กรุงเทพ--11 ก.ค--กระทรวงการต่างประเทศ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงวางพวงมาลา ณ สุสานฝังพระบรมศพพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ และทอดพระเนตรสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ในนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
ในวันที่สามของการเสด็จพระราชดำเนินเยือนนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก สหพันธรัฐรัสเซีย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปยังป้อมปีเตอร์และปอล (The Peter and Paul Fortress) เพื่อทรงวางพวงมาลา ณ ที่ฝัง พระบรมศพพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ พระสหายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ป้อมปีเตอร์และปอล ตั้งอยู่บนเกาะฮาเรกลางแม่น้ำเนวา สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิปีเตอร์ที่ ๑ มหาราช ในช่วงเดียวกับที่ทรงเริ่มสร้างนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเมื่อ ๓๐๐ ปีเศษมาแล้ว เดิมป้อมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นปราการป้องกันข้าศึกจากทะเลเหนือ ในบริเวณป้อมมีโบสถ์ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสุสานที่ฝังพระบรมศพกษัตริย์ในราชวงศ์โรมานอฟเกือบทุกพระองค์ ในปัจจุบันนี้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์
สิ่งสำคัญในโบสถ์ที่ป้อมปีเตอร์และพอลที่ได้ทอดพระเนตร มีอาทิ แท่นบูชาไม้แกะสลักด้วยมือ ทาทองที่ฝัง พระบรมศพของสมเด็จพระจักรพรรดิปีเตอร์ที่ ๑ มหาราช ผู้ทรงสถาปนานครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก สมเด็จพระจักรพรรดินีแคธริน มหาราชินี สมเด็จพระจักรพรรดิมาเรีย เฟโอโดรอฟนา ซึ่งเป็นพระราชมารดาของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ และ เคยได้ทรงช่วยดูแลเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงเสด็จมาศึกษาวิชาการทหารที่รัสเซีย รวมทั้งพระบรมศพของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ กษัตริย์โรมานอฟองค์สุดท้าย พระสหายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ถูกปลงพระชนม์เมื่อปี ๑๙๑๘ (๒๔๖๑) ภายหลังการปฏิวัติรัสเซีย และต่อมาภายหลังเมื่อสหภาพโซเวียตได้เปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นสหพันธรัฐรัสเซียแล้ว ชาวนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กได้ลงประชามติให้อัญเชิญพระบรมศพของพระองค์มาฝังไว้ที่นี้เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๑๙๙๘ (๒๕๔๑) หลังจากสิ้นพระชนม์ไปแล้ว ๘๐ ปีเต็ม
เวลา ๑๑.๐๐ น.สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งถึงยังป้อมปีเตอร์และพอล ทอดพระเนตรโบสถ์ในบริเวณป้อม ทรงวางพวงมาลา ณ ที่ฝังพระบรมศพของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ ในโบสถ์ดังกล่าว ประทับยืนไว้อาลัยแก่พระราชสหายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ได้ทรงร่วมวางรากฐานความสัมพันธ์ไทย-รัสเซีย ด้วยการรับเสด็จสมเด็จพระปิยมหาราชอย่างใกล้ชิดสนิทสนมที่นครนี้เมื่อ ๑๑๐ ปีที่แล้ว
เวลา ๑๑.๔๐ น.ตามเวลาท้องถิ่น สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรเรือรบหลวงออโรรา โดยผู้บัญชาการเรือรบหลวงออโรรา และผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์เรือรบหลวงออโรรา เฝ้าฯ รับเสด็จ และนำเสด็จพระราชดำเนินไปยังหัวเรือและชั้นล่างของเรือ เพื่อทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์ในเรือและนิทรรศการพิเศษเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างไทย- รัสเซีย
เรือรบหลวงออโรราลำนี้สร้างในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยร่วมสู้รบในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น เมื่อ ๒๔๔๘ (๑๙๐๕) และเคยเดินทางไปยังสยามเมื่อปี ๒๔๖๐ เพื่อเข้าร่วมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในเรือจึงมีสิ่งของพระราชทานในรัชกาลที่ ๖ ด้วย ปัจจุบันเรือรบหลวงออโรราได้ทอดสมอประจำอยู่ที่ท่าริม แม่น้ำเนวาและกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์นาวี มีห้องจัดแสดงเล่าประวัติของเรือ ๖ ห้อง ซึ่งในระหว่างที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เยือนรัสเซีย ระหว่างวันที่ ๑๕-๒๓ พฤษภาคม ๒๕๓๒ ก็ได้ทอดพระเนตรเรือลำนี้และพระราชทานโล่ที่ระลึกประทับพระนามาภิไธยย่อ ม.ว.ก. ให้พิพิธภัณฑ์ด้วย
ในช่วงบ่ายเวลา ๑๕๓๐ น. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปยังพิพิธภัณฑ์เฮอร์มิเทจ (The State Hermitage Museum) มีนายมิคาอิล บอริโซวิช ปิออโตรฟสกี้ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ และนำเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรห้องต่างๆ ภายในพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์เฮอร์มิเทจ เดิมเป็นพระราชวังฤดูหนาวของราชวงศ์โรมานอฟ ปัจจุบันกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดและใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของรัสเซียและของโลกด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้ทอดพระเนตรประติมากรรมกรีกและโรมันโบราณในห้องแสดงประติมากรรมและเครื่องประดับ ศิลปวัตถุต่างๆ ในห้องแสดงเครื่องเงิน เครื่องทอง และเครื่องอัญมณี ท้องพระโรงพระเจ้าปีเตอร์ที่ ๑ มหาราช จิตรกรรมบนฝาผนังและเพดาน รวมทั้งห้องศาสตราวุธ
สิ่งที่น่าสนใจที่ทางพิพิธภัณฑ์นำมาถวายให้ทอดพระเนตรชุดหนึ่ง คือ เชิงเทียนคู่รูปหงส์และพานแว่นฟ้า ๒ ชั้นรูปหงส์ ซึ่งเป็นของที่ระลึกพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ แก่พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ เมื่อครั้งที่ทรงดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารรัสเซียและเสด็จฯ ไปเยือนสยามเมื่อปี ๒๔๓๔
นอกจากนั้น ยังได้ทอดพระเนตรนาฬิกามยุรา ฝีมือนายเจมส์ คอกซ์ ช่างนาฬิกาชาวอังกฤษ ซึ่งติดตั้งอยู่ที่พระราชวังฤดูหนาวนี้ตั้งแต่ปี ๑๗๘๑ นับเป็นนาฬิกาสมัยศตวรรษที่ ๑๘ ที่มีกลไกที่ยังทำงานได้สมบูรณ์ที่สุดชิ้นหนึ่งที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อถึงเวลาที่กำหนด กลไกนาฬิกาจะทำให้นกยูงโลหะบนนาฬิกากางปีกและรำแพน และรูปปั้นไก่ที่อยู่บนนาฬิกาก็จะโก่งคอขันด้วย
ก่อนเสด็จฯ ออกจากพิพิธภัณฑ์ เฮอร์มิเตจ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้ทอดพระเนตรห้องแสดงภาพเกี่ยวกับสงครามที่รัสเซียมีชัยชนะเหนือนโปเลียนของฝรั่งเศสในปี ๑๘๑๒ และทรงลงพระปรมาภิไธยในสมุดเยี่ยมของพิพิธภัณฑ์ ในระหว่างที่ประทับในพิพิธภัณฑ์นั้น ประธานธิบดีปูตินแห่งรัสเซียได้โทรศัพท์มาหานายยูริ โควาชุก กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ของไทยประจำนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เพื่อขอพระราชทานพระราชวโรกาสกราบทูลสนทนา และได้ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับประธานาธิบดีด้วย
ในช่วงค่ำ เวลา ๒๑๐๐ น. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระราชวังคอนสแตนติน (Konstantinovskiy Palace) เพื่อทรงร่วมงานถวายเลี้ยงพระกระยาหารค่ำที่นายยูริ โควาล ชุก กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ของไทยประจำนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก จัดถวาย โดยมีนางวาเลนตินา มัทวีเยนโก ผู้ว่าการนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ร่วมในโต๊ะเสวยด้วย ในโอกาสนี้ กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ได้กราบบังคมทูลว่า นายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ได้สั่งการด้วยตนเองให้ส่งคณะ นาฏศิลป์รัสเซียของสำนักประธานาธิบดีมาแสดงถวายให้ทอดพระเนตร เป็นการเต้นระบำพื้นเมืองรัสเซีย แสดงโดยเด็กสาวที่เป็นสัญลักษณ์ของความสดใส สวมชุดสีแดงอันมี ความหมายถึงความสง่างาม และถือกิ่งดอกเบโรซ่า ซึ่งถือว่าเป็นดอกไม้ประจำชาติรัสเซีย
นอกจากนั้น ประธานาธิบดียังได้มอบหมายให้กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรูปจำลองของโบสถ์รัสเซียออโธดอกซ์ เป็นของที่ระลึกแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงวางพวงมาลา ณ สุสานฝังพระบรมศพพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ และทอดพระเนตรสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ในนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
ในวันที่สามของการเสด็จพระราชดำเนินเยือนนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก สหพันธรัฐรัสเซีย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปยังป้อมปีเตอร์และปอล (The Peter and Paul Fortress) เพื่อทรงวางพวงมาลา ณ ที่ฝัง พระบรมศพพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ พระสหายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ป้อมปีเตอร์และปอล ตั้งอยู่บนเกาะฮาเรกลางแม่น้ำเนวา สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิปีเตอร์ที่ ๑ มหาราช ในช่วงเดียวกับที่ทรงเริ่มสร้างนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเมื่อ ๓๐๐ ปีเศษมาแล้ว เดิมป้อมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นปราการป้องกันข้าศึกจากทะเลเหนือ ในบริเวณป้อมมีโบสถ์ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสุสานที่ฝังพระบรมศพกษัตริย์ในราชวงศ์โรมานอฟเกือบทุกพระองค์ ในปัจจุบันนี้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์
สิ่งสำคัญในโบสถ์ที่ป้อมปีเตอร์และพอลที่ได้ทอดพระเนตร มีอาทิ แท่นบูชาไม้แกะสลักด้วยมือ ทาทองที่ฝัง พระบรมศพของสมเด็จพระจักรพรรดิปีเตอร์ที่ ๑ มหาราช ผู้ทรงสถาปนานครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก สมเด็จพระจักรพรรดินีแคธริน มหาราชินี สมเด็จพระจักรพรรดิมาเรีย เฟโอโดรอฟนา ซึ่งเป็นพระราชมารดาของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ และ เคยได้ทรงช่วยดูแลเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงเสด็จมาศึกษาวิชาการทหารที่รัสเซีย รวมทั้งพระบรมศพของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ กษัตริย์โรมานอฟองค์สุดท้าย พระสหายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ถูกปลงพระชนม์เมื่อปี ๑๙๑๘ (๒๔๖๑) ภายหลังการปฏิวัติรัสเซีย และต่อมาภายหลังเมื่อสหภาพโซเวียตได้เปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นสหพันธรัฐรัสเซียแล้ว ชาวนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กได้ลงประชามติให้อัญเชิญพระบรมศพของพระองค์มาฝังไว้ที่นี้เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๑๙๙๘ (๒๕๔๑) หลังจากสิ้นพระชนม์ไปแล้ว ๘๐ ปีเต็ม
เวลา ๑๑.๐๐ น.สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งถึงยังป้อมปีเตอร์และพอล ทอดพระเนตรโบสถ์ในบริเวณป้อม ทรงวางพวงมาลา ณ ที่ฝังพระบรมศพของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ ในโบสถ์ดังกล่าว ประทับยืนไว้อาลัยแก่พระราชสหายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ได้ทรงร่วมวางรากฐานความสัมพันธ์ไทย-รัสเซีย ด้วยการรับเสด็จสมเด็จพระปิยมหาราชอย่างใกล้ชิดสนิทสนมที่นครนี้เมื่อ ๑๑๐ ปีที่แล้ว
เวลา ๑๑.๔๐ น.ตามเวลาท้องถิ่น สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรเรือรบหลวงออโรรา โดยผู้บัญชาการเรือรบหลวงออโรรา และผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์เรือรบหลวงออโรรา เฝ้าฯ รับเสด็จ และนำเสด็จพระราชดำเนินไปยังหัวเรือและชั้นล่างของเรือ เพื่อทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์ในเรือและนิทรรศการพิเศษเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างไทย- รัสเซีย
เรือรบหลวงออโรราลำนี้สร้างในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยร่วมสู้รบในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น เมื่อ ๒๔๔๘ (๑๙๐๕) และเคยเดินทางไปยังสยามเมื่อปี ๒๔๖๐ เพื่อเข้าร่วมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในเรือจึงมีสิ่งของพระราชทานในรัชกาลที่ ๖ ด้วย ปัจจุบันเรือรบหลวงออโรราได้ทอดสมอประจำอยู่ที่ท่าริม แม่น้ำเนวาและกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์นาวี มีห้องจัดแสดงเล่าประวัติของเรือ ๖ ห้อง ซึ่งในระหว่างที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เยือนรัสเซีย ระหว่างวันที่ ๑๕-๒๓ พฤษภาคม ๒๕๓๒ ก็ได้ทอดพระเนตรเรือลำนี้และพระราชทานโล่ที่ระลึกประทับพระนามาภิไธยย่อ ม.ว.ก. ให้พิพิธภัณฑ์ด้วย
ในช่วงบ่ายเวลา ๑๕๓๐ น. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปยังพิพิธภัณฑ์เฮอร์มิเทจ (The State Hermitage Museum) มีนายมิคาอิล บอริโซวิช ปิออโตรฟสกี้ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ และนำเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรห้องต่างๆ ภายในพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์เฮอร์มิเทจ เดิมเป็นพระราชวังฤดูหนาวของราชวงศ์โรมานอฟ ปัจจุบันกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดและใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของรัสเซียและของโลกด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้ทอดพระเนตรประติมากรรมกรีกและโรมันโบราณในห้องแสดงประติมากรรมและเครื่องประดับ ศิลปวัตถุต่างๆ ในห้องแสดงเครื่องเงิน เครื่องทอง และเครื่องอัญมณี ท้องพระโรงพระเจ้าปีเตอร์ที่ ๑ มหาราช จิตรกรรมบนฝาผนังและเพดาน รวมทั้งห้องศาสตราวุธ
สิ่งที่น่าสนใจที่ทางพิพิธภัณฑ์นำมาถวายให้ทอดพระเนตรชุดหนึ่ง คือ เชิงเทียนคู่รูปหงส์และพานแว่นฟ้า ๒ ชั้นรูปหงส์ ซึ่งเป็นของที่ระลึกพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ แก่พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ เมื่อครั้งที่ทรงดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารรัสเซียและเสด็จฯ ไปเยือนสยามเมื่อปี ๒๔๓๔
นอกจากนั้น ยังได้ทอดพระเนตรนาฬิกามยุรา ฝีมือนายเจมส์ คอกซ์ ช่างนาฬิกาชาวอังกฤษ ซึ่งติดตั้งอยู่ที่พระราชวังฤดูหนาวนี้ตั้งแต่ปี ๑๗๘๑ นับเป็นนาฬิกาสมัยศตวรรษที่ ๑๘ ที่มีกลไกที่ยังทำงานได้สมบูรณ์ที่สุดชิ้นหนึ่งที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อถึงเวลาที่กำหนด กลไกนาฬิกาจะทำให้นกยูงโลหะบนนาฬิกากางปีกและรำแพน และรูปปั้นไก่ที่อยู่บนนาฬิกาก็จะโก่งคอขันด้วย
ก่อนเสด็จฯ ออกจากพิพิธภัณฑ์ เฮอร์มิเตจ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้ทอดพระเนตรห้องแสดงภาพเกี่ยวกับสงครามที่รัสเซียมีชัยชนะเหนือนโปเลียนของฝรั่งเศสในปี ๑๘๑๒ และทรงลงพระปรมาภิไธยในสมุดเยี่ยมของพิพิธภัณฑ์ ในระหว่างที่ประทับในพิพิธภัณฑ์นั้น ประธานธิบดีปูตินแห่งรัสเซียได้โทรศัพท์มาหานายยูริ โควาชุก กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ของไทยประจำนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เพื่อขอพระราชทานพระราชวโรกาสกราบทูลสนทนา และได้ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับประธานาธิบดีด้วย
ในช่วงค่ำ เวลา ๒๑๐๐ น. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระราชวังคอนสแตนติน (Konstantinovskiy Palace) เพื่อทรงร่วมงานถวายเลี้ยงพระกระยาหารค่ำที่นายยูริ โควาล ชุก กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ของไทยประจำนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก จัดถวาย โดยมีนางวาเลนตินา มัทวีเยนโก ผู้ว่าการนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ร่วมในโต๊ะเสวยด้วย ในโอกาสนี้ กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ได้กราบบังคมทูลว่า นายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ได้สั่งการด้วยตนเองให้ส่งคณะ นาฏศิลป์รัสเซียของสำนักประธานาธิบดีมาแสดงถวายให้ทอดพระเนตร เป็นการเต้นระบำพื้นเมืองรัสเซีย แสดงโดยเด็กสาวที่เป็นสัญลักษณ์ของความสดใส สวมชุดสีแดงอันมี ความหมายถึงความสง่างาม และถือกิ่งดอกเบโรซ่า ซึ่งถือว่าเป็นดอกไม้ประจำชาติรัสเซีย
นอกจากนั้น ประธานาธิบดียังได้มอบหมายให้กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรูปจำลองของโบสถ์รัสเซียออโธดอกซ์ เป็นของที่ระลึกแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-