สรุปการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
วันจันทร์ที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๐
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๒๒/๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุม ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องตามระเบียบวาระ ดังต่อไปนี้
๑. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม ไม่มี
๒. รับรองรายงานการประชุม
- รับรองรายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ครั้งที่ ๗/๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
ครั้งที่ ๘/๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
ครั้งที่ ๙/๒๕๕๐ วันจันทร์ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๐ และ
ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๐ เป็นพิเศษ วันอังคารที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๐
ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุม ทั้ง ๔ ฉบับ
๓. เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
- ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำเสร็จแล้ว
โดยนาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการยกร่าง
รัฐธรรมนูญ ได้รายงานต่อที่ประชุมถึงผลการดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญว่า ตามที่สภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้ตั้งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน ๑๘๐ วันนับแต่ วันประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรก ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับรับฟังความคิดเห็นแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๐ และได้จัดพิมพ์ พร้อมส่งมอบให้กับสมาชิกสภาร่าง
รัฐธรรมนูญ องค์กร และบุคคลที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว พุทธศักราช ๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๐ และได้เผยแพร่ไปยังกระทรวง ทบวง กรม องค์กรต่าง ๆ และประชาชน นอกจากนี้ยังได้เผยแพร่ไปตามจังหวัดต่าง ๆ โดยผ่านคณะ กรรมาธิการวิสามัญประสานการมีส่วนร่วมและการทำประชามติ คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟัง ความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำจังหวัด คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นของ
องค์กรตามรัฐธรรมนูญ คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ รวมทั้งคณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ โดยคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้รวบรวมความเห็นจากทุกฝ่ายและประชาชน รวมทั้งองค์กรต่าง ๆ และนำมาปรับปรุงแก้ไขในหลายประเด็นเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีหลักสำคัญในการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจรัฐ รวมทั้งได้กำหนดดุลยภาพขององค์กรต่าง ๆ
ก่อนที่จะเริ่มการพิจารณาประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ชี้แจงกับสมาชิกสภาร่าง รัฐธรรมนูญเกี่ยวกับกรอบการพิจารณาว่าผู้ที่จะอภิปรายได้คือ สมาชิกที่ยื่นคำแปรญัตติและสงวน คำแปรญัตติไว้ ส่วนการลงมติให้ลงที่ละมาตรา หากมาตราใดมีการแปรญัตติหรือกรรมาธิการแก้ไข เพิ่มเติมต้องลงมติด้วยเสียงข้างมาก ส่วนกรณีที่ไม่ยื่นคำแปรญัตติ แต่สมาชิกขอแก้ไขเพิ่มเติมต้อง ลงมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๕
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณา ชื่อร่าง ซึ่งไม่มีการแก้ไข แต่ในส่วนของคำปรารภ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้ขอแก้ไขคำปรารภโดยขอให้อัญเชิญ พระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ว่า “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” อันเป็นที่มาของอุดมการณ์แผ่นดินธรรม แผ่นดินทองมาบัญญัติไว้ในคำปรารภด้วย ซึ่งนายธงทอง จันทรางศุ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ชี้แจงว่าเป็นการไม่เหมาะสมที่จะนำพระปฐมบรมราชโองการฯ มากล่าวซ้ำอีก เพราะหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปฐมพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ และพระองค์ไม่เคยมีพระปฐมบรมราชโองการเช่นว่านี้ซ้ำอีก ดังนั้นความจำเป็นที่ต้องมากล่าวซ้ำอีกครั้งหนึ่งไม่เคยมีแบบธรรมเนียมที่ปฏิบัติมาก่อน และการพูดถึงอุดมการณ์แห่งชาติในเรื่องแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองนั้นแม้เป็นสิ่งที่ดี แต่สิ่งนี้เป็นอุดมการณ์ของชาติแน่นอนแล้วหรือไม่ เพราะอาจมีอีกหลายเวทีที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอยู่ จึงขอยืนยันตามร่างเดิม ซึ่งนายสุรชัย ไม่ติดใจ
ต่อมาที่ประชุมได้พิจารณาเป็นรายมาตรา โดยเริ่มจาก
หมวด ๑ บททั่วไป ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๑ ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๒ ไม่มีการแก้ไข
มีกรรมาธิการขอสงวนความเห็นและผู้แปรญัตติขอสงวนคำแปรญัตติ
โดยนายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้ขอแปรญัตติ เพิ่มเติมข้อความในมาตรา ๒ วรรค ๒ ที่บัญญัติว่า ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ได้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเสนอให้นำมาตรา ๒ และมาตรา ๓๗ ไปพิจารณารวมกับมาตรา ๗๘ เพราะมีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งกรรมาธิการยกร่างฯ ได้อภิปรายสนับสนุน และที่ประชุมก็เห็นด้วยให้นำมาตรา ๒ ไปพิจารณากับมาตรา ๗๘ ที่บัญญัติให้รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา
จากนั้น ได้พิจารณามาตรา ๓ ซึ่งนายวิชัย รูปขำดี สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้ขอแปรญัตติตัดความในวรรค ๒ ที่ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรมออกทั้งหมด ในขณะที่นายวัชรา หงส์ประภัศร สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขอแปรญัตติแก้ตามในวรรค ๑ เป็นดังนี้ มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการทางศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ เมื่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้อภิปรายกันพอสมควร ที่ประชุมได้มีมติให้คงไว้ตามร่างของคณะ กรรมาธิการด้วยคะแนน ๕๘ เสียง
มาตรา ๔ มีการแก้ไข โดยนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ได้ขอแปรญัตติแก้ความเป็นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลทั้งที่บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญนี้ ตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (แก้ความ) และตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ซึ่งคณะ กรรมาธิการไม่เห็นด้วย
มาตรา ๕ บัญญัติว่า ประชาชนชาวไทยและบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยไม่ว่าแหล่งกำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน ซึ่งนายอัครรัตน์ รัตนจันทร์ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขอเพิ่มคำว่า “บุคคลที่อยู่ในประเทศไทย” แทนคำว่า “ประชาชน ชาวไทย” โดยให้เหตุผลว่าที่ผ่านมามีปัญหาคนต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในประเทศแต่ไม่ได้รับความคุ้มครอง
บางทีถูกดำเนินคดีก็ไม่ได้รับการประกันตัวหรืออย่างเทศกาลสงกรานต์มีชาวต่างชาติมาเที่ยว เมื่อถูกจับแต่กลับไม่มีการดำเนินคดี แต่พาไปเรียกข่มขู่เอาทรัพย์สิน หากมีการเพิ่มให้คุ้มครองถึงชาวต่างชาติ
ด้วยก็จะเป็นการส่งเสริมด้านเศรษฐกิจทางหนึ่ง เมื่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญอภิปรายกันพอสมควรที่ประชุมได้มีมติเห็นด้วยกับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วยคะแนนเสียง ๖๓ เสียง ต่อ ๑๒ เสียง งดออกเสียง ๔ เสียง
มาตรา ๖ - มาตรา ๗ ไม่มีการแก้ไข
หมวด ๒ พระมหากษัตริย์ ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๘ - มาตรา ๒๕ ไม่มีการแก้ไข
หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ไม่มีการแก้ไข
ส่วนที่ ๑ บททั่วไป ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๒๖ ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๒๗ มีการแก้ไข
มาตรา ๒๘ ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๒๙ เรื่องการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ที่ไม่กระทำได้เว้นจากกฎหมายบัญญัติเนื่องจากกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้มีการปรับแก้ไขจึงทำให้ต้องมีการลงมติชี้ขาดว่าที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญเห็นชอบกับการแก้ไขหรือไม่ ซึ่งเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการแก้ไขแต่ก็ได้มีการลงมติอีกครั้งว่าจะเห็นด้วยกับการปรับแก้ไขของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญหรือจะเห็นด้วยกับการที่ผู้เสนอคำแปรญัตติได้ยกร่างขึ้นมา ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมกลับเห็นด้วยกับการปรับแก้ไขกับผู้เสนอคำแปรญัตติ ซึ่งถือเป็นญัตติแรกที่ประชุมใหญ่ไม่เห็นด้วยกับร่างของกรรมาธิการยกร่างฯ
ปิดประชุมเวลา ๒๑.๔๐ นาฬิกา
------------------------------------------
วันจันทร์ที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๐
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๒๒/๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุม ประธานฯ ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องตามระเบียบวาระ ดังต่อไปนี้
๑. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม ไม่มี
๒. รับรองรายงานการประชุม
- รับรองรายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ครั้งที่ ๗/๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
ครั้งที่ ๘/๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
ครั้งที่ ๙/๒๕๕๐ วันจันทร์ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๐ และ
ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๐ เป็นพิเศษ วันอังคารที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๐
ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุม ทั้ง ๔ ฉบับ
๓. เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
- ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำเสร็จแล้ว
โดยนาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการยกร่าง
รัฐธรรมนูญ ได้รายงานต่อที่ประชุมถึงผลการดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญว่า ตามที่สภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้ตั้งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน ๑๘๐ วันนับแต่ วันประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรก ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับรับฟังความคิดเห็นแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๐ และได้จัดพิมพ์ พร้อมส่งมอบให้กับสมาชิกสภาร่าง
รัฐธรรมนูญ องค์กร และบุคคลที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว พุทธศักราช ๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๐ และได้เผยแพร่ไปยังกระทรวง ทบวง กรม องค์กรต่าง ๆ และประชาชน นอกจากนี้ยังได้เผยแพร่ไปตามจังหวัดต่าง ๆ โดยผ่านคณะ กรรมาธิการวิสามัญประสานการมีส่วนร่วมและการทำประชามติ คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟัง ความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำจังหวัด คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นของ
องค์กรตามรัฐธรรมนูญ คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ รวมทั้งคณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ โดยคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้รวบรวมความเห็นจากทุกฝ่ายและประชาชน รวมทั้งองค์กรต่าง ๆ และนำมาปรับปรุงแก้ไขในหลายประเด็นเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีหลักสำคัญในการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจรัฐ รวมทั้งได้กำหนดดุลยภาพขององค์กรต่าง ๆ
ก่อนที่จะเริ่มการพิจารณาประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ชี้แจงกับสมาชิกสภาร่าง รัฐธรรมนูญเกี่ยวกับกรอบการพิจารณาว่าผู้ที่จะอภิปรายได้คือ สมาชิกที่ยื่นคำแปรญัตติและสงวน คำแปรญัตติไว้ ส่วนการลงมติให้ลงที่ละมาตรา หากมาตราใดมีการแปรญัตติหรือกรรมาธิการแก้ไข เพิ่มเติมต้องลงมติด้วยเสียงข้างมาก ส่วนกรณีที่ไม่ยื่นคำแปรญัตติ แต่สมาชิกขอแก้ไขเพิ่มเติมต้อง ลงมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๕
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณา ชื่อร่าง ซึ่งไม่มีการแก้ไข แต่ในส่วนของคำปรารภ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้ขอแก้ไขคำปรารภโดยขอให้อัญเชิญ พระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ว่า “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” อันเป็นที่มาของอุดมการณ์แผ่นดินธรรม แผ่นดินทองมาบัญญัติไว้ในคำปรารภด้วย ซึ่งนายธงทอง จันทรางศุ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ชี้แจงว่าเป็นการไม่เหมาะสมที่จะนำพระปฐมบรมราชโองการฯ มากล่าวซ้ำอีก เพราะหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปฐมพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ และพระองค์ไม่เคยมีพระปฐมบรมราชโองการเช่นว่านี้ซ้ำอีก ดังนั้นความจำเป็นที่ต้องมากล่าวซ้ำอีกครั้งหนึ่งไม่เคยมีแบบธรรมเนียมที่ปฏิบัติมาก่อน และการพูดถึงอุดมการณ์แห่งชาติในเรื่องแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองนั้นแม้เป็นสิ่งที่ดี แต่สิ่งนี้เป็นอุดมการณ์ของชาติแน่นอนแล้วหรือไม่ เพราะอาจมีอีกหลายเวทีที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอยู่ จึงขอยืนยันตามร่างเดิม ซึ่งนายสุรชัย ไม่ติดใจ
ต่อมาที่ประชุมได้พิจารณาเป็นรายมาตรา โดยเริ่มจาก
หมวด ๑ บททั่วไป ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๑ ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๒ ไม่มีการแก้ไข
มีกรรมาธิการขอสงวนความเห็นและผู้แปรญัตติขอสงวนคำแปรญัตติ
โดยนายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้ขอแปรญัตติ เพิ่มเติมข้อความในมาตรา ๒ วรรค ๒ ที่บัญญัติว่า ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ได้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเสนอให้นำมาตรา ๒ และมาตรา ๓๗ ไปพิจารณารวมกับมาตรา ๗๘ เพราะมีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งกรรมาธิการยกร่างฯ ได้อภิปรายสนับสนุน และที่ประชุมก็เห็นด้วยให้นำมาตรา ๒ ไปพิจารณากับมาตรา ๗๘ ที่บัญญัติให้รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา
จากนั้น ได้พิจารณามาตรา ๓ ซึ่งนายวิชัย รูปขำดี สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้ขอแปรญัตติตัดความในวรรค ๒ ที่ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรมออกทั้งหมด ในขณะที่นายวัชรา หงส์ประภัศร สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขอแปรญัตติแก้ตามในวรรค ๑ เป็นดังนี้ มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการทางศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ เมื่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้อภิปรายกันพอสมควร ที่ประชุมได้มีมติให้คงไว้ตามร่างของคณะ กรรมาธิการด้วยคะแนน ๕๘ เสียง
มาตรา ๔ มีการแก้ไข โดยนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ได้ขอแปรญัตติแก้ความเป็นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลทั้งที่บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญนี้ ตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (แก้ความ) และตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ซึ่งคณะ กรรมาธิการไม่เห็นด้วย
มาตรา ๕ บัญญัติว่า ประชาชนชาวไทยและบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยไม่ว่าแหล่งกำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน ซึ่งนายอัครรัตน์ รัตนจันทร์ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขอเพิ่มคำว่า “บุคคลที่อยู่ในประเทศไทย” แทนคำว่า “ประชาชน ชาวไทย” โดยให้เหตุผลว่าที่ผ่านมามีปัญหาคนต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในประเทศแต่ไม่ได้รับความคุ้มครอง
บางทีถูกดำเนินคดีก็ไม่ได้รับการประกันตัวหรืออย่างเทศกาลสงกรานต์มีชาวต่างชาติมาเที่ยว เมื่อถูกจับแต่กลับไม่มีการดำเนินคดี แต่พาไปเรียกข่มขู่เอาทรัพย์สิน หากมีการเพิ่มให้คุ้มครองถึงชาวต่างชาติ
ด้วยก็จะเป็นการส่งเสริมด้านเศรษฐกิจทางหนึ่ง เมื่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญอภิปรายกันพอสมควรที่ประชุมได้มีมติเห็นด้วยกับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญด้วยคะแนนเสียง ๖๓ เสียง ต่อ ๑๒ เสียง งดออกเสียง ๔ เสียง
มาตรา ๖ - มาตรา ๗ ไม่มีการแก้ไข
หมวด ๒ พระมหากษัตริย์ ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๘ - มาตรา ๒๕ ไม่มีการแก้ไข
หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ไม่มีการแก้ไข
ส่วนที่ ๑ บททั่วไป ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๒๖ ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๒๗ มีการแก้ไข
มาตรา ๒๘ ไม่มีการแก้ไข
มาตรา ๒๙ เรื่องการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ที่ไม่กระทำได้เว้นจากกฎหมายบัญญัติเนื่องจากกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้มีการปรับแก้ไขจึงทำให้ต้องมีการลงมติชี้ขาดว่าที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญเห็นชอบกับการแก้ไขหรือไม่ ซึ่งเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการแก้ไขแต่ก็ได้มีการลงมติอีกครั้งว่าจะเห็นด้วยกับการปรับแก้ไขของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญหรือจะเห็นด้วยกับการที่ผู้เสนอคำแปรญัตติได้ยกร่างขึ้นมา ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมกลับเห็นด้วยกับการปรับแก้ไขกับผู้เสนอคำแปรญัตติ ซึ่งถือเป็นญัตติแรกที่ประชุมใหญ่ไม่เห็นด้วยกับร่างของกรรมาธิการยกร่างฯ
ปิดประชุมเวลา ๒๑.๔๐ นาฬิกา
------------------------------------------