- งานแสดงรถยนต์ รถจักรยานยนต์นานาชาติ “The 28th Bangkok International Motor Show” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30
มีนาคม -8 เมษายน 2550 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ภายในงานมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด และมีการจัดกิจกรรมส่ง
เสริมการขายมากมาย ส่งผลให้มียอดจองรถยนต์ใหม่รวมประมาณ 13,500 คัน (ยอดจองในงานเดียวกันของปี 2549 ประมาณ 15,000 คัน ) ซึ่ง
ตามความเห็นของผู้จัดงานฯ เห็นว่าแม้เศรษฐกิจจะชะลอตัวแต่ไม่ส่งผลกระทบต่อลูกค้าที่มาจองรถยนต์ในงานมากนัก และรถยนต์หรู ราคาแพง สามารถ
ขายได้มากกว่าที่ตั้งเป้าไว้
- สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 มีโครงการลงทุนที่ได้
รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 22 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 8,805.70 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย
เพิ่มขึ้นกว่า 2,400 คน แบ่งเป็นโครงการลงทุนผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 18 โครงการ โครงการด้านการวิจัยและพัฒนาสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ 3
โครงการ และโครงการผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนรถจักรยาน (BICYCLE ACCESSORIES) และอุปกรณ?ปรับระดับกระจก (WINDOW STOPPER) 1
โครงการ ในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 2 โครงการ คือ 1.โครงการขยายกิจการผลิตยางรถ
ยนต์ ของบริษัท ซูมิโตโม รับเบอร? (ไทยแลนด?) จำกัด เงินลงทุน 4,000 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 409 คน มีกำลังการผลิตยาง
รถยนต? (Radial Tyres) ประมาณ 3,150,000 เส?น/ป? 2.โครงการขยายกิจการวิจัยพัฒนายางรถยนต์ และบริการทดสอบยางรถยนต์ และยาน
ยนต์ ของบริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด เงินลงทุน 1,170 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 47 คน บริการทดสอบยางรถยนต?ประมาณ
2,000 เสน/ปี และบริการทดสอบยานยนต?ประมาณ 100 คัน/ปี
(ที่มา : www.boi.go.th/thai/project_approval.asp)
อุตสาหกรรมรถยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2550 มีจำนวน 293,635 คัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา
ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถยนต์ 288,273 คัน ร้อยละ 1.86 โดยเป็นการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 5,686 คัน และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 218,280 คัน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.92 และ 3.89 ตามลำดับ แต่มีการผลิตรถยนต์นั่ง 69,669 คัน ลดลงร้อยละ 5.00 โดยรถยนต์นั่งที่มีการผลิตลดลงได้แก่ รถยนต์
นั่งที่มีความจุของกระบอกสูบ 1,201-1,500 cc และรถยนต์นั่งที่มีความจุของกระบอกสูบ 1,501-1,800 cc ลดลงร้อยละ 46.36 และ 9.97 ตาม
ลำดับ สำหรับปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งหมดแบ่ง เป็นการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออก 153,296 คัน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 52.20 ของปริมาณการ
ผลิตทั้งหมด ซึ่งจากจำนวนรถยนต์ที่ผลิตเพื่อการส่งออก 153,296 คัน คิดเป็นรถยนต์นั่งร้อยละ 23.30 และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (รวมรถยนต์ PPV)
ร้อยละ 76.70
หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2550 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 3.54 โดยเป็นการผลิตรถยนต์เพื่อการ
พาณิชย์ รถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อยละ 13.30, 6.64 และ 2.22 ตามลำดับ สำหรับรถยนต์นั่งที่มีการผลิตลดลงเป็นรถยนต์นั่งที่มี
ความจุของกระบอกสูบ 1,201-1,800 CC ในขณะที่การผลิตรถยนต์นั่งที่มีความจุของกระบอกสูบ 2,001 CC ขึ้นไป มีการผลิตเพิ่มมากขึ้น
การจำหน่าย ตลาดรถยนต์ภายในประเทศในไตรมาสแรกของปี 2550 มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 138,270 คัน ลดลงจากไตรมาสที่
ผ่านมา ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 193,711 คัน ร้อยละ 28.62 หากแยกตามประเภทรถยนต์ มีการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 82,406
คัน รถยนต์นั่ง 37,711 คัน และรถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV) 8,455 คัน ลดลงร้อยละ 33.17 ,28.55 และ 1.63 ตามลำดับ แต่มีการ
จำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 9,698 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.48 ซึ่งรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ รถบรรทุกขนาด 5-10 ตัน และ
รถบรรทุกขนาดน้อยกว่า 5 ตัน
หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2550 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 18.66 โดยมี
การจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ลดลงร้อยละ 23.15 ,15.57 และ 0.23 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถยนต์
PPV (รวมรถยนต์ SUV) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.08 เนื่องจากมีการเปิดตัวรถยนต์ SUV รุ่นใหม่และปรับปรุงรุ่นเดิมออกสู่ตลาดจากหลากหลายค่าย
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในไตรมาสแรกของปี 2550 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สามติดต่อกัน เมื่อ
เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 154,520 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.78 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า
68,446.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.56 เมื่อพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2550 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกรถ
ยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.40 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.43 จากข้อมูลการส่งออกของผู้ผลิตและผู้ประกอบรถยนต์ดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่าการ
ส่งออกยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
การนำเข้า ข้อมูลกรมศุลกากร ได้รายงานผลการนำเข้ารถยนต์นั่ง ที่ผ่านพิธีการศุลกากร ณ สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง, สำนัก
งานศุลกากรกรุงเทพ, สำนักสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร และสำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ปี 2550 (ม.ค.-ก.พ.) มีการนำ
เข้ารถยนต์นั่งรวมทั้งสิ้น 2,794 คัน (เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 9.87) โดยแบ่งเป็น รถยนต์ที่ผลิตจากญี่ปุ่น
2,199 คัน รถยนต์ที่ผลิตจากยุโรป 286 คัน รถยนต์ที่ผลิตจากอินโดนีเซีย 234 คัน รถยนต์ที่ผลิตจากเกาหลี 68 คัน รถยนต์ที่ผลิตจากอเมริกา 6 คัน
และรถยนต์ที่ผลิตจากจีน 1 คัน
อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2550 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นผลมาจากสภาพเศรษฐกิจโดย
รวมที่ชะลอตัว ส่งผลให้ความเชื่อมั่นและกำลังซื้อของผู้บริโภคถดถอย การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และค่าเงิน
บาทแข็งค่ามากทำให้การส่งออกผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายในต่างประเทศที่ราคาเดิม แต่เมื่อมาแลกเป็นเงินบาทกลับได้เงินบาทน้อยลง อย่างไรก็ตามยังมี
ปัจจัยบวกที่สนับสนุนให้อุตสาหกรรมรถยนต์ไม่ซบเซามากนัก ได้แก่ การส่งออกที่ตลาดต่างประเทศยังสามารถขยายตัวได้ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการ
ขายของผู้ประกอบการเพื่อเป็นการกระตุ้นยอดขาย และอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่สอง ปี 2550
คาดว่าการผลิตจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ในขณะที่การจำหน่ายในประเทศ คาดว่าได้รับผลดี
จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และการที่บริษัทรถยนต์จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นตลาด รวมถึงการส่งมอบรถให้แก่ลูกค้าที่สั่งจองใน
งาน “The 28th Bangkok International Motor Show” ด้วย
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2550 มีจำนวน 431,832 คัน ลดลงเมื่อเปรียบ
เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ 456,355 คัน ร้อยละ 5.37 แบ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 21,268
คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.80 แต่มีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 410,564 คัน ลดลงร้อยละ 6.45 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2550
เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 27.61 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวและรถ
จักรยานยนต์แบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 28.40 และ 7.91 ตามลำดับ
การจำหน่าย ตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในไตรมาสแรกของปี 2550 มีจำนวน 415,154 คัน ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับไตร
มาสที่ผ่านมา ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 467,934 คัน ร้อยละ 11.28 แยกประเภทเป็นจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว
411,538 คัน (ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวประกอบด้วย รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 208,755 คัน รถจักรยานยนต์แบบแฟมิลี่
สปอร์ต 14,406 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสกู๊ตเตอร์ 188,377 คัน) ลดลงร้อยละ 11.17 และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 3,616 คัน (ปริมาณ
การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตประกอบด้วย รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 2,825 คัน และรถจักรยานยนต์แบบออฟโรด 791 คัน)ลดลงร้อยละ
21.97
หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2550 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ
25.36 โดยเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวและแบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 25.19 และ 40.88 ตามลำดับ สำหรับรถจักรยานยนต์แบบ
ครอบครัว (ไม่รวมรถจักรยานยนต์แบบแฟมิลี่สปอร์ต และสกู๊ตเตอร์) มีส่วนแบ่งตลาดถึงร้อยละ 50 แต่มีแนวโน้มของปริมาณการจำหน่ายลดลง ทั้งนี้เป็น
ผลมาจากปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว ซึ่งเป็นรถของคนส่วนใหญ่ที่ใช้ได้ทั้งครอบครัว มีฐานของตลาดเป็นกลุ่มผู้บริโภคในระดับราก
หญ้า ในขณะที่รถจักรยานยนต์แบบสกู๊ตเตอร์หรือรถจักรยานยนต์แบบเกียร์ออโตเมติก (เอที) ได้รับความนิยมสูงมาก มีอัตราการขยายตัวกว่าร้อยละ
47 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยรถจักรยานยนต์แบบเอทีเหมาะกับการใช้งานในเมือง เป็นที่นิยมของวัยรุ่นแต่มีราคาสูงกว่า เป็น
ทางเลือกของกลุ่มที่มีกำลังซื้อซึ่งอาศัยอยู่ในเมือง และเลือกใช้รถจักรยานยนต์เพราะประหยัดน้ำมันมากกว่าการใช้รถยนต์ โดยรถจักรยานยนต์ประเภทนี้
กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มที่ต้องการความสะดวกสบาย และกลุ่มที่หันมาใช้รถจักรยานยนต์แทนรถยนต์ ในขณะที่การจำหน่ายรถจักรยานยนต์
ประเภทอื่นมีแนวโน้มชะลอตัว
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในไตรมาสแรกของปี 2550 จำนวน 402,337 คัน ลดลง
เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ 451,505 คัน ร้อยละ 10.89 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่าการส่ง
ออกรถจักรยานยนต์ 5,700.03 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 6,633.27 ล้านบาท ร้อยละ 14.07
เมื่อพิจารณาแยกกันระหว่างการส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) และรถจักรยานยนต์ในลักษณะชิ้นส่วนครบชุด (CKD) พบว่า มีปริมาณการส่ง
ออกรถจักรยานยนต์ CBU 21,943 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.76 แต่มีการส่งออกรถจักรยานยนต์ CKD 380,394 คัน ลดลงร้อยละ 12.42
เมื่อพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2550 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ลดลงร้อย
ละ 0.33 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออก ลดลงร้อยละ 12.92 เมื่อพิจารณาแยกกันระหว่างการส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) และรถ
จักรยานยนต์ในลักษณะชิ้นส่วนครบชุด (CKD) พบว่า มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ CKD เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.37 แต่มีการส่งออกรถจักรยานยนต์
CBU 21,943 คัน ลดลงร้อยละ 44.05 ทั้งนี้สาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องจากการส่งออกรถจักรยานยนต์ CBU รุ่นใหม่ ไปยังตลาดของผู้ผลิตบางรายยังอยู่ใน
ช่วงทดลองตลาด ประกอบกับการที่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนียที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยได้มีการประกอบรถจักรยานยนต์ใน
ประเทศของตนมากขึ้น และเพิ่มการใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศ
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2550 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นไปตามสภาพทาง
เศรษฐกิจที่ซบเซา ส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย สำหรับตลาดรถจักรยานยนต์ภายในประเทศเริ่มเข้าสู่จุด อิ่มตัว ทำให้ผู้ผลิตต้องพยายามปรับตัว
เพื่อรองรับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างจุดเด่นให้แก่สินค้าของตนเอง ดังจะเห็นได้จากรถจักรยานยนต์เกียร์ออโตเมติก หรือรถ
จักรยานยนต์แบบเอที ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ต้องพยายามจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อเป็นการกระตุ้นตลาดอีกทาง
หนึ่ง แนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสสอง ปี 2550 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากสภาพ
เศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้ผู้บริโภคชะลอการจับจ่ายใช้สอย ในขณะที่ฤดูฝนในปีนี้มาเร็วกว่าปกติ เกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัดซึ่งอาจส่งผลให้ยอดขายรถ
จักรยานยนต์ลดลง ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์จึงต้องเร่งทำการตลาดให้เพิ่มมากขึ้น ด้านการส่งออกรถจักรยานยนต์ CBU คาดว่าจะมีการขยายตัวดีขึ้น เนื่อง
จากผู้ผลิตหลายรายได้เพิ่มปริมาณการส่งออกตามความต้องการของตลาดที่มากขึ้น
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2550 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วเป็นการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถ
ยนต์ (OEM) มูลค่า 22,710.90 ล้านบาท การส่งออกเครื่องยนต์ มูลค่า 2,112.11 ล้านบาท และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ มูลค่า
1,645.78 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.18, 4.36 และ 42.51 ตามลำดับ ในส่วนของการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) มี
มูลค่า 3,428.56 ล้านบาท การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มูลค่า 173.43 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.36 และ 21.45 ตามลำดับ จาก
ข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่ามูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะได้รับผล
กระทบจากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ทั้งนี้เป็นเพราะผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์พยายามพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ของตนเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ หากเปรียบ
เทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) เครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.82,
15.94 และ 6.55 ตามลำดับ ในขณะที่การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ
8.95 และ 22.55 ตามลำดับ
สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในไตรมาสสอง มีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออก หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการที่ค่าเงินบาทมี
แนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการแข่งขันจากประเทศคู่แข่ง เช่น จีน อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสที่สองจะมีการจัดงาน “Automotive
Manufacturing 2007” ระหว่างวันที่ 21-24 มิถุนายน 2550 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ซึ่งเป็นงานที่มีส่วนสนับสนุนตลาดในประเทศ
และต่างประเทศ เนื่องจากได้รับความร่วมมือจากหน่วยพัฒนาการเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (Build) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จัดตลาด
กลางซื้อขายชิ้นส่วน (Build Market Place) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ได้พบปะและเจรจาการค้ากับคู่ค้ากันโดยตรง
สำหรับแนวโน้มของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในอนาคต คาดว่าจะต้องเข้าสู่ตลาดที่มีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น มีรายงานข่าวว่าบริษัทผู้
ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ของโลกที่มีเครือข่ายอยู่ในประเทศจีนได้วางแผนซื้อชิ้นส่วนรถยนต์จากจีนเพิ่มมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพื่อพัฒนากลุ่ม
ซับพลายเออร์ในจีนสำหรับเชื่อมโยงกับเครือข่ายทั่วโลกของบริษัท ซึ่งในอนาคตอาจส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนในไทย หากผู้ผลิตไทยไม่มีการพัฒนา
ศักยภาพการผลิตของตน เช่นเดียวกับผู้ผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์หากไม่มีการปรับตัวหรือพัฒนาศักยภาพการผลิต ก็ต้องเผชิญกับการแข่งขันในตลาดจากผู้
ผลิตชิ้นส่วนจากจีน และผู้ผลิตชิ้นส่วนจากประเทศในแถบเอเชียที่พยายามพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง
ตารางการผลิตยานยนต์
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ 2548 2549 2550 (ม.ค.-มี.ค.)
รถยนต์ 1,125,316 1,188,044 293,635
รถยนต์นั่ง 277,555 298,819 69,669
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์(1) 822,867 866,769 218,280
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 24,894 22,456 5,686
รถจักรยานยนต์ 2,358,511 2,084,001 431,832
ครอบครัว 2,265,889 2,005,968 410,564
สปอร์ต 92,622 78,033 21,268
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันยานยนต์
หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, Double cap และ PPV
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 4 ไตรมาส 1 % เปลี่ยน ไตรมาส 1 ไตรมาส 1 % เปลี่ยน
ปี 2549 ปี 2550 แปลง ปี 2549 ปี 2550 แปลง
รถยนต์ 288,273 293,635 1.86 304,418 293,635 -3.54
รถยนต์นั่ง 73,337 69,669 -5 74,628 69,669 -6.64
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและอนุพันธ์(1) 210,114 218,280 3.89 223,232 218,280 -2.22
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 4,822 5,686 17.9 6,558 5,686 -13.3
รถจักรยานยนต์ 456,355 431,832 -5.37 596,503 431,832 -27.6
ครอบครัว 438,893 410,564 -6.45 573,408 410,564 -28.4
สปอร์ต 17,462 21,268 21.8 23,095 21,268 -7.91
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสถาบันยานยนต์
หมายเหตุ : (1) เป็นปริมาณการผลิตรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน, Double cap และ PPV
ตารางการจำหน่ายยานยนต์ในประเทศ
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ 2548 2549 2550(ม.ค.-มี.ค.)
รถยนต์ 703,410 682,161 138,270
รถยนต์นั่ง 188,211 191,763 37,711
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 1 426,635 423,395 82,406
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 2 40,136 36,907 9,698
รถยนต์ PPV (รวม SUV) 48,428 30,096 8,455
รถจักรยานยนต์ 2,108,078 2,061,610 415,154
ครอบครัว 3 2,088,360 2,040,927 411,538
สปอร์ต 19,718 20,683 3,616
หน่วย : คัน
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 4 ปี 2549 ไตรมาส 1 ปี 2550 % เปลี่ยน ไตรมาส 1ปี 2549 ไตรมาส 1 ปี 2550 % เปลี่ยน
แปลง แปลง
รถยนต์ 193,771 138,270 -28.62 169,984 138,270 -18.66
รถยนต์นั่ง 52,778 37,711 -28.55 44,665 37,711 -15.57
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 1 123,315 82,406 -33.17 107,234 82,406 -23.15
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 2 9,023 9,698 7.48 9,720 9,698 -0.23
รถยนต์ PPV ( รวม SUV) 8,595 8,455 -1.63 8,365 8,455 1.08
รถจักรยานยนต์ 467,934 415,154 -11.28 556,218 415,154 -25.36
ครอบครัว 3 463,300 411,538 -11.17 550,102 411,538 -25.19
สปอร์ต 4,634 3,616 -21.97 6,116 3,616 -40.88
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : 1 เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ Double cap
2 เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถยนต์โดยสาร และรถยนต์บรรทุกอื่นๆ
3 เป็นปริมาณการจำหน่ายรวมรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบครอบครัวกึ่งสปอร์ต และแบบสกู๊ตเตอร์ (เอ.ที)
ตารางการส่งออกยานยนต์
ประเภทยานยนต์ 2548 2549 2550(ม.ค.-มี.ค.)
รถยนต์ (CBU) (คัน) 440,715 538,966 154,520
มูลค่า (ล้านบาท)
รถยนต์ 203,025.09 240,764.09 68,446.64
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) 76,790.69 87,170.92 22,710.90
เครื่องยนต์ 7,903.79 8,357.93 2,112.11
ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 4,100.47 5,453.40 1,645.78
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) (คัน) 1,337,586 1,575,393 402,337
มูลค่า (ล้านบาท)
รถจักรยานยนต์ 22,768.99 24,535.24 5,700.03
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) 11,428.22 13,076.26 3,428.56
ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ 729.56 699.26 173.43
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ตารางการส่งออกยานยนต์
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 4 ปี 2549 ไตรมาส 1 ปี 2550 % เปลี่ยนแปลง ไตรมาส 1 ปี 2549 ไตรมาส 1ปี 2550 % เปลี่ยนแปลง
รถยนต์ (CBU) (คัน) 140,757 154,520 9.78 138,702 154,520 11.4
มูลค่า (ล้านบาท)
รถยนต์ 63,051.02 68,446.64 8.56 61,979.63 68,446.64 10.43
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถ ยนต์ (OEM) 22,087.48 22,710.90 2.82 21,389.74 22,710.90 6.18
เครื่องยนต์ 1,821.77 2,112.11 15.94 2,023.79 2,112.11 4.36
ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 1,544.57 1,645.78 6.55 1,154.83 1,645.78 42.51
รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) (คัน) 451,505 402,337 402,337
-10.89 403,686 -0.33
มูลค่า (ล้านบาท)
รถจักรยานยนต์ 6,633.27 5,700.03 -14.07 6,546.06 5,700.03 -12.92
ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 4 ปี 2549 ไตรมาส 1 ปี 2550 % เปลี่ยนแปลง ไตรมาส 1 ปี 2549 ไตรมาส 1ปี 2550 % เปลี่ยนแปลง
ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) 3,765.51 3,428.56 -8.95 2,872.37 3,428.56 19.36
ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ 223.92 173.43 -22.55 142.8 173.43 21.45
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวบรวมจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ตารางการนำเข้ายานยนต์
(ยังมีต่อ)