สศอ. เร่งพัฒนาอุตฯ เคมีชีวภาพ รองรับตลาดอนาคต เน้นเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ทดแทนนำเข้า เชื่อเป็นทางเลือกสู่การลงทุนแปรรูปสินค้าเกษตรครบวงจร
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้ลงมือศึกษาแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างการผลิตและการตลาดตลอด Value Chain ของพืชกลุ่มที่ให้แป้งและน้ำตาล รวมทั้งวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตของอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Bio-Chemical Industry) ของไทยสู่การเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมในขั้นสูงสุดต่อไป นอกจากนี้การศึกษายังครอบคลุมไปถึงความเป็นไปได้ในการผลิตผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนทำการศึกษาข้อจำกัดด้านต่างๆ เพื่อวางแนวทางและยุทธศาสตร์การพัฒนา ส่งเสริม และผลักดันอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพในเชิงพาณิชย์ต่อไป อันจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับการเปิดตลาดใหม่ให้กับอุตสาหกรรมของประเทศ โดยได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นผู้ศึกษาและคาดว่าจะแล้วเสร็จใน 1 ปี
“ผลผลิตทางการเกษตรของประเทศไทยมีมากมาย แต่ละปีสามารถส่งออกได้ไม่ต่ำกว่า 200,000 ล้านบาท หากแต่เป็นการส่งออกในรูปของสินค้าขั้นต้นซึ่งมีมูลค่าไม่มากนัก แต่ถ้าได้มีการเติมนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้าไปสู่กระบวนการผลิต จะได้สินค้าใหม่ออกมาและมีมูลค่าสูงขึ้น ดังนั้นประเทศไทยจึงต้องมีการศึกษาถึงความเป็นไปได้ ตลอดจนช่องทางการตลาดอย่างจริงจัง เพื่อนำผลิตผลทางการเกษตรที่มีอยู่มากมายเหล่านี้มาเพิ่มมูลค่าในการผลิตออกมาในรูปของเคมีภัณฑ์ต่างๆ เพื่อทดแทนการนำเข้า”
ดร.อรรชกา กล่าวว่า สินค้าที่เป็นวัตถุดิบและสินค้ากึ่งสำเร็จรูปเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะกลุ่มเคมีภัณฑ์ที่มีการนำเข้าสำคัญ ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพพอที่สามารถผลิตเองได้ เช่น สารเคมีที่สกัดหรือสังเคราะห์ได้จากพืชกลุ่มที่ให้แป้งและน้ำตาลที่มีจำนวนมาก เช่น อ้อยและมันสำปะหลัง ซึ่งที่ผ่านมาจะถูกแปรรูปเพื่อการบริโภคและทำเป็นอาหารสัตว์ที่มีมูลค่าไม่มากนัก
ดังนั้นจากนี้ไปหากมีการพัฒนาและส่งเสริมอย่างเป็นระบบเชื่อว่าพืชกลุ่มนี้จะเป็นหัวหอกสำคัญในการเพิ่มมูลค่าทางการตลาดได้อย่างมหาศาล ตลอดจนผลของการศึกษาครั้งนี้จะทำให้ประเทศไทยมียุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพที่ชัดเจน และส่วนงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ในการกำหนดแนวนโยบาย แผนงานโครงการในการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อันจะนำไปสู่ลู่ทางตลาดเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะสร้างคุณค่า(Value Creation) และเพิ่มทางเลือกให้กับผลิตผลทางการเกษตร เป็นการช่วยรักษาเสถียรภาพด้านราคา ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงทดแทนการนำเข้า และกระตุ้นให้เกิดการลงทุนสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับภาคอุตสาหกรรมของไทยต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้ลงมือศึกษาแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างการผลิตและการตลาดตลอด Value Chain ของพืชกลุ่มที่ให้แป้งและน้ำตาล รวมทั้งวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตของอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (Bio-Chemical Industry) ของไทยสู่การเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมในขั้นสูงสุดต่อไป นอกจากนี้การศึกษายังครอบคลุมไปถึงความเป็นไปได้ในการผลิตผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนทำการศึกษาข้อจำกัดด้านต่างๆ เพื่อวางแนวทางและยุทธศาสตร์การพัฒนา ส่งเสริม และผลักดันอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพในเชิงพาณิชย์ต่อไป อันจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับการเปิดตลาดใหม่ให้กับอุตสาหกรรมของประเทศ โดยได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นผู้ศึกษาและคาดว่าจะแล้วเสร็จใน 1 ปี
“ผลผลิตทางการเกษตรของประเทศไทยมีมากมาย แต่ละปีสามารถส่งออกได้ไม่ต่ำกว่า 200,000 ล้านบาท หากแต่เป็นการส่งออกในรูปของสินค้าขั้นต้นซึ่งมีมูลค่าไม่มากนัก แต่ถ้าได้มีการเติมนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้าไปสู่กระบวนการผลิต จะได้สินค้าใหม่ออกมาและมีมูลค่าสูงขึ้น ดังนั้นประเทศไทยจึงต้องมีการศึกษาถึงความเป็นไปได้ ตลอดจนช่องทางการตลาดอย่างจริงจัง เพื่อนำผลิตผลทางการเกษตรที่มีอยู่มากมายเหล่านี้มาเพิ่มมูลค่าในการผลิตออกมาในรูปของเคมีภัณฑ์ต่างๆ เพื่อทดแทนการนำเข้า”
ดร.อรรชกา กล่าวว่า สินค้าที่เป็นวัตถุดิบและสินค้ากึ่งสำเร็จรูปเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะกลุ่มเคมีภัณฑ์ที่มีการนำเข้าสำคัญ ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพพอที่สามารถผลิตเองได้ เช่น สารเคมีที่สกัดหรือสังเคราะห์ได้จากพืชกลุ่มที่ให้แป้งและน้ำตาลที่มีจำนวนมาก เช่น อ้อยและมันสำปะหลัง ซึ่งที่ผ่านมาจะถูกแปรรูปเพื่อการบริโภคและทำเป็นอาหารสัตว์ที่มีมูลค่าไม่มากนัก
ดังนั้นจากนี้ไปหากมีการพัฒนาและส่งเสริมอย่างเป็นระบบเชื่อว่าพืชกลุ่มนี้จะเป็นหัวหอกสำคัญในการเพิ่มมูลค่าทางการตลาดได้อย่างมหาศาล ตลอดจนผลของการศึกษาครั้งนี้จะทำให้ประเทศไทยมียุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพที่ชัดเจน และส่วนงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ในการกำหนดแนวนโยบาย แผนงานโครงการในการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อันจะนำไปสู่ลู่ทางตลาดเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะสร้างคุณค่า(Value Creation) และเพิ่มทางเลือกให้กับผลิตผลทางการเกษตร เป็นการช่วยรักษาเสถียรภาพด้านราคา ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงทดแทนการนำเข้า และกระตุ้นให้เกิดการลงทุนสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับภาคอุตสาหกรรมของไทยต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-