สศข.5 ร่วมกับ ศสส. ทำการสำรวจข้อมูลการเกษตรวิธีใหม่ โดยใช้พื้นที่หน่วยสุ่มเป็นกรอบตัวอย่าง หรือ Area Frame หวังผลการสำรวจและ ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว และแม่นยำ
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงถึงการ สำรวจข้อมูลการเกษตรแบบใหม่ หรือ Area Frame ว่า ด้วยทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร มีภารกิจประการหนึ่งเกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำ ข้อมูลทางการเกษตรที่ ถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน และสามารถรายงานผลได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2548 จึงได้มีการนำ ภาพถ่ายทางดาวเทียม จากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ Landsat 5 ของสหรัฐอเมริการมาใช้ ผนวกกับการใช้เทคโนโลยีด้านภูมิสารสนเทศ (Geo — Informatics) รวมทั้งมีการใช้เครื่องกำหนดพิกัดบนพื้นโลก GPS : Global Positioning System นำร่องด้วยดาวเทียมมาใช้ในครั้งนี้ โดยเรียกการสำรวจ แบบวิธีดังกล่าวว่า “การสำรวจเนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตสินค้าเกษตรปี 2548 โดยใช้พื้นที่หน่วยสุ่มเป็นกรอบตัวอย่าง (Area Frame)” ซึ่งทาง สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 จังหวัดนครราชสีมา ได้ร่วมกับทางศูนย์สารสนเทศการเกษตร (ศสส.) ทำการสำรวจข้อมูลการเกษตรด้วยวิธีดังกล่าว ตั้งแต่เดือนกันยายน 2548 เป็นต้นมา โดยใช้ทั้งภาพถ่ายดาวเทียมและเครื่องมือกำหนดตำแหน่งพิกัดบนพื้นโลก : GPS ทำการหาพื้นที่ทางการเกษตร ที่ถูกสุ่มเลือก ซึ่งเป็นวิธีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้งาน โดยคาดหวังว่าจะทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น
อนึ่ง การดำเนินการสำรวจข้อมูลการเกษตรเบื้องต้นภาคสนามของจังหวัดนครราชสีมาใกล้แล้วเสร็จ ซึ่งหลังจากนั้นจะดำเนินการสำรวจภาค สนามในส่วนของ จ.บุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีษะเกษ และอุบลราชธานีให้แล้วเสร็จต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงถึงการ สำรวจข้อมูลการเกษตรแบบใหม่ หรือ Area Frame ว่า ด้วยทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร มีภารกิจประการหนึ่งเกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำ ข้อมูลทางการเกษตรที่ ถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน และสามารถรายงานผลได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2548 จึงได้มีการนำ ภาพถ่ายทางดาวเทียม จากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ Landsat 5 ของสหรัฐอเมริการมาใช้ ผนวกกับการใช้เทคโนโลยีด้านภูมิสารสนเทศ (Geo — Informatics) รวมทั้งมีการใช้เครื่องกำหนดพิกัดบนพื้นโลก GPS : Global Positioning System นำร่องด้วยดาวเทียมมาใช้ในครั้งนี้ โดยเรียกการสำรวจ แบบวิธีดังกล่าวว่า “การสำรวจเนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตสินค้าเกษตรปี 2548 โดยใช้พื้นที่หน่วยสุ่มเป็นกรอบตัวอย่าง (Area Frame)” ซึ่งทาง สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 จังหวัดนครราชสีมา ได้ร่วมกับทางศูนย์สารสนเทศการเกษตร (ศสส.) ทำการสำรวจข้อมูลการเกษตรด้วยวิธีดังกล่าว ตั้งแต่เดือนกันยายน 2548 เป็นต้นมา โดยใช้ทั้งภาพถ่ายดาวเทียมและเครื่องมือกำหนดตำแหน่งพิกัดบนพื้นโลก : GPS ทำการหาพื้นที่ทางการเกษตร ที่ถูกสุ่มเลือก ซึ่งเป็นวิธีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้งาน โดยคาดหวังว่าจะทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น
อนึ่ง การดำเนินการสำรวจข้อมูลการเกษตรเบื้องต้นภาคสนามของจังหวัดนครราชสีมาใกล้แล้วเสร็จ ซึ่งหลังจากนั้นจะดำเนินการสำรวจภาค สนามในส่วนของ จ.บุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีษะเกษ และอุบลราชธานีให้แล้วเสร็จต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-