คำต่อคำรายการตรงไปตรงมากับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ทางสถานีวิทยุ 101 ช่วงเวลา 08.00 — 08.30 น.
วันศุกร์ที่ 27 เมษายน 2550
ผู้ดำเนินรายการ คุณอภิสิทธิ์ คะ สวัสดีคะ ต่อโทรศัพท์หาคุณอภิสิทธิ์ใหม่ พอดีดิฉันเห็นข่าวใหม่ เจริญปุระ นะคะ ดาราในหนังสือพิมพ์วันนี้หน้าบันเทิง เขาบอกว่าอายุ 45 ใหม่อาจจะเล่นการเมืองก็ได้ ยอมรับว่าไปเจอ คุณทักษิณ อดีตนายกฯ จริงค่ะที่ แฮรอท นะคะ กับปฏิเสธว่าไม่ได้รับเงิน 12 ล้านอะไรมา แล้วก็บอกว่าอุ๊ย จริง ๆ คุณทักษิณ สนิทนู้นกับคุณพ่อเขานะคะ คุณรุจน์ รณภพ ตั้งแต่สมัยทำสายหนัง ใหม่บอกว่าจริง ๆ ครอบครัวของใหม่ นั้นมาจากทางใต้ พ่อแม่ก็เป็นคนใต้ คนใต้เขาชอบเล่นการเมืองอยู่แล้ว เคยไหว้ทั้งคุณชวน หลีกภัย ป๋าเปรมก็ไหว้มาแล้วตั้งแต่เด็กนะคะ เพราะฉะนั้นไม่ใช่คุณทักษิณคนเดียว (หัวเราะ)
ผู้ดำเนินรายการ ใหม่บอกว่า จริง ๆ ครอบครัวใหม่มาจากทางใต้นะฮะ พ่อแม่เป็นคนใต้ คนใต้ชอบเล่นการเมืองอยู่แล้ว มีโอกาสก็ได้กราบไหว้ทั้งคุณชวน ป๋าเปรม ตั้งแต่เด็กจนมีความรู้สึกว่าการเมืองกับใหม่ เป็นเรื่องใกล้ตัวนะครับ แม่เองก็ยังอยากให้ใหม่สมัครส.ส.เลย เพราะเมื่อก่อนคุณตา ก็ทำงานการเมือง ก็มีอดีตผู้ยิ่งใหญ่ไม่เกี่ยวกับใหม่ เราดูแลเฉพาะเรื่องของเรา เรื่องที่เขาจะจับไปโยงมันเป็นเรื่องของคนเขียน
ผู้ดำเนินรายการ ไปกันเป็นกลุ่มใช่ไม๊คะ ไปกันเป็นกลุ่ม แล้วก็บังเอิญคนไปเห็นเข้า
ผู้ดำเนินรายการ แล้วก็บอกว่าไม่แน่นะ อายุ 45 ถ้ายังแข็งแรง ร่างกายยังพอไหว พูดไหว เดินไหว อาจจะเล่นการเมือง ไม่รู้พูดเล่นหรือเปล่านะครับ คุณอภิสิทธิ์ พร้อมแล้วใช่ไม๊ครับ สวัสดีครับคุณอภิสิทธิ์ครับ เรื่องทีไอทีวี คุณอวัสดาครับ ทีไอทีวีเนี่ย ที่ครม. ให้เป็นทีวีสาธารณะเมื่อวานนี้มีคำให้สัมภาษณ์ที่น่าสนใจมากจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพราะว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนี่ต้องดูแลเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ แล้วมีข่าวว่าจะเอาภาษีสรรพสามิต ไปทำทีวีสาธารณะ อาจารย์ฉลองภพ บอกไม่เอา ถ้าจะทำทีวีสาธารณะเนี่ยต้องตั้งสถานีใหม่ รับสมัครพนักงานใหม่ ไม่ใช่ครอบมาทั้งหมด แล้วบอกด้วยว่า แหล่งทุนเท่าที่ท่านคิด ก็คือภาษีจากพวกโฆษณาในฟรีทีวี
ผู้ดำเนินรายการ ค่ะ บอกว่าจะต้องไปเรียกเก็บภาษีรายได้ อะไรพวกนี้นะคะ อันนี้กระทรวงคลัง เกิดไอเดียขึ้นมา ก็จะนำมาจัดตั้งเป็นกองทุนอุดหนุนสถานีทีไอทีวี ที่ทำประโยชน์เพื่อสังคมแต่ไม่มีรายได้จากค่าโฆษณา ทีนี้ก็มีการเรียกร้องบอกให้ทบทวน อะไรต่ออะไร เรื่องของการจะเป็น Public Service ของทีไอทีวี อยากฟังมุมมองจากคุณ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ท่านอยู่ในสายหรือยังคะ ค่ะสวัสดีค่ะ คุณอภิสิทธิ์คะ
ผู้ดำเนินรายการ สวัสดีครับ คุณอภิสิทธิ์ ครับ ทีไอทีวีเป็นทีวีสาธารณะ จะเป็นทีวีสาธารณะในที่สุดนะครับ จะอีกกี่เดือนก็แล้วแต่ คุณอภิสิทธิ์มองอย่างไรบ้างครับ
คุณอภิสิทธิ์ สวัสดีครับ ผมคิดว่าเรื่องนี้ มันเป็นเรื่องที่มีการเรียกร้องต่อสู้กันมานานพอสมควรนะครับ แต่ว่าผมอยากจะให้เห็นภาพรวมนิดนึง คือผมคิดว่าเราคงปฏิเสธไม่ได้นะครับ ว่าเราอยากจะมีสถานีโทรทัศน์ที่ให้ทั้งความบันเทิงและก็สาระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำอะไรให้เรามีสถานีโทรทัศน์วิทยุ ที่ปลอดจากสองสิ่ง สิ่งแรกก็คืออำนาจทางการเมืองเข้าไปแทรกแซง สิ่งที่สองก็คือว่าอย่าตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของธุรกิจพาณิชย์มากจนเกินไปนะครับ คือหมายถึงว่าไม่คิดถึงเรื่องของเนื้อหาสาระ แต่ว่าคิดถึงเรื่องของการทำรายได้อย่างเดียวนะครับ อันนี้ก็เป็นเป้าหมายที่ทุกคนเห็นตรงกันมาตลอด
ทีนี้วิธีทำอันนี้ ก็ทำได้ 2 วิธี เอาหลัก ๆ เลยก็คือทีวีสาธารณะ กับที่เรียกว่า ทีวีเสรี ความแตกแต่งก็คือว่า ถ้าไปในแนวของทีวีสาธารณะ ก็จะเป็นลักษณะขององค์กรที่จัดตั้งมาเป็นรูปแบบพิเศษนะครับ เราก็คิดถึงสถานีบีบีซี ของอังกฤษนะครับ ซึ่งส่วนใหญ่แนวนี้ก็คือไม่มีโฆษณา แต่ว่ารัฐบาลก็ต้องให้หลักประกันว่าจะให้เงินสนับสนุนเพียงพอในการที่จะดำเนินการและที่สำคัญก็คือว่า เมื่อรับเงินจากรัฐบาลแล้ว รัฐบาลต้องสามารถสร้างวัฒนธรรมทางการทำงานที่ทำให้สถานีไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมืองด้วย เพราะฉะนั้นกรณีของบีบีซีที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงก็คือว่า เขามีระบบในการจัดเก็บรายได้ ซึ่งทำให้บีบีซี มีหลักประกันพอสมควร มีความมั่นคง ไม่ต้องพึ่งรายได้ในการโฆษณา ซึ่งกรณีของอังกฤษเขาเก็บจากคนใช้โทรทัศน์ทุกคนนะครับ คือใครซื้อโทรทัศน์ต้องเสียค่าธรรมเนียมเป็นรายปี ต่อเครื่อง เงินตรงนี้ก็จะเข้าไปสนับสนุนบีบีซี ขณะเดียวกันก็เห็นได้ชัดว่า บีบีซี ไม่ได้ตกอยู่ภายใต้อาณัตของรัฐบาล ทำรายการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล สารคดีทางการเมืองได้อย่างเข้มข้น ก็เป็นที่ยอมรับ อันนี้ก็คือรูปแบบของทีวีสาธารณะที่พูดกันมานาน
ส่วนทีวีเสรี ก็คือกรณีที่ว่าเราก็ยังให้เอกชนทำ แต่ว่าจะมีการกำหนดกติกาว่า การนำเสนอเนื้อหาสาระต่าง ๆ รายการต่าง ๆ ก็ต้องมีสัดส่วนอย่างไรนะครับ แล้วก็จะต้องมีหลักประกันว่าจะไม่เข้าไปแทรกแซงเช่นเดียวกัน ทีนี้ แนวที่เราเดินมานั้น ถ้าถามว่าเราเคยมีโทรทัศน์ที่พยายามทำอย่างนี้ไม๊ ก็ต้องตอบว่ามี มีทั้ง 2 แนว เลยครับ
น็น็น
ผู้ดำเนินรายการ ทั้ง 2 แนวนะฮะ ครับ
คุณอภิสิทธิ์ ครับ ทีวีสาธารณะที่เราเคยพูดกันก็คือ ช่อง 11 ยังไงครับ เพราะว่าช่อง 11 เดิมทีก็ไม่มีโฆษณา ตอนหลังก็อาจจะมีการผ่อนคลายบ้าง แล้วก็ทีวีเสรีก็คือ ไอทีวี นะครับ ทีนี้ต้องบอกว่ามาดูกันจริง ๆ แล้ว มันก็ไม่ประสบความสำเร็จทั้ง 2 ด้าน กรณีของไอทีวีก็คงจะชัดนะครับว่าหลังจากที่เกิดปัญหา มีการวิพากษ์วิจารณ์กันทางการเมือง มีผลประโยชน์ทับซ้อนเข้าไปเกี่ยวข้องจนกระทั่งล่าสุดนี้ ก็เห็นได้ชัดว่ามันไม่ประสบความสำเร็จนะครับ กรณีของช่อง 11 แม้จะประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง แต่ว่าจริง ๆ แล้วยังมีปัญหามาก ผมจะเปรียบเทียบให้เห็น คือว่าเขาไปทำวิจัยมานะครับว่า โทรทัศน์แต่ละสถานีนำเสนอรายการในลักษณะที่เป็นสาระ คือสำหรับพลเมือง หรือเสนอรายการที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภค
ผู้ดำเนินรายการ ซึ่งต่างกัน
คุณอภิสิทธิ์ ซึ่งต่างกันนะครับ คำว่าพลเมืองก็หมายความว่ากระตุ้นให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับสังคม พยายามให้มีส่วนร่วม และก็ถ้าเป็นผู้บริโภคก็หมายความว่าก็อาจจะเสนอรายการบันเทิงต่าง ๆ แล้วก็โฆษณา ก็ขายสินค้าได้ ก็ปรากฎว่า จริง ๆ แล้ว ช่อง 11 เป็นช่องที่มีการนำเสนอรายการที่มองผู้ชมเป็นพลเมืองมากที่สุด พอเราได้ยินแค่นี้ก็อาจจะดีใจ แต่พอเราไปดูประกอบกับอีกตัวหนึ่งครับ คือจำนวนผู้ชม จะพบว่าพอเราเอาจำนวนผู้ชมเข้าไปแล้ว คนที่ได้ชมรายการเหล่านี้จริง ๆ น้อยมาก
ผู้ดำเนินรายการ เรทติ้งมันไม่ดี ใช่ไม๊คะ
คุณอภิสิทธิ์ ใช่ครับ ซึ่งอันนี้ผมก็ต้องพูดว่าเรายังมีปัญหานะครับ ปัญหาก็คือว่าพอเราทำสถานีโทรทัศน์ทีวีเสรีของไอทีวี ในที่สุดเราก็ไม่สามารถทำให้มันหลุดพ้นจากเรื่องของอิทธิพลทางธุรกิจ แล้วก็ทางการแทรกแซงทางการเมือง พอเราทำโทรทัศน์สาธารณะ เราก็ยังมีคำถามอันที่หนึ่ง ก็อย่างที่บอกก็คือว่า คนชมไม่มากแล้วส่วนหนึ่ง ถ้าเราพูดอย่างตรงไปตรงมา คุณภาพรายการของเรามันไม่ได้เหมือนกับทีวีสาธารณะที่อื่น ประการที่สองก็คือว่าคำว่าคุณภาพ ไม่ใช่เพียงแค่ว่าความทันสมัยในการผลิต การดึงดูดผู้ชมเท่านั้น แต่ว่าช่อง 11 ในระยะหลังก็ถูกการเมืองแทรกแซงอย่างชัดเจนไม่ได้มีความเป็นกลางทางการเมืองเลย ถ้าเทียบเคียงบอกว่า บีบีซี วิภาควิจารณ์รัฐบาลอังกฤษได้ ผมว่าช่อง 11 ไม่ได้มีรายการอะไรที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลไทยมาหลายปีแล้ว เพราะฉะนั้นจริง ๆ แล้ว ตรงนี้มันคือที่มาแล้วก็บทเรียน ทีนี้สิ่งที่ผมอยากจะบอกก็คือว่า ผมก็อยากมีโทรทัศน์สาธารณะที่ดี แล้วก็เห็นด้วยว่าจะผลักดันกฎหมายอะไรต่าง ๆ ออกมา คำถามผมมีอย่างเดียวเท่านั้นเองว่า ทำไมไม่เอาอันนี้มาใช้กับช่อง 11 ทำไมไม่ทำช่อง 11 ให้เป็นโทรทัศน์สาธารณะที่ดีให้เห็นเสียก่อน เพราะช่อง 11 ก็อยู่ภายใต้การบริหารงานในลักษณะของรัฐนะครับ หรือคิดจะมีการปรับไปเป็นกึ่งรัฐ เช่นพูดกันถึงองค์การมหาชน SPU หรืออะไรก็แล้วแต่ ทำไมไม่ทำตรงนั้นเสียก่อน แล้วทำไมไม่เอาคลื่นของไอทีวี หรือทีไอทีวี พยายามทำโทรทัศน์เสรีอีกครั้งหนึ่งให้มันถูกต้อง ให้มันดี อุดช่องโหว่จากสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะว่าในที่สุดแล้วในใจผม เราอยากจะได้ทั้งโทรทัศน์สาธารณะ และโทรทัศน์เสรี
ขณะนี้เรากำลังจะบอกว่าเอาคลื่นหรือช่องของทีไอทีวี มาลองทำโทรทัศน์สาธารณะอีก ทั้ง ๆ ที่เราควรจะพยายามทำโทรทัศน์สาธารณะคือช่อง 11 ให้มันได้ดีเสียก่อน คำถามที่อยู่ในใจคนจำนวนมากขณะนี้คือ อะไรจะเป็นหลักประกันว่า ทีไอทีวี ในฐานะโทรทัศน์สาธารณะนั้น จะแตกต่างจากช่อง 11 ถ้าออกมาเป็น 11/2 หรือ 11/1 มันมีไปแล้วใช่ไม๊ครับ ออกมาเป็น 11/2 /3 มันจะบรรลุเป้าหมายหรือสิ่งที่เราต้องการหรือเปล่า ผมว่าอันนี้คือเครื่องหมายคำถามที่สำคัญ
ผู้ดำเนินรายการ ควรจะเอาโมเดลทีวีสาธารณะที่กำลังจะมีกฎหมาย พรบ.แพร่ภาพ
คุณอภิสิทธิ์ ปรับช่อง 11 ให้ได้อย่างนั้นเสียก่อน แล้วผมเชื่อว่าคนที่ทำงานช่อง 11 ก็ต้องการความเป็นอิสระ ต้องการความคล่องตัวในการที่จะพิสูจน์ด้วยตัวเองเหมือนกัน ประเด็นที่ตามมาก็คือว่า พอเราไปใช้ทีวีสาธารณะ มาใช้กับกรณีของทีไอทีวี ถามว่าแล้วอนาคตทีวีเสรีอยู่ที่ไหน คือคลื่นนี้เดิมจัดไว้สำหรับโทรทัศน์เสรี ตอนนี้ก็จะลองย้ายเข้ามาอยู่ในแนวของโทรทัศน์สาธารณะ คำถามก็คือว่าแล้วเราจะมีโอกาสได้ทำโทรทัศน์เสรีแบบที่เราเคยตั้งใจจะทำหลังกรณีของ พฤษภาทมิฬ แล้วก็ที่เราพยายามทำกับไอทีวีหรือไม่ เพราะฉะนั้นใจผมจริง ๆ แล้ว ผมอยากให้เดินโทรทัศน์สาธารณะในกรอบของช่อง 11 แล้วก็ทีไอทีวี เรายังน่าจะลองพยายามที่จะทำให้เป็นไปในแนวของโทรทัศน์เสรี จากที่เคยตั้งใจไว้ตั้งแต่ตอนแรก ก็อันนี้ก็คงเป็นข้อคิดที่จะตรงหรือไม่ตรงก็สุดแล้วแต่นะครับ
ผู้ดำเนินรายการ ถ้าเอาโมเดล ทีวีเสรี ไปใช้กับ UHF ที่เหลืออยู่ อันนี้จะดีกว่าไม๊ครับ คุณอภิสิทธิ์ฮะ
คุณอภิสิทธิ์ ก็เป็นไปได้ครับ คือปัญหาในเวลานี้เรายังไม่มีคำตอบว่าในที่สุดแล้ว โทรทัศน์เสรีจะทำกันหรือไม่อย่างไร เพราะว่าเวลานี้คลื่นที่เรามีอยู่ก็ไปจับเป็นโทรทัศน์สาธารณะเสีย ในขณะที่อนาคตเกี่ยวกับเรื่องโทรทัศน์เสรีก็ยังไม่มีการพูดอะไรเพิ่มเติมขึ้นมา
ผู้ดำเนินรายการ มันอาจจะเป็นเรื่องของกระแสด้วยแหละครับ คุณอภิสิทธิ์ครับ เพราะว่าถ้าเอาทีไอทีวีไปทำเป็นทีวีเสรี ฝ่ายการเมืองก็คงจะกลัวถูกครหาว่า คล้าย ๆ กับว่าจะไปเอื้อประโยชน์ให้มีการเปิดประมูลใหม่ ให้เอกชนอะไรหรือเปล่า เขาก็เลยเคาะเป็นทีวีสาธารณะดีกว่า ปลอดภัยดี ผมเดาเอานะ เพราะทีวีสาธารณะมันปลอดภัยกว่าทีวีเสรี ในทางการเมืองนะครับ
คุณอภิสิทธิ์ คือผมคิดว่าถ้ามีความบริสุทธิ์ใจ ก็ไม่ควรไปกลัวครับ และก็ถ้าทุกอย่างมันโปร่งใส ตั้งแต่ขั้นตอนการเปิดประมูล การกำหนดเงื่อนไขอะไร มันก็ไม่น่าจะมีอะไรที่ต้องเกรงกลัว แต่ว่าผมก็เห็นใจนะครับ อาจจะเป็นไปได้ อาจจะมองว่าระยะเวลาของรัฐบาลนี้ก็มีจำกัด กลัวว่าถ้าเกิดจะไปเริ่มต้นในเรื่องของการประมูล หรืออะไรแล้วจะไม่ทัน อันนี้ก็เข้าใจ แต่ว่าใจผมก็ยังคิดว่าแหม ผมก็เสียดายนะครับ ผมคิดว่ามันควรจะเดินให้ได้ทั้งสองอย่าง ณ ขณะนี้ ที่ผมห่วงก็คือไม่ค่อยแน่ใจว่าเรามีหลักประกันว่าโทรทัศน์สาธารณะนั้นเราจะทำอย่างไรให้มันต่างจากสภาพของช่อง 11 ที่เป็นอยู่
ผู้ดำเนินรายการ ครับ คุณอภิสิทธิ์อยากจะพูดถึงสถานการณ์การเมืองหน่อยไม๊ครับ มันร้อนรุ่มขึ้นทุกวัน มีม็อบนั้น ม็อบนี้ ม็อบพระก็มาแล้ว นี่ม็อบพีทีวีก็จะเริ่มแล้ว
คุณอภิสิทธิ์ ก็เป็นเรื่องที่จริง ๆ แล้ว ไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างไปจากสถานการณ์เดิม ๆ ที่เราเคยคุยกันซึ่งก็ต้องบอกว่า ทั้งหมดก็อยู่ที่ความชัดเจน ความแน่วแน่ ความเป็นเอกภาพ และก็ความเข้มแข็งของรัฐบาล กับคมช. ว่าภารกิจที่สำคัญที่สุดคืออะไร เมื่อวานนี้ผมคิดว่าที่ท่านนายกฯ พูดก็ค่อนข้างจะตรงนะครับ ก็คือเรื่องของการที่จะต้องประคับประคองเพื่อให้เราสามารถที่จะกลับไปสู่การเลือกตั้ง และก็เรื่องของเศรษฐกิจที่เป็นห่วง และก็พยายามประคับประคองอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ผมคิดว่าเป้าหมายคงชัดแล้วก็ตรง ปัญหามีอยู่ว่าทำอย่างไรให้มันเป็นผล ซึ่งอันนี้ผมคิดว่ารัฐบาล และคมช. เองก็คงจะต้องไปทบทวนดูว่าที่ผ่านมาทำไมบางเป้าหมายมันยังไม่บรรลุ
ผู้ดำเนินรายการ คุณอภิสิทธิ์ เชื่อเหมือนพล.อ.สุรยุทธ์ ไม๊ครับ พล.อ.สุรยุทธ์ ดูเหมือนจะเชื่อว่าคุณทักษิณ เนี่ยกลับไม่ได้แล้ว ไม่ใช่แค่ไม่อยากให้กลับนะครับ แต่พล.อ.สุรยุทธ์ เชื่อว่าไม่น่าจะกลับได้ เพราะว่าคนต่อต้านกันเยอะมาก
คุณอภิสิทธิ์ คือผมคิดว่า คือผมไม่ทราบนะครับ คำว่ากลับไม่ได้นี่หมายความว่ากลับประเทศไทยไม่ได้เลย หรืออะไร คือจริง ๆ แล้ว คุณทักษิณเป็นคนไทย ก็ต้องมีสิทธิ์กลับ และก็จริง ๆ แล้วผมคิดว่าเราก็อยากจะเห็นการกลับมาต่อสู้คดี เพราะเราก็ต้องการเห็นตัวคดีต่าง ๆ มันเดินไปตามกระบวนการของมัน ทีนี้ถ้าคุณทักษิณไม่กลับ ก็เกิดคำถามขึ้นว่าแล้วคดีจะพิจารณาต่อไปได้หรือไม่ เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ส่วนกลับมาทางการเมือง ผมก็บอกว่า คุณทักษิณก็คงไม่ยอมแพ้ง่าย ๆ เห็นด้วยเลยอันนี้ที่ประเมิน แล้วก็เราก็ไม่ควรจะไปคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ แต่ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญก็คือว่า ถ้าประชาชนได้รับรู้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ถ้ากระบวนการยุติธรรมมันเดินของมันไป ผมคิดว่าคุณทักษิณก็อยู่ในฐานะที่ลำบาก นี่คือความคิดของผม และก็คุณทักษิณก็ต้องได้รับความเป็นธรรม เพราะฉะนั้นก็ควรต้องกลับเข้ามาต่อสู้ตามคดีไป ผมเองโดยจุดยืน เนื่องจากผมมีความชัดเจนมากว่า เห็นว่าสิ่งที่คุณทักษิณทำมาในฐานะนักการเมืองมีความเสียหาย มีปัญหาเยอะมาก ผมเชื่อว่าถ้าประชาชนทราบข้อเท็จจริงทั้งหมดในเรื่องพวกนี้ ผมก็คิดว่าคุณทักษิณทางการเมืองก็ไม่ง่ายหรอกครับ ที่จะกลับมา แต่ว่าประชาชนต้องสามารถได้รับทราบข้อเท็จจริงต่าง ๆ ครบถ้วนทุกด้าน แน่นอนครับ สิ่งที่คุณทักษิณทำหลายอย่างก็ถูกอกถูกใจนะครับ แต่ว่าถ้าเรามาไล่ดูกัน เพื่อให้เห็นว่าที่สุดแล้วมันเป็นประโยชน์ของใคร มีความยั่งยืนหรือไม่ ตรงนี้ผมก็คิดว่ามันสามารถที่จะมาพูดจากันแล้วก็ความคิดของหลาย ๆ คน ที่เคยสนับสนุนคุณทักษิณก็คงจะเปลี่ยนไปนะครับ
ผู้ดำเนินรายการ ตอนนี้จะเข้าสู่เดือนพฤษภาแล้วนะคะ คุณอภิสิทธิ์ แล้วก็หลายคนยังพูดถึงการตัดสินคดียุบพรรคกันอยู่ แล้วเสียงหนาหูก็ยังบอกว่า อะไรนะตัดสินต้องมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน คุณอภิสิทธิ์ตอนนี้มีการประเมินช่วง เขาเรียกว่า เกือบ ๆ จะโค้งสุดท้ายอย่างไรบ้างคะ
คุณอภิสิทธิ์ เมื่อวานนี้ ทางตุลาการก็ชัดเจนนะครับ ว่าท่านก็พิจารณาไปและก็จะไม่ให้ความเห็น ไม่ให้อะไร ผมก็เรียนว่าผมต้องการให้มาตรฐานเดียวกัน มาตรฐานเดียวกันที่ว่าคือใครผิดก็ต้องรับผิด ใครไม่ผิดก็ไม่ต้องรับผิด อันนี้คือมาตรฐานของกระบวนการยุติธรรม นะครับ ซึ่งถ้ามันผิดทั้งคู่ ก็ต้องยุบทั้งคู่ ถ้าไม่ผิดทั้งคู่ ก็ไม่ต้องยุบทั้งคู่ แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งผิด ฝ่ายหนึ่งไม่ผิดก็ต้องยุบเฉพาะคนที่ผิด ผมต้องการเพียงเท่านั้นแหละครับ และก็ผมคิดว่าถ้าไม่เป็นอย่างนี้ ปัญหาจะเกิดขึ้นไม่จบไม่สิ้นในสังคมไทย นะครับ อันนี้คือสิ่งที่ผมก็ได้ย้ำมาตลอด และก็ยังยืนอยู่เหมือนเดิมนะครับ และก็คิดว่าข้อเท็จจริงต่าง ๆ ขณะนี้เราก็พยายามที่จะนำเสนอให้สาธารณะชนได้รับทราบ นะครับ สิ่งหนึ่งที่ผมยังอยากจะเห็นมากขึ้นก็คือทำอย่างไรให้ประชาชนทราบเนื้อหาของคดี หรือว่าข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง เพราะว่าตอนนี้ผมคิดว่ายังได้รับทราบกันน้อยไปนิดนึง
ผู้ดำเนินรายการ ครับเอาล่ะครับ ขอบพระคุณมากนะครับคุณอภิสิทธิ์ครับ ขอบพระคุณค่ะ สวัสดีค่ะ
คุณอภิสิทธิ์ ครับ สวัสดีครับ
*************************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 27 เม.ย. 2550--จบ--
ทางสถานีวิทยุ 101 ช่วงเวลา 08.00 — 08.30 น.
วันศุกร์ที่ 27 เมษายน 2550
ผู้ดำเนินรายการ คุณอภิสิทธิ์ คะ สวัสดีคะ ต่อโทรศัพท์หาคุณอภิสิทธิ์ใหม่ พอดีดิฉันเห็นข่าวใหม่ เจริญปุระ นะคะ ดาราในหนังสือพิมพ์วันนี้หน้าบันเทิง เขาบอกว่าอายุ 45 ใหม่อาจจะเล่นการเมืองก็ได้ ยอมรับว่าไปเจอ คุณทักษิณ อดีตนายกฯ จริงค่ะที่ แฮรอท นะคะ กับปฏิเสธว่าไม่ได้รับเงิน 12 ล้านอะไรมา แล้วก็บอกว่าอุ๊ย จริง ๆ คุณทักษิณ สนิทนู้นกับคุณพ่อเขานะคะ คุณรุจน์ รณภพ ตั้งแต่สมัยทำสายหนัง ใหม่บอกว่าจริง ๆ ครอบครัวของใหม่ นั้นมาจากทางใต้ พ่อแม่ก็เป็นคนใต้ คนใต้เขาชอบเล่นการเมืองอยู่แล้ว เคยไหว้ทั้งคุณชวน หลีกภัย ป๋าเปรมก็ไหว้มาแล้วตั้งแต่เด็กนะคะ เพราะฉะนั้นไม่ใช่คุณทักษิณคนเดียว (หัวเราะ)
ผู้ดำเนินรายการ ใหม่บอกว่า จริง ๆ ครอบครัวใหม่มาจากทางใต้นะฮะ พ่อแม่เป็นคนใต้ คนใต้ชอบเล่นการเมืองอยู่แล้ว มีโอกาสก็ได้กราบไหว้ทั้งคุณชวน ป๋าเปรม ตั้งแต่เด็กจนมีความรู้สึกว่าการเมืองกับใหม่ เป็นเรื่องใกล้ตัวนะครับ แม่เองก็ยังอยากให้ใหม่สมัครส.ส.เลย เพราะเมื่อก่อนคุณตา ก็ทำงานการเมือง ก็มีอดีตผู้ยิ่งใหญ่ไม่เกี่ยวกับใหม่ เราดูแลเฉพาะเรื่องของเรา เรื่องที่เขาจะจับไปโยงมันเป็นเรื่องของคนเขียน
ผู้ดำเนินรายการ ไปกันเป็นกลุ่มใช่ไม๊คะ ไปกันเป็นกลุ่ม แล้วก็บังเอิญคนไปเห็นเข้า
ผู้ดำเนินรายการ แล้วก็บอกว่าไม่แน่นะ อายุ 45 ถ้ายังแข็งแรง ร่างกายยังพอไหว พูดไหว เดินไหว อาจจะเล่นการเมือง ไม่รู้พูดเล่นหรือเปล่านะครับ คุณอภิสิทธิ์ พร้อมแล้วใช่ไม๊ครับ สวัสดีครับคุณอภิสิทธิ์ครับ เรื่องทีไอทีวี คุณอวัสดาครับ ทีไอทีวีเนี่ย ที่ครม. ให้เป็นทีวีสาธารณะเมื่อวานนี้มีคำให้สัมภาษณ์ที่น่าสนใจมากจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพราะว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนี่ต้องดูแลเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ แล้วมีข่าวว่าจะเอาภาษีสรรพสามิต ไปทำทีวีสาธารณะ อาจารย์ฉลองภพ บอกไม่เอา ถ้าจะทำทีวีสาธารณะเนี่ยต้องตั้งสถานีใหม่ รับสมัครพนักงานใหม่ ไม่ใช่ครอบมาทั้งหมด แล้วบอกด้วยว่า แหล่งทุนเท่าที่ท่านคิด ก็คือภาษีจากพวกโฆษณาในฟรีทีวี
ผู้ดำเนินรายการ ค่ะ บอกว่าจะต้องไปเรียกเก็บภาษีรายได้ อะไรพวกนี้นะคะ อันนี้กระทรวงคลัง เกิดไอเดียขึ้นมา ก็จะนำมาจัดตั้งเป็นกองทุนอุดหนุนสถานีทีไอทีวี ที่ทำประโยชน์เพื่อสังคมแต่ไม่มีรายได้จากค่าโฆษณา ทีนี้ก็มีการเรียกร้องบอกให้ทบทวน อะไรต่ออะไร เรื่องของการจะเป็น Public Service ของทีไอทีวี อยากฟังมุมมองจากคุณ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ท่านอยู่ในสายหรือยังคะ ค่ะสวัสดีค่ะ คุณอภิสิทธิ์คะ
ผู้ดำเนินรายการ สวัสดีครับ คุณอภิสิทธิ์ ครับ ทีไอทีวีเป็นทีวีสาธารณะ จะเป็นทีวีสาธารณะในที่สุดนะครับ จะอีกกี่เดือนก็แล้วแต่ คุณอภิสิทธิ์มองอย่างไรบ้างครับ
คุณอภิสิทธิ์ สวัสดีครับ ผมคิดว่าเรื่องนี้ มันเป็นเรื่องที่มีการเรียกร้องต่อสู้กันมานานพอสมควรนะครับ แต่ว่าผมอยากจะให้เห็นภาพรวมนิดนึง คือผมคิดว่าเราคงปฏิเสธไม่ได้นะครับ ว่าเราอยากจะมีสถานีโทรทัศน์ที่ให้ทั้งความบันเทิงและก็สาระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำอะไรให้เรามีสถานีโทรทัศน์วิทยุ ที่ปลอดจากสองสิ่ง สิ่งแรกก็คืออำนาจทางการเมืองเข้าไปแทรกแซง สิ่งที่สองก็คือว่าอย่าตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของธุรกิจพาณิชย์มากจนเกินไปนะครับ คือหมายถึงว่าไม่คิดถึงเรื่องของเนื้อหาสาระ แต่ว่าคิดถึงเรื่องของการทำรายได้อย่างเดียวนะครับ อันนี้ก็เป็นเป้าหมายที่ทุกคนเห็นตรงกันมาตลอด
ทีนี้วิธีทำอันนี้ ก็ทำได้ 2 วิธี เอาหลัก ๆ เลยก็คือทีวีสาธารณะ กับที่เรียกว่า ทีวีเสรี ความแตกแต่งก็คือว่า ถ้าไปในแนวของทีวีสาธารณะ ก็จะเป็นลักษณะขององค์กรที่จัดตั้งมาเป็นรูปแบบพิเศษนะครับ เราก็คิดถึงสถานีบีบีซี ของอังกฤษนะครับ ซึ่งส่วนใหญ่แนวนี้ก็คือไม่มีโฆษณา แต่ว่ารัฐบาลก็ต้องให้หลักประกันว่าจะให้เงินสนับสนุนเพียงพอในการที่จะดำเนินการและที่สำคัญก็คือว่า เมื่อรับเงินจากรัฐบาลแล้ว รัฐบาลต้องสามารถสร้างวัฒนธรรมทางการทำงานที่ทำให้สถานีไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมืองด้วย เพราะฉะนั้นกรณีของบีบีซีที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงก็คือว่า เขามีระบบในการจัดเก็บรายได้ ซึ่งทำให้บีบีซี มีหลักประกันพอสมควร มีความมั่นคง ไม่ต้องพึ่งรายได้ในการโฆษณา ซึ่งกรณีของอังกฤษเขาเก็บจากคนใช้โทรทัศน์ทุกคนนะครับ คือใครซื้อโทรทัศน์ต้องเสียค่าธรรมเนียมเป็นรายปี ต่อเครื่อง เงินตรงนี้ก็จะเข้าไปสนับสนุนบีบีซี ขณะเดียวกันก็เห็นได้ชัดว่า บีบีซี ไม่ได้ตกอยู่ภายใต้อาณัตของรัฐบาล ทำรายการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล สารคดีทางการเมืองได้อย่างเข้มข้น ก็เป็นที่ยอมรับ อันนี้ก็คือรูปแบบของทีวีสาธารณะที่พูดกันมานาน
ส่วนทีวีเสรี ก็คือกรณีที่ว่าเราก็ยังให้เอกชนทำ แต่ว่าจะมีการกำหนดกติกาว่า การนำเสนอเนื้อหาสาระต่าง ๆ รายการต่าง ๆ ก็ต้องมีสัดส่วนอย่างไรนะครับ แล้วก็จะต้องมีหลักประกันว่าจะไม่เข้าไปแทรกแซงเช่นเดียวกัน ทีนี้ แนวที่เราเดินมานั้น ถ้าถามว่าเราเคยมีโทรทัศน์ที่พยายามทำอย่างนี้ไม๊ ก็ต้องตอบว่ามี มีทั้ง 2 แนว เลยครับ
น็น็น
ผู้ดำเนินรายการ ทั้ง 2 แนวนะฮะ ครับ
คุณอภิสิทธิ์ ครับ ทีวีสาธารณะที่เราเคยพูดกันก็คือ ช่อง 11 ยังไงครับ เพราะว่าช่อง 11 เดิมทีก็ไม่มีโฆษณา ตอนหลังก็อาจจะมีการผ่อนคลายบ้าง แล้วก็ทีวีเสรีก็คือ ไอทีวี นะครับ ทีนี้ต้องบอกว่ามาดูกันจริง ๆ แล้ว มันก็ไม่ประสบความสำเร็จทั้ง 2 ด้าน กรณีของไอทีวีก็คงจะชัดนะครับว่าหลังจากที่เกิดปัญหา มีการวิพากษ์วิจารณ์กันทางการเมือง มีผลประโยชน์ทับซ้อนเข้าไปเกี่ยวข้องจนกระทั่งล่าสุดนี้ ก็เห็นได้ชัดว่ามันไม่ประสบความสำเร็จนะครับ กรณีของช่อง 11 แม้จะประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง แต่ว่าจริง ๆ แล้วยังมีปัญหามาก ผมจะเปรียบเทียบให้เห็น คือว่าเขาไปทำวิจัยมานะครับว่า โทรทัศน์แต่ละสถานีนำเสนอรายการในลักษณะที่เป็นสาระ คือสำหรับพลเมือง หรือเสนอรายการที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภค
ผู้ดำเนินรายการ ซึ่งต่างกัน
คุณอภิสิทธิ์ ซึ่งต่างกันนะครับ คำว่าพลเมืองก็หมายความว่ากระตุ้นให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับสังคม พยายามให้มีส่วนร่วม และก็ถ้าเป็นผู้บริโภคก็หมายความว่าก็อาจจะเสนอรายการบันเทิงต่าง ๆ แล้วก็โฆษณา ก็ขายสินค้าได้ ก็ปรากฎว่า จริง ๆ แล้ว ช่อง 11 เป็นช่องที่มีการนำเสนอรายการที่มองผู้ชมเป็นพลเมืองมากที่สุด พอเราได้ยินแค่นี้ก็อาจจะดีใจ แต่พอเราไปดูประกอบกับอีกตัวหนึ่งครับ คือจำนวนผู้ชม จะพบว่าพอเราเอาจำนวนผู้ชมเข้าไปแล้ว คนที่ได้ชมรายการเหล่านี้จริง ๆ น้อยมาก
ผู้ดำเนินรายการ เรทติ้งมันไม่ดี ใช่ไม๊คะ
คุณอภิสิทธิ์ ใช่ครับ ซึ่งอันนี้ผมก็ต้องพูดว่าเรายังมีปัญหานะครับ ปัญหาก็คือว่าพอเราทำสถานีโทรทัศน์ทีวีเสรีของไอทีวี ในที่สุดเราก็ไม่สามารถทำให้มันหลุดพ้นจากเรื่องของอิทธิพลทางธุรกิจ แล้วก็ทางการแทรกแซงทางการเมือง พอเราทำโทรทัศน์สาธารณะ เราก็ยังมีคำถามอันที่หนึ่ง ก็อย่างที่บอกก็คือว่า คนชมไม่มากแล้วส่วนหนึ่ง ถ้าเราพูดอย่างตรงไปตรงมา คุณภาพรายการของเรามันไม่ได้เหมือนกับทีวีสาธารณะที่อื่น ประการที่สองก็คือว่าคำว่าคุณภาพ ไม่ใช่เพียงแค่ว่าความทันสมัยในการผลิต การดึงดูดผู้ชมเท่านั้น แต่ว่าช่อง 11 ในระยะหลังก็ถูกการเมืองแทรกแซงอย่างชัดเจนไม่ได้มีความเป็นกลางทางการเมืองเลย ถ้าเทียบเคียงบอกว่า บีบีซี วิภาควิจารณ์รัฐบาลอังกฤษได้ ผมว่าช่อง 11 ไม่ได้มีรายการอะไรที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลไทยมาหลายปีแล้ว เพราะฉะนั้นจริง ๆ แล้ว ตรงนี้มันคือที่มาแล้วก็บทเรียน ทีนี้สิ่งที่ผมอยากจะบอกก็คือว่า ผมก็อยากมีโทรทัศน์สาธารณะที่ดี แล้วก็เห็นด้วยว่าจะผลักดันกฎหมายอะไรต่าง ๆ ออกมา คำถามผมมีอย่างเดียวเท่านั้นเองว่า ทำไมไม่เอาอันนี้มาใช้กับช่อง 11 ทำไมไม่ทำช่อง 11 ให้เป็นโทรทัศน์สาธารณะที่ดีให้เห็นเสียก่อน เพราะช่อง 11 ก็อยู่ภายใต้การบริหารงานในลักษณะของรัฐนะครับ หรือคิดจะมีการปรับไปเป็นกึ่งรัฐ เช่นพูดกันถึงองค์การมหาชน SPU หรืออะไรก็แล้วแต่ ทำไมไม่ทำตรงนั้นเสียก่อน แล้วทำไมไม่เอาคลื่นของไอทีวี หรือทีไอทีวี พยายามทำโทรทัศน์เสรีอีกครั้งหนึ่งให้มันถูกต้อง ให้มันดี อุดช่องโหว่จากสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะว่าในที่สุดแล้วในใจผม เราอยากจะได้ทั้งโทรทัศน์สาธารณะ และโทรทัศน์เสรี
ขณะนี้เรากำลังจะบอกว่าเอาคลื่นหรือช่องของทีไอทีวี มาลองทำโทรทัศน์สาธารณะอีก ทั้ง ๆ ที่เราควรจะพยายามทำโทรทัศน์สาธารณะคือช่อง 11 ให้มันได้ดีเสียก่อน คำถามที่อยู่ในใจคนจำนวนมากขณะนี้คือ อะไรจะเป็นหลักประกันว่า ทีไอทีวี ในฐานะโทรทัศน์สาธารณะนั้น จะแตกต่างจากช่อง 11 ถ้าออกมาเป็น 11/2 หรือ 11/1 มันมีไปแล้วใช่ไม๊ครับ ออกมาเป็น 11/2 /3 มันจะบรรลุเป้าหมายหรือสิ่งที่เราต้องการหรือเปล่า ผมว่าอันนี้คือเครื่องหมายคำถามที่สำคัญ
ผู้ดำเนินรายการ ควรจะเอาโมเดลทีวีสาธารณะที่กำลังจะมีกฎหมาย พรบ.แพร่ภาพ
คุณอภิสิทธิ์ ปรับช่อง 11 ให้ได้อย่างนั้นเสียก่อน แล้วผมเชื่อว่าคนที่ทำงานช่อง 11 ก็ต้องการความเป็นอิสระ ต้องการความคล่องตัวในการที่จะพิสูจน์ด้วยตัวเองเหมือนกัน ประเด็นที่ตามมาก็คือว่า พอเราไปใช้ทีวีสาธารณะ มาใช้กับกรณีของทีไอทีวี ถามว่าแล้วอนาคตทีวีเสรีอยู่ที่ไหน คือคลื่นนี้เดิมจัดไว้สำหรับโทรทัศน์เสรี ตอนนี้ก็จะลองย้ายเข้ามาอยู่ในแนวของโทรทัศน์สาธารณะ คำถามก็คือว่าแล้วเราจะมีโอกาสได้ทำโทรทัศน์เสรีแบบที่เราเคยตั้งใจจะทำหลังกรณีของ พฤษภาทมิฬ แล้วก็ที่เราพยายามทำกับไอทีวีหรือไม่ เพราะฉะนั้นใจผมจริง ๆ แล้ว ผมอยากให้เดินโทรทัศน์สาธารณะในกรอบของช่อง 11 แล้วก็ทีไอทีวี เรายังน่าจะลองพยายามที่จะทำให้เป็นไปในแนวของโทรทัศน์เสรี จากที่เคยตั้งใจไว้ตั้งแต่ตอนแรก ก็อันนี้ก็คงเป็นข้อคิดที่จะตรงหรือไม่ตรงก็สุดแล้วแต่นะครับ
ผู้ดำเนินรายการ ถ้าเอาโมเดล ทีวีเสรี ไปใช้กับ UHF ที่เหลืออยู่ อันนี้จะดีกว่าไม๊ครับ คุณอภิสิทธิ์ฮะ
คุณอภิสิทธิ์ ก็เป็นไปได้ครับ คือปัญหาในเวลานี้เรายังไม่มีคำตอบว่าในที่สุดแล้ว โทรทัศน์เสรีจะทำกันหรือไม่อย่างไร เพราะว่าเวลานี้คลื่นที่เรามีอยู่ก็ไปจับเป็นโทรทัศน์สาธารณะเสีย ในขณะที่อนาคตเกี่ยวกับเรื่องโทรทัศน์เสรีก็ยังไม่มีการพูดอะไรเพิ่มเติมขึ้นมา
ผู้ดำเนินรายการ มันอาจจะเป็นเรื่องของกระแสด้วยแหละครับ คุณอภิสิทธิ์ครับ เพราะว่าถ้าเอาทีไอทีวีไปทำเป็นทีวีเสรี ฝ่ายการเมืองก็คงจะกลัวถูกครหาว่า คล้าย ๆ กับว่าจะไปเอื้อประโยชน์ให้มีการเปิดประมูลใหม่ ให้เอกชนอะไรหรือเปล่า เขาก็เลยเคาะเป็นทีวีสาธารณะดีกว่า ปลอดภัยดี ผมเดาเอานะ เพราะทีวีสาธารณะมันปลอดภัยกว่าทีวีเสรี ในทางการเมืองนะครับ
คุณอภิสิทธิ์ คือผมคิดว่าถ้ามีความบริสุทธิ์ใจ ก็ไม่ควรไปกลัวครับ และก็ถ้าทุกอย่างมันโปร่งใส ตั้งแต่ขั้นตอนการเปิดประมูล การกำหนดเงื่อนไขอะไร มันก็ไม่น่าจะมีอะไรที่ต้องเกรงกลัว แต่ว่าผมก็เห็นใจนะครับ อาจจะเป็นไปได้ อาจจะมองว่าระยะเวลาของรัฐบาลนี้ก็มีจำกัด กลัวว่าถ้าเกิดจะไปเริ่มต้นในเรื่องของการประมูล หรืออะไรแล้วจะไม่ทัน อันนี้ก็เข้าใจ แต่ว่าใจผมก็ยังคิดว่าแหม ผมก็เสียดายนะครับ ผมคิดว่ามันควรจะเดินให้ได้ทั้งสองอย่าง ณ ขณะนี้ ที่ผมห่วงก็คือไม่ค่อยแน่ใจว่าเรามีหลักประกันว่าโทรทัศน์สาธารณะนั้นเราจะทำอย่างไรให้มันต่างจากสภาพของช่อง 11 ที่เป็นอยู่
ผู้ดำเนินรายการ ครับ คุณอภิสิทธิ์อยากจะพูดถึงสถานการณ์การเมืองหน่อยไม๊ครับ มันร้อนรุ่มขึ้นทุกวัน มีม็อบนั้น ม็อบนี้ ม็อบพระก็มาแล้ว นี่ม็อบพีทีวีก็จะเริ่มแล้ว
คุณอภิสิทธิ์ ก็เป็นเรื่องที่จริง ๆ แล้ว ไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างไปจากสถานการณ์เดิม ๆ ที่เราเคยคุยกันซึ่งก็ต้องบอกว่า ทั้งหมดก็อยู่ที่ความชัดเจน ความแน่วแน่ ความเป็นเอกภาพ และก็ความเข้มแข็งของรัฐบาล กับคมช. ว่าภารกิจที่สำคัญที่สุดคืออะไร เมื่อวานนี้ผมคิดว่าที่ท่านนายกฯ พูดก็ค่อนข้างจะตรงนะครับ ก็คือเรื่องของการที่จะต้องประคับประคองเพื่อให้เราสามารถที่จะกลับไปสู่การเลือกตั้ง และก็เรื่องของเศรษฐกิจที่เป็นห่วง และก็พยายามประคับประคองอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ผมคิดว่าเป้าหมายคงชัดแล้วก็ตรง ปัญหามีอยู่ว่าทำอย่างไรให้มันเป็นผล ซึ่งอันนี้ผมคิดว่ารัฐบาล และคมช. เองก็คงจะต้องไปทบทวนดูว่าที่ผ่านมาทำไมบางเป้าหมายมันยังไม่บรรลุ
ผู้ดำเนินรายการ คุณอภิสิทธิ์ เชื่อเหมือนพล.อ.สุรยุทธ์ ไม๊ครับ พล.อ.สุรยุทธ์ ดูเหมือนจะเชื่อว่าคุณทักษิณ เนี่ยกลับไม่ได้แล้ว ไม่ใช่แค่ไม่อยากให้กลับนะครับ แต่พล.อ.สุรยุทธ์ เชื่อว่าไม่น่าจะกลับได้ เพราะว่าคนต่อต้านกันเยอะมาก
คุณอภิสิทธิ์ คือผมคิดว่า คือผมไม่ทราบนะครับ คำว่ากลับไม่ได้นี่หมายความว่ากลับประเทศไทยไม่ได้เลย หรืออะไร คือจริง ๆ แล้ว คุณทักษิณเป็นคนไทย ก็ต้องมีสิทธิ์กลับ และก็จริง ๆ แล้วผมคิดว่าเราก็อยากจะเห็นการกลับมาต่อสู้คดี เพราะเราก็ต้องการเห็นตัวคดีต่าง ๆ มันเดินไปตามกระบวนการของมัน ทีนี้ถ้าคุณทักษิณไม่กลับ ก็เกิดคำถามขึ้นว่าแล้วคดีจะพิจารณาต่อไปได้หรือไม่ เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ส่วนกลับมาทางการเมือง ผมก็บอกว่า คุณทักษิณก็คงไม่ยอมแพ้ง่าย ๆ เห็นด้วยเลยอันนี้ที่ประเมิน แล้วก็เราก็ไม่ควรจะไปคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ แต่ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญก็คือว่า ถ้าประชาชนได้รับรู้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ถ้ากระบวนการยุติธรรมมันเดินของมันไป ผมคิดว่าคุณทักษิณก็อยู่ในฐานะที่ลำบาก นี่คือความคิดของผม และก็คุณทักษิณก็ต้องได้รับความเป็นธรรม เพราะฉะนั้นก็ควรต้องกลับเข้ามาต่อสู้ตามคดีไป ผมเองโดยจุดยืน เนื่องจากผมมีความชัดเจนมากว่า เห็นว่าสิ่งที่คุณทักษิณทำมาในฐานะนักการเมืองมีความเสียหาย มีปัญหาเยอะมาก ผมเชื่อว่าถ้าประชาชนทราบข้อเท็จจริงทั้งหมดในเรื่องพวกนี้ ผมก็คิดว่าคุณทักษิณทางการเมืองก็ไม่ง่ายหรอกครับ ที่จะกลับมา แต่ว่าประชาชนต้องสามารถได้รับทราบข้อเท็จจริงต่าง ๆ ครบถ้วนทุกด้าน แน่นอนครับ สิ่งที่คุณทักษิณทำหลายอย่างก็ถูกอกถูกใจนะครับ แต่ว่าถ้าเรามาไล่ดูกัน เพื่อให้เห็นว่าที่สุดแล้วมันเป็นประโยชน์ของใคร มีความยั่งยืนหรือไม่ ตรงนี้ผมก็คิดว่ามันสามารถที่จะมาพูดจากันแล้วก็ความคิดของหลาย ๆ คน ที่เคยสนับสนุนคุณทักษิณก็คงจะเปลี่ยนไปนะครับ
ผู้ดำเนินรายการ ตอนนี้จะเข้าสู่เดือนพฤษภาแล้วนะคะ คุณอภิสิทธิ์ แล้วก็หลายคนยังพูดถึงการตัดสินคดียุบพรรคกันอยู่ แล้วเสียงหนาหูก็ยังบอกว่า อะไรนะตัดสินต้องมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน คุณอภิสิทธิ์ตอนนี้มีการประเมินช่วง เขาเรียกว่า เกือบ ๆ จะโค้งสุดท้ายอย่างไรบ้างคะ
คุณอภิสิทธิ์ เมื่อวานนี้ ทางตุลาการก็ชัดเจนนะครับ ว่าท่านก็พิจารณาไปและก็จะไม่ให้ความเห็น ไม่ให้อะไร ผมก็เรียนว่าผมต้องการให้มาตรฐานเดียวกัน มาตรฐานเดียวกันที่ว่าคือใครผิดก็ต้องรับผิด ใครไม่ผิดก็ไม่ต้องรับผิด อันนี้คือมาตรฐานของกระบวนการยุติธรรม นะครับ ซึ่งถ้ามันผิดทั้งคู่ ก็ต้องยุบทั้งคู่ ถ้าไม่ผิดทั้งคู่ ก็ไม่ต้องยุบทั้งคู่ แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งผิด ฝ่ายหนึ่งไม่ผิดก็ต้องยุบเฉพาะคนที่ผิด ผมต้องการเพียงเท่านั้นแหละครับ และก็ผมคิดว่าถ้าไม่เป็นอย่างนี้ ปัญหาจะเกิดขึ้นไม่จบไม่สิ้นในสังคมไทย นะครับ อันนี้คือสิ่งที่ผมก็ได้ย้ำมาตลอด และก็ยังยืนอยู่เหมือนเดิมนะครับ และก็คิดว่าข้อเท็จจริงต่าง ๆ ขณะนี้เราก็พยายามที่จะนำเสนอให้สาธารณะชนได้รับทราบ นะครับ สิ่งหนึ่งที่ผมยังอยากจะเห็นมากขึ้นก็คือทำอย่างไรให้ประชาชนทราบเนื้อหาของคดี หรือว่าข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง เพราะว่าตอนนี้ผมคิดว่ายังได้รับทราบกันน้อยไปนิดนึง
ผู้ดำเนินรายการ ครับเอาล่ะครับ ขอบพระคุณมากนะครับคุณอภิสิทธิ์ครับ ขอบพระคุณค่ะ สวัสดีค่ะ
คุณอภิสิทธิ์ ครับ สวัสดีครับ
*************************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 27 เม.ย. 2550--จบ--