วันที่ 5 มีนาคม 2550 นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าการปรับคณะรัฐมนตรีเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในบ้านเมือง แต่ปัญหาบ้านเมืองในขณะนี้มีปัญหาอยู่ 2 ระดับ คือปัญหาของประเทศและปัญหาของรัฐบาล
โดยนายองอาจชี้ว่าปัญหาของประเทศนั้นประกอบไปด้วย 5 ส่วนสำคัญด้วยกัน กล่าวคือ
ส่วนที่ 1 คือปัญหาเก่าที่ค้างสะสมมาจากรัฐบาลทักษิณ เป็นปัญหาที่ต่อเนื่องมา ปัญหาเรื่องนโยบายประชานิยม ปัญหาทางด้านการเงินการคลัง และปัญหาอื่น ๆ ปัญหาในการบริหารจัดการประเทศ ซึ่งเป็นปัญหาเก่าที่ค้างสะสมมา
ส่วนที่ 2 คือ ปัญหาการจัดการกับการทุจริตคอรัปชั่นที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากรัฐบาลชุดที่แล้วเช่นเดียวกัน อันนี้เป็นปัญหาของประเทศ
ส่วนที่ 3 คือ ปัญหาความมั่นคงที่กระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทั้งปัญหาความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งขณะนี้ก็ลุกลามมาเป็นเรื่องปัญหาความมั่นคงต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนในเมืองหลวง เช่น กรุงเทพมหานคร ส่วนจะมีผลสืบเนื่องมาจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่อย่างไรนั้นก็เป็นเรื่องที่ยังไม่กระจ่างชัด แต่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาความมั่นคง
ส่วนที่ 4 คือ ปัญหาเศรษฐกิจถดถอย ขาดความเชื่อมั่นต่อการลงทุน ต่อการใช้จ่ายเงินทอง ต่อการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ
ส่วนที่ 5 คือ ปัญหาความแตกแยกในสังคมไทย ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นปัญหาสืบเนื่องมาจาก 5-6 ปีที่ผ่านมา ก็ยังต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันนี้ ยังไม่มีท่าทีว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาของประเทศ
นอกจากนี้นายองอาจยังชี้ถึงปัญหาของรัฐบาลอีก 4 ส่วนสำคัญด้วยกัน โดยปัญหาของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือ
ประการที่ 1 ไม่กำหนดลำดับความสำคัญของงาน ทำงานเหมือนกับว่าการบริหารประเทศขณะนี้อยู่ในสภาวะปกติ ประเทศชาติไม่ได้มีปัญหาอะไร ทั้ง ๆ ขณะนี้ต้องยอมรับว่าประเทศชาติบ้านเมืองนั้นอยู่ในสถานการณ์พิเศษ การกำหนดลำดับความสำคัญของงาน การทำงานต้องคำนึงถึงว่ากำลังอยู่ในสถานการณ์พิเศษ
ประการที่ 2 คือไม่มีความชัดเจนในการวางยุทธศาสตร์ แนวทางและวิธีการปฎิบัติเพื่อให้เกิดผลงานตามมา หรือเพื่อให้เกิดประสิทธิผลของงานขึ้น ตรงนี้ก็จากการดำเนินงานของรัฐบาลก็เห็นว่ายังไม่ค่อยชัดเจนตรงนี้
ประการที่ 3 คือการทำงานของคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้อยู่ในสภาพตัวใครตัวมัน ต่างคนต่างทำ ทั้ง ๆ ที่หลายเรื่องเป็นเรื่องเดียวกัน กรณีปัญหาเรื่องนอมินี กรณีปัญหาการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ เป็นต้น ประการที่ 4 มีรัฐมนตรีหลายคน เข้าเกียร์ไม่ถูกจังหวะ
“ผมอยากจะใช้คำว่าเข้าเกียร์ไม่ถูกจังหวะ ก็คือจังหวะที่ควรเข้าเกียร์ 1 ก็ไปเข้าเกียร์ 3 เกียร์ 4 เกียร์ 5 ไป จังหวะการบริหารงานที่ควรเข้าเกียร์ 3 เกียร์ 4 เกียร์ 5 ก็ไปเข้าเกียร์ 1 อะไรอย่างนี้ เป็นต้น ก็เรียกได้ว่าเป็นรัฐมนตรีประเภทเข้าเกียร์ไม่ถูกจังหวะ หรือรัฐมนตรีบางท่านอาจจะเรียกได้ว่าเป็นรัฐมนตรีประเภทคือไม่ได้เข้าเกียร์ มาถึ่งก็สตาร์ทรถแล้วนั่งอยู่เฉย ๆ” นายองอาจกล่าว
อย่างไรก็ดีปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ นายองอาจมีความเห็นว่าการที่จะแก้ไขนั้น ประการแรกอยากจะให้รัฐบาลจัดลำดับความสำคัญของงานและทำงานกันเป็นทีม เรื่องไหนที่มันเป็นเรื่องเดียวกันก็ทำให้สอดคล้องต้องกัน อย่าให้เกิดปัญหาขึ้นมา
ประการที่ 2 รัฐบาลต้องทำงานรวดเร็วทันสถานการณ์ และก็แน่นอนที่สุดความรวดเร็วนั้นก็ต้องรอบคอบด้วย หลายครั้งที่ผ่านมารัฐบาลนี้ บางเรื่องก็เร็วไม่ใช่ว่าช้าไปทุกเรื่อง อย่างเรื่อง 30 % ก็เร็ว แต่ก็เห็นว่ามันก็มีความไม่รอบคอบเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นเมื่อทำงานรวดเร็วทันสถานการณ์แล้วก็ควรมีความรอบคอบด้วย ประการที่ 3 ติดตามจี้ไชให้เห็นผลสำเร็จของงานเป็นรูปธรรม อันนี้ก็น่าจะมีส่วนช่วยทำให้การทำงานของรัฐบาลดีขึ้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 มี.ค. 2550--จบ--
โดยนายองอาจชี้ว่าปัญหาของประเทศนั้นประกอบไปด้วย 5 ส่วนสำคัญด้วยกัน กล่าวคือ
ส่วนที่ 1 คือปัญหาเก่าที่ค้างสะสมมาจากรัฐบาลทักษิณ เป็นปัญหาที่ต่อเนื่องมา ปัญหาเรื่องนโยบายประชานิยม ปัญหาทางด้านการเงินการคลัง และปัญหาอื่น ๆ ปัญหาในการบริหารจัดการประเทศ ซึ่งเป็นปัญหาเก่าที่ค้างสะสมมา
ส่วนที่ 2 คือ ปัญหาการจัดการกับการทุจริตคอรัปชั่นที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากรัฐบาลชุดที่แล้วเช่นเดียวกัน อันนี้เป็นปัญหาของประเทศ
ส่วนที่ 3 คือ ปัญหาความมั่นคงที่กระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทั้งปัญหาความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งขณะนี้ก็ลุกลามมาเป็นเรื่องปัญหาความมั่นคงต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนในเมืองหลวง เช่น กรุงเทพมหานคร ส่วนจะมีผลสืบเนื่องมาจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่อย่างไรนั้นก็เป็นเรื่องที่ยังไม่กระจ่างชัด แต่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาความมั่นคง
ส่วนที่ 4 คือ ปัญหาเศรษฐกิจถดถอย ขาดความเชื่อมั่นต่อการลงทุน ต่อการใช้จ่ายเงินทอง ต่อการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ
ส่วนที่ 5 คือ ปัญหาความแตกแยกในสังคมไทย ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นปัญหาสืบเนื่องมาจาก 5-6 ปีที่ผ่านมา ก็ยังต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันนี้ ยังไม่มีท่าทีว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาของประเทศ
นอกจากนี้นายองอาจยังชี้ถึงปัญหาของรัฐบาลอีก 4 ส่วนสำคัญด้วยกัน โดยปัญหาของรัฐบาลที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือ
ประการที่ 1 ไม่กำหนดลำดับความสำคัญของงาน ทำงานเหมือนกับว่าการบริหารประเทศขณะนี้อยู่ในสภาวะปกติ ประเทศชาติไม่ได้มีปัญหาอะไร ทั้ง ๆ ขณะนี้ต้องยอมรับว่าประเทศชาติบ้านเมืองนั้นอยู่ในสถานการณ์พิเศษ การกำหนดลำดับความสำคัญของงาน การทำงานต้องคำนึงถึงว่ากำลังอยู่ในสถานการณ์พิเศษ
ประการที่ 2 คือไม่มีความชัดเจนในการวางยุทธศาสตร์ แนวทางและวิธีการปฎิบัติเพื่อให้เกิดผลงานตามมา หรือเพื่อให้เกิดประสิทธิผลของงานขึ้น ตรงนี้ก็จากการดำเนินงานของรัฐบาลก็เห็นว่ายังไม่ค่อยชัดเจนตรงนี้
ประการที่ 3 คือการทำงานของคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้อยู่ในสภาพตัวใครตัวมัน ต่างคนต่างทำ ทั้ง ๆ ที่หลายเรื่องเป็นเรื่องเดียวกัน กรณีปัญหาเรื่องนอมินี กรณีปัญหาการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ เป็นต้น ประการที่ 4 มีรัฐมนตรีหลายคน เข้าเกียร์ไม่ถูกจังหวะ
“ผมอยากจะใช้คำว่าเข้าเกียร์ไม่ถูกจังหวะ ก็คือจังหวะที่ควรเข้าเกียร์ 1 ก็ไปเข้าเกียร์ 3 เกียร์ 4 เกียร์ 5 ไป จังหวะการบริหารงานที่ควรเข้าเกียร์ 3 เกียร์ 4 เกียร์ 5 ก็ไปเข้าเกียร์ 1 อะไรอย่างนี้ เป็นต้น ก็เรียกได้ว่าเป็นรัฐมนตรีประเภทเข้าเกียร์ไม่ถูกจังหวะ หรือรัฐมนตรีบางท่านอาจจะเรียกได้ว่าเป็นรัฐมนตรีประเภทคือไม่ได้เข้าเกียร์ มาถึ่งก็สตาร์ทรถแล้วนั่งอยู่เฉย ๆ” นายองอาจกล่าว
อย่างไรก็ดีปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ นายองอาจมีความเห็นว่าการที่จะแก้ไขนั้น ประการแรกอยากจะให้รัฐบาลจัดลำดับความสำคัญของงานและทำงานกันเป็นทีม เรื่องไหนที่มันเป็นเรื่องเดียวกันก็ทำให้สอดคล้องต้องกัน อย่าให้เกิดปัญหาขึ้นมา
ประการที่ 2 รัฐบาลต้องทำงานรวดเร็วทันสถานการณ์ และก็แน่นอนที่สุดความรวดเร็วนั้นก็ต้องรอบคอบด้วย หลายครั้งที่ผ่านมารัฐบาลนี้ บางเรื่องก็เร็วไม่ใช่ว่าช้าไปทุกเรื่อง อย่างเรื่อง 30 % ก็เร็ว แต่ก็เห็นว่ามันก็มีความไม่รอบคอบเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นเมื่อทำงานรวดเร็วทันสถานการณ์แล้วก็ควรมีความรอบคอบด้วย ประการที่ 3 ติดตามจี้ไชให้เห็นผลสำเร็จของงานเป็นรูปธรรม อันนี้ก็น่าจะมีส่วนช่วยทำให้การทำงานของรัฐบาลดีขึ้น
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 มี.ค. 2550--จบ--