วันที่ 18 ก.พ. 50 นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวที่พรรคเกี่ยวกับเรื่องการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์เห็นว่า ปัญหาทางการเมืองไทยในช่วงที่ผ่านมาคือความพยายามที่จะใช้ระบอบประชาธิปไตย เป็นใบเบิกทางในการเข้ามาสู่อำนาจโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง และวิธีการที่ใช้อย่างมากคือการทำให้ประชาธิปไตยกลายเป็นระบบธนาธิปไตย
นายองอาจกล่าวว่า ระบบดังกล่าวเป็นสิ่งที่คณะผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้จะต้องหาทางสกัดกั้นและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังยกร่างอยู่ในขณะนี้ เพราะธนาธิปไตยคือระบบที่เอาประชาธิปไตยบังหน้าและใช้เงินตราเป็นใบเบิกทางในการเข้ามาสู่อำนาจ และใช้อำนาจนั้นหาเงินเพื่อมาปรนเปรอนักการเมืองในกลุ่มของตนเองให้ยกมือสนับสนุนให้ขึ้นมามีอำนาจทางการเมือง ดังนั้นคณะผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญจึงควรอุดช่องโหว่ ช่องว่างเหล่านี้เพื่อไม่ให้มีการนำระบบธนาธิปไตยเข้ามาสู่การมีอำนาจในทางการเมืองได้อีกต่อไป
นายองอาจกล่าวต่อไปว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมาประชาชนตั้งคำถามต่อการที่นักการเมืองเมื่อถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ และสื่อมวลชนตีแผ่เรื่องการทุจริต แต่น้อยครั้งที่จะสามารถดำเนินการกับนักการเมืองเหล่านั้นได้ หรือดำเนินการให้ถึงตัวนักการเมืองตัวจริงก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นการดำเนินการเอาผิดจากนักการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตนั้น พรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่า รัฐธรรมนูญควรระบุไว้ว่าให้ประชาชนฟ้องร้องเอาผิดกับนักการเมืองที่ทุจริตได้โดยตรง และไม่ต้องผ่านหน่วยงานของรัฐใด ๆ ทั้งสิ้น
สำหรับการยกร่างรัฐธรรมนูญในขณะนี้ที่มีการกล่าวว่านักการเมืองเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการร่างรัฐธรรมนูญนั้น นายองอาจกล่าวว่า ประชาชนต้องการเห็นว่าการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้เป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดประโยชน์โดยตรงกับประชาชน
“ขณะนี้ประชาชนจำนวนไม่น้อยเห็นว่ารัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของนักการเมือง พรรคการเมือง ผู้มีอำนาจทางการเมือง ผมคิดว่าวันนี้เราจะต้องทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่ทำให้ประชาชนรู้สึกว่า เกิดประโยชน์โดยตรงกับประชาชนอย่างไรบ้าง” นายองอาจกล่าว
สำหรับเรื่องสัมปทานโทรคมนาคมต่าง ๆ ที่มีขึ้นมาในช่วง 4 — 5 ปีที่ผ่านมา นายองอาจเสนอให้มีการตรวจสอบสัญญาสัมปทานกิจการโทรคมนาคมทุก ๆ สัญญา ที่มีขึ้นในช่วงที่ผ่านมา สัญญาที่ทำมาเหล่านั้นเป็นไปตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนด แต่ถ้าได้ไปดูในแต่ละสัญญาจะพบความจริงว่ามีหลายสัญญาที่ส่อว่าเป็นการทำสัญญาที่รัฐเสียเปรียบ และในบางสัญญาจะพบว่ารัฐสูญเสียรายได้ที่พึงจะได้เป็นจำนวนเงินหลายหมื่นล้านบาท ดังนั้น ในช่วงรัฐบาลชุดนี้ควรให้ความสำคัญในการที่จะเอาผลประโยชน์ของรัฐกลับคืนมา รัฐบาลควรเล็งเห็นว่ารัฐไม่ควรเสียเปรียบในการทำสัญญากับเอกชนรายใดทั้งสิ้น
“รัฐบาลชุดนี้ชูจุดเด่นเรื่องธรรมาภิบาล ดังนั้นเมื่อมีสัญญาของรัฐฉบับใดที่มีการได้เปรียบเสียเปรียบเกิดขึ้น รัฐบาลก็ควรดำเนินการให้เกิดความเป็นธรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนโดยรวม และยังไม่สายเกินไปที่จะดำเนินการในสิ่งเหล่านี้ เพราะสัญญาทั้งหลายทั้งปวงยังมีตัวตนอยู่ทั้งสิ้น เพียงแต่ไม่มีใครเข้าไปดำเนินการ” นายองอาจกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 ก.พ. 2550--จบ--
นายองอาจกล่าวว่า ระบบดังกล่าวเป็นสิ่งที่คณะผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้จะต้องหาทางสกัดกั้นและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังยกร่างอยู่ในขณะนี้ เพราะธนาธิปไตยคือระบบที่เอาประชาธิปไตยบังหน้าและใช้เงินตราเป็นใบเบิกทางในการเข้ามาสู่อำนาจ และใช้อำนาจนั้นหาเงินเพื่อมาปรนเปรอนักการเมืองในกลุ่มของตนเองให้ยกมือสนับสนุนให้ขึ้นมามีอำนาจทางการเมือง ดังนั้นคณะผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญจึงควรอุดช่องโหว่ ช่องว่างเหล่านี้เพื่อไม่ให้มีการนำระบบธนาธิปไตยเข้ามาสู่การมีอำนาจในทางการเมืองได้อีกต่อไป
นายองอาจกล่าวต่อไปว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมาประชาชนตั้งคำถามต่อการที่นักการเมืองเมื่อถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ และสื่อมวลชนตีแผ่เรื่องการทุจริต แต่น้อยครั้งที่จะสามารถดำเนินการกับนักการเมืองเหล่านั้นได้ หรือดำเนินการให้ถึงตัวนักการเมืองตัวจริงก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นการดำเนินการเอาผิดจากนักการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตนั้น พรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่า รัฐธรรมนูญควรระบุไว้ว่าให้ประชาชนฟ้องร้องเอาผิดกับนักการเมืองที่ทุจริตได้โดยตรง และไม่ต้องผ่านหน่วยงานของรัฐใด ๆ ทั้งสิ้น
สำหรับการยกร่างรัฐธรรมนูญในขณะนี้ที่มีการกล่าวว่านักการเมืองเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการร่างรัฐธรรมนูญนั้น นายองอาจกล่าวว่า ประชาชนต้องการเห็นว่าการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้เป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดประโยชน์โดยตรงกับประชาชน
“ขณะนี้ประชาชนจำนวนไม่น้อยเห็นว่ารัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของนักการเมือง พรรคการเมือง ผู้มีอำนาจทางการเมือง ผมคิดว่าวันนี้เราจะต้องทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่ทำให้ประชาชนรู้สึกว่า เกิดประโยชน์โดยตรงกับประชาชนอย่างไรบ้าง” นายองอาจกล่าว
สำหรับเรื่องสัมปทานโทรคมนาคมต่าง ๆ ที่มีขึ้นมาในช่วง 4 — 5 ปีที่ผ่านมา นายองอาจเสนอให้มีการตรวจสอบสัญญาสัมปทานกิจการโทรคมนาคมทุก ๆ สัญญา ที่มีขึ้นในช่วงที่ผ่านมา สัญญาที่ทำมาเหล่านั้นเป็นไปตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนด แต่ถ้าได้ไปดูในแต่ละสัญญาจะพบความจริงว่ามีหลายสัญญาที่ส่อว่าเป็นการทำสัญญาที่รัฐเสียเปรียบ และในบางสัญญาจะพบว่ารัฐสูญเสียรายได้ที่พึงจะได้เป็นจำนวนเงินหลายหมื่นล้านบาท ดังนั้น ในช่วงรัฐบาลชุดนี้ควรให้ความสำคัญในการที่จะเอาผลประโยชน์ของรัฐกลับคืนมา รัฐบาลควรเล็งเห็นว่ารัฐไม่ควรเสียเปรียบในการทำสัญญากับเอกชนรายใดทั้งสิ้น
“รัฐบาลชุดนี้ชูจุดเด่นเรื่องธรรมาภิบาล ดังนั้นเมื่อมีสัญญาของรัฐฉบับใดที่มีการได้เปรียบเสียเปรียบเกิดขึ้น รัฐบาลก็ควรดำเนินการให้เกิดความเป็นธรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนโดยรวม และยังไม่สายเกินไปที่จะดำเนินการในสิ่งเหล่านี้ เพราะสัญญาทั้งหลายทั้งปวงยังมีตัวตนอยู่ทั้งสิ้น เพียงแต่ไม่มีใครเข้าไปดำเนินการ” นายองอาจกล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 ก.พ. 2550--จบ--