ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกชี้แจงคณะทูตต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ กรณีเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2549
เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2550 นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมด้วย พล.อ. สพรั่ง กัลยาณมิตร และ พล.อ. อนุพงศ์ เผ่าจินดา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ชี้แจงคณะทูตและองค์การระหว่างประเทศในไทยเกี่ยวกับเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2549 โดยมีผู้เข้าร่วมจากสถานเอกอัครราชทูต 62 ประเทศ โดยเป็นระดับเอกอัครราชทูตจาก 23 ประเทศ และผู้แทนระดับสูงจากองค์การระหว่างประเทศ 19 คนจาก 14 องค์การ
ภายหลังการชี้แจง นายกิตติ วสีนนท์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงสรุปสาระการชี้แจง ดังนี้
1. ปลัดกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า สืบเนื่องจากรายงานข่าวสถานการณ์ที่เกิดขึ้นยังมีความสับสน และมีการคาดเดาในสิ่งที่เกิดขึ้น ดังนั้น การชี้แจงในวันนี้เพื่อเป็นการทำความเข้าใจให้ถูกต้องตรงกันทุกฝ่าย พร้อมทั้งเป็นการย้ำในสิ่งที่รัฐบาลได้ทำไปแล้ว และเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ
2. ปลัดกระทรวงฯ กล่าวแสดงความเสียใจในกรณีที่มีชาวต่างชาติ 9 คนได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ระเบิด ซึ่งมีเพียง 2 รายที่ยังต้องรับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล
3. สำหรับผู้ที่อยู่เบื้องหลังการลอบวางระเบิด ปลัดกระทรวงการต่างประเทศกล่าวถึงคำแถลงของนายกรัฐมนตรีที่ว่า “ผู้ที่ก่อเหตุร้ายเป็นผู้ที่ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมือง และเป็นผู้ที่ทำงานเพื่อมุ่งหวังที่จะให้เกิดผลกระทบทางการเมืองโดยที่ผู้กระทำนั้นได้มุ่งจะสร้างความระส่ำระสายให้เกิดขึ้น บุคคลเหล่านี้สมควรถูกประฌามว่าทำโดยไม่ได้คำนึงถึงชีวิตและความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะในช่วงของวันที่จะผ่านไปสู่วันปีใหม่นั้น ผู้คนทั้งหลายก็มุ่งที่จะหาความสุข หาความสำราญกัน โดยผู้กระทำนั้นพยายามที่จะสร้างความรู้สึกให้กับประชาชนว่า เรามีความไม่มั่นคงทางการเมือง”
4. ปลัดกระทรวงฯ แจ้งให้คณะทูตและผู้แทนองค์การระหว่างประเทศทราบว่า มีรายงานบ่งชี้จากแหล่งข่าวกรองว่า เป็นการกระทำของผู้เสียประโยชน์ทางการเมือง ส่วนความเชื่อมโยงกับสถานการณ์ทางภาคใต้ไม่น่าจะเป็นไปได้
5. สำหรับการสืบสวนคงเน้นจากหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์และจากกล้องวงจรปิด
6. ในการชี้แจง ปลัดกระทรวงฯ ได้อธิบายถึงมาตรการที่รัฐบาลได้ดำเนินการแล้ว โดยได้หารือกับหน่วยงานความมั่นคง ดังนี้
6.1 รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้เสียชีวิต และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ โดยรัฐบาลจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล พร้อมทั้งเงินช่วยเหลือแก่ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บทุกราย
6.2 หน่วยงานความมั่นคงทั้งหมดจะต้องเพิ่มมาตรการป้องกันและป้องปรามในการรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดในลักษณะที่คล้ายกันที่อาจเกิดขึ้น โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน หรือ กอรมน. จะเป็นหน่วยงานหลักที่จะรับผิดชอบในการรวบรวมข้อมูล ชี้แจงและทำความเข้าใจกับประชาชน และควบคุมการปฏิบัตงานของหน่วยงานด้านความมั่นคงทั้งหมด
6.3 รัฐบาลกำลังดำเนินการเพื่อให้เกิดความรู้สึกระแวดระวังในหน่วยงานต่างๆ และประชาชนโดยทั่วไป ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานในแต่ละจังหวัดเพิ่มความระมัดระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด อีกทั้งได้ขอความร่วมมือจากประชาชนในการเฝ้าระวังและรายงานเหตุการณ์ต้องสงสัยไปที่ กอรมน.
6.4 รัฐบาลจะแจ้งให้ประชาชนทราบถึงความคืบหน้าของคดีนี้
6.5 รัฐบาลยังคงยึดมั่นในการเสริมสร้างความสมานฉันท์ และความปรองดองของคนในชาติ เหตุระเบิดนี้จะไม่กระทบต่อการดำเนินการดังกล่าว รวมถึงการดำเนินการปฏิรูปทางการเมืองตามกรอบเวลาที่รัฐบาลได้วางไว้ โดยเฉพาะการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งจะนำไปสู่การเลือกตั้งที่เป็นอิสระ และยุติธรรม
7. รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการอื่นๆ ด้วย ได้แก่
7.1 เพิ่มมาตรการความปลอดภัยที่สนามบิน
7.2 เพิ่มเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยตามที่สาธารณะ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยว
7.3 เพิ่มการรักษาความปลอดภัยแก่สถานเอกอัครราชทูตต่างๆ ในกรุงเทพฯ หากได้รับการร้องขอ
7.4 เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการด้านข่าวกรอง
7.5 ใช้กล้องวงจรปิดให้มากขึ้น
7.6 จัดตั้งหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน
7.7 ให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้นในการให้ข่าวสารและแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ให้ทราบ
8. ปลัดกระทรวงฯ ได้ขอบคุณรัฐบาลของประเทศต่างๆ และองค์การระหว่างประเทศ ที่แสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันโดยแสดงความเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น
9. นายกิตติ วสีนนท์ ได้ตอบคำถามผู้สื่อข่าวในประเด็นต่างๆ ดังนี้
9.1 กระบวนการการพิจารณาการยกเลิกกฎอัยการศึกจะไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ระเบิดที่เกิดขึ้น
9.2 รัฐบาลจะแจ้งให้ประชาชนทราบถึงผลการสืบสวนเหตุการณ์ลอบวางระเบิดนี้เมื่อแล้วเสร็จ
9.3 ทางการได้ทราบรายงานข่าวกรองล่วงหน้าว่า จะมีการก่อกวน แต่ไม่มีข้อมูลว่าจะเป็นในรูปแบบใด เวลาไหน
9.4 การเกี่ยวพันกับสถานการณ์ความรุนแรงทางภาคใต้ แม้ว่าการระเบิดจะมีลักษณะคล้ายกับระเบิดในจังหวัดชายแดนภาคตใต้ แต่จากการตรวจสอบหลักฐานต่างๆ ไม่ปรากฎข้อมูลทางนิติวิทยาศาสต์และหลักฐานอื่นๆ ว่า จะมีส่วนเกี่ยวข้องกันระหว่างเหตุการณ์ระเบิดในกรุงเทพฯ และภาคใต้ของไทย กล่าวคือ การลอบวางระเบิดทางภาคใต้มีเป้าประสงค์ที่จะมุ่งต่อชีวิต ในขณะที่การลอบวางระเบิดในกรุงเทพฯ มีเป้าประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความวุ่นวาย มากกว่าการสูญเสียชีวิต
9.5 เหตุระเบิดจะไม่มีผลกระทบต่อการร่างรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง กระบวนการทั้งสองยังคงดำเนินการไปตามกรอบเวลาที่รัฐบาลปัจจุบันได้วางไว้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-
เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2550 นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมด้วย พล.อ. สพรั่ง กัลยาณมิตร และ พล.อ. อนุพงศ์ เผ่าจินดา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ชี้แจงคณะทูตและองค์การระหว่างประเทศในไทยเกี่ยวกับเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2549 โดยมีผู้เข้าร่วมจากสถานเอกอัครราชทูต 62 ประเทศ โดยเป็นระดับเอกอัครราชทูตจาก 23 ประเทศ และผู้แทนระดับสูงจากองค์การระหว่างประเทศ 19 คนจาก 14 องค์การ
ภายหลังการชี้แจง นายกิตติ วสีนนท์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงสรุปสาระการชี้แจง ดังนี้
1. ปลัดกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า สืบเนื่องจากรายงานข่าวสถานการณ์ที่เกิดขึ้นยังมีความสับสน และมีการคาดเดาในสิ่งที่เกิดขึ้น ดังนั้น การชี้แจงในวันนี้เพื่อเป็นการทำความเข้าใจให้ถูกต้องตรงกันทุกฝ่าย พร้อมทั้งเป็นการย้ำในสิ่งที่รัฐบาลได้ทำไปแล้ว และเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ
2. ปลัดกระทรวงฯ กล่าวแสดงความเสียใจในกรณีที่มีชาวต่างชาติ 9 คนได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ระเบิด ซึ่งมีเพียง 2 รายที่ยังต้องรับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล
3. สำหรับผู้ที่อยู่เบื้องหลังการลอบวางระเบิด ปลัดกระทรวงการต่างประเทศกล่าวถึงคำแถลงของนายกรัฐมนตรีที่ว่า “ผู้ที่ก่อเหตุร้ายเป็นผู้ที่ไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมือง และเป็นผู้ที่ทำงานเพื่อมุ่งหวังที่จะให้เกิดผลกระทบทางการเมืองโดยที่ผู้กระทำนั้นได้มุ่งจะสร้างความระส่ำระสายให้เกิดขึ้น บุคคลเหล่านี้สมควรถูกประฌามว่าทำโดยไม่ได้คำนึงถึงชีวิตและความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะในช่วงของวันที่จะผ่านไปสู่วันปีใหม่นั้น ผู้คนทั้งหลายก็มุ่งที่จะหาความสุข หาความสำราญกัน โดยผู้กระทำนั้นพยายามที่จะสร้างความรู้สึกให้กับประชาชนว่า เรามีความไม่มั่นคงทางการเมือง”
4. ปลัดกระทรวงฯ แจ้งให้คณะทูตและผู้แทนองค์การระหว่างประเทศทราบว่า มีรายงานบ่งชี้จากแหล่งข่าวกรองว่า เป็นการกระทำของผู้เสียประโยชน์ทางการเมือง ส่วนความเชื่อมโยงกับสถานการณ์ทางภาคใต้ไม่น่าจะเป็นไปได้
5. สำหรับการสืบสวนคงเน้นจากหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์และจากกล้องวงจรปิด
6. ในการชี้แจง ปลัดกระทรวงฯ ได้อธิบายถึงมาตรการที่รัฐบาลได้ดำเนินการแล้ว โดยได้หารือกับหน่วยงานความมั่นคง ดังนี้
6.1 รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้เสียชีวิต และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ โดยรัฐบาลจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล พร้อมทั้งเงินช่วยเหลือแก่ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บทุกราย
6.2 หน่วยงานความมั่นคงทั้งหมดจะต้องเพิ่มมาตรการป้องกันและป้องปรามในการรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดในลักษณะที่คล้ายกันที่อาจเกิดขึ้น โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน หรือ กอรมน. จะเป็นหน่วยงานหลักที่จะรับผิดชอบในการรวบรวมข้อมูล ชี้แจงและทำความเข้าใจกับประชาชน และควบคุมการปฏิบัตงานของหน่วยงานด้านความมั่นคงทั้งหมด
6.3 รัฐบาลกำลังดำเนินการเพื่อให้เกิดความรู้สึกระแวดระวังในหน่วยงานต่างๆ และประชาชนโดยทั่วไป ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานในแต่ละจังหวัดเพิ่มความระมัดระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด อีกทั้งได้ขอความร่วมมือจากประชาชนในการเฝ้าระวังและรายงานเหตุการณ์ต้องสงสัยไปที่ กอรมน.
6.4 รัฐบาลจะแจ้งให้ประชาชนทราบถึงความคืบหน้าของคดีนี้
6.5 รัฐบาลยังคงยึดมั่นในการเสริมสร้างความสมานฉันท์ และความปรองดองของคนในชาติ เหตุระเบิดนี้จะไม่กระทบต่อการดำเนินการดังกล่าว รวมถึงการดำเนินการปฏิรูปทางการเมืองตามกรอบเวลาที่รัฐบาลได้วางไว้ โดยเฉพาะการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งจะนำไปสู่การเลือกตั้งที่เป็นอิสระ และยุติธรรม
7. รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการอื่นๆ ด้วย ได้แก่
7.1 เพิ่มมาตรการความปลอดภัยที่สนามบิน
7.2 เพิ่มเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยตามที่สาธารณะ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยว
7.3 เพิ่มการรักษาความปลอดภัยแก่สถานเอกอัครราชทูตต่างๆ ในกรุงเทพฯ หากได้รับการร้องขอ
7.4 เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการด้านข่าวกรอง
7.5 ใช้กล้องวงจรปิดให้มากขึ้น
7.6 จัดตั้งหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน
7.7 ให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้นในการให้ข่าวสารและแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ให้ทราบ
8. ปลัดกระทรวงฯ ได้ขอบคุณรัฐบาลของประเทศต่างๆ และองค์การระหว่างประเทศ ที่แสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันโดยแสดงความเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น
9. นายกิตติ วสีนนท์ ได้ตอบคำถามผู้สื่อข่าวในประเด็นต่างๆ ดังนี้
9.1 กระบวนการการพิจารณาการยกเลิกกฎอัยการศึกจะไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ระเบิดที่เกิดขึ้น
9.2 รัฐบาลจะแจ้งให้ประชาชนทราบถึงผลการสืบสวนเหตุการณ์ลอบวางระเบิดนี้เมื่อแล้วเสร็จ
9.3 ทางการได้ทราบรายงานข่าวกรองล่วงหน้าว่า จะมีการก่อกวน แต่ไม่มีข้อมูลว่าจะเป็นในรูปแบบใด เวลาไหน
9.4 การเกี่ยวพันกับสถานการณ์ความรุนแรงทางภาคใต้ แม้ว่าการระเบิดจะมีลักษณะคล้ายกับระเบิดในจังหวัดชายแดนภาคตใต้ แต่จากการตรวจสอบหลักฐานต่างๆ ไม่ปรากฎข้อมูลทางนิติวิทยาศาสต์และหลักฐานอื่นๆ ว่า จะมีส่วนเกี่ยวข้องกันระหว่างเหตุการณ์ระเบิดในกรุงเทพฯ และภาคใต้ของไทย กล่าวคือ การลอบวางระเบิดทางภาคใต้มีเป้าประสงค์ที่จะมุ่งต่อชีวิต ในขณะที่การลอบวางระเบิดในกรุงเทพฯ มีเป้าประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความวุ่นวาย มากกว่าการสูญเสียชีวิต
9.5 เหตุระเบิดจะไม่มีผลกระทบต่อการร่างรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง กระบวนการทั้งสองยังคงดำเนินการไปตามกรอบเวลาที่รัฐบาลปัจจุบันได้วางไว้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-