นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้แถลงข่าวรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนกรกฎาคม 2550 ว่า การใช้จ่ายของรัฐบาลและการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ในขณะที่การส่งออกซึ่งเป็นปัจจัยหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง สำหรับด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
1.เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจด้านการคลังในเดือนกรกฎาคม 2550 แสดงถึงบทบาทของรัฐบาลในการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในภาวะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ โดยรายจ่ายงบประมาณในเดือนกรกฎาคมสามารถเบิกจ่ายได้รวมทั้งสิ้น 146.2 พันล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นในระดับสูงที่ร้อยละ 48.2 ต่อปี โดยแบ่งออกเป็นรายจ่ายประจำ 119.4 พันล้านบาท รายจ่ายลงทุน 23.3 พันล้านบาท และรายจ่ายเหลื่อมปี 3.4 พันล้านบาท สำหรับรายได้จัดเก็บสุทธิของรัฐบาลในเดือนกรกฎาคม 2550 จัดเก็บได้รวม 87.1 พันล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ 12.2 ต่อปี เนื่องจากการจัดเก็บภาษีฐานรายได้ขยายตัวได้ในระดับสูงที่ร้อยละ 12.8 ต่อปี
2. สำหรับการบริโภคภาคเอกชนในเดือนกรกฎาคม 2550 ปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้การบริโภคจากภาษีมูลค่าเพิ่ม (ณ ราคาคงที่) ในเดือนกรกฎาคมขยายตัวกลับมาเป็นบวกที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี จากที่หดตัวร้อยละ -0.5 ต่อปีในเดือนก่อนหน้า เช่นเดียวกับเครื่องชี้การบริโภคสินค้าคงทนปรับตัวดีขึ้น โดยปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนกรกฎาคมกลับมาขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกที่ร้อยละ 4.6 ต่อปี หลังจากที่หดตัวต่อเนื่องติดต่อกันมา 6 เดือน ในขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนกรกฎาคมหดตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ -15.5 ต่อปี จากเดือนก่อนที่หดตัว -19.0 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนกรกฎาคมยังคงปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 70 จุด เนื่องจากผู้บริโภคยังมีความกังวลจากการแข็งค่าของเงินบาท และความเสี่ยงจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต
3. การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวชะลอลงในเดือนกรกฎาคม 2550 โดยเครื่องชี้การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่วัดจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนในเดือนกรกฎาคม หดตัวลงร้อยละ -3.3 ต่อปี สำหรับเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนด้านการก่อสร้างปรับตัวชะลอลง โดยภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนกรกฎาคม ขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.6 ต่อปี
4. ด้านมูลค่าการส่งออกขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงมาก โดยการส่งออกในเดือนกรกฎาคมมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 11.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 5.9 ต่อปี ซึ่งสินค้ากลุ่มหลักที่ชะลอตัวลงมาก ได้แก่ กลุ่มสินค้าที่มีสัดส่วนการนำเข้าต่ำ เช่น สินค้าเกษตรกรรม สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร และสิ่งทอ ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าส่งออกที่มีสัดส่วนการนำเข้าสูง เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และรถยนต์ส่วนประกอบ ยังสามารถขยายตัวได้ดีอยู่ สำหรับมูลค่าการนำเข้าในเดือนกรกฎาคม 2550 ยังคงชะลอตัวลงต่อเนื่องตามการลงทุนภายในประเทศที่ขยายตัวลดลง โดยมูลค่าการนำเข้าในเดือนกรกฎาคมรวมทั้งสิ้น 11.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 2.4 ต่อปี สำหรับดุลการค้าในเดือนกรกฎาคมยังคงเกินดุล 211 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
5. สำหรับเครื่องชี้ในด้านอุปทานพบว่า ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนกรกฎาคม 2550 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงที่ร้อยละ 3.6 ต่อปีจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.6 ต่อปี เนื่องจากผลผลิตหลัก เช่น ยางพาราและมันสำปะหลังปรับตัวชะลอลง ในขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัวลดลงที่ร้อยละ -5.7 ต่อปีจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -12.7 ต่อปี ส่วนเครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรมพบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) ในเดือนกรกฎาคมขยายตัวร้อยละ 7.5 ต่อปี ขยายตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สอดคล้องกับมูลค่าการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบที่ขยายตัวร้อยละ 11.3 ต่อปี ในด้านเครื่องชี้ภาคบริการโดยเฉพาะการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม หดตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ -1.2 ต่อปี จากที่หดตัวร้อยละ -2.4 ต่อปี ในเดือนก่อนหน้า
6. เสถียรภาพทั้งภายในและภายนอกประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกรกฎาคมยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี ในขณะที่อัตราการว่างงานเดือนมิถุนายนยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.4 และสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ในเดือนมิถุนายน 2550 อยู่ที่ร้อยละ 37.7 ซึ่งยังคงต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ร้อยละ 50.0 ค่อนข้างมาก สำหรับเครื่องชี้เสถียรภาพภายนอกประเทศอยู่ในระดับแข็งแกร่ง โดยทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 73.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นค่อนข้างมาก
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 17/2550 29 สิงหาคม 2550--
1.เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจด้านการคลังในเดือนกรกฎาคม 2550 แสดงถึงบทบาทของรัฐบาลในการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในภาวะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ โดยรายจ่ายงบประมาณในเดือนกรกฎาคมสามารถเบิกจ่ายได้รวมทั้งสิ้น 146.2 พันล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นในระดับสูงที่ร้อยละ 48.2 ต่อปี โดยแบ่งออกเป็นรายจ่ายประจำ 119.4 พันล้านบาท รายจ่ายลงทุน 23.3 พันล้านบาท และรายจ่ายเหลื่อมปี 3.4 พันล้านบาท สำหรับรายได้จัดเก็บสุทธิของรัฐบาลในเดือนกรกฎาคม 2550 จัดเก็บได้รวม 87.1 พันล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ 12.2 ต่อปี เนื่องจากการจัดเก็บภาษีฐานรายได้ขยายตัวได้ในระดับสูงที่ร้อยละ 12.8 ต่อปี
2. สำหรับการบริโภคภาคเอกชนในเดือนกรกฎาคม 2550 ปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้การบริโภคจากภาษีมูลค่าเพิ่ม (ณ ราคาคงที่) ในเดือนกรกฎาคมขยายตัวกลับมาเป็นบวกที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี จากที่หดตัวร้อยละ -0.5 ต่อปีในเดือนก่อนหน้า เช่นเดียวกับเครื่องชี้การบริโภคสินค้าคงทนปรับตัวดีขึ้น โดยปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนกรกฎาคมกลับมาขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกที่ร้อยละ 4.6 ต่อปี หลังจากที่หดตัวต่อเนื่องติดต่อกันมา 6 เดือน ในขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนกรกฎาคมหดตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ -15.5 ต่อปี จากเดือนก่อนที่หดตัว -19.0 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนกรกฎาคมยังคงปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 70 จุด เนื่องจากผู้บริโภคยังมีความกังวลจากการแข็งค่าของเงินบาท และความเสี่ยงจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต
3. การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวชะลอลงในเดือนกรกฎาคม 2550 โดยเครื่องชี้การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่วัดจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนในเดือนกรกฎาคม หดตัวลงร้อยละ -3.3 ต่อปี สำหรับเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนด้านการก่อสร้างปรับตัวชะลอลง โดยภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนกรกฎาคม ขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.6 ต่อปี
4. ด้านมูลค่าการส่งออกขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงมาก โดยการส่งออกในเดือนกรกฎาคมมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 11.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 5.9 ต่อปี ซึ่งสินค้ากลุ่มหลักที่ชะลอตัวลงมาก ได้แก่ กลุ่มสินค้าที่มีสัดส่วนการนำเข้าต่ำ เช่น สินค้าเกษตรกรรม สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร และสิ่งทอ ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าส่งออกที่มีสัดส่วนการนำเข้าสูง เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และรถยนต์ส่วนประกอบ ยังสามารถขยายตัวได้ดีอยู่ สำหรับมูลค่าการนำเข้าในเดือนกรกฎาคม 2550 ยังคงชะลอตัวลงต่อเนื่องตามการลงทุนภายในประเทศที่ขยายตัวลดลง โดยมูลค่าการนำเข้าในเดือนกรกฎาคมรวมทั้งสิ้น 11.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 2.4 ต่อปี สำหรับดุลการค้าในเดือนกรกฎาคมยังคงเกินดุล 211 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
5. สำหรับเครื่องชี้ในด้านอุปทานพบว่า ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนกรกฎาคม 2550 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงที่ร้อยละ 3.6 ต่อปีจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.6 ต่อปี เนื่องจากผลผลิตหลัก เช่น ยางพาราและมันสำปะหลังปรับตัวชะลอลง ในขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัวลดลงที่ร้อยละ -5.7 ต่อปีจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -12.7 ต่อปี ส่วนเครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรมพบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) ในเดือนกรกฎาคมขยายตัวร้อยละ 7.5 ต่อปี ขยายตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สอดคล้องกับมูลค่าการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบที่ขยายตัวร้อยละ 11.3 ต่อปี ในด้านเครื่องชี้ภาคบริการโดยเฉพาะการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม หดตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ -1.2 ต่อปี จากที่หดตัวร้อยละ -2.4 ต่อปี ในเดือนก่อนหน้า
6. เสถียรภาพทั้งภายในและภายนอกประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกรกฎาคมยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี ในขณะที่อัตราการว่างงานเดือนมิถุนายนยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.4 และสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ในเดือนมิถุนายน 2550 อยู่ที่ร้อยละ 37.7 ซึ่งยังคงต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ร้อยละ 50.0 ค่อนข้างมาก สำหรับเครื่องชี้เสถียรภาพภายนอกประเทศอยู่ในระดับแข็งแกร่ง โดยทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 73.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นค่อนข้างมาก
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 17/2550 29 สิงหาคม 2550--