วันนี้ (6 พ.ค. 50) เวลา 10.00 นที่พรรคประชาธิปัตย์ นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2550 ประเทศไทยได้มีชื่อติด บัญชีดำ ทางการค้า ในนาม Priority Watch List (PWL) หรือรายชื่อประเทศที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษในด้านการคุ้มครองลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนชาวไทยใน 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1.กลุ่มนักธุรกิจ ที่กำลังจะต้องเดือดร้อน จากการที่สหรัฐอเมริกาตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร หรือ GSP
2.กลุ่มผู้ป่วย โดยเฉพาะ ผู้ป่วยโรคเอดส์
สิ่งที่ตนต้องออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่ร่ำรวย คือจะต้องเห็นแก่มนุษยธรรม โดยเฉพาะผู้ป่วยเอดส์ ที่มีอยู่จำนวนประมาณ 500,000-600,000 คน ในประเทศไทยจะต้องเดือดร้อน เพราะค่ายาที่รักษามีราคาแพงขึ้น และต้องยอมรับความจริงว่าผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะมีฐานะยากจน ดังนั้นสหรัฐอเมริกาที่เป็นประเทศที่ร่ำรวยจะต้องเห็นแก่มนุษยธรรมด้วย
พร้อมกันนี้นายยุทธพงศ์ ยังกล่าว เรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐอเริกา ได้ให้ความสนใจในเรื่องอื่นๆ ด้วย เช่น กรณี การทุจริตในการจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง ของกรุงเทพมหานคร เพราะทำหนังสือไปถึง ฯพณฯ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา (นายราล์ฟ บอยซ์) เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2549 เพื่อขอให้ ฯพณฯ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย ได้ตรวจสอบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทของสหรัฐอเมริกา คือ บริษัท เจนเนอรัล ไดนามิคส์ จำกัด (General Dynamics) ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัท สไตเออร์ 100% ในประเด็นดังต่อไปนี้ คือ
1.ขณะนี้เรื่องการซื้อขายรถดับเพลิงของกรุงเทพมหานคร ในส่วนของประเทศไทยได้มีการสอบสวนและพบความผิดปกติหลายอย่างด้วยกัน ขณะเดียวกันทางฝ่ายสหรัฐอเมริกาได้เริ่มมีการสอบสวนในเรื่องนี้หรือไม่?
2.ได้มีการติดต่อกันระหว่างรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลออสเตรีย เพื่อที่จะประสานงานและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวพันกัน ระหว่าง บริษัท เจนเนอรัล ไดนามิคส์, สหรัฐอเมริกา และบริษัท สไตเออร์, ออสเตรีย รัฐบาลสหรัฐอเริกาได้ดำเนินการที่จะทำเรื่องนี้ให้กระจ่างหรือยัง?
ต่อมาในวันที่ 18 ก.ค. 2549 ตนได้รับหนังสือตอบจาก ฯพณฯ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเริกา ประจำประเทศไทย ว่า “ประเทศสหรัฐอเมริกาขอยืนยันอย่างหนักแน่นในการให้ความร่วมมือต่อการบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ ในการต่อต้านการเสนอสินบนและการทุจริตในทุกรูปแบบ ซึ่งสามารถยืนยันได้จาการที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ลงนามในข้อตกลงระหว่างประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา ในการให้ความร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการคอร์รัปชั่นที่ร่วมลงนาม ไว้กับกลุ่มประเทศ OECD (Organization for Economic Cooperation and Development) ซึ่งเป็นข้อตกลงดังกล่าวเป็นพื้นฐานของกรอบความร่วมมือกับรัฐบาลไทยและประเทศอื่นที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนสอบสวนภายใต้การดำเนินการของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รับบาลสหรัฐอเมริกา ขอยืนยันว่าจะยึดถือข้อตกลงดังกล่าว เพื่อส่งเสริม ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล และการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ หรือ คตส. ได้สรุป เมื่อ วันที่ 26 ก.พ. 2550 ว่ามีผู้กระทำของฝ่ายไทยบางส่วนจำนวน 5 คน ในเบื้องต้น และการซื้อขายรถดับเพลิงของ กทม. ในครั้งนี้ทำให้รัฐเสียหายไปกว่า 1,900 ล้านบาท เป็นการซื้อของในราคาที่แพงเกินจริง ซึ่งตนได้ทำหนังสือไปสอบถามความคืบหน้าจากการดำเนินการของทางฝ่ายสหรัฐอเมริกาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2550 แต่ปรากฎว่า รัฐบาลสหรัฐอเมริกา กลับไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องการทุจริตและการปราบปรามการคอร์รัปชั่น เหมือนอย่างที่ได้เคยอ้างมาเลย
“ผมได้รับการติดต่อทางโทรศัพท์ จากนายโคลิน ที. ครอสบี (Colin T. Crosby) ตำแหน่งเลขานุการฝ่ายการเมืองประจำสถานทูตสหรัฐอเมริกา ว่า “ฯพณฯเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไม่ขอตอบใดๆ ทั้งสิ้น และจะไม่ตอบจดหมายผมด้วย” ถามนายโคลิน กลับไปว่า แล้วเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2549 ทำไมถึงตอบจดหมายผมได้ แล้วครั้งนี้ทำไมไม่ยอมตอบจดหมายผม แล้วที่สหรัฐอเมริกาชอบอ้างถึงเรื่องการปราบปรามคอร์รัปชั่น แล้วชอบเรียกร้องให้ประเทศไทย เคารพต่อกฎหมายระหว่างประเทศกับสหรัฐอเมริกา เหมือนกรณีสิทธิบัตรยา สหรัฐอเมริกา ก็มาเล่นงานประเทศไทย แต่พอเกิดเรื่องการทุจริตกับคนและบริษัทของสหรัฐอเมริกา กลับเพิกเฉย ไม่ดำเนินการใดๆ”นายยุทธพงศ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 6 พ.ค. 2550--จบ--
1.กลุ่มนักธุรกิจ ที่กำลังจะต้องเดือดร้อน จากการที่สหรัฐอเมริกาตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร หรือ GSP
2.กลุ่มผู้ป่วย โดยเฉพาะ ผู้ป่วยโรคเอดส์
สิ่งที่ตนต้องออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่ร่ำรวย คือจะต้องเห็นแก่มนุษยธรรม โดยเฉพาะผู้ป่วยเอดส์ ที่มีอยู่จำนวนประมาณ 500,000-600,000 คน ในประเทศไทยจะต้องเดือดร้อน เพราะค่ายาที่รักษามีราคาแพงขึ้น และต้องยอมรับความจริงว่าผู้ป่วยเอดส์ในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะมีฐานะยากจน ดังนั้นสหรัฐอเมริกาที่เป็นประเทศที่ร่ำรวยจะต้องเห็นแก่มนุษยธรรมด้วย
พร้อมกันนี้นายยุทธพงศ์ ยังกล่าว เรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐอเริกา ได้ให้ความสนใจในเรื่องอื่นๆ ด้วย เช่น กรณี การทุจริตในการจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง ของกรุงเทพมหานคร เพราะทำหนังสือไปถึง ฯพณฯ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา (นายราล์ฟ บอยซ์) เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2549 เพื่อขอให้ ฯพณฯ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย ได้ตรวจสอบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทของสหรัฐอเมริกา คือ บริษัท เจนเนอรัล ไดนามิคส์ จำกัด (General Dynamics) ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัท สไตเออร์ 100% ในประเด็นดังต่อไปนี้ คือ
1.ขณะนี้เรื่องการซื้อขายรถดับเพลิงของกรุงเทพมหานคร ในส่วนของประเทศไทยได้มีการสอบสวนและพบความผิดปกติหลายอย่างด้วยกัน ขณะเดียวกันทางฝ่ายสหรัฐอเมริกาได้เริ่มมีการสอบสวนในเรื่องนี้หรือไม่?
2.ได้มีการติดต่อกันระหว่างรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลออสเตรีย เพื่อที่จะประสานงานและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวพันกัน ระหว่าง บริษัท เจนเนอรัล ไดนามิคส์, สหรัฐอเมริกา และบริษัท สไตเออร์, ออสเตรีย รัฐบาลสหรัฐอเริกาได้ดำเนินการที่จะทำเรื่องนี้ให้กระจ่างหรือยัง?
ต่อมาในวันที่ 18 ก.ค. 2549 ตนได้รับหนังสือตอบจาก ฯพณฯ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเริกา ประจำประเทศไทย ว่า “ประเทศสหรัฐอเมริกาขอยืนยันอย่างหนักแน่นในการให้ความร่วมมือต่อการบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ ในการต่อต้านการเสนอสินบนและการทุจริตในทุกรูปแบบ ซึ่งสามารถยืนยันได้จาการที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ลงนามในข้อตกลงระหว่างประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา ในการให้ความร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการคอร์รัปชั่นที่ร่วมลงนาม ไว้กับกลุ่มประเทศ OECD (Organization for Economic Cooperation and Development) ซึ่งเป็นข้อตกลงดังกล่าวเป็นพื้นฐานของกรอบความร่วมมือกับรัฐบาลไทยและประเทศอื่นที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนสอบสวนภายใต้การดำเนินการของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รับบาลสหรัฐอเมริกา ขอยืนยันว่าจะยึดถือข้อตกลงดังกล่าว เพื่อส่งเสริม ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล และการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ หรือ คตส. ได้สรุป เมื่อ วันที่ 26 ก.พ. 2550 ว่ามีผู้กระทำของฝ่ายไทยบางส่วนจำนวน 5 คน ในเบื้องต้น และการซื้อขายรถดับเพลิงของ กทม. ในครั้งนี้ทำให้รัฐเสียหายไปกว่า 1,900 ล้านบาท เป็นการซื้อของในราคาที่แพงเกินจริง ซึ่งตนได้ทำหนังสือไปสอบถามความคืบหน้าจากการดำเนินการของทางฝ่ายสหรัฐอเมริกาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2550 แต่ปรากฎว่า รัฐบาลสหรัฐอเมริกา กลับไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องการทุจริตและการปราบปรามการคอร์รัปชั่น เหมือนอย่างที่ได้เคยอ้างมาเลย
“ผมได้รับการติดต่อทางโทรศัพท์ จากนายโคลิน ที. ครอสบี (Colin T. Crosby) ตำแหน่งเลขานุการฝ่ายการเมืองประจำสถานทูตสหรัฐอเมริกา ว่า “ฯพณฯเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ไม่ขอตอบใดๆ ทั้งสิ้น และจะไม่ตอบจดหมายผมด้วย” ถามนายโคลิน กลับไปว่า แล้วเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2549 ทำไมถึงตอบจดหมายผมได้ แล้วครั้งนี้ทำไมไม่ยอมตอบจดหมายผม แล้วที่สหรัฐอเมริกาชอบอ้างถึงเรื่องการปราบปรามคอร์รัปชั่น แล้วชอบเรียกร้องให้ประเทศไทย เคารพต่อกฎหมายระหว่างประเทศกับสหรัฐอเมริกา เหมือนกรณีสิทธิบัตรยา สหรัฐอเมริกา ก็มาเล่นงานประเทศไทย แต่พอเกิดเรื่องการทุจริตกับคนและบริษัทของสหรัฐอเมริกา กลับเพิกเฉย ไม่ดำเนินการใดๆ”นายยุทธพงศ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 6 พ.ค. 2550--จบ--