัน/ปี เป็น 684,000 ตัน/ปี
ประเทศเกาหลีใต้ วางแผนขยายกำลังการผลิตแครกเกอร์และหน่วยผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องภายในครึ่งแรกของปี 2551 ทำให้กำลังการผลิต
เอทิลีนเพิ่มขึ้นจาก 650,000 ตัน/ปี เป็น 1 ล้านตัน/ปี โพรพิลีนเพิ่มจาก 325,000 ตัน/ปี เป็น 500,000 ตัน/ปี เบนซีนเพิ่มจาก 200,000 ตัน/ปี
เป็น 320,000 ตัน/ปี styrene monomer เพิ่มจาก 335,000 ตัน/ปี เป็น 470,000 ตัน/ปี butadiene เพิ่มจาก 100,000 ตัน/ปี เป็น
150,000 ตัน/ปี และ LDPE เพิ่มจาก 160,000 ตัน/ปี เป็น 290,000 ตัน/ปี นอกจากนี้ ยังมีแผนสร้างหน่วยผลิต MEG ขนาด 390,000 ตัน/ปี
อีก 1 หน่วยจากเดิมที่มีอยู่แล้ว 1 หน่วย ขนาด 250,000 ตัน/ปี และสร้างหน่วยผลิต PP เพิ่มอีก 1 หน่วยขนาด 330,000 ตัน/ปี จากเดิมที่มีอยู่
แล้ว 1 หน่วย ขนาด 227,000 ตัน/ปี อีกทั้งได้วางแผนเริ่มเดินเครื่องหน่วยผลิต polycarbonate (PC) ขนาด 65,000 ตัน/ปี ในช่วงครึ่งหลัง
ของปี 2551 และมีโครงการร่วมลงทุนในการผลิต methyl methacrylate (MMA) และ polymethyl methacrylate (PMMA) ขนาด
90,000 ตัน/ปี และ 40,000 ตัน/ปี ตามลำดับ โดยจะเริ่มทำการผลิตในปี 2551 และ 2552
การตลาด
ราคาเม็ดพลาสติก PE และ PP ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2549 ระดับราคาโดยเฉลี่ยปรับลดลง โดยราคาจำหน่ายเม็ดพลาสติก (ราคา
เฉลี่ย SE Asia CIF) ในเดือนธันวาคม 2549 ของ LDPE, HDPE, และ PP (Blown Film) อยู่ที่ระดับ 45.73, 45.61 และ 45.25
บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ ทั้งนี้ LDPE, HDPE และ PP มีระดับราคาเฉลี่ยลดลงจากไตรมาสก่อน ที่ระดับราคา 50.55, 50.83 และ 51.44
บาท/กิโลกรัม ตามลำดับ
การนำเข้า
ไตรมาส 4 ปี 2549 การนำเข้าปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่า 4,003.58 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 30.83 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและลดลง
ร้อยละ 1.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่านำเข้า 8,552.54 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.49 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่
แล้วและลดลงร้อยละ 23.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่านำเข้า 15,735.06 ล้านบาทลดลงร้อยละ 4.26
เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่านำเข้า (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง(ร้อยละ)
Q4/2548 Q3/2549 Q4/2549 Q4/Q3 2549 Q4 2549/Q4 2548
ขั้นต้น 4,064.92 5,787.75 4,003.58 -30.83 -1.51
ขั้นกลาง 11,220.28 8,770.68 8,552.54 -2.49 -23.78
ขั้นปลาย 15,460.49 16,436.03 15,735.06 -4.26 1.78
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
การส่งออก
ไตรมาส 4 ปี 2549 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออก 6,541.03 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.76 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก 16,549.96 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.96 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 117.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออก 38,236.51 ล้าน
บาท ลดลงร้อยละ 4.51 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและลดลงร้อยละ 8.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปิโตรเคมี มูลค่าส่งออก (ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง(ร้อยละ)
Q4/2548 Q3/2549 Q4/2549 Q4/Q3 2549 Q4 2549/Q4 2548
ขั้นต้น 6,392.98 6,591.33 6,541.03 -0.76 2.32
ขั้นกลาง 7,621.24 14,522.12 16,549.96 13.96 117.16
ขั้นปลาย 41,601.79 40,042.42 38,236.51 -4.51 -8.09
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
แนวโน้ม
จากกรณีความผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก เนื่องจากการประชุมฉุกเฉินของกลุ่มประเทศโอเปค และมีข้อตกลงในการลดกำลัง
การผลิตน้ำมันดิบลง ส่งผลให้สถานการณ์ตลาดเอทิลีนมีแนวโน้มที่จะตึงตัวต่อไป ในขณะที่หลายประเทศมีแผนงานขยายกำลังการผลิตและลงทุนในเอทิลี
นแครกเกอร์ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นจีน เกาหลีใต้ อิหร่าน อินเดีย โอมาน ไต้หวัน ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอารับเอมิเรต ทั้งนี้ส่วนหนึ่งก็เพื่อสนับสนุน
อุตสาหกรรมภายในประเทศของตน ลดการพึ่งพาการนำเข้า ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณวัตถุดิบในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมของไทยเพื่อรับสถานการณ์ดังกล่าว จึงควรเร่งวางแผนการผลิต และส่งเสริมให้มีการศึกษาแหล่งวัตถุดิบทางเลือกอื่นๆ
อาทิเช่น ก๊าซธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนวัตถุดิบที่ได้จากการกลั่นน้ำมัน
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-