นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำเดือนพฤษภาคม 2550 ซึ่งเก็บได้สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 7,879 ล้านบาท (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 15,944 ล้านบาท) แต่การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ตุลาคม 2549 - พฤษภาคม 2550) ใกล้เคียงกับประมาณการโดยต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณเพียง 535 ล้านบาท แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 30,849 ล้านบาท
1. เดือนพฤษภาคม 2550 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 241,426 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 7,879 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.4 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.4) เนื่องจากการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจสูงกว่าประมาณการ 17,033 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นเพราะรัฐวิสาหกิจบางแห่ง (บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้านครหลวง) ได้เลื่อนนำส่งรายได้จากเดือนเมษายนเป็นเดือนพฤษภาคมจำนวน 15,380 ล้านบาท นอกจากนี้ ในเดือนนี้ยังได้รับรายได้ส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 1,726 ล้านบาท ทำให้รายได้จากส่วนราชการอื่นจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 496 ล้านบาท และการจัดเก็บรายได้จากกรมศุลกากรสูงกว่าประมาณการ 232 ล้านบาท
สำหรับการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร และกรมสรรพสามิต (ไม่รวมภาษีโทรคมนาคม) ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 7,488 และ 866 ล้านบาท ตามลำดับ ที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
- ภาษีมูลค่าเพิ่มต่ำกว่าประมาณการ 4,104 ล้านบาท เนื่องจากการบริโภคที่ชะลอตัวลงและค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลต่ำกว่าประมาณการ 3,472 ล้านบาท เนื่องจากการยื่นชำระภาษีจากกำไรสุทธิสำหรับรอบปีบัญชี 2549 ต่ำกว่าที่คาดไว้
- ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ต่ำกว่าประมาณการ 1,350 ล้านบาท เป็นผลจากการชะลอการใช้จ่ายของประชาชน
2. ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ตุลาคม 2549 — พฤษภาคม 2550)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 941,246 ล้านบาท ใกล้เคียงกับประมาณการโดยต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณเพียง 535 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.1 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.4) ซึ่งเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีจากกรมสรรพากรที่ต่ำกว่าประมาณการเป็นสาเหตุหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนการคืนภาษีของกรมสรรพากรสูงกว่าประมาณการถึงร้อยละ 14.5
ผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 722,383 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 9,576 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.3 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.1) ภาษีที่เก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 13,374 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.4 เนื่องจากการบริโภคที่ชะลอตัวลง และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ในขณะเดียวกันภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 3,813 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.7 เนื่องจากการยื่นภาษีจากกำไรสุทธิสำหรับรอบปีบัญชี 2549 ต่ำกว่าที่คาดไว้ อย่างไรก็ดีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 4,992 และ 2,639 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.9 และ 5.0 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.8 และ 12.1 ตามลำดับ)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 196,894 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,682 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.4 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.6) หากไม่รวมภาษีโทรคมนาคมที่ได้ประกาศลดอัตราภาษีเป็นร้อยละ0 แล้วจะสูงกว่าประมาณการ 7,629 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.0 ทั้งนี้เนื่องมาจากการจัดเก็บภาษีเบียร์ ภาษียาสูบ และภาษีสุราสูงกว่าเป้าหมาย 4,781 4,779 และ 3,088 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.2 20.9 และ 14.6 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 29.0 25.9 และ 18.0 ตามลำดับ) ส่วนภาษีรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 5,186 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.5 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.1)
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 59,756 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณ 1,091 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.9 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.0) โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 843 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.5 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.5) ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร
2.4 รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้รวม 70,688 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 9,440 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.4 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 27.1) เนื่องจากรัฐวิสาหกิจหลายแห่งนำส่งรายได้สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ บริษัท การท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นต้น นอกจากนี้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) นำส่งรายได้ก่อนกำหนด
2.5 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 59,280 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 9,947 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20.2 เนื่องจากได้รับเงินส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล จำนวน 9,812 ล้านบาท
3. คาดการณ์แนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2550
จากผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 ที่จัดเก็บได้ใกล้เคียงกับประมาณการ (ต่ำกว่าประมาณการเพียง 535 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.1) ประกอบกับแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือ คาดว่าการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในปีงบประมาณ 2550 นี้ จะจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเอกสารงบประมาณ (1.42 ล้านล้านบาท) ไม่เกินร้อยละ 2.0 ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมฐานะการคลังของรัฐบาลอย่างมีนัยสำคัญ
สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3728, 3545
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 46/2550 8 มิถุนายน 50--
1. เดือนพฤษภาคม 2550 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 241,426 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 7,879 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.4 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.4) เนื่องจากการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจสูงกว่าประมาณการ 17,033 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นเพราะรัฐวิสาหกิจบางแห่ง (บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้านครหลวง) ได้เลื่อนนำส่งรายได้จากเดือนเมษายนเป็นเดือนพฤษภาคมจำนวน 15,380 ล้านบาท นอกจากนี้ ในเดือนนี้ยังได้รับรายได้ส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 1,726 ล้านบาท ทำให้รายได้จากส่วนราชการอื่นจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 496 ล้านบาท และการจัดเก็บรายได้จากกรมศุลกากรสูงกว่าประมาณการ 232 ล้านบาท
สำหรับการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร และกรมสรรพสามิต (ไม่รวมภาษีโทรคมนาคม) ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 7,488 และ 866 ล้านบาท ตามลำดับ ที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
- ภาษีมูลค่าเพิ่มต่ำกว่าประมาณการ 4,104 ล้านบาท เนื่องจากการบริโภคที่ชะลอตัวลงและค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลต่ำกว่าประมาณการ 3,472 ล้านบาท เนื่องจากการยื่นชำระภาษีจากกำไรสุทธิสำหรับรอบปีบัญชี 2549 ต่ำกว่าที่คาดไว้
- ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ต่ำกว่าประมาณการ 1,350 ล้านบาท เป็นผลจากการชะลอการใช้จ่ายของประชาชน
2. ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ตุลาคม 2549 — พฤษภาคม 2550)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 941,246 ล้านบาท ใกล้เคียงกับประมาณการโดยต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณเพียง 535 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.1 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.4) ซึ่งเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีจากกรมสรรพากรที่ต่ำกว่าประมาณการเป็นสาเหตุหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนการคืนภาษีของกรมสรรพากรสูงกว่าประมาณการถึงร้อยละ 14.5
ผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 722,383 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 9,576 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.3 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.1) ภาษีที่เก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 13,374 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.4 เนื่องจากการบริโภคที่ชะลอตัวลง และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ในขณะเดียวกันภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 3,813 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.7 เนื่องจากการยื่นภาษีจากกำไรสุทธิสำหรับรอบปีบัญชี 2549 ต่ำกว่าที่คาดไว้ อย่างไรก็ดีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 4,992 และ 2,639 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.9 และ 5.0 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.8 และ 12.1 ตามลำดับ)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 196,894 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,682 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.4 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.6) หากไม่รวมภาษีโทรคมนาคมที่ได้ประกาศลดอัตราภาษีเป็นร้อยละ0 แล้วจะสูงกว่าประมาณการ 7,629 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.0 ทั้งนี้เนื่องมาจากการจัดเก็บภาษีเบียร์ ภาษียาสูบ และภาษีสุราสูงกว่าเป้าหมาย 4,781 4,779 และ 3,088 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.2 20.9 และ 14.6 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 29.0 25.9 และ 18.0 ตามลำดับ) ส่วนภาษีรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 5,186 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.5 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.1)
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 59,756 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณ 1,091 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.9 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.0) โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 843 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.5 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.5) ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร
2.4 รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้รวม 70,688 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 9,440 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.4 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 27.1) เนื่องจากรัฐวิสาหกิจหลายแห่งนำส่งรายได้สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ บริษัท การท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นต้น นอกจากนี้บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) นำส่งรายได้ก่อนกำหนด
2.5 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 59,280 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 9,947 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20.2 เนื่องจากได้รับเงินส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล จำนวน 9,812 ล้านบาท
3. คาดการณ์แนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2550
จากผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 ที่จัดเก็บได้ใกล้เคียงกับประมาณการ (ต่ำกว่าประมาณการเพียง 535 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.1) ประกอบกับแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือ คาดว่าการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในปีงบประมาณ 2550 นี้ จะจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเอกสารงบประมาณ (1.42 ล้านล้านบาท) ไม่เกินร้อยละ 2.0 ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมฐานะการคลังของรัฐบาลอย่างมีนัยสำคัญ
สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3728, 3545
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 46/2550 8 มิถุนายน 50--