สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่4 (ตุลาคม—ธันวาคม) พ.ศ.2549(อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 14, 2007 15:30 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

          1.   ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม
ภาวะการผลิตในสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.47 เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากของสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ที่
ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.07 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสินค้าฮาร์ตดิสไดรฟ์ (HDD) และ IC ในขณะที่การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อย
ละ 8.36 เนื่องจากการปรับตัวลดลงของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าหลักๆ ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดจอขนาดเล็ก และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน
คอนเดนซิ่ง
ภาวะการส่งออกไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยมีมูลค่าการส่งออกรวม 401,037 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6 เทียบกับไตร
มาสเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 โดยการส่งออกไปตลาดหลักๆของไทยยังค่อนข้างทรงตัว เช่น
ตลาดสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 อียูเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เนื่องจากมีการแข่งขันที่สูงมาก เช่นเดียวกับการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากความ
ต้องการสินค้า Consumer Electrnic ของโลกที่ยังคงมีความต้องการสูง โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7
สำหรับแนวโน้มการผลิตในไตรมาส 1 ปี 2550 อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมคาดว่ายังสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่องจาก
ไตรมาสที่ผ่านมาอีกเล็กน้อยประมาณร้อยละ 3-5 จากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่คาดว่าจะสามารถปรับตัวขึ้นตามภาวะความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของ
โลกได้ต่อไป โดยคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5-7 ส่วนอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยช่วงต้นปีอาจมีการผลิตลด
ลงประมาณร้อยละ 1-2 เนื่องจากผ่านช่วงเทศกาลปีใหม่มาแล้ว อย่างไรก็ตามคาดว่าการผลิตจะกลับเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงเดือนมีนาคมเนื่องจากเข้าสู่
ช่วงฤดูร้อนซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทเครื่องทำความเย็น เช่น พัดลม ตู้เย็น และเครื่องปรับอากาศ จะมีความต้องการมากขึ้น
ส่วนแนวโน้มการส่งออกโดยรวมในไตรมาสแรกของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จะปรับตัวสูงขึ้น เช่นกันโดยประมาณการว่า การส่ง
ออกรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10 เป็นผลมาจากการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่อาจจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆหลายด้าน ได้แก่ ปัจจัยพื้นฐานด้านการผลิต
เช่น ราคาวัตถุดิบที่มีแนวโน้มสูงขึ้น แรงงานที่ขาดแคลนระดับปฏิบัติการ เนื่องจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ นอกจากนี้ การ
ปกป้องสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาในไทย การรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันได้ ผลกระทบจาก
มาตรการที่มิใช่ภาษี เช่น กฎระเบียบอียูที่มีแนวโน้มบังคับใช้มากขึ้น และสหรัฐอเมริกาที่มีกฎระเบียบตามมลรัฐต่างๆ ขณะที่ ผลกระทบจากเศรษฐกิจ
มหภาคโดยรวมที่อาจส่งผลกระทบกับภาคการผลิตและส่งออกได้ เช่น ราคาน้ำมันที่ยังผันผวน และอัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นกระทบภาคการ
ส่งออก เป็นต้น
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 116.84 ปรับตัวลดลงจากไตรมาส
ก่อนร้อยละ 3.2 จากสินค้าในกลุ่มเครื่องทำความเย็น เช่น ตู้เย็น และพัดลม โดยลดลงร้อยละ 10.92 และ 3.86 ตามลำดับ และจากเครื่องรับ
โทรทัศน์ขนาดมากกว่า 21 นิ้ว ที่ลดลงร้อยละ 12.70 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงเช่นกันร้อยละ 8.36 สินค้าที่มีการผลิตลดลง
ได้แก่ โทรทัศน์สีขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว สายไฟฟ้า และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน - คอนเดนซิ่งยูนิต ปรับตัวลดลงร้อยละ 28.76
14.23 และ 8.55 ตามลำดับ ดังตารางที่ 1
สินค้าเครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้วที่มีการปรับตัวลดลง เนื่องจากตลาดหันมาให้ความนิยมกับเครื่องรับโทรทัศน์จอขนาดใหญ่
เพิ่มขึ้นมาก ในขณะที่การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์จอขนาดใหญ่เองก็ลดลงเช่นกันเนื่องจากได้เพิ่มกำลังการผลิตในไตรมาส 3 เพื่อเตรียมขายในช่วงปลาย
ปีไปแล้ว โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 7 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 2.7 เนื่องจากเริ่มได้รับผล
กระทบจาก LCD และ Plasma TV ที่มาแทนที่โดยเฉพาะในตลาดประเทศพัฒนาแล้วทั้ง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ สหภาพยุโรป เป็นต้น อย่างไรก็ตาม
เครื่องรับโทรทัศน์ CRT แบบเดิมยังคงขายได้เพิ่มขึ้นในประเทศเนื่องจากราคาลดลงมาก โดยเฉพาะขนาด 21 นิ้ว-29 นิ้ว ยังได้รับความนิยมสูง
สายไฟฟ้ามีการปรับตัวลดลงในไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 และเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง
คือ วัตถุดิบที่นำมาผลิตสายไฟฟ้ามีราคาค่อนข้างสูงทำให้การซื้อสินค้าสายไฟฟ้าสำเร็จรูปจากจีนเข้ามาใช้ค่อนข้างสูงประมาณ 41 % ขณะที่ สายไฟฟ้า
บางอย่างมีปริมาณการใช้ปรับตัวตามอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งที่ผ่านมาชะลอตัวลงทำให้ความต้องการสาย
ไฟฟ้าดังกล่าวลดลงตามไปด้วย
เครื่องปรับอากาศในไตรมาสที่ 4 มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 7.4 เนื่องจากเริ่มมีคำสั่งซื้อจากกลุ่มสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น
โดยตลาดเริ่มคลายความกังวลเกี่ยวกับมาตรการ RoHs ที่บังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2549 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี
ก่อนพบว่าการผลิตเครื่องปรับอากาศของไทยยังคงทรงตัวโดยปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 ส่วนหนึ่งเกิดจากมาตรการ RoHs และส่วนหนึ่งเกิดจากผู้
นำเข้าส่วนหนึ่งได้หันไปสั่งซื้อเครื่องปรับอากาศจากจีนและยุโรปตะวันออกเพิ่มขึ้นการผลิตที่ลดลงส่วนใหญ่มาจากในส่วของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน
คอนเดนซิ่งยูนิต ที่มีการผลิตลดลงร้อยละ 8.5 เนื่องจากบางส่วนนำเข้าจากประเทศในกลุ่มอาเซียนมากขึ้น โดยในไตรมาสที่ 4 นี้ ไทยนำเข้าเครื่อง
ปรับอากาศจากอาเซียนมูลค่า 220 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32 ส่งผลให้การผลิตลดต่ำลงบ้าง
สำหรับกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านขนาดเล็ก เช่น กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว มีการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาส 4 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 16.24 และ 6.86 เนื่องจากบางบริษัท ได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นชั่วคราว อย่างไรก็ตามโดยรวมแล้วในปี 2549 มีการผลิต
ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากต้องแข่งขันกับสินค้าจากจีนที่มีราคาถูกกว่าทั้งในตลาดส่งออกและตลาดในประเทศที่ปัจจุบันสินค้าจีนเข้ามาครองส่วน
แบ่งตลาดส่วนใหญ่ไปแล้ว
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical machinary) ของประเทศญี่ปุ่นไตร
มาสที่ 4 ปี 2549 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 5.71 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.42 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ
ไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องเล่น DVD LCD และเครื่องปรับอากาศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.74 38.81 และ 20.41 ตามลำดับ ขณะที่
สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ LCD กล้องถ่ายรูป Digital และ เครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 27.66 27.03 และ 20.89 จากดัชนีผลผลิตข้างต้น จะพบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นจะมีการขยายตัวในสินค้า consumer
electronics ค่อนข้างสูง ขณะที่ ดัชนีผลผลิตของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านขยายตัวค่อนข้างน้อยจนมีบางตัวสินค้าที่ปรับตัวลดลง เช่น ไมโครเวฟ
ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (-26.72%) และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของไตรมาสก่อน (-29.78%) สะท้อนภาพการผลิตในญี่ปุ่นที่มีการผลิต
สินค้าไฮเทคที่มีเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ๆมากขึ้น
ตารางที่ 1 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2549
สินค้า ดัชนีผลผลิตไตรมาส 4 การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง
ปี 2549 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 49 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 48
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
เครื่องใช้ไฟฟ้า 116.84 -3.2 -8.36
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 146.81 1.94 -8.55
- คอนเดนซิ่งยูนิต
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 159.49 15.9 16.05
- แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต
คอมเพรสเซอร์ 131.73 -1.19 -1.4
พัดลม 25.3 -3.86 2.54
ตู้เย็น 194.11 -10.92 0.98
กระติกน้ำร้อน 174.13 36.75 16.24
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 93.72 2.06 6.86
สายไฟฟ้า 113.97 -12.7 -14.23
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 49.33 2.72 -28.76
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 292.42 -7 -2.65
ตารางที่ 2 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 4 ปี 2549
ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
ไตรมาส 4 ไตรมาส 3 ปี 2549 ไตรมาส 4 ปี 2548
ปี 2549 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
Household electrical machinary 77.8 5.71 5.42
เครื่องปรับอากาศ 101.3 20.41 20.89
ไมโครเวฟ 18.5 -26.72 -29.78
หม้อหุงข้าว 79.8 -8.24 -3.86
ตู้เย็น 73.4 7.73 3.82
พัดลม 77.5 -3.12 -3.45
เครื่องซักผ้า 68.8 10.55 9.85
เครื่องรับโทรทัศน์สี n/a n/a n/a
LCD 925 38.81 27.66
เครื่องเล่น DVD 39.6 42.74 3.75
กล้องวีดีโอ Digital 106.4 10.83 -1.18
กล้องถ่ายรูป Digital 378.6 -6.45 27.03
ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry , Japan
2.2 การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับ
ตัวลดลงเช่นเดียวกับดัชนีผลผลิต โดยดัชนีการส่งสินค้าปรับตัวลดลงร้อยละ 5.09 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (เนื่องจากสินค้าในกลุ่มเครื่องทำความ
เย็น เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และพัดลม เป็นต้น) และลดลงร้อยละ 6.18 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากเครื่องรับโทรทัศน์
สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) สายไฟฟ้า และตู้เย็นลดลงร้อยละ 27.10 11.87 และ 5.61 ตามลำดับ
เปรียบเทียบกับดัชนีส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น พบว่ายังคงปรับตัวลดลงร้อยละ 4.07 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.15 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ
เครื่องรับโทรทัศน์ และหม้อหุงข้าว เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.37 8.38 และ 1.12 ตามลำดับ ขณะที่สินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน 3 อันดับแรก ได้แก่ กล้องถ่ายรูป Digital LCD และ เครื่องซักผ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.57 20.90 และ 4.63
ตารางที่ 3 แสดงดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2549
สินค้า ดัชนีการส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
ไตรมาส 4 ไตรมาส 3 ปี 49 ไตรมาส 4 ปี 48
ปี 2549 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
เครื่องใช้ไฟฟ้า 118.91 -5.09 -6.18
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 144.83 -9.56 -1.95
คอนเดนซิ่งยูนิต
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 154.3 -3.52 12.51
แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต
คอมเพรสเซอร์ 145.02 -0.95 -3.92
พัดลม 24.55 -18.71 3.86
ตู้เย็น 188.11 -15.43 -5.61
กระติกน้ำร้อน 183.01 50.75 16.59
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 97.74 8.25 4.82
สายไฟฟ้า 115.89 -6.46 -11.87
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 52.32 7.58 -27.1
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 299.53 -5.14 -0.31
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 4 แสดงดัชนีส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 4 ปี 2549
ดัชนีการส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
ไตรมาส 4 ไตรมาส 3 ปี 2549 ไตรมาส 4 ปี 2548
ปี 2549 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
Household electrical machinary 96.6 -4.07 1.15
เครื่องปรับอากาศ 92.7 -10.37 3.61
ไมโครเวป 101.9 2.55 -2.92
หม้อหุงข้าว 102.7 -1.12 -2.28
ตู้เย็น 93.7 2.85 -0.21
พัดลม 87.5 -0.15 -1.46
เครื่องซักผ้า 110 1.35 4.63
เครื่องรับโทรทัศน์ 23.3 -8.38 -40.73
LCD 830 46.53 20.9
เครื่องเล่น DVD 212.5 16.39 -16.14
กล้องวีดีโอ Digital 127.2 14.12 -3.66
กล้องถ่ายรูป Digital 485.7 -0.76 27.57
ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry , Japan
ตลาดในประเทศ
เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องรับโทรทัศน์ในไตรมาส 4 มีปริมาณจำหน่ายในประเทศ 701,666 เครื่องเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับไตร
มาสเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ในปี 2549 ทั้งปีมีปริมาณขายเครื่องรับโทรทัศน์ 2,658,245 เครื่อง ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 8 เนื่องจากได้อานิ
สงค์ของกระแสฟุตบอลโลกในไตรมาส 2 ที่ช่วยกระตุ้นยอดขายตลาดในประเทศได้มาก (ไตรมาสที่ 2 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21)
เมื่อพิจารณาส่วนแบ่งตลาดตามจำนวนเครื่องพบว่า พานาโซนิคมีส่วนแบ่งตลาดสูงที่สุดรองลงมาได้แก่ ซัมซุง และ แอลจี โดยทั้ง 3
บริษัทนี้มีส่วนแบ่งตลาดรวมประมาณ 48 % ขณะที่เมื่อพิจารณาส่วนแบ่งตลาดตามมูลค่าพบว่า ซัมซุง มีส่วนแบ่งตลาดสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ โซนี่ และ
พานาโซนิค โดยมีส่วนแบ่งตลาดรวมประมาณ 59 % จะเห็นได้ว่า ซัมซุงครองส่วนแบ่งตลาดทั้งปริมาณและมูลค่า เนื่องจากผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองกลุ่ม
ลูกค้าในทุกระดับ ในขณะที่โซนี่จะเน้นสินค้าเทคโนโลยีชั้นสูงในระดับ Hi-End (ระดับราคาสูง) เพื่อตอบสนองลูกค้าในระดับบนมากกว่า
โทรทัศน์ที่ขายในประเทศส่วนใหญ่ (ร้อยละ 87) ยังคงเป็นโทรทัศน์ CRT แบบจอแบน ขนาดที่ได้รับความนิยมที่สุดคือ 21 นิ้ว (ร้อยละ
69) รองลงมาคือขนาด 29 นิ้ว (ร้อยละ 25) ในขณะที่ LCD และ Plama TV มีสัดส่วนในตลาดน้อยมากเพียงร้อยละ 1-2 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม
ในช่วงปีที่ผ่านมาพบว่า Plasma TV มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 2 เท่า ในขณะที่ LCD มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า เนื่องจากราคาที่ลดลง
อย่างมากนั่นเอง โดยปัจจุบัน LCD TV ขนาด 31 มีราคาประมาณ 40,000 บาท เท่านั้น
เครื่องปรับอากาศ ปริมาณการจำหน่ายเครื่องปรับอากาศในประเทศไตรมาส 4 ปรับตัวลดลงร้อยละ 20.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
เนื่องจากผลของฤดูกาล โดยเครื่องปรับอากาศที่ได้รับความนิยมยังคงเป็นเครื่องปรับอากาศแบบติดผนังขนาด 11000-14999 BTU (ร้อยละ 46) รอง
ลงมาคือขนาด 8000-10999 BTU (ร้อยละ 29) ในขณะที่ปริมาณขายในประเทศทั้งปีมีจำนวน 361,459 เครื่อง ปรับตัวลงเล็กน้อย ลดลงร้อยละ 3
เนื่องจากปีนี้อากาศในประเทศค่อนข้างแปรปรวน ฤดูฝนมาเร็วผิดปกติ
เมื่อพิจารณาส่วนแบ่งตลาดตามปริมาณพบว่า มิซูบิชิ ครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด (ร้อยละ 21) รองลงมาคือ แอลจี (ร้อยละ 15) และ
พานาโซนิค (ร้อยละ 13) ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาส่วนแบ่งตลาดตามมูลค่าพบว่าเครื่องปรับอากาศที่ได้รับความนิยม 3 อันดับแรกยังคงได้แก่ มิซูบิ
ชิ (ร้อยละ 23) แอลจี (ร้อยละ 13) และพานาโซนิค (ร้อยละ 12) ตามลำดับ โดยในส่วนของมิซูบิชิพบว่าสามารถครองส่วนแบ่งตลาดของปริมาณ
และมูลค่า สะท้อนให้เห็นว่าการแข่งขันเรื่องราคาในสินค้าเครื่องปรับอากาศมีไม่มากนัก โดย ผู้บริโภคจะเน้นเรื่องคุณภาพสินค้า เป็นสำคัญ
ตลาดส่งออก
การส่งออกสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่า 136,772 ล้านบาท ปรับตัวลดลงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน และปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อน ได้แก่ ตลาดอียูมีมูลค่าส่งออก 19,296 ล้านบาท สัดส่วนของการส่งออกในตลาดนี้ของเครื่องใช้ไฟฟ้า ประมาณร้อยละ 14 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อย
ละ 4 ตลาดอาเซียน มีมูลค่าส่งออก 22,666 ล้านบาท มีสัดส่วนของการส่งออกในตลาดนี้ของเครื่องใช้ไฟฟ้าประมาณร้อยละ 17 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4
นอกจากนี้ สัดส่วนการส่งออกไปยังตลาดตะวันออกกลางถึงจะไม่มากนักเพียง 6 % เท่านั้น แต่มีการขยายตัวค่อนข้างสูงถึงร้อยละ 14
สินค้าที่มีการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ กล้องถ่าย TV,VDO มีมูลค่าส่งออก
6,867 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 61 จากการขยายตัวของการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา และอียู นอกจากนี้ สายไฟ ชุดสายไฟ มีมูลค่าส่งออก
7,211 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24 จากการขยายตัวของการส่งออกไปยังตลาดอาเซียน
เครื่องปรับอากาศ ในไตรมาส 4 มีมูลค่าส่งออก 15,450 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยมูลค่า
ส่งออกทั้งปีของเครื่องปรับอากาศ 79,271 ล้านบาท ทรงตัวจากปีก่อน ร้อยละ 0.17 จากผลกระทบจากกฎระเบียบอียูในไตรมาส 1 และ 2 เนื่อง
จากไทยส่งออกเครื่องปรับอากาศในตลาดนี้สัดส่วนสูงที่สุดประมาณ ร้อยละ 30 โดยชะลอตัวร้อยละ 16 และ 35 ตามลำดับ แต่กลับกระเตื้องขึ้นในไตร
มาส 3 และ 4 ทำให้มูลค่าส่งออกรวมของเครื่องปรับอากาศตลอดทั้งปี 2550 ชะลอตัวลงดังกล่าวข้างต้น
เครื่องรับโทรทัศน์สีในไตรมาส 4 มีมูลค่าส่งออก 16,314 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดย
มูลค่าส่งออกทั้งปีของเครื่องรับโทรทัศน์สี 67,557 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 จากการขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกาที่มีสัดส่วนการส่งออก
กว่า 50 % ทำให้ภาพรวมของมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น
ตารางที่ 5 มูลค่าสินค้าไฟฟ้าที่มีการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกของไทย ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2549
รายการสินค้า มูลค่าส่งออก การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
ไตรมาส 4 ไตรมาส 3 ปี 49 ไตรมาส 4 ปี 48
ปี 2549 (ร้อยละ) (ร้อยละ)
(ล้านบาท)
-เครื่องไฟฟ้ารวม 136,772 -5 6
-เครื่องรับโทรทัศน์สี 16,314 -20 12
-เครื่องปรับอากาศสำหรับที่พักอาศัย โรงงาน 15,450 -4 8
-เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า-
รวมถึงแป้นและแผงควบคุม(ฟิวส์,สวิตช์,ปลั๊ก,socket) 13,117 -6 1
-สายไฟ ชุดสายไฟ 7,211 -2 24
-กล้องถ่าย TV,VDO 6,867 -2 61
-เครื่องใช้ไฟฟ้ารวม 100,284 -9 -5
-เทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก,แผ่น CD
สำหรับบันทึกเสียง ,ภาพ 19,460 5 16
-เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกัน
วงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม
(ฟิวส์,สวิตช์,ปลั๊ก,socket) 17,366 -14 -16
-ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์ 6,961 -34 34
-สายไฟ ชุดสายไฟ 5,315 -12 -7
-หลอดภาพโทรทัศน์สี 3,921 5 -14
ที่มา: สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่าทั้งสิ้น 100,284 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
และลดลงถึงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนสินค้าที่ไทยมีการนำเข้ามาก ได้แก่ เทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก,แผ่น CD สำหรับ
บันทึกเสียง, ภาพ มูลค่า 19,460 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้แผ่น CD อย่างแพร่
หลาย และใช้แทนสื่อบันทึกชนิดอื่นๆ เช่น วีดีโอเทป และเทปคาสเซ็ต รวมถึง Floppy Disk มากขึ้น
ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์ มูลค่า 6,961 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อาจเนื่องมาจากชิ้นส่วน
สำคัญในการประกอบเครื่องรับโทรทัศน์ในปัจจุบัน เช่น จอ LCD ยังไม่สามารถผลิตได้ในไทยทำให้ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะ
จากตลาดจีนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนในช่วงไตรมาส 4 ถึงร้อยละ 61
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ