1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2549/50
- เป้าหมายรับจำนำ 9 ล้านตันข้าวเปลือก ดำเนินการโดย
- ธ.ก.ส. รับจำนำจากเกษตรและสถาบันเกษตรกรที่มียุ้งฉางเป็นของตัวเอง
- อคส. รับฝากและออกใบประทวน โดย ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตกรที่ไม่มียุ้งฉางเป็นของตนเอง
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าว ณ ระดับความชื้น 15% แยกตามชนิดข้าว
- ระยะเวลารับจำนำ 1 พย.49 — กพ.50 ยกเว้นภาคใต้ให้รับจำนำระหว่าง 1 กพ.-31 พค.50
- ระยะเวลาไถ่ถอน กรณีจำนำยุ้งฉางของ ธ.ก.ส. กำหนด 4 เดือน นับถือจากเดือนที่รับจำนำ และกรณีจำนำใบประทวนของ อคส. กำหนด 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ 1 พย. 49 — 31 ตค.50
- ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 1 พย. — 14 กพ. 50
สรุปผลการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2549/50
หน่วย : ตัน
รายการ ข้าวเจ้า ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวม ร้อยละของ
(เฉพาะ ธกส.) ข้าวทุกชนิด เป้าหมาย
ปริมาณรับจำนำ 997,805 561,750 81,286 14,500 12,026 1,667,367 18.53
ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการมาตรการรับจำนำข้าวเปลือกฯ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
ภาวะการซื้อขาย ในช่วงสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากผลผลิตในตลาดเริ่มมีน้อยลง สำหรับการตกลงซื้อขายข้าวในตลาดช่วงนี้มีไม่มากนักเนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีนทำให้ราคาข้าวสารส่วนใหญ่ทรงตัว มีเพียงผู้ส่งออกบางรายออกมารับซื้อข้าวบางชนิดในราคาที่สูงขึ้นเพื่อให้ได้สินค้าได้ตามปริมาณและคุณภาพที่ต้องการ เช่น ข้าว 100% และปลายข้าว
การส่งออก
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 31 มกราคม 2550 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 621,407 ตัน สูงขึ้นจาก 558,416 ตัน ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.28 (ที่มา: ข้อมูลเบื้องต้นจากกรมการค้าต่างประเทศ)
ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,224 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,183 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 6,637 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 6,579 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.88
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,475 บาท ราคา ทรงตัวเท่าสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิ ไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 534 ดอลลาร์สหรัฐ (18,992 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 21 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 315 ดอลลาร์สหรัฐ (11,203 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 12 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 290 ดอลลาร์สหรัฐ (10,314 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 287 ดอลลาร์สหรัฐ (10,219 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อน และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 95 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 318 ดอลลาร์สหรัฐ (11,310 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 317 ดอลลาร์สหรัฐ (11,287 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อน และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 23 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.5648 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
สหรัฐฯ หวังเปิดตลาดข้าวเกาหลีใต้ผ่าน FTA
การเจรจาเขตเสรีการค้า (FTA) รอบที่ 7 ซึ่งเป็นรอบสุดท้าย ระหว่างเกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกา ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี เริ่มมีความเข้มข้นตั้งแต่วันแรก โดยประเด็นที่ไม่สามารถตกลงกันได้คือเรื่องการเปิดตลาดข้าวของเกาหลี โดยเกาหลีอ้างว่าข้าวเป็นสินค้าที่อ่อนไหวมากเกินกว่าที่จะสามารถเจรจาหาข้อยุติได้ในรอบนี้ โดยเสริมว่าทั้งสองฝ่ายจะต้องมาหารือกันอีกในภายหลัง ในขณะที่อเมริกากล่าวว่าการเปิดตลาดสินค้าเกษตรของเกาหลีใต้มีความสำคัญเป็นอันดับแรกของการเจรจา อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่า การเจรจาในรอบนี้มีความสำคัญซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จของการบรรลุข้อตกลงการเจรจาเขตเสรีการค้า ที่กำหนดจะสรุปผลได้ในเดือนมีนาคม 2550
รัฐเซียปรับเพิ่มภาษีนำเข้าข้าวตามฤดูกาล
รัฐบาลรัฐเซียประกาศจะกำหนดอัตราภาษีนำเข้าข้าวตามฤดูกาลเพิ่มขึ้นจากเดิม 70 ยูโรต่อตัน (3,220 บาท/ตัน) เป็น 120 ยูโรต่อตัน (5,520 บาท/ตัน) เพื่อปกป้องผู้ผลิตข้าวภายในประเทศ โดยอัตราภาษีใหม่จะเริ่มมีผลบังคับใช้หลังจากที่รัฐบาลประกาศเป็นกฎหมายแล้วหนึ่งเดือน โดยจะมีผลไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม และจะเริ่มมีผลอีกครั้งในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม ถึง 31 ธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ผลผลิตข้าวออกสู่ตลาดมาก
อินโดนีเชียต้องการนำเข้าข้าวด่วน 5 แสนตัน
สืบเนื่องจากภาวะน้ำท่วมและฝนแล้งทำให้ผลผลิตข้าวในอินโดนีเชียลดลงและเริ่มขาดแคลนจนส่งผลให้ราคาข้าวภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้นจนเกิดผลกระทบต่อผู้บริโภค ทำให้รัฐบาลอินโดนีเชียประกาศนำเข้าข้าวทันที 5 แสนตันเพื่อเสริมสต็อกและรักษาระดับราคาข้าวในประเทศไม่ให้สูงเกินไป โดยมีการเปิดประมูลข้าวเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ และให้มีการส่งมอบในเดือนมีนาคมหรือเมษายนนี้
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 12 - 18 กุมภาพันธ์ 2550--
-พห-
1.1 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2549/50
- เป้าหมายรับจำนำ 9 ล้านตันข้าวเปลือก ดำเนินการโดย
- ธ.ก.ส. รับจำนำจากเกษตรและสถาบันเกษตรกรที่มียุ้งฉางเป็นของตัวเอง
- อคส. รับฝากและออกใบประทวน โดย ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตกรที่ไม่มียุ้งฉางเป็นของตนเอง
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าว ณ ระดับความชื้น 15% แยกตามชนิดข้าว
- ระยะเวลารับจำนำ 1 พย.49 — กพ.50 ยกเว้นภาคใต้ให้รับจำนำระหว่าง 1 กพ.-31 พค.50
- ระยะเวลาไถ่ถอน กรณีจำนำยุ้งฉางของ ธ.ก.ส. กำหนด 4 เดือน นับถือจากเดือนที่รับจำนำ และกรณีจำนำใบประทวนของ อคส. กำหนด 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ 1 พย. 49 — 31 ตค.50
- ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 1 พย. — 14 กพ. 50
สรุปผลการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2549/50
หน่วย : ตัน
รายการ ข้าวเจ้า ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวม ร้อยละของ
(เฉพาะ ธกส.) ข้าวทุกชนิด เป้าหมาย
ปริมาณรับจำนำ 997,805 561,750 81,286 14,500 12,026 1,667,367 18.53
ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการมาตรการรับจำนำข้าวเปลือกฯ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
ภาวะการซื้อขาย ในช่วงสัปดาห์นี้ ราคาข้าวเปลือกปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากผลผลิตในตลาดเริ่มมีน้อยลง สำหรับการตกลงซื้อขายข้าวในตลาดช่วงนี้มีไม่มากนักเนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีนทำให้ราคาข้าวสารส่วนใหญ่ทรงตัว มีเพียงผู้ส่งออกบางรายออกมารับซื้อข้าวบางชนิดในราคาที่สูงขึ้นเพื่อให้ได้สินค้าได้ตามปริมาณและคุณภาพที่ต้องการ เช่น ข้าว 100% และปลายข้าว
การส่งออก
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 31 มกราคม 2550 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 621,407 ตัน สูงขึ้นจาก 558,416 ตัน ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.28 (ที่มา: ข้อมูลเบื้องต้นจากกรมการค้าต่างประเทศ)
ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,224 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,183 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 6,637 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 6,579 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.88
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,475 บาท ราคา ทรงตัวเท่าสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิ ไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 534 ดอลลาร์สหรัฐ (18,992 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 21 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 315 ดอลลาร์สหรัฐ (11,203 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 12 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 290 ดอลลาร์สหรัฐ (10,314 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 287 ดอลลาร์สหรัฐ (10,219 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อน และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 95 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 318 ดอลลาร์สหรัฐ (11,310 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 317 ดอลลาร์สหรัฐ (11,287 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อน และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 23 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.5648 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
สหรัฐฯ หวังเปิดตลาดข้าวเกาหลีใต้ผ่าน FTA
การเจรจาเขตเสรีการค้า (FTA) รอบที่ 7 ซึ่งเป็นรอบสุดท้าย ระหว่างเกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกา ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี เริ่มมีความเข้มข้นตั้งแต่วันแรก โดยประเด็นที่ไม่สามารถตกลงกันได้คือเรื่องการเปิดตลาดข้าวของเกาหลี โดยเกาหลีอ้างว่าข้าวเป็นสินค้าที่อ่อนไหวมากเกินกว่าที่จะสามารถเจรจาหาข้อยุติได้ในรอบนี้ โดยเสริมว่าทั้งสองฝ่ายจะต้องมาหารือกันอีกในภายหลัง ในขณะที่อเมริกากล่าวว่าการเปิดตลาดสินค้าเกษตรของเกาหลีใต้มีความสำคัญเป็นอันดับแรกของการเจรจา อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่า การเจรจาในรอบนี้มีความสำคัญซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จของการบรรลุข้อตกลงการเจรจาเขตเสรีการค้า ที่กำหนดจะสรุปผลได้ในเดือนมีนาคม 2550
รัฐเซียปรับเพิ่มภาษีนำเข้าข้าวตามฤดูกาล
รัฐบาลรัฐเซียประกาศจะกำหนดอัตราภาษีนำเข้าข้าวตามฤดูกาลเพิ่มขึ้นจากเดิม 70 ยูโรต่อตัน (3,220 บาท/ตัน) เป็น 120 ยูโรต่อตัน (5,520 บาท/ตัน) เพื่อปกป้องผู้ผลิตข้าวภายในประเทศ โดยอัตราภาษีใหม่จะเริ่มมีผลบังคับใช้หลังจากที่รัฐบาลประกาศเป็นกฎหมายแล้วหนึ่งเดือน โดยจะมีผลไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม และจะเริ่มมีผลอีกครั้งในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม ถึง 31 ธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ผลผลิตข้าวออกสู่ตลาดมาก
อินโดนีเชียต้องการนำเข้าข้าวด่วน 5 แสนตัน
สืบเนื่องจากภาวะน้ำท่วมและฝนแล้งทำให้ผลผลิตข้าวในอินโดนีเชียลดลงและเริ่มขาดแคลนจนส่งผลให้ราคาข้าวภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้นจนเกิดผลกระทบต่อผู้บริโภค ทำให้รัฐบาลอินโดนีเชียประกาศนำเข้าข้าวทันที 5 แสนตันเพื่อเสริมสต็อกและรักษาระดับราคาข้าวในประเทศไม่ให้สูงเกินไป โดยมีการเปิดประมูลข้าวเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ และให้มีการส่งมอบในเดือนมีนาคมหรือเมษายนนี้
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 12 - 18 กุมภาพันธ์ 2550--
-พห-