สศอ.ชี้อุตฯยางไทยอนาคตใส ปี 50 ยังขยายตัวได้ดี เกาะติดทิศทางอุตฯยานยนต์ ที่แข็งแกร่ง บัลลังก์ผู้ผลิตยางธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลกยังรักษาได้สบาย
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้สรุปภาพรวมของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางของไทยในปี 2549 และแนวโน้มปี 2550 พบว่า อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางในปี 2550 คาดการณ์ว่าทั้งปริมาณการผลิตและปริมาณการใช้ยางยังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2549 โดยจะมีอัตราการขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 เปรียบเทียบกับปี 2549 ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ไทยเป็นฐานการผลิตที่แข็งแกร่งตามนโยบายของรัฐบาล ที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก นอกจากนี้ยังได้รับปัจจัยบวกจากการผลักดันให้มีการจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบยางล้อ และผลิตภัณฑ์ยาง การจัดทำมาตรฐานการผลิต การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีประเภทถุงมือตรวจโรคและถุงมือทั่วไป นอกจากนี้ในภาคเกษตรกรรมก็มีการสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมยาง โดยนำมาผลิตเป็นเขื่อนยาง สร้างอ่างเก็บน้ำยาง ฝายยาง หรือถนน ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางในปี 2550
ในด้านการผลิตยาง ที่น่าจับตามองคือ เวียดนาม ที่แม้ว่าผลผลิตยางของเวียดนามยังมีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่อย่างไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย แต่ผลผลิตของเวียดนามมีอัตราการเพิ่มขึ้นมากที่สุดในบรรดาประเทศผู้ผลิตยางทั้งหมด และมีการกำหนดนโยบายด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมยางอย่างชัดเจน
สำหรับประเทศผู้ใช้ยาง คาดว่าจีนและอินเดียจะยังมีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นประเทศผู้ใช้ยาง เนื่องจากการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ทั้งสองประเทศมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจีนจะเป็นประเทศผู้ใช้ยางที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในช่วงระยะ 15 ปีต่อจากนี้ไป ซึ่งจะเป็นเหมือนที่ผ่านมาที่สหรัฐอเมริกาที่เคยเป็นประเทศผู้ใช้ยางที่มีบทบาทสำคัญที่สุดนับตั้งแต่ ปี 2503-2545 อย่างไรก็ตามแนวโน้มราคายางในปี 2550 จะขยับขึ้น-ลงตามปัจจัยทางด้านปริมาณการผลิต ความต้องการใช้ยางของผู้ใช้ และราคาน้ำมันในตลาดโลก โดยราคายางธรรมชาติจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับราคาน้ำมัน
ดร.อรรชกา กล่าวถึงภาพรวมอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางปี 2549 ที่ผ่านมาว่าอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางของไทย ยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางธรรมชาติมากที่สุดในโลก ส่งผลให้เกิดความได้เปรียบในด้านวัตถุดิบและสร้างมูลค่าในการส่งออกให้กับประเทศเป็นอย่างมาก ซึ่งในปี 2549 มีมูลค่าส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมไม่น้อยกว่า 8,422 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 38.96 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2548
โดย ภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์ยางในปี 2549 เมื่อพิจารณาในช่วงของไตรมาสแรก มีอัตราการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการสต็อกสินค้าเนื่องจากช่วงนั้นมีความผันผวนของราคายาง และราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต ทำให้ไตรมาส 3 และ4 มีการผลิตในอัตราลดลง เมื่อรวมทั้งปี 2549 มีการผลิตลดลงจากปีก่อนโดยที่สำคัญ ได้แก่ การผลิตยางนอกรถยนต์นั่ง จำนวน 12,845,101 เส้น ลดลงร้อยละ 3.48 ยางนอกรถกะบะจำนวน 5,600,630 เส้น ลดลงร้อยละ 1.67 ยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร จำนวน 4,786,525 เส้น ลดลงร้อยละ 7.55 ยางนอกรถจักรยานยนต์ จำนวน 20,539,044 เส้น ลดลงร้อยละ 4.51 ถุงมือยาง จำนวน 8,189,453,436 ลดลงร้อยละ 14.42 และยางรัดของ จำนวน 14,543 ตัน ลดลงร้อยละ 4.66
ส่วน การส่งออกยางพาราขั้นต้น ประเภทยางแผ่น ยางแท่ง น้ำยางข้น และยางขั้นต้นอื่น ๆ มีมูลค่าส่งออกรวมกันประมาณ 5,364.84 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 44.60 และ ผลิตภัณฑ์ยางมีการส่งออก 3,057.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 30.06 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการขยายตัวของกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพที่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยในช่วงต้นปีอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางอยู่ในภาวะการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตามตลาดโลกที่ยังคงมีปริมาณความต้องการใช้ยางเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตลาดในประเทศจีน ที่ใช้ยางในปริมาณมากเพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ รวมทั้งราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับที่สูงทำให้ราคายางสังเคราะห์ที่นำมาจากน้ำมันมีราคาสูงด้วย
ส่วนช่วงครึ่งหลังปี 2549 ทิศทางราคายางมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีสาเหตุมาจากฤดูกาลผลิตยางในประเทศ ทำให้ประเทศผู้ซื้อ และผู้ใช้ยางชะลอการซื้อเพื่อรอดูทิศทางของราคายาง โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ยางลดกำลังการผลิตทั้งในอุตสาหกรรมผลิตยางล้อและอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ประเทศที่นำเข้ายางรายใหญ่ของโลกทั้งจีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นล้วนมีสต็อกยางในปริมาณสูงจึงหันไปใช้ยางที่สต็อกไว้ และทำให้ราคายางสังเคราะห์ที่ใช้ทดแทนยางธรรมชาติมีแนวโน้มลดลงด้วย ซึ่งส่งผลกดดันต่อราคายางธรรมชาติ นอกจากนี้การแข็งค่าขึ้นของเงินบาทส่งผลให้ผู้ส่งออกยางของไทยต้องประสบกับภาวะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน และบรรดาพ่อค้ายังใช้เป็นข้ออ้างในการกดราคารับซื้อยางในประเทศ เนื่องจากไม่สามารถปรับราคาส่งออกได้ อย่างไรก็ตามในปี 2549 ราคายางทรงตัวอยู่ในระดับ 55 - 70 บาทต่อกิโลกรัม และจะต่อเนื่องไปถึงปี 2550 — 2551
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้สรุปภาพรวมของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางของไทยในปี 2549 และแนวโน้มปี 2550 พบว่า อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางในปี 2550 คาดการณ์ว่าทั้งปริมาณการผลิตและปริมาณการใช้ยางยังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2549 โดยจะมีอัตราการขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 เปรียบเทียบกับปี 2549 ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ไทยเป็นฐานการผลิตที่แข็งแกร่งตามนโยบายของรัฐบาล ที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก นอกจากนี้ยังได้รับปัจจัยบวกจากการผลักดันให้มีการจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบยางล้อ และผลิตภัณฑ์ยาง การจัดทำมาตรฐานการผลิต การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีประเภทถุงมือตรวจโรคและถุงมือทั่วไป นอกจากนี้ในภาคเกษตรกรรมก็มีการสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมยาง โดยนำมาผลิตเป็นเขื่อนยาง สร้างอ่างเก็บน้ำยาง ฝายยาง หรือถนน ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางในปี 2550
ในด้านการผลิตยาง ที่น่าจับตามองคือ เวียดนาม ที่แม้ว่าผลผลิตยางของเวียดนามยังมีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่อย่างไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย แต่ผลผลิตของเวียดนามมีอัตราการเพิ่มขึ้นมากที่สุดในบรรดาประเทศผู้ผลิตยางทั้งหมด และมีการกำหนดนโยบายด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมยางอย่างชัดเจน
สำหรับประเทศผู้ใช้ยาง คาดว่าจีนและอินเดียจะยังมีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นประเทศผู้ใช้ยาง เนื่องจากการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ทั้งสองประเทศมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจีนจะเป็นประเทศผู้ใช้ยางที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในช่วงระยะ 15 ปีต่อจากนี้ไป ซึ่งจะเป็นเหมือนที่ผ่านมาที่สหรัฐอเมริกาที่เคยเป็นประเทศผู้ใช้ยางที่มีบทบาทสำคัญที่สุดนับตั้งแต่ ปี 2503-2545 อย่างไรก็ตามแนวโน้มราคายางในปี 2550 จะขยับขึ้น-ลงตามปัจจัยทางด้านปริมาณการผลิต ความต้องการใช้ยางของผู้ใช้ และราคาน้ำมันในตลาดโลก โดยราคายางธรรมชาติจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับราคาน้ำมัน
ดร.อรรชกา กล่าวถึงภาพรวมอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางปี 2549 ที่ผ่านมาว่าอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางของไทย ยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางธรรมชาติมากที่สุดในโลก ส่งผลให้เกิดความได้เปรียบในด้านวัตถุดิบและสร้างมูลค่าในการส่งออกให้กับประเทศเป็นอย่างมาก ซึ่งในปี 2549 มีมูลค่าส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรมไม่น้อยกว่า 8,422 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 38.96 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2548
โดย ภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์ยางในปี 2549 เมื่อพิจารณาในช่วงของไตรมาสแรก มีอัตราการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการสต็อกสินค้าเนื่องจากช่วงนั้นมีความผันผวนของราคายาง และราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต ทำให้ไตรมาส 3 และ4 มีการผลิตในอัตราลดลง เมื่อรวมทั้งปี 2549 มีการผลิตลดลงจากปีก่อนโดยที่สำคัญ ได้แก่ การผลิตยางนอกรถยนต์นั่ง จำนวน 12,845,101 เส้น ลดลงร้อยละ 3.48 ยางนอกรถกะบะจำนวน 5,600,630 เส้น ลดลงร้อยละ 1.67 ยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสาร จำนวน 4,786,525 เส้น ลดลงร้อยละ 7.55 ยางนอกรถจักรยานยนต์ จำนวน 20,539,044 เส้น ลดลงร้อยละ 4.51 ถุงมือยาง จำนวน 8,189,453,436 ลดลงร้อยละ 14.42 และยางรัดของ จำนวน 14,543 ตัน ลดลงร้อยละ 4.66
ส่วน การส่งออกยางพาราขั้นต้น ประเภทยางแผ่น ยางแท่ง น้ำยางข้น และยางขั้นต้นอื่น ๆ มีมูลค่าส่งออกรวมกันประมาณ 5,364.84 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 44.60 และ ผลิตภัณฑ์ยางมีการส่งออก 3,057.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 30.06 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการขยายตัวของกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพที่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยในช่วงต้นปีอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางอยู่ในภาวะการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตามตลาดโลกที่ยังคงมีปริมาณความต้องการใช้ยางเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตลาดในประเทศจีน ที่ใช้ยางในปริมาณมากเพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ รวมทั้งราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับที่สูงทำให้ราคายางสังเคราะห์ที่นำมาจากน้ำมันมีราคาสูงด้วย
ส่วนช่วงครึ่งหลังปี 2549 ทิศทางราคายางมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีสาเหตุมาจากฤดูกาลผลิตยางในประเทศ ทำให้ประเทศผู้ซื้อ และผู้ใช้ยางชะลอการซื้อเพื่อรอดูทิศทางของราคายาง โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ยางลดกำลังการผลิตทั้งในอุตสาหกรรมผลิตยางล้อและอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ประเทศที่นำเข้ายางรายใหญ่ของโลกทั้งจีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นล้วนมีสต็อกยางในปริมาณสูงจึงหันไปใช้ยางที่สต็อกไว้ และทำให้ราคายางสังเคราะห์ที่ใช้ทดแทนยางธรรมชาติมีแนวโน้มลดลงด้วย ซึ่งส่งผลกดดันต่อราคายางธรรมชาติ นอกจากนี้การแข็งค่าขึ้นของเงินบาทส่งผลให้ผู้ส่งออกยางของไทยต้องประสบกับภาวะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน และบรรดาพ่อค้ายังใช้เป็นข้ออ้างในการกดราคารับซื้อยางในประเทศ เนื่องจากไม่สามารถปรับราคาส่งออกได้ อย่างไรก็ตามในปี 2549 ราคายางทรงตัวอยู่ในระดับ 55 - 70 บาทต่อกิโลกรัม และจะต่อเนื่องไปถึงปี 2550 — 2551
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-