ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. บอร์ด ธปท.ระบุแม้เศรษฐกิจจะส่งสัญญาณฟื้นตัวในครึ่งปีหลังแต่ยังคงต้องติดตามการอุปโภคบริโภคในประเทศ เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผย
ภายหลังการประชุมคณะกรรมการ ธปท.ว่า ขณะนี้สิ่งที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือ การอุปโภคบริโภคในประเทศที่ยังฟื้นตัวช้า ทั้งที่สัญญาณ
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเริ่มมีแล้วในครึ่งปีหลัง โดยเห็นได้จากการนำเข้าสินค้าทุนประเภทเครื่องจักรที่เริ่มกลับมาเป็นบวกในเดือน เม.ย.
และ พ.ค.50 จากช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมาติดลบมาโดยตลอด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเตรียมขยายลงทุนของภาคเอกชน นอกจากนี้ อัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ 3.50 เป็นระดับที่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และในขณะนี้มีอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินก็เริ่ม
ปรับลดลงตามการส่งสัญญาณของ ธปท. จนส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าร้อยละ 7 แล้ว ซึ่งน่าจะ
เป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการใช้จ่ายของประชาชนให้มากขึ้น แต่ภาวะการบริโภคกลับไม่กระเตื้องขึ้น (ผู้จัดการรายวัน, บ้านเมือง, มติชน, แนวหน้า)
2. ธปท.เผยกรณีที่ดินรัชดาศาลจะตัดสินแค่ริบที่ดินตกเป็นของแผ่นดินเท่านั้น ผอส.ฝ่ายกฎหมายและคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) กล่าวถึงกรณีอัยการสูงสุดยื่นฟ้องต่อศาลให้ยึดที่ดินรัชดา 33 ไร่ และเสนอให้ริบเงินที่ได้จากการซื้อขายที่ดิน 772 ล้านบาท
ที่คุณหญิงพจมาน ชินวัตร จ่ายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินว่า คาดว่าศาลน่าจะมีการตัดสินแค่ริบที่ดินให้ตกเป็นของ
แผ่นดิน ส่วนเงินที่ได้รับจากการซื้อขายน่าจะไม่ถูกริบ อย่างไรก็ตาม หากศาลตัดสินให้ริบทั้งที่ดินและเงิน 772 ล้านบาท กองทุนฟื้นฟูฯ
ก็พร้อมจะตั้งทีมกฎหมายไปฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากคุณหญิงพจมานอีกทอดหนึ่ง เพราะประเด็นนี้ผู้ซื้อต้องพิจารณาฐานะตัวเองว่าซื้อได้
หรือไม่ ไม่ใช่ความผิดของกองทุนฟื้นฟูฯ (โพสต์ทูเดย์)
3. กรมธนารักษ์เปิดรับจองเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกและเหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ อธิบดีกรมธนารักษ์
เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธ.ค.50 ก.คลังโดยกรมธนารักษ์ได้จัดทำเหรียญกษาปณ์
ที่ระลึกและเหรียญที่ระลึก เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ โดยมีรายละเอียด
ดังนี้ ประเภทเหรียญกษาปณ์ 1) เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกทองคำ ชนิดราคา 16,000 บาท 2) เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเงิน ชนิดราคา 800 บาท
3) เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกโลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคา 20 บาท 4) เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกโลหะสองสี ชนิดราคา 10 บาท
สำหรับประเภทเหรียญที่ระลึก แบ่งเป็น 1) เหรียญที่ระลึกทองคำขัดเงา ราคาเหรียญละ 300,000 บาท 2) เหรียญที่ระลึกเงิน ราคา
600 บาท 3) เหรียญที่ระลึกทองแดงรมดำพ่นทราย ราคา 50 บาท โดยกำหนดรับจองระหว่างวันที่ 2 ก.ค.-15 ส.ค.50 สถานที่รับจอง
คือ สำนักบริหารเงินตรา สำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน สำนักกษาปณ์ ศาลาธนารักษ์ 1 ศาลาธนารักษ์ 2 สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ 75 พื้นที่
(ทุกจังหวัด) ทั่วประเทศ ธ.กรุงไทย ทุกสาขา และผ่านระบบ e-Catalog ใน www.treasury.go.th ซึ่งผู้สั่งจองจะได้รับเหรียญตั้งแต่
วันที่ 15 พ.ย.50 เป็นต้นไป ณ สถานที่รับจอง (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
4. ก.คลังเตรียมเสนอ ครม.อนุมัติลดภาษีนำเข้าสินค้า 150 รายการเหลือร้อยละ 0 รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า
ก.คลังเตรียมจะเสนอให้ ครม.พิจารณาอนุมัติปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าจำนวน 150 รายการ ในอุตสาหกรรมรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และ
อิเล็กทรอนิกส์ จากเดิมที่ต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 1-30 จะลดลงมาเหลือร้อยละ 0 เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตสินค้าในอุตสาหกรรม
ดังกล่าว ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลกได้ การปรับลดภาษีครั้งนี้ จะทำให้กรมศุลกากรสูญเสียรายได้ประมาณ
600-700 ล้านต่อปี (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
5. ดัชนีภาวะอุตสาหกรรมใน 5 เดือนแรกปี 50 ขยายตัวร้อยละ 5.06 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน รอง นรม. และ
รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้สรุปภาวะอุตสาหกรรมในช่วง 5 เดือนแรกปี 50 (ม.ค.-พ.ค.)
พบว่า ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 164.68 คิดเป็นขยายตัวร้อยตัว 5.06 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 49 ที่ดัชนีอยู่ที่ระดับ 156.75
มีการขยายตัวร้อยละ 7.86 เนื่องจากมีหลายอุตสาหกรรมที่ชะลอตัว อาทิเช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอต้นน้ำ โทรทัศน์ ปูนซีเมนต์ และเซรามิก
พลาสติก สาเหตุที่ดัชนีชะลอตัวเกิดจากตลาดในประเทศหดตัว จากปัญหาการขาดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และขีดความสามารถในการแข่งขัน
ของไทยในตลาดส่งออกเริ่มถดถอย เมื่อเทียบกับคู่แข่งที่มีต้นทุนผลิตต่ำกว่า เช่น จีน และเวียดนาม ขณะที่ ผอ. สศอ.เปิดเผยว่า ดัชนี
ผลผลิตอุตสาหกรรมประจำเดือน พ.ค.50 อยู่ที่ระดับ 168.15 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 11.25 ที่ดัชนีอยู่ที่ 151.15 และเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อนดัชนีอยู่ที่ 162.07 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.75 โดยดัชนีที่เพิ่มขึ้นมาจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับดัชนี
อุตสาหกรรมในช่วง 5 เดือนแรก (กรุงเทพธุรกิจ, แนวหน้า, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลาง สรอ.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ 5.25 ขณะที่จีดีพีในช่วงไตรมาสแรกปี 50 ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 4 ปี
รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 28 มิ.ย.50 ธ.กลาง สรอ. เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ สรอ.
ที่ระดับร้อยละ 5.25 นับเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 8 นับตั้งแต่เดือน มิ.ย.49 เป็นต้นมา โดย ธ.กลาง สรอ.ได้คลาย
ความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อ เนื่องจากตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานดีขึ้นตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก นอกจากนี้ ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า
ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของ สรอ.ในช่วงไตรมาสแรกปี 50 ขยายตัวร้อยละ 0.7 ต่ำสุดในรอบ 4 ปีนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 46
(รอยเตอร์)
2. อัตราการว่างงานของเยอรมนีในเดือน มิ.ย.50 ลดลงต่ำสุดในรอบ 12 ปี และลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 15 รายงาน
จากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.50 สำนักงานแรงงานกลางของเยอรมนี เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานของเยอรมนี
ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วในเดือน มิ.ย.50 ลดลง 37,000 คน ไปอยู่ที่ระดับ 3.82 ล้านคน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบกว่า 12 ปี และ
เป็นการลดลง 15 เดือนติดต่อกัน รวมทั้งลดลงเกือบเป็น 2 เท่า ของผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ณของสำนักข่าวรอยเตอร์ที่
คาดว่าจะลดลง 20,000 คน โดยเป็นผลมาจากการที่เศรษฐกิจขยายตัวแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องทำให้มีการจ้างงานใหม่เพิ่มขึ้น ขณะที่ตัวเลข
การว่างงานในเดือน พ.ค.50 ที่เคยรายงานว่าเพิ่มขึ้น 3,000 คน ได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นลดลง 2,000 คน ด้านนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า
การจ้างงานของเยอรมนีที่มีแนวโน้มกำลังเพิ่มขึ้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแบบยั่งยืน ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นใน
การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เศรษฐกิจของเยอรมนีที่มีขนาดใหญ่สุดในยุโรปขยายตัวร้อยละ 2.8 ในปี 49 นับเป็นอัตราการขยายตัว
สูงสุดในรอบ 6 ปี และคาดว่าในปีนี้จะขยายตัวใกล้เคียงกับปีก่อนเนื่องจากมีการใช้จ่ายในการบริโภคเพิ่มขึ้นหลังจากที่ซบเซามาเป็นเวลาหลายปี
ในขณะที่ HDE องค์กรอุตสาหกรรมการค้าปลีกของเยอรมนีคาดว่า ยอดการค้าปลีกของเยอรมนีจะขยายตัวได้ดีในปีหน้าหลังจากที่ลดลงเล็กน้อย
ในปีนี้ (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค.50 ลดลงร้อยละ 0.4 ผิดจากที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ต่อเดือน รายงาน
จากโตเกียว เมื่อ 28 มิ.ย.50 ก.เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นรายงานตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 0.4
ในเดือน พ.ค.50 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ผิดจากที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ต่อเดือน โดยส่วนใหญ่
เป็นการลดลงของผลผลิตชิ้นส่วนและเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารโทรคมนาคมอันเป็นผลจากการส่งออก
ที่ชะลอตัวลง ทำให้คาดกันว่าผลผลิตในไตรมาสที่ 2 ปีนี้จะลดลงเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากในไตรมาสแรกลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ
6 ไตรมาส แต่อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังปีนี้จากแนวโน้มที่เศรษฐกิจ สรอ.จะ
ไม่ชะลอตัวลงมากอย่างที่คาดไว้ก่อนหน้าทั้งนี้ นักวิเคราะห์ในตลาดการเงินกำลังรอดูตัวเลขอัตราเงินเฟ้อและการจ้างงานในวันที่ 29 มิ.ย.50
และผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้ผลิตโดย ธ.กลางญี่ปุ่นหรือที่เรียกว่า BOJ Tankan ในวันที่ 2 ก.ค.50 นี้ เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มว่า
ธ.กลางญี่ปุ่นจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปในเดือน ส.ค.50 ตามที่คาดไว้หรือไม่ โดย ธ.กลางญี่ปุ่นคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี
ตั้งแต่เดือน ก.พ.50 เป็นต้นมาซึ่งเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 2 หลังจากขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกเป็นร้อยละ 0.25 ต่อปีในเดือน ก.ค.49
(รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค.50 ปรับตัวลดลงตามการคาดหมาย รายงานจากโตเกียวเมื่อ 29 มิ.ย.50
ทางการญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core consumer price index) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารสดที่มีความผันผวน ของญี่ปุ่นใน
เดือน พ.ค.50 ลดลงร้อยละ 0.1 เทียบต่อปี เป็นไปตามการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ โดย Core CPI ของญี่ปุ่นได้ปรับตัวลดลงที่ระดับ
ต่ำกว่าร้อยละ 0 นับตั้งแต่เดือน ก.พ.50 เป็นต้นมา เนื่องจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม ธ.กลางญี่ปุ่นเชื่อว่า Core CPI ของ
ญี่ปุ่นจะทรงตัวในช่วงสั้นๆ และจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะยาว โดย ธ.กลางยืนยันว่าจะยังคงค่อยๆ ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายตราบเท่าที่
เศรษฐกิจยังขยายตัวดีอยู่ โดยบรรดานักวิเคราะห์ต่างคาดการณ์ว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างเร็วที่สุดในเดือน ส.ค.นี้
หลังจากที่มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดในเดือน ก.พ.50 ที่ระดับร้อยละ 0.50 นอกจากนี้ ทางการญี่ปุ่นได้เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ
ได้แก่ อัตราการว่างงานซึ่งยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 3.8 ในเดือน พ.ค.50 ขณะที่ยอดการใช้จ่ายครัวเรือนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือน
ที่ 5 ร้อยละ 0.4 เทียบต่อปี เช่นเดียวกับ ผลการสำรวจความเคลื่อนไหวของภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในเดือน มิ.ย.50 พบว่าลดลงต่อเนื่อง
เป็นเดือนที่ 5 สู่ระดับต่ำในรอบ 4 ปี เนื่องจากการใช้จ่ายภายในประเทศชะลอตัว ทำให้มูลค่าคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่
ปี 47 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29 มิ.ย. 50 28 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.538 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3245/34.6634 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.69234 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 777.68/16.37 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,550/10,650 10,500/10,600 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 66.06 66.27 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. บอร์ด ธปท.ระบุแม้เศรษฐกิจจะส่งสัญญาณฟื้นตัวในครึ่งปีหลังแต่ยังคงต้องติดตามการอุปโภคบริโภคในประเทศ เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผย
ภายหลังการประชุมคณะกรรมการ ธปท.ว่า ขณะนี้สิ่งที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือ การอุปโภคบริโภคในประเทศที่ยังฟื้นตัวช้า ทั้งที่สัญญาณ
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเริ่มมีแล้วในครึ่งปีหลัง โดยเห็นได้จากการนำเข้าสินค้าทุนประเภทเครื่องจักรที่เริ่มกลับมาเป็นบวกในเดือน เม.ย.
และ พ.ค.50 จากช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมาติดลบมาโดยตลอด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเตรียมขยายลงทุนของภาคเอกชน นอกจากนี้ อัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ 3.50 เป็นระดับที่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และในขณะนี้มีอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินก็เริ่ม
ปรับลดลงตามการส่งสัญญาณของ ธปท. จนส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าร้อยละ 7 แล้ว ซึ่งน่าจะ
เป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการใช้จ่ายของประชาชนให้มากขึ้น แต่ภาวะการบริโภคกลับไม่กระเตื้องขึ้น (ผู้จัดการรายวัน, บ้านเมือง, มติชน, แนวหน้า)
2. ธปท.เผยกรณีที่ดินรัชดาศาลจะตัดสินแค่ริบที่ดินตกเป็นของแผ่นดินเท่านั้น ผอส.ฝ่ายกฎหมายและคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) กล่าวถึงกรณีอัยการสูงสุดยื่นฟ้องต่อศาลให้ยึดที่ดินรัชดา 33 ไร่ และเสนอให้ริบเงินที่ได้จากการซื้อขายที่ดิน 772 ล้านบาท
ที่คุณหญิงพจมาน ชินวัตร จ่ายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินว่า คาดว่าศาลน่าจะมีการตัดสินแค่ริบที่ดินให้ตกเป็นของ
แผ่นดิน ส่วนเงินที่ได้รับจากการซื้อขายน่าจะไม่ถูกริบ อย่างไรก็ตาม หากศาลตัดสินให้ริบทั้งที่ดินและเงิน 772 ล้านบาท กองทุนฟื้นฟูฯ
ก็พร้อมจะตั้งทีมกฎหมายไปฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากคุณหญิงพจมานอีกทอดหนึ่ง เพราะประเด็นนี้ผู้ซื้อต้องพิจารณาฐานะตัวเองว่าซื้อได้
หรือไม่ ไม่ใช่ความผิดของกองทุนฟื้นฟูฯ (โพสต์ทูเดย์)
3. กรมธนารักษ์เปิดรับจองเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกและเหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ อธิบดีกรมธนารักษ์
เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธ.ค.50 ก.คลังโดยกรมธนารักษ์ได้จัดทำเหรียญกษาปณ์
ที่ระลึกและเหรียญที่ระลึก เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ โดยมีรายละเอียด
ดังนี้ ประเภทเหรียญกษาปณ์ 1) เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกทองคำ ชนิดราคา 16,000 บาท 2) เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเงิน ชนิดราคา 800 บาท
3) เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกโลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคา 20 บาท 4) เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกโลหะสองสี ชนิดราคา 10 บาท
สำหรับประเภทเหรียญที่ระลึก แบ่งเป็น 1) เหรียญที่ระลึกทองคำขัดเงา ราคาเหรียญละ 300,000 บาท 2) เหรียญที่ระลึกเงิน ราคา
600 บาท 3) เหรียญที่ระลึกทองแดงรมดำพ่นทราย ราคา 50 บาท โดยกำหนดรับจองระหว่างวันที่ 2 ก.ค.-15 ส.ค.50 สถานที่รับจอง
คือ สำนักบริหารเงินตรา สำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน สำนักกษาปณ์ ศาลาธนารักษ์ 1 ศาลาธนารักษ์ 2 สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ 75 พื้นที่
(ทุกจังหวัด) ทั่วประเทศ ธ.กรุงไทย ทุกสาขา และผ่านระบบ e-Catalog ใน www.treasury.go.th ซึ่งผู้สั่งจองจะได้รับเหรียญตั้งแต่
วันที่ 15 พ.ย.50 เป็นต้นไป ณ สถานที่รับจอง (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
4. ก.คลังเตรียมเสนอ ครม.อนุมัติลดภาษีนำเข้าสินค้า 150 รายการเหลือร้อยละ 0 รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า
ก.คลังเตรียมจะเสนอให้ ครม.พิจารณาอนุมัติปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าจำนวน 150 รายการ ในอุตสาหกรรมรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และ
อิเล็กทรอนิกส์ จากเดิมที่ต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 1-30 จะลดลงมาเหลือร้อยละ 0 เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตสินค้าในอุตสาหกรรม
ดังกล่าว ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลกได้ การปรับลดภาษีครั้งนี้ จะทำให้กรมศุลกากรสูญเสียรายได้ประมาณ
600-700 ล้านต่อปี (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
5. ดัชนีภาวะอุตสาหกรรมใน 5 เดือนแรกปี 50 ขยายตัวร้อยละ 5.06 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน รอง นรม. และ
รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้สรุปภาวะอุตสาหกรรมในช่วง 5 เดือนแรกปี 50 (ม.ค.-พ.ค.)
พบว่า ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 164.68 คิดเป็นขยายตัวร้อยตัว 5.06 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 49 ที่ดัชนีอยู่ที่ระดับ 156.75
มีการขยายตัวร้อยละ 7.86 เนื่องจากมีหลายอุตสาหกรรมที่ชะลอตัว อาทิเช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอต้นน้ำ โทรทัศน์ ปูนซีเมนต์ และเซรามิก
พลาสติก สาเหตุที่ดัชนีชะลอตัวเกิดจากตลาดในประเทศหดตัว จากปัญหาการขาดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และขีดความสามารถในการแข่งขัน
ของไทยในตลาดส่งออกเริ่มถดถอย เมื่อเทียบกับคู่แข่งที่มีต้นทุนผลิตต่ำกว่า เช่น จีน และเวียดนาม ขณะที่ ผอ. สศอ.เปิดเผยว่า ดัชนี
ผลผลิตอุตสาหกรรมประจำเดือน พ.ค.50 อยู่ที่ระดับ 168.15 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 11.25 ที่ดัชนีอยู่ที่ 151.15 และเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อนดัชนีอยู่ที่ 162.07 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.75 โดยดัชนีที่เพิ่มขึ้นมาจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับดัชนี
อุตสาหกรรมในช่วง 5 เดือนแรก (กรุงเทพธุรกิจ, แนวหน้า, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลาง สรอ.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ 5.25 ขณะที่จีดีพีในช่วงไตรมาสแรกปี 50 ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 4 ปี
รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 28 มิ.ย.50 ธ.กลาง สรอ. เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ สรอ.
ที่ระดับร้อยละ 5.25 นับเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 8 นับตั้งแต่เดือน มิ.ย.49 เป็นต้นมา โดย ธ.กลาง สรอ.ได้คลาย
ความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อ เนื่องจากตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานดีขึ้นตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก นอกจากนี้ ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า
ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของ สรอ.ในช่วงไตรมาสแรกปี 50 ขยายตัวร้อยละ 0.7 ต่ำสุดในรอบ 4 ปีนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 46
(รอยเตอร์)
2. อัตราการว่างงานของเยอรมนีในเดือน มิ.ย.50 ลดลงต่ำสุดในรอบ 12 ปี และลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 15 รายงาน
จากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.50 สำนักงานแรงงานกลางของเยอรมนี เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานของเยอรมนี
ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วในเดือน มิ.ย.50 ลดลง 37,000 คน ไปอยู่ที่ระดับ 3.82 ล้านคน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบกว่า 12 ปี และ
เป็นการลดลง 15 เดือนติดต่อกัน รวมทั้งลดลงเกือบเป็น 2 เท่า ของผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ณของสำนักข่าวรอยเตอร์ที่
คาดว่าจะลดลง 20,000 คน โดยเป็นผลมาจากการที่เศรษฐกิจขยายตัวแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องทำให้มีการจ้างงานใหม่เพิ่มขึ้น ขณะที่ตัวเลข
การว่างงานในเดือน พ.ค.50 ที่เคยรายงานว่าเพิ่มขึ้น 3,000 คน ได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นลดลง 2,000 คน ด้านนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า
การจ้างงานของเยอรมนีที่มีแนวโน้มกำลังเพิ่มขึ้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแบบยั่งยืน ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นใน
การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เศรษฐกิจของเยอรมนีที่มีขนาดใหญ่สุดในยุโรปขยายตัวร้อยละ 2.8 ในปี 49 นับเป็นอัตราการขยายตัว
สูงสุดในรอบ 6 ปี และคาดว่าในปีนี้จะขยายตัวใกล้เคียงกับปีก่อนเนื่องจากมีการใช้จ่ายในการบริโภคเพิ่มขึ้นหลังจากที่ซบเซามาเป็นเวลาหลายปี
ในขณะที่ HDE องค์กรอุตสาหกรรมการค้าปลีกของเยอรมนีคาดว่า ยอดการค้าปลีกของเยอรมนีจะขยายตัวได้ดีในปีหน้าหลังจากที่ลดลงเล็กน้อย
ในปีนี้ (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค.50 ลดลงร้อยละ 0.4 ผิดจากที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ต่อเดือน รายงาน
จากโตเกียว เมื่อ 28 มิ.ย.50 ก.เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นรายงานตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 0.4
ในเดือน พ.ค.50 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ผิดจากที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ต่อเดือน โดยส่วนใหญ่
เป็นการลดลงของผลผลิตชิ้นส่วนและเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารโทรคมนาคมอันเป็นผลจากการส่งออก
ที่ชะลอตัวลง ทำให้คาดกันว่าผลผลิตในไตรมาสที่ 2 ปีนี้จะลดลงเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากในไตรมาสแรกลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ
6 ไตรมาส แต่อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังปีนี้จากแนวโน้มที่เศรษฐกิจ สรอ.จะ
ไม่ชะลอตัวลงมากอย่างที่คาดไว้ก่อนหน้าทั้งนี้ นักวิเคราะห์ในตลาดการเงินกำลังรอดูตัวเลขอัตราเงินเฟ้อและการจ้างงานในวันที่ 29 มิ.ย.50
และผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้ผลิตโดย ธ.กลางญี่ปุ่นหรือที่เรียกว่า BOJ Tankan ในวันที่ 2 ก.ค.50 นี้ เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มว่า
ธ.กลางญี่ปุ่นจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปในเดือน ส.ค.50 ตามที่คาดไว้หรือไม่ โดย ธ.กลางญี่ปุ่นคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี
ตั้งแต่เดือน ก.พ.50 เป็นต้นมาซึ่งเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 2 หลังจากขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกเป็นร้อยละ 0.25 ต่อปีในเดือน ก.ค.49
(รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค.50 ปรับตัวลดลงตามการคาดหมาย รายงานจากโตเกียวเมื่อ 29 มิ.ย.50
ทางการญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core consumer price index) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารสดที่มีความผันผวน ของญี่ปุ่นใน
เดือน พ.ค.50 ลดลงร้อยละ 0.1 เทียบต่อปี เป็นไปตามการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ โดย Core CPI ของญี่ปุ่นได้ปรับตัวลดลงที่ระดับ
ต่ำกว่าร้อยละ 0 นับตั้งแต่เดือน ก.พ.50 เป็นต้นมา เนื่องจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม ธ.กลางญี่ปุ่นเชื่อว่า Core CPI ของ
ญี่ปุ่นจะทรงตัวในช่วงสั้นๆ และจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะยาว โดย ธ.กลางยืนยันว่าจะยังคงค่อยๆ ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายตราบเท่าที่
เศรษฐกิจยังขยายตัวดีอยู่ โดยบรรดานักวิเคราะห์ต่างคาดการณ์ว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างเร็วที่สุดในเดือน ส.ค.นี้
หลังจากที่มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดในเดือน ก.พ.50 ที่ระดับร้อยละ 0.50 นอกจากนี้ ทางการญี่ปุ่นได้เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ
ได้แก่ อัตราการว่างงานซึ่งยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 3.8 ในเดือน พ.ค.50 ขณะที่ยอดการใช้จ่ายครัวเรือนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือน
ที่ 5 ร้อยละ 0.4 เทียบต่อปี เช่นเดียวกับ ผลการสำรวจความเคลื่อนไหวของภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในเดือน มิ.ย.50 พบว่าลดลงต่อเนื่อง
เป็นเดือนที่ 5 สู่ระดับต่ำในรอบ 4 ปี เนื่องจากการใช้จ่ายภายในประเทศชะลอตัว ทำให้มูลค่าคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่
ปี 47 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29 มิ.ย. 50 28 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.538 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3245/34.6634 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.69234 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 777.68/16.37 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,550/10,650 10,500/10,600 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 66.06 66.27 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--